"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
30 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
พระคุณ ธ รักษา ในหลวง "ทรงวางรากฐาน" ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ



น้อยคนนักจะรู้ว่า "ระบบการบริหารจัดการน้ำ" ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และทุกภาคทั่วประเทศ "รากฐานสำคัญ" มาจากแนวพระราชดำริของ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ที่ทรงพระราชทานไว้ตั้งแต่ปี 2500 เศษๆ

อย่างมหาอุทกภัยคราวนี้ หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้พระราชทานแนวพระราชดำริป้องกันน้ำท่วมเอาไว้ ก็สุดจะคาดเดาได้ว่า สถานการณ์จะรุนแรงยิ่งกว่าเท่าไหร่

หลายคนรู้ว่า "คลองลัดโพธิ์ แก้มลิง" ที่กำลังทำหน้าที่บรรเทาปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ มาจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า สถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ คันกั้นน้ำ หรือคลองต่างๆ ที่กำลังทำหน้าระบายน้ำอยู่ทั่วทุกแห่งหนในกรุงเทพฯขณะนี้ ก็เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน

นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ผู้ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปี 2520 จนกระทั่งเกษียณอายุ ตามเสด็จฯไปทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำ อาทิ โครงการเขื่อนป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ลพบุรี จะเป็นผู้ถ่ายทอดถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ "ไม่เคยทอดทิ้งประชาชน"


พัฒนาแหล่งน้ำ โครงการในพระราชดำริ อันดับแรก

อดีตอธิบดีกรมชลประทาน เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สนพระราชหฤทัยเรื่องน้ำมาก ทรงถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ราษฎรต้องการ เพราะไม่ว่าจะเสด็จฯเยี่ยมราษฎรที่ไหน ภาคอะไร เหนือ อีสาน กลาง ใต้ สิ่งที่ทอดพระเนตรเห็นคือ ราษฎรไทยส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร

"พระองค์รับสั่งเสมอว่า ไปที่ไหนราษฎรร้องขออยู่ 2 อย่างคือ ถนนกับน้ำ สำหรับถนน รับสั่งว่า ถนนทำง่ายไม่ใช่ของยาก แต่น้ำ รับสั่งว่า เรื่องน้ำมันยากที่จะช่วยตัวเองได้ ก็ทรงอยากจะช่วยเขา โครงการในพระราชดำริโครงการแรกๆ ส่วนใหญ่จึงเป็นงานจัดหาน้ำ"

พื้นที่แรกที่พระราชทานแนวพระราชดำริเริ่มต้นที่ภาคตะวันตก อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นทรงขยายงานไปที่ภาคเหนือ แล้วลงมาพื้นที่ด้านล่างภาคใต้ ภาคอีสาน และภาคกลาง

"งานทุกภาค โครงการน้ำจะเป็นเรื่องสำคัญที่เริ่มทำก่อน และหลังจากนั้นก็จะมีโครงการด้านอื่นๆ ตามมาทีหลัง งานเรื่องน้ำทรงดูแลทั่วประเทศ ทั่วราชอาณาจักร การช่วยเหลือของพระองค์มีทั้งมาจากจดหมายร้องทุกข์ ฎีกา หรือทรงคิดเองจากแผนที่ ช่วงไหนที่ทรงมีเวลาว่างจากงานอื่นๆ จะทรงงานแผนที่ หากทรงเห็นว่าที่ไหนขาดแคลน ก็จะเสด็จฯไปช่วยเหลือ ที่ไหนระยะทางไกลๆ จะเสด็จฯเฮลิคอปเตอร์ แต่ถ้าใกล้หน่อยก็จะประทับรถยนต์พระที่นั่งดั้นด้นไปช่วยเหลือ"


ทรง "วางรากฐาน" ป้องกันน้ำท่วม ตั้งแต่ปี 2523

ในอดีตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเคยประสบปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่มาหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นปี 2523, 2526, 2538 ทุกครั้งที่มีสถานการณ์เช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงห่วงใยทุกเข็ญของราษฎรผู้ประสบความเดือดร้อน จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนเพื่อก่อให้เกิดขวัญกำลังใจทั้งแก่คณะผู้ปฏิบัติงานและผู้ประสบอุทกภัย

