การเรียนภาษาตามจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก
ตาม Input Hypothesis ของ Krashen วิธีการเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้ใหญ่ มีสองแบบด้วยกัน
1. Acquisition ซึ่งจะเป็นแบบตามจิตใต้สำนึก (subconscious) หมายถึง การเรียนรู้โดยที่เราไม่รู้ตัว
2. Conscious learning ซึ่งเป็นการเรียนแบบที่เรารู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

ถึงแม้สมมติฐานนี้จะมีข้อด้อยหลายอย่าง เพราะการมองการเรียนภาษาที่สองตามจิตใต้สำนึกกับจิตสำนึก มันพิสูจน์ได้ยาก แต่ม่อนคิดว่าสมมติฐานนี้ก็ช่วยให้เรามองการเรียนของเราในมุมมองใหม่

วิธีการเรียนแบบรู้ตัว ทุกคนก็รู้จักกันดีอยู่แล้ว เวลาที่เราเรียนภาษาในห้องเรียน พยายามท่องหลักภาษา ทำแบบฝึกหัดแต่งบทความ พวกนี้เป็นสิ่งที่เราฝึกโดยรู้ตัวทั้งนั้น และเราก็รู้ว่ามันมีผลต่อความก้าวหน้าในการเรียนภาษาที่สองของเรา

ส่วนการเรียนแบบไม่รู้ตัวล่ะ มีหลายคนที่claimว่าคนเราสามารถเรียนภาษาโดยไม่รู้ตัวได้ เช่น ฟังเทปตอนหลับ เป็นต้น ซึ่งเราเองก็รู้ไม่แน่ชัดว่าเรื่องนี้จริงแค่ไหน แต่ลองนึกๆดูว่า เราเองก็ได้เรียนภาษาโดยไม่รู้ตัวอยู่เหมือนกัน เช่นดูภาพยนตร์ ฟังเพลงภาษาต่างประเทศ ซึ่งเราไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็ทำให้เราได้ภาษานั้นไปโดยไม่รู้ตัว

กว่าจะถึงวันที่มนุษย์เราสามารถเข้าไปศึกษาจิตใต้สำนึกได้อย่างแท้จริง เราคงจะตัดสินได้ยากว่าการเรียนแบบไหนดีกว่ากัน เมื่อเป็นอย่างนี้ อะไรที่เราทำได้และเราคิดว่าได้ผลสำหรับเราก็ควรจะทำไป วันหนึ่งเราก็จะประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาค่ะ

Reference: Brown D. (1993). Principles of language learning and teaching. NJ: Prentice Hall Regents.

ยินดีต้อนรับคำถามและคอมเม้นท์จากทุกคนนะคะ

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ www.kru-mon.com



Create Date : 17 ธันวาคม 2553
Last Update : 17 ธันวาคม 2553 18:43:09 น.
Counter : 1377 Pageviews.

1 comments
  
อยากจะเรียนภาษาได้ดี ต้องขยัน มุ่งมั่น อดทน ^_^
โดย: kurobina วันที่: 23 มกราคม 2554 เวลา:7:11:32 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Vinter
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



กลับมาเขียนอีกครั้งล่ะ
New Comments
ธันวาคม 2553

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog