"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
7 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (Woodblock printing in Japan)

 




หน้าจากหนังสือจากคริสต์ศตวรรษที่ 18

โดยนิชิคะวะ ซุเคะโนะบุ เป็นภาพเทศกาลตุ๊กตา





นักแสดงคะบุกิ
“Shikan Nakamura IV ”
ในบท Umejiro Nitta
โดย คุนิชิคะ โตะโยะฮะระ




บิจิงะ
อุตะกะวะ คุนิโยะชิ


ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 木版画, moku hanga, อังกฤษ: Woodblock printing in Japan) เป็นวิธีที่ใช้ในการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” และใช้อย่างแพร่หลายในการพิมพ์หนังสือในช่วงเวลาเดียวกัน การพิมพ์แกะไม้เป็นสิ่งที่ทำกันในประเทศจีนมาเป็นเวลาหลายร้อยปีในการพิมพ์หนังสือ ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์กันขึ้น

แต่ไม่ได้นำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นจนกระทั่งมาถึงสมัยเอะโดะ (ค.ศ. 1603-ค.ศ. 1867) วิธีการพิมพ์ก็คล้ายคลึงกันกับที่เรียกว่าแกะไม้ในการสร้างพิมพ์ทางตะวันตก

ประวัติ

หนังสือที่พิมพ์จากวิธีการพิมพ์แกะไม้จากวัดพุทธศาสนาในประเทศจีนพบในญี่ปุ่นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 ในปี ค.ศ. 764 จักรพรรดินีโชะตุกุ (Shotuku) จ้างให้ทำเจดีย์เล็กๆ หนึ่งล้านองค์ (“Hyakumanto Darani”) แต่ละองค์ก็จะบรรจุม้วนกระดาษเล็ก (กว้างยาวประมาณ 6 x 45 เซนติเมตร) ที่มีคำสวดมนต์

และทรงแจกจ่ายไปยังวัดวาอารามทั่วประเทศเพื่อเป็นการฉลองการปราบกบฎเอมิ (Fujiwara no Nakamaro) ซึ่งเป็นตัวอย่างของการพิมพ์แกะไม้ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีหลักฐานปรากฏในญี่ปุ่น

เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 วัดในประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มพิมพ์หนังสือพุทธศาสนาและภาพของตนเอง แต่การพิมพ์ก็จำกัดเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพราะการพิมพ์ยังเป็นสิ่งที่มีราคาสูงเกินกว่าที่จะผลิตเป็นจำนวนมากได้ และในขณะนั้นก็ยังไม่มีผู้ที่มีความรู้พอที่จะอ่านหนังสือที่พิมพ์ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้การพิมพ์ไม่มีตลาด

จนกระทั่งเมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1590 จึงได้มีการพิมพ์งานที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น งานที่พิมพ์คือ “Setsuyō-shū” ซึ่งเป็นพจนานุกรมจีน-ญี่ปุ่นสองเล่ม แม้ว่านักบวชเยซูอิดจะใช้แท่นพิมพ์ในนะงะซะกิกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1590 แต่อุปกรณ์การพิมพ์ที่นำกลับมา โดยกองทัพของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิที่ไปทำการรุกรานเกาหลีในปี ค.ศ. 1593 กลับมามีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงทางการพิมพ์ในญี่ปุ่นมากกว่า

สี่ปีต่อมาก่อนที่โทะกุงะวะ อิเอะยะซุจะเป็นโชกุนก็ได้สร้างแท่นพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ไม้เป็นส่วนประกอบแทนที่จะเป็นโลหะ อิเอะยะซุควบคุมการสร้างแม่แบบตัวอักษร 100,000 ชิ้นที่ใช้ในการพิมพ์เอกสารทั้งทางการเมืองและทางประวัติศาสตร์ ในฐานะโชกุนอิเอะยะซุก็สนับสนุนการศึกษาและเป็นผู้นำในการให้การศึกษาแก่ประชาชนในเมือง

การพิมพ์ในช่วงนี้มิได้นำโดยสถาบันโชกุน แต่เป็นสำนักพิมพ์เอกชนที่เริ่มปรากฏขึ้นในเกียวโตเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 นอกจากนั้นโทะโยะโทะมิ ฮิเดะโยะริ (Toyotomi Hideyori) ผู้เป็นปรปักษ์ต่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการพัฒนาและเผยแพร่การพิมพ์ในญี่ปุ่นด้วย

หนังสือขงจื๊อ “Analects” ได้รับการพิมพ์ในปี ค.ศ. 1598 โดยใช้แท่นพิมพ์เกาหลีตามพระบรมราชโองการของ สมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-โยเซ (Emperor Go-Yōzei) หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือฉบับที่เก่าที่สุดในญี่ปุ่นที่พิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ แม้ว่าการใช้แท่นพิมพ์จะดูว่ามีความสะดวกแต่ก็เป็นที่ตกลงกันว่าการพิมพ์อักษรญี่ปุ่นที่มีลักษณะเป็นแบบ “Semi-cursive script” พิมพ์ได้ดีกว่าเมื่อใช้การพิมพ์โดยวิธีแกะไม้

ฉะนั้นการพิมพ์จึงหันกลับไปเป็นการใช้การพิมพ์ด้วยพิมพ์แกะไม้ และเมื่อมาถึง ค.ศ. 1640 การพิมพ์ด้วยวิธีนี้ก็ใช้สำหรับการพิมพ์แทบจะทุกสิ่งทุกอย่าง

หลังจากนั้นการพิมพ์ด้วยวิธีนี้เริ่มเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในบรรดาศิลปิน และ ได้รับการนำไปใช้ในการพิมพ์งานที่มีขนาดเล็กและราคาถูก และการพิมพ์หนังสือ ผู้ที่เป็นผู้ริเริ่มและผู้นำในการสร้างหนังสือศิลปะด้วยวิธีนี้ที่นำไปสู่การผลิตเป็นอุตสาหกรรมสำหรับสาธารณชนคือโฮะนะมิ โคเอตซุ (Honami Kōetsu) และ ซุมิโนะคุระ โซะอัน (Suminokura Soan) ในสำนักพิมพ์ที่ซะกะทั้งสองคนก็สร้างพิมพ์ไม้สำหรับงานคลาสสิคของญี่ปุ่น ที่รวมทั้งเนื้อหาและภาพประกอบ

ซึ่งเท่ากับเป็นการเปลี่ยนจาก “ม้วนหนังสือ” (Emakimono) มาเป็นหนังสือสำหรับตลาดที่กว้างขึ้น ปัจจุบันหนังสือเหล่านี้เรียกว่าหนังสือโคเอตซุ, หนังสือซุมิโนะคุระ หรือหนังสือซะกะ ซึ่งถือกันว่าเป็นสิ่งพิมพ์จากงานคลาสสิคแรก ที่มีฝีมือและคุณภาพดีที่สุด โดยเฉพาะที่มีชื่อเสียงที่สุดคