สมองผู้หญิงผู้ชาย กับการเรียนวิทยาศาสตร์?
หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินมาว่า ผู้ชายมักจะชอบเรียนวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้หญิง ซึ่งในวงการการศึกษาก็พบว่าเป็นอย่างนั้นอยู่เหมือนกัน แต่เร็วๆนี้เพิ่งมีงานวิจัยอันใหม่ออกมา ค้นพบว่า จริงๆแล้วความอยากเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ได้ขึ้นกับเพศ แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะของสมองต่างหาก

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นของ Institute of Upper Secondary and Vocational Education, University of Zurich ทำในนักเรียนมัธยมปลาย พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างเพศและความอยากเรียนวิทยาศาสตร์ แต่พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของสมองและความอยากเรียนวิทยาศาสตร์ โดยที่ชนิดของสมองที่เขามองมีสองแบบคือ แบบที่จัดระบบได้ดี (systemizing brain) กับแบบที่รับรู้แบ่งปันความรู้สึกได้ดี (empathizing brain) ซึ่งเขาพบว่าโดยส่วนมาก ผู้ชายจะมีสมองแบบ systemizing มากกว่า ในขณะที่ผู้หญิงมักจะมีสมองแบบ empathizing มากกว่า ซึ่งก็ทำให้เป็นสิ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมเรามักจะเห็นผู้ชายอยากเรียนวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้หญิงค่ะ

ม่อนว่าน่าสนใจมาก เพราะเมื่อก่อนในวงการการศึกษา เราก็มักจะเห็นว่าผู้ชายชอบเรียนวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะทางฟิสิกส์หรือเคมี ซึ่งในเรื่องนี้ทางตะวันตกก็มีการศึกษามาก เพราะผู้หญิงมักจะไม่ได้ค่อยเข้าไปสู่วงการวิทยาศาสตร์สักเท่าไหร่ โดยส่วนมาก นักการศึกษาก็จะเน้นไปทางอิทธิพลทางสังคมที่มีต่อผู้หญิงและอาชีพทางวิทยาศาสตร์ เด็กผู้ชายมักจะถูกเลี้ยงด้วยความที่อยากให้เห็นหมอ หรือวิศวะ แต่ถ้าผู้หญิงล่ะ อาจจะไม่ค่อยมีใครส่งเสริมให้ไปทางวิทยาศาสตร์เท่าไหร่ (อันนี้ต่างกับคนไทยนะคะ ถ้าเป็นคนไทย ผู้หญิงก็มีการส่งเสริมให้เรียนหมอ เรียนวิทยาศาสตร์เหมือนกัน แต่ถ้าตะวันตกจะไม่ค่อยมีค่ะ) ทำให้นักการศึกษามุ่งเน้นไปแก้ไขที่ปัจจัยทางด้านสังคมเพื่อช่วยให้ผู้หญิงได้เข้าสู่วงการวิทยาศาสตร์มากขึ้น

แต่งานวิจัยชิ้นนี้ช่วยทำให้เราได้เห็นว่าคำตอบส่วนหนึ่งอาจจะมาจากลักษณะสมองที่แตกต่างกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย แต่ก็อีกล่ะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สมองผู้หญิงเป็นแบบนี้เพราะเกิดมาเป็นแบบนี้ หรือเพราะได้รับการเลี้ยงดูมาแบบนี้ ก็คงต้องศึกษากันต่อไป แต่อย่างน้อยงานวิจัยนี้ก็ได้เปิดมุมมองให้เราเห็นว่า ความอยากเรียนวิทยาศาสตร์อาจจะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านร่างกายได้เหมือนกันค่ะ

Reference

Zeyer, A., Wolf, S. Is there a relationship between brain type, sex and motivation to learn science?
(2010) International Journal of Science Education, 32 (16), pp. 2217-2233.


อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ //www.kru-mon.com



Create Date : 06 ธันวาคม 2553
Last Update : 6 ธันวาคม 2553 16:23:04 น.
Counter : 684 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Vinter
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



กลับมาเขียนอีกครั้งล่ะ
New Comments
ธันวาคม 2553

 
 
 
1
2
3
4
5
7
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
31
 
 
All Blog