พร้อมทั้งทอดพระเนตรสภาพน้ำตามลำคลองต่างๆ ด้วยพระองค์เอง เพื่อทรงศึกษาแนวทางและวิธีแก้ไขให้เกิดผลอย่างรวดเร็ว อันจะเป็นวิถีทางบรรเทาความทุกข์ของราษฎรให้เหลือน้อยที่สุด


นายปราโมทย์เล่าว่า ในกรุงเทพฯ งานเรื่องน้ำจะเห็นชัดเจนตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา ปีนั้นกรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วมใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าประชาชนเดือดร้อน พระองค์ประทับทั้งเฮลิคอปเตอร์และรถยนต์ทรงตรวจสภาพน้ำตามที่ต่างๆ อย่างใกล้ชิด

"ปีนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ รับสั่งว่า กรุงเทพฯ คงอยู่กันอย่างธรรมดาๆ ไม่ได้แล้ว พระองค์พระราชทานหลักคิดหลักทำเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในที่สุดก็บังเกิด โครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ"

จนกระทั่งถึงปี 2526 น้ำท่วมกรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง และเฉกเช่นครั้งก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงนิ่งนอนพระราชหฤทัย เสด็จฯออกตรวจสภาพน้ำทั้งทางบกและทางอากาศ ในปีนั้น "ทรงกำชับ" ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างจริงจัง

ตั้งแต่นั้นมา โครงการป้องกันน้ำท่วมในพระราชดำริจึงเริ่มดำเนินการอย่างจริงจัง ทั้งก่อสร้างแนวคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำหลากเข้าสู่พื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ, ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในคลองระบายน้ำต่างๆ, ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ, จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (กรีน เบลท์) เพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำเมื่อมีน้ำหลาก, ขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ, สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่างๆ และขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง


ปี 2538 รับสั่งแก้น้ำท่วมครั้งใหญ่ - เบื้องหลังการประชุม

นายปราโมทย์เล่าว่า เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2538 ก่อนน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกประชุมด่วน

"ตอนนั้นผมกำลังจะขับรถไปประชุมที่ไหนสักแห่ง แต่แล้วก็มีวิทยุเข้ามาว่า พระเจ้าอยู่หัวประชุมด่วน ตอน 4 โมงเย็น ก็ต้องรีบกลับมา" ปราโมทย์ย้อนเล่าแล้วบอกว่า ในที่ประชุมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า "น้ำมาแน่ๆ เพราะตัวเลขบอก"

ซึ่งการดูข้อมูลน้ำในสมัยนั้น อดีตอธิบดีกรมชลประทาน บอกว่า ไม่มีเว็บไซต์เหมือนสมัยนี้ แต่เรามีสถานีวัดระดับน้ำคอยเก็บข้อมูลตัวเลขและวิทยุมาบอกที่ส่วนกลางเพื่อรวบรวมเป็นระบบกราฟ

"ปีนั้น พระองค์แสดงหลักคิดหลักทำแก้ปัญหาน้ำท่วมไว้มากมาย เป็นการรับสั่งครั้งใหญ่ เพราะทรงห่วงว่าน้ำจะอัดอั้นมาก รับสั่งว่าต้องเอาน้ำไปทางตะวันออกของปริมณฑลเยอะๆ แล้วระดมเครื่องสูบน้ำมาทั่วประเทศ สูบน้ำออกทำคลองชายทะเลให้แห้งแล้วน้ำจะไหลไปเอง"

นายปราโมทย์บอกอีกว่า วันนั้นใช้เวลาประชุมประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเวลาทรงเรียกประชุมไม่เคยต่ำกว่า 2 ชั่วโมง อีกทั้งยังทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงอยากให้คณะทำงานทุกคนแสดงความคิดเห็น และทุกคนก็ต้องแสดงความคิดเห็นด้วย เพราะทรงอยากให้สิ่งที่รับสั่งมานั้นเกิดงาน เกิดของที่ดี และคุ้มที่จะทำ

