เรียนสองภาษาดีจริงหรือเปล่า - ตัวอย่างจากแอฟริกา
 เรียนสองภาษาดีจริงหรือเปล่า - ตัวอย่างจากแอฟริกา

ตัวอย่างต่อมา เรามาดูที่ประเทศในทวีปแอฟริกากันบ้างนะคะ


หลายๆประเทศในแอฟริกาก็มีนโยบายให้เรียนหนังสือด้วยภาษาต่างชาติ ส่วนมากจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส หรือ ภาษาโปรตุเกส เพราะเป็นภาษาที่ใช้ตั้งแต่สมัยเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก แต่ในแต่ละประเทศก็มีภาษาท้องถิ่นเป็นของตัวเองด้วยเหมือนกันค่ะ


อันแรกเลย เรามาดูการเรียนหนังสือด้วยภาษาต่างประเทศในระดับประถมกันบ้าง มีตัวอย่างจากสองประเทศ ประเทศแรกคือ Guinea-Bissau ซึ่งใช้ภาษาโปรตุเกสในการสอนหนังสือ และประเทศNiger ซึ่งให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในการสอนหนังสือ


ที่สองประเทศนี้ ได้มีงานวิจัยเปรียบเทียบดูพบว่า ถ้าให้นักเรียนได้เรียนอ่าน เขียนด้วยภาษาแม่ก่อน จะทำให้อ่านเขียนภาษาที่สองได้ดีขึ้นด้วย และที่สำคัญคือถ้าให้นักเรียนใช้ภาษาแม่ในการสอบ นักเรียนจะได้คะแนนดีกว่าใช้ภาษาที่สองอย่างมาก


อีกตัวอย่างหนึ่งของประเทศTanzania ซึ่งงานวิจัยนี้มีห้องเรียนมัธยมสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือใช้ภาษาแม่ของนักเรียน ซึ่งก็คือภาษาKiswahiliในการสอน และอีกกลุ่มใช้ภาษาอังกฤษในการสอน โดยทั้งสองกลุ่มเรียนเนื้อหาอย่างเดียวกัน พบว่า ในห้องเรียนที่เป็นภาษาอังกฤษ นักเรียนจะเงียบ ไม่ค่อยถาม ไม่ค่อยสนใจเรียน ในขณะที่ ถ้าเป็นห้องเรียนภาษาKiswahili นักเรียนจะactiveมากกว่า คือ นักเรียนจะถามคำถาม และตอบคำถามที่อาจารย์ถาม


ข้อสรุปจากงานวิจัยนี้ไม่ได้บอกว่าการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษ(ภาษาที่สอง)นั้นดีหรือไม่ดี แต่นักวิจัยสรุปได้ถูกใจครูม่อนมาก คือสรุปว่า “ถ้าเป้าหมายของการศึกษาคือการทำให้นักเรียนที่จบมาดูเป็นคนโง่ การใช้ภาษาอังกฤษที่ทั้งนักเรียนและครูยังไม่เก่ง มาใช้ในการสอนก็ถือว่าเหมาะสม แต่ถ้าเป้าหมายคือ อยากจะให้นักเรียนที่จบมามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ล่ะก็ นโยบายอันนี้ก็คงจะไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้” (แปลจากBrock-Utne, 2006, หน้า 487)


สรุปว่า งานวิจัยชี้แนะว่า ถ้าเป็นระดับประถมวัย อย่างน้อยก็ควรจะให้นักเรียนได้เรียนอ่านเขียนภาษาแม่อย่างเชี่ยวชาญด้วย เพราะว่านักเรียนที่อ่านเขียนภาษาแม่ได้ จะอ่านเขียนภาษาที่สองได้ดีด้วย ส่วนระดับมัธยม การใช้ภาษาที่นักเรียนและครูยังไม่เชี่ยวชาญมาใช้ในการสอนนั้น ทำให้นักเรียนไม่ได้มีโอกาสในการฝึกคิดวิเคราะห์และคิดสร้างสรรค์เท่าที่ควรค่ะ


ครั้งหน้า เรามาลองดูตัวอย่างจากอเมริกากันบ้างนะคะ
//kru-mon.com


หมายเหตุ  ต่อเนื่องจากpostแรกนะคะ ครูม่อนใช้หัวข้อว่า เรียนสองภาษา เพราะว่าบ้านเราใช้คำว่าเรียนสองภาษาเพื่อหมายถึงการใช้ภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาในการเรียนการสอน (จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน)




References


Brock-Utne, Birgit. (2007). Learning through a familiar language versus learning through a foreign language—A look into some secondary school classrooms in Tanzania. International Journal of Educational Development, 27(5), 487-498. doi: 10.1016/j.ijedudev.2006.10.004
Hovens, Mart. (2002). Bilingual Education in West Africa: Does It Work? International Journal of Bilingual Education and Bilingualism, 5(5), 249-266. doi: 10.1080/13670050208667760





Create Date : 03 ตุลาคม 2557
Last Update : 3 ตุลาคม 2557 21:34:53 น.
Counter : 1457 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Vinter
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



กลับมาเขียนอีกครั้งล่ะ
New Comments
ตุลาคม 2557

 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31