"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
14 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต


พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๔ ในพระบรมมหาราชวัง

ทรงมีพระพี่นางพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ทรงศึกษาชั้นต้นที่พระตำหนักสวนกุหลาบ ทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเสนาธิการ แห่งเยอรมนี

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงประทับที่วังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นวังที่มีความใหญ่โตโอ่อ่าที่สุด กอรปกับทรงมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย จึงได้รับการกล่าวขานอีกฉายาหนึ่งจากคนทั่วไปว่า "จอมพลบางขุนพรหม" หรือ "เจ้าฟ้าวังบางขุนพรหม" ทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้องเสด็จออกจากประเทศไทยอย่างกะทันหัน โดยเสด็จไปด้วยรถไฟขบวนพิเศษ ซึ่งวิ่งตลอดไม่มีหยุดพักจนถึงปีนังวันที่ ๓ กรกฎาคม และย้ายไปประทับอยู่ที่เมืองบันดุง เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จถึงทิวงคตด้วยพระโรคไตและพระหทัย เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่ตำหนักประเสบัน เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ในขณะที่ทรงพระชนพรรษา ๖๓ พรรษา และได้มีการพระราชทานเพลิงพระศพ ที่พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓


พระโอรส-ธิดา


หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร (ไชยันต์)

1 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร
กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต-หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร (เทวกุล)
๕ ธันวาคม ๒๔๔๗- ๑๕ กันยายน ๒๕๐๒
-หม่อมเจ้ามารศรีสุขุมพันธุ์ บริพัตร

2 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงศิริรัตนบุษบง -หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล ๔ มกราคม ๒๔๔๙
๖ กรกฎาคม ๒๕๓๓ นายฤทธิ์ดำรง ดิศกุล
สมรสกับ นางแก้วตา ดิศกุล ณ อยุธยา (หังสสูต)

3 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวงษ์วิจิตร ๑๖ มีนาคม ๒๔๕๐- ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖

4 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพิสิฐสบสมัย-หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร ๒๑ กันยายน ๒๔๕๑- ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
หม่อมราชวงศ์หญิงพิลาศลักษณ์ (กิติยากร) บุณยะปานะ
สมรสกับ นายบัณฑิต บุณยะปานะ

5 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจุไรรัตนศิริมาน-พลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล ๒๑ ธันวาคม ๒๔๕๒- ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
หม่อมราชวงศ์อายุมงคล โสณกุล
สมรสกับ นางอมรา เหรียญสุวรรณ (หย่า)
พันโท หม่อมราชวงศ์ถวัลย์มงคล โสณกุล
สมรสกับ คุณหญิงสทนา โสณกุล ณ อยุธยา
(หงสกุล)
หม่อมราชวงศ์หญิงสุมาลยมงคล โชติกเสถียร
(โสณกุล)
สมรสกับ นายจุลเสถียร โชติกเสถียร
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
สมรสกับ นางรัชนี คชเสนี (หย่า)

6 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจันทรกานตมณี หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัตน์ ๒๔ กันยายน ๒๔๕๕-๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๐
หม่อมราชวงศ์เดือนเด่น (สวัสดิวัตน์) กิติยากร
สมรสกับ หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร
หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์
สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์
(วุฒิชัย)

7 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงน้อง ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑-๔ ธันวาคม ๒๔๖๒

8 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปรียชาติสุขุมพันธุ์ ๔ มิถุนายน ๒๔๖๓- ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๖๕
หม่อมสมพันธ์ บริพัตร ณ อยุธยา (ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา)

9 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอินทุรัตนา-นายสมหวัง สารสาส (หย่า) ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ ยังทรงพระชนม์
นายธรณินทร์ สารสาส
สมรสกับ นางสุรีรัตน์ สีดาวรพงษ์ (หย่า)
นางสินนภา ตาราไต (สารสาส)
สมรสกับ นายอนันต์ ตาราไต (หย่า)
นายพญาณินทร์ สารสาส

10 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์-หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา
(ณ ถลาง) ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖-๑๐ เมษายน ๒๕๔๖
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
สมรสกับ นางนุชวดี บริพัตรฯ (บำรุงตระกูล) (หย่า)
นางสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา (ภมรบุตร)
พันตรี หม่อมราชวงศ์วโรรส บริพัตร
สมรสกับ นางพัฒนาพร บริพัตร ณ อยุธยา
(นิยมศิริ)