"หลายครั้งจะมีรับสั่งทิ้งท้ายว่า นายช่างต้องเอาไปคิดให้ดีนะ คิดให้รอบคอบ ในความหมายของพระองค์คือ คุ้มที่จะทำ ทำแล้วถูกต้อง เกิดประโยชน์ ประชาชนมีความสุข เปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นให้ดีขึ้น มีความสมบูรณ์พูนสุข นี่ล่ะคือความคุ้มของพระองค์ท่าน"


รับสั่งถึง "ฟลัดเวย์" 3 ครั้ง

ผู้เคยถวายงานมาตลอด 20 ปี เล่าว่า คำว่า ฟลัดเวย์ ที่รับสั่งเมื่อปี 2538 เป็นการรับสั่งครั้งที่ 3 ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2523 รับสั่งเช่นกัน แต่ตอนนั้นทรงใช้คำว่า "กรีนเบลท์" หมายถึง ทางสีเขียวยาวๆ แบบเข็มขัด คือพื้นที่ทำนาที่ไม่มีบ้านเรือนประชาชนอาศัยอยู่ ใช้เป็นทางน้ำผ่านยามน้ำหลาก

"เมื่อปี 2533 น้ำก็ท่วมอีก ยังรับสั่งถามถึงกรีนเบลท์ว่า กรีนเบลท์ยังอยู่ดีหรือเปล่า พอต่อมาปี 2538 ก็ทรงเปลี่ยนจากกรีนเบลท์มาเป็นฟลัดเวย์"


"คลองลัดโพธิ์-แก้มลิง" บรรเทาน้ำท่วม

มหาอุทกภัยปี 2554 นี้ "คลองลัดโพธิ์" และ "แก้มลิง" กำลังทำหน้าที่บรรเทาน้ำท่วมอย่างเต็มกำลัง นายปราโมทย์บอกว่า ทั้ง 2 โครงการพระราชดำรินี้ ก็เกิดขึ้นเมื่อปี 2538 หลังวิฤตการณ์น้ำท่วมผ่านพ้นไป

"ตั้งแต่ปี 2523 ถึงปัจจุบัน แนวพระราชดำริเรื่องน้ำช่วยกรุงเทพฯ มาตลอด อย่างคลองลัดโพธิ์ น้ำท่วมปีนี้ก็ช่วยได้เยอะ โดยช่วยระบายน้ำลงสู่ทะเลสะดวกรวดเร็วขึ้น ร่นระยะทางการไหลของน้ำ จาก 18 กิโลเมตรให้เหลือ 600 เมตร รวมทั้งร่นระยะเวลาการเดินทางของน้ำจาก 5 ชั่วโมง เหลือเพียง 10 นาทีเท่านั้น จะสังเกตเห็นว่าแถวราชบูรณะ ช่องนนทรี ไม่ได้ยินเสียงความเดือดร้อนว่าน้ำล้นตลิ่งเลย"


ยามใดคนไทยเป็นทุกข์ พ่อยิ่งทุกข์ระทมหลายเท่า

นายปราโมทย์บอกว่า ประทับใจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากมายเหลือเกิน โดยเฉพาะทรงห่วงใยคนไทยทุกภาคทุกส่วนของประเทศ ทุกเรื่องทุกราวมากไปหมด ที่เห็นภาพชัดเจน ประชาชนมีความทุกข์ที่ไหน ไม่ใช่ทุกข์เรื่องน้ำอย่างเดียว มีความทุกข์เรื่องที่ดินทำกิน ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม เมื่อทรงทราบก็จะเสด็จฯไปแก้ปัญหาให้ทั่วทุกภาค

"ปัจจุบันน้ำท่วมมากมาย ถ้าเป็นอดีตที่ยังทรงแข็งแรงจะไม่ทรงเงียบอย่างนี้ จะทรงออกช่วยเหลือประชาชนตลอดเวลา แต่ก็คิดว่าตอนนี้แม้จะประทับอยู่โรงพยาบาลศิริราชก็คงจะทรงมีรับสั่งให้แก้ไขปัญหาน้ำท่วม นี่แหละคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัญหาเรื่องน้ำสนพระราชหฤทัยตลอด เพราะเป็นความเดือดร้อนของประชาชน เดือดร้อนทั้งในด้านการทำมาหากิน ชีวิตความเป็นอยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทำไมทรงเก็บความทุกข์ทุกอย่างมาไว้กับพระองค์ท่านมากมายขนาดนี้"

