"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
30 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 
“ปลาย่าง” ลุ่มน้ำสะแกกรัง อาชีพข้ามทศวรรษ

อันติกา เรื่อง / รูป












สายน้ำที่ไหลเอื่อยเรื่อยไปบนเส้นทางคดเคี้ยวของ “ลำน้ำสะแกกรัง” กอปรกับการบริหารจัดการที่ให้ทุกคน โดยเฉพาะชุมชนชาวแพสำนึกรักและช่วยกันดูแลรักษา คุณภาพผืนน้ำสายนี้ จึงยังคงดีไม่ต่างจากอดีต ฉะนั้น กับการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง จึงยังคงเป็นงานหลักหล่อเลี้ยงชีวิตชุมชนชาวแพ

ป้าแต๋ว หรือ คุณศรีวภา วิบูลรัตน์ ก็เป็นหนึ่งในชุมชนชาวแพ ที่อาศัยสายน้ำแห่งนี้หล่อเลี้ยงชีวิตมาเกือบ 60 ปี

ป้าแต๋วไม่ได้เพียงแค่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง แต่ยังสืบสานภูมิปัญญาแปรรูปปลาด้วยวิธีนำไปย่างจนได้เนื้อปลากรอบหอมอร่อยซึ่งกับภูมิปัญญานี้สืบทอดมานานนับทศวรรษ

“อาชีพนี้ทำกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย นับได้เป็นร้อยปีแล้ว และสำหรับป้าเองก็เกิดในแพ อยู่กับแม่น้ำสายนี้มาตั้งแต่เล็ก จึงได้เห็นวิถีชีวิต เห็นอาชีพที่ดำเนินมายาวนาน”

จากความคลุกคลีที่ได้ลงมือช่วย จนเกิดความเข้าใจ ฉะนั้น แม้คนรุ่นก่อนจะจากไป แต่ป้าแต๋วยังคงยึดมั่นสานต่ออาชีพของคนโบราณมาจนบัดนี้

“ป้าเลี้ยงปลาในกระชังอยู่ประมาณ 3-4 ใบ มีทั้งปลาแรด เทโพ สวาย ปลากด ซึ่งปลาที่เลี้ยงอยู่ไม่พอนำมาแปรรูป และบางชนิดก็ไม่ได้เลี้ยง จึงรับซื้อจากชาวประมงคนอื่น ส่วนปลานำมาย่างก็จะมี สวาย เทโพ ปลากด เนื้ออ่อน ซึ่งทุกชนิดได้รับความนิยมจากตลาด”

หลายคนอาจคิดว่าอาชีพนี้ไม่น่าจะใช้เงินลงทุนมาก และกับกรรมวิธีผลิตคงไม่ยุ่งยากอะไร ซึ่งคำตอบที่ได้เห็น ทำให้รู้ว่า แม้การลงทุนหลักมีแค่วัตถุดิบคือปลาสด

แต่ปลาบางชนิดก็มีสนนราคาจำหน่ายสูง อย่างปลาเนื้ออ่อน ตกกิโลกรัมละ 300 บาท นอกจากนั้น ก็มีค่าใช้จ่ายในส่วนของขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณที่ต้องหาซื้อมาทำเชื้อเพลิงในราคากระสอบละ 30 บาท

สำหรับกรรมวิธีทำนั้น คงต้องบอกว่า ถ้าใจไม่เย็นพอ คงหมดโอกาสกับการประกอบอาชีพนี้

ที่ต้องว่าเช่นนั้น เพราะแต่ละขั้นตอนล้วนพิถีพิถัน โดยเฉพาะการย่าง

และเพื่อให้เกิดความกระจ่าง ป้าแต๋วจึงเล่าถึงวิธีทำให้ฟัง โดยเริ่มตั้งแต่นำปลาสด โดยยกตัวอย่างปลาเนื้ออ่อน มาล้างทำความสะอาดอย่างดี จากนั้นเสียบไม้เรียงต่อกัน โดยให้ตัวปลาทับซ้อนบนครีบของปลาอีกตัวหนึ่ง แล้วจึงดัดลำตัวปลาให้โค้ง นำไปตากแดดจนแห้ง

เริ่มก่อไฟโดยใช้ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณเป็นเชื้อเพลิง นำปลาที่ผ่านกระบวนการตากแดดวางลงบนตะแกรง ใช้เสื่อรำแพนสานจากไม้ไผ่คลุมปิดทับ ย่างด้วยไฟอ่อนไปเรื่อยๆ จนเนื้อปลาแห้งเบากรอบ แต่ระหว่างนั้นให้กลับปลาเพื่อจะได้สุก สีเสมอกัน

“ขั้นตอนย่างต้องใจเย็นมากๆ ใช้ไฟแรงไม่ได้เลย เนื้อปลาจะไหม้จนเกิดรสขม ส่วนระยะเวลาย่างนาน 3-4 วัน จนกว่าเนื้อปลาแห้งกรอบหอมอร่อย”

เห็นรูปแบบของเตาที่ก่อขึ้นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ป้าแต๋ว บอกว่า ด้านล่างและด้านข้างทั้งสี่ต้องกรุด้วยสังกะสีกันไม่ให้ไฟรุกและยังช่วยให้ความร้อนระอุดี

ไม่เพียงเท่านั้น ก้นเตาควรรองด้วยดินเหนียว 1 ชั้น แล้วจึงวางขี้เลื่อย ส่วนระยะชั้นขี้เลื่อยถึงตะแกรงสำหรับวางปลา ควรมีความสูงราว 1 ศอก เพื่อให้ความร้อนกำลังเหมาะ

ป้าแต๋ว ยังอธิบายถึงปลาสดประมาณ 10 กิโลกรัม เมื่อย่างเสร็จ น้ำหนักจะลดลงเหลือ 2-2.5 กิโลกรัม ส่วนราคาขายกำหนดไว้กิโลกรัมละประมาณ 1,500 บาท

“ยกตัวอย่าง ปลาเทโพ ถ้านำวางเรียงบนตะแกรงครั้งหนึ่งจะได้ประมาณ 90 กิโลกรัม ซึ่งกว่าจะย่างเสร็จใช้ขี้เลื่อยราว 30 กระสอบ ซึ่งเมื่อย่างได้จำนวนมาก ก็จะเช่าห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาคุณภาพ สามารถยืดอายุได้ราว 2-3 ปี ทำให้มีปลาย่างขายไม่ขาดช่วง”

ไม่เพียงปลาย่างผลผลิตรสดีที่สามารถสร้างรายได้ให้ป้าแต๋วยืนหยัดจนถึงบัดนี้ แต่ยังมีอีกหนึ่งสินค้าแปรรูปจากปลา นั่นคือ ปลาส้ม ที่ทำมาจากปลาจีน ซึ่งกับเมนูนี้หากใครได้สัมผัสรส เป็นต้องยกนิ้วให้ ส่วนราคาขายกิโลกรัมละ 120 บาท

ฉะนั้น หากมีทริปเดินทางไปจังหวัดอุทัยธานี อย่าลืมแวะเวียนไปอุดหนุนสินค้าคุณภาพดี ฝีมือป้าแต๋ว โดยเปิดแผงขายประจำอยู่ในตลาดเช้า หรือสอบถามได้ที่ โทรศัพท์ (084) 505-3450

และนี่คือตำนานสร้างอาชีพบนเส้นทางสาย ลุ่มน้ำสะแกกรัง




ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณอันติกา

อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ค่ะ



Create Date : 30 ธันวาคม 2555
Last Update : 30 ธันวาคม 2555 12:25:20 น. 0 comments
Counter : 3905 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.