หม่อมเจ้าประสมสงค์ บริพัตร
หม่อมสมพันธ์ บริพัตร ณ อยุธยา และพระโอรส พระธิดา


การรับราชการ

ตราประจำราชสกุลบริพัตรพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการสำคัญทั้งฝ่ายกลาโหมและมหาดไทยหลายรัชกาล ด้วยทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่กิจการที่ทรงรับภาระเป็นอย่างดียิ่งทั้งทางด้านการทหาร การปกครอง การสาธารณสุข การศึกษา

ทรงวางรากฐานความเจริญของกองทัพเรือไทย กองทัพบก กระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย


ตำแหน่งสำคัญ

เสนาธิการทหารบก (๒๔๔๖ - ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗)
ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ (๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๕๓)
องคมนตรี (๒๔ ตุลาคม ๒๔๕๓ - ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘)
เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ (๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๓ - ๑๘ มิถุนายน ๒๔๖๓)

เสนาธิการทหารบก และผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ (๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๓ - ๒๓ สิงหาคม ๒๔๖๙)
อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม (๑๒ กรกฎาคม ๒๔๖๓ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕)

อภิรัฐมนตรีสภา (๒๘ พฤษภาคม ๒๔๖๘ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕)
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (๒๔ สิงหาคม ๒๔๖๙ - ๓๑ มกราคม ๒๔๗๑)
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (๑ เมษายน ๒๔๗๑ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕)
อุปนายกสภาป้องกันพระราชอาณาจักร (๗ เมษายน ๒๔๗๒ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕)

ประธานอภิรัฐมนตรีสภาและเสนาบดีสภา (๒๓ กรกฎาคม ๒๔๗๒ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕)
ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร (๒๕ กรกฎาคม ๒๔๗๒ - ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๒)(๙ เมษายน ๒๔๗๓ - ๘ พฤษภาคม ๒๔๗๓)(๑๙ มีนาคม ๒๔๗๓ - ๑๒ ตุลาคม ๒๔๗๔)

ผลงานดนตรี

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงสีซอได้ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ต่อมาทรงต่อเพลงกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ จนมีฝีพระหัตถ์ดีเยี่ยม และทรงต่อเพลงกับเจ้าเทพกัญญา บูรณพิมพ์ เป็นครั้งคราว

พระองค์ทรงเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ระนาด ซอ ทั้งยังทรงเปียโนได้ดีอีกด้วย เมื่อพระองค์เสด็จมาประทับที่วังบางขุนพรหม ทรงมีทั้งวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายประจำวัง

วงปี่พาทย์นั้นเริ่มแรกทรงใช้วงดนตรีมหาดเล็กเรือนนอก ซึ่งเป็นของตระกูลนิลวงศ์จากอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาทรงได้วงดนตรีของหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ พาทยโกศล) และจางวางทั่ว พาทยโกศล ซึ่งมีนักดนตรีและนักร้องที่มีชื่อเสียงประจำวง เช่น

นายทรัพย์ เซ็นพานิช ระนาดเอก
จ่าเอกกมล มาลัยมาลย์ ระนาดเอก
นายสาลี่ มาลัยมาลย์ ระนาดเอก ฆ้องวง
จ่าโทฉัตร สุนทรวาทิน ระนาดทุ้ม
นายศิริ ชิดท้วม ระนาดทุ้ม

นายช่อ สุนทรวาทิน ฆ้องวงใหญ่
ร้อยเอก นพ ศรีเพชรดี ฆ้องวงใหญ่
จ่าสิบเอก พังพอน แตงสืบพันธุ์ ฆ้องวงเล็ก
นายละม้าย พาทยโกศล เครื่องหนัง
จ่าสิบเอก ยรรยงค์ โปร่งน้ำใจ เครื่องหนัง

นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ปี่ใน ซอสามสาย
นางเจริญ พาทยโกศล นักร้อง
จ่าเอก อิน อ๊อกกังวาล นักร้อง
นางสาวสอาด อ๊อกกังวาล นักร้อง
นางเทียม เซ็นพานิช นักร้อง
คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ นักร้อง
นางสว่าง คงลายทอง นักร้อง

วงเครื่องสายทูลกระหม่อมบริพัตรฯส่วนวงเครื่องสายนั้นเป็นวงที่ทรงบรรเลงร่วมกับพระราชธิดา พระประยุรญาติ และผู้ใกล้ชิด มีนายสังวาล กุลวัลกี เป็นผู้ฝึกสอน นักดนตรีและนักร้อง เช่น