สิ่งที่อดีตอธิบดีกรมชลประทานกล่าวข้างต้นนั้น ประจักษ์ชัดแก่ "หัวใจ" ของปวงชนชาวไทยทุกคนแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีรับสั่งถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 7 และ 11 พฤศจิกายนว่า ทรงห่วงใยประชาชนเรื่องน้ำท่วม ทำให้ทรงเครียดจนประชวร ถ่ายเป็นเลือดถึง 800 ซีซี ความดันตกมากอยู่ในภาวะทรงช็อก

"พระองค์ดูข่าวน้ำท่วมติดต่อกันถึง 5 ชั่วโมงเต็มๆ ทรงเครียด ดูแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรักประชาชนเหมือนลูกเหมือนหลานจริงๆ เมื่อเห็นราษฎรทุกข์ ก็ทรงทุกข์ด้วย ทุกข์เหลือเกิน

"อยากให้ทราบว่า ใจพระองค์ท่านอยู่กับประชาชนเสมอ"

แม้ปี 2554 ประเทศไทยจะประสบกับมหาอุทกภัยที่นำมาซึ่งความเสียหายมากมาย แต่หากย้อนกลับไปแล้ว หากไม่มีพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงวางรากฐานไว้ ไม่รู้ว่าวันนี้ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร?


น้อมนำแนวพระราชดำริ พัฒนาระบบน้ำในอนาคต

นายปราโมทย์ ไม้กลัด บอกว่า หากย้อนกลับไป แนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานหลักคิดหลักทำไว้ตั้งแต่ปี 2523 หรือปี 2538 มีมากมายที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์ ถูกต้อง และสอดคล้องกับธรรมชาติปัจจุบัน น่าจะนำมาปัดฝุ่นน้อมนำมาใช้ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมในอนาคต

"สิ่งที่พระองค์รับสั่งน่าจะมีการต่อยอดนานแล้ว แต่ที่ไม่เกิดการต่อยอด อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมของเรา พอปัญหาอะไรต่างๆ คลี่คลายแล้ว มักจะลืมไปกันหมด ปี 2538 พระราชทานหลักคิดหลักทำดีๆ ไว้มากมาย แต่พอเหตุการณ์คลี่คลาย ทุกคนไม่นำมาคิดต่อเพื่อขยับขยายต่อไป ก็ไม่รู้จะโทษใครเหมือนกัน

"ยกตัวอย่างปีที่แล้ว บ้านเมืองก็เกิดอุทกภัยระเนระนาด แต่พอภัยหายไปแล้วก็เงียบกันหมด ไม่ว่าจะเป็น นครราชสีมา หรือแม้แต่ต้นปีนี้ ภาคใต้ระเนระนาด ก็เงียบไปอีก จนกระทั่งมาตอนนี้ น้ำมาชุดใหญ่ระเนระนาดกันหมด กรุงเทพฯ ก็ร่อแร่ ถูกโจมตีชนิดที่เรียกว่า ไม่สามารถรักษาได้

"ปีนี้ถึงเวลาแล้วจะต้องมาสร้างหลักคิดหลักทำกันหน่อยว่า เรื่องน้ำมาก น้ำท่วม จะทำยังไงกัน จะปล่อยเหมือนอย่างเดิมๆ ไม่ได้อีกแล้ว ธรรมชาติเขาสอนไว้เยอะ ต้องมาคิดกันว่าจะทำยังไง รื้อทัศนคติหรืออะไรต่างๆ ที่ทำกันเก่าๆ ทำแบบไม่มีหลักคิดหลักทำออกไป ปี 2538 ใช้กระสอบทรายยังไง ปีนี้ก็ยังใช้กระสอบทรายอีก น่าเสียใจ"

หน้า 19,มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2554


ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน พระชนมานสืบยืนสี่หมื่นวัน

พระพุทธเจ้าข้า


ขอบคุณ มติชนออนไลน์


วุธวารสิริวิบูลย์ค่ะ



Create Date : 30 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2554 10:15:14 น. 0 comments
Counter : 1076 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.