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซอสามสาย
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง ซอด้วง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานต์มณี ซอด้วง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงศ์วิจิตร ซออู้
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน ซออู้
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย จะเข้

คุณร่ำ บุนนาค จะเข้
หม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ซออู้
คุณบุญวิจิตร อมาตยกุล ซออู้
คุณสุดา จาตุรงคกุล ขลุ่ย
คุณหญิงแฉล้ม เดชประดิยุทธ์ โทน รำมะนา

คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ นักร้อง
นางหอม สุนทรวาทิน นักร้อง
นางเทียม กรานต์เลิศ นักร้อง
นางสว่าง คงลายทอง นักร้อง

ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และพระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ นั้น วังบางขุนพรหมเป็นศูนย์กลางการประชันวงปี่พาทย์ การแสดงดนตรี และการละเล่นต่างๆ และเป็นที่เกิดของเพลงที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก

ส่วนวงปี่พาทย์วังบางขุนพรหมนั้น ก็เป็นวงที่มีชื่อเสียงมาก และได้เข้าร่วมในการประชันวงที่วังบางขุนพรหมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ซึ่งได้รับการตัดสินให้ชนะเลิศ เป็นต้นตำรับการขับร้องที่สืบทอดมาแต่โบราณ

ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ทรงโปรดใช้เวลาว่างส่วนพระองค์ในการศึกษาวิชาดนตรี ทั้งด้านประสานเสียง และการประพันธ์เพลง จนทรงสามารถประพันธ์เพลง และทำหน้าที่เป็นวาทยากรได้อย่างคล่องแคล่ว เคยทรงเล่าประทานพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา พระธิดา ฟังว่า

“…ถ้าพ่อเลือกได้ พ่อจะเรียนดนตรีและภาษา และจะทำงานด้านดนตรีอย่างเดียว แต่พ่อเลือกไม่ได้ เพราะพ่อบังเกิดมามียศตำแหน่ง ต้องทำงานให้ประเทศชาติ ทูลหม่อม (รัชกาลที่ ๕) สั่งให้พ่อไปเรียนวิชาทหารเพื่อกลับมาปรับปรุงกองทัพไทย พ่อก็ไปเรียนวิชาทหาร

บางครั้งพ่อเบื่อบางวิชาที่ต้องเรียนจนทนไม่ไหว ต้องเก็บพ็อกเก็ตมันนี่เอาแอบไปเรียนดนตรี แอบไปเรียนเพราะพวกผู้ใหญ่สมัยนั้นเห็นว่าวิชาดนตรีไม่เหมาะกับชายชาติทหาร เมื่อได้เรียนดนตรีที่พ่อรักก็สบายใจ เกิดความอดทนที่จะเรียนและทำงานที่พ่อเบื่อ…”

ทรงเริ่มแต่งเพลงสากลก่อนเพลงไทย เพลงชุดแรกๆ มีเพลงวอลทซ์โนรี และเพลงจังหวะโปลก้า ชื่อเพลงมณฑาทอง เป็นต้น

ทรงนิพนธ์เพลงไทยประสานเสียงแบบเพลงสากล เช่น เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เพลงสาครลั่น และทรงแยกเสียงประสานเพลงไทยสำหรับบรรเลงด้วยวงโยธวาฑิต

ทำให้แตรวงบรรเลงเพลงไทยได้ไพเราะ มีหลักการประสานเสียงดียิ่งขึ้น ได้ทรงประดิษฐ์เพลงแตรวงไว้หลายเพลง เช่น โหมโรงสะบัดสะบิ้ง เพลงเขมรใหญ่ เถา เพลงแขกมัสหรี เถา เพลงแขกสี่เกลอ เถา

เพลงที่ทรงนิพนธ์ไว้ทั้งสำหรับวงโยธวาฑิตและปี่พาทย์ เช่น เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา (พ.ศ. ๒๔๕๓) เพลงพม่าห้าท่อน เถา เพลงแขกสาย เถา (พ.ศ. ๒๔๗๑) เพลงพ่าห้าท่อน เถา เพลงพวงร้อย เถา

ทรงนิพนธ์เพลงเถาสำหรับปี่พาทย์ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น
เพลงเทวาประสิทธิ์ เถา (พ.ศ. ๒๔๗๑)
เพลงอาถรรพ์ เถา (พ.ศ. ๒๔๗๑)
เพลงสมิงทองเทศ เถา (พ.ศ. ๒๔๗๓)

และภายหลังเมื่อเสด็จไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียแล้ว ยังได้ทรงนิพนธ์เพลงสำหรับวงปี่พาทย์ไม้แข็งขึ้นอีกหลายเพลง เช่น
เพลงน้ำลอดใต้ทราย เถา (พ.ศ. ๒๔๘๐)
เพลงนารายณ์แปลงรูป เถา (พ.ศ. ๒๔๘๐)
และเพลงสุดถวิล เถา (พ.ศ. ๒๔๘๔)

ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ทรงปรับปรุงวงดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารเรือ จนสามารถบรรเลงเพลงประเภทซิมโฟนีได้ดีเป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน


พระนิพนธ์

เพลงฝรั่ง
เพลงวอลทซ์ปลื้มจิตต์
เพลงวอลทซ์ประชุมพล
เพลงสุดเสนาะ
เพลงมณฑาทอง
เพลงวอลทซ์เมฆลา
เพลงมหาฤกษ์
เพลงสรรเสริญเสือป่า
เพลงวอลทซ์โนรี
เพลงสาครลั่น
เพลงโศรก
เพลงนางครวญ ๓ ชั้น

เพลงไทยแท้
เพลงแขกมอญบางขุนพรหม
เพลงสุดสงวน ๒ ชั้น
เพลงเขมรพวง ๓ ชั้น
เพลงเขมรชมจันทร์
เพลงสารถี ๓ ชั้น
เพลงสบัดสบิ้ง
เพลงทยอยนอก
เพลงทยอยเขมร
เพลงทยอยในเถา
เพลงแขกเห่
เพลงถอนสมอ
เพลงแขกมัสซีรี
เพลงครอบจักรวาฬเถา
เพลงบุหลันชกมวย ๓ ชั้น
เพลงเขมรใหญ่เถา
เพลงพม่าเถา
เพลงแขกสี่เกลอเถา
เพลงแขกสายเถา
เพลงบาทสกุณี
เพลงขับไม้
เพลงเขมรโพธิสัตว์เถา

เพลงไทยเดิม ซึ่งเป็นทางและทำนองสำหรับใช้บรรเลงพิณพาทย์โดยตรง
เพลงแขกสายเถา
เพลงอาถรรพ์เถา
เพลงแขกสาหร่าย ๓ ชั้น
เพลงสมิงทองมอญเถา
เพลงอาเฮีย
เพลงสารถี ๓ ชั้น

เพลงไทยเดิม ทรงพระนิพนธ์เมื่อเสด็จจากกรุงเทพฯ แล้วไปประทับอยู่ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย
เพลงต้นแขกไทร ๒ ชั้น
เพลงครวญหาเถา
เพลงกำสรวญสุรางค์
เพลงอักษรสำอางค์และเพลงสุรางค์จำเรียง
เพลงจีนลั่นถัน
เพลงจีนเข้าห้อง
เพลงน้ำลอดใต้ทรายเถา
เพลงขยะแขยง ๓ ชั้น
เพลงจีนเก็บบุปผาเถา
เพลงดอกไม้ร่วง
เพลงเทวาประสิทธิ์เถา
เพลงวิลันดาโอด
เพลงจิ้งจกทองเถา
เพลงตนาวเถา
เพลงพวงร้อยเถา
เพลงถอนสมอเถา
เพลงพระจันทรครึ่งซีกเถา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.) (บำเหน็ดในพระองค์รัชกาลที่ ๖)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ ชั้นที่ ๒ (ม.ป.ร.๒)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕ ชั้นที่ ๑ (จ.ป.ร.๑)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๖ ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๗ ชั้นที่ ๑ (ป.ป.ร.๑)
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน สำหรับประดับแพรแถบเหรียญดุษฎีมาลา
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
เหรียญจักรมาลา
เหรียญประพาสมาลา
เหรียญราชินี
เหรียญทวีธาภิเศก (ทอง)
เหรียญรัชมงคล (ทอง)
เหรียญรัชมังคลาภิเศก (ทอง)
เหรียญบรมราชาภิเษก (ทอง)
เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้น ๑


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Create Date : 14 กันยายน 2552
Last Update : 15 กันยายน 2552 17:13:40 น. 0 comments
Counter : 4875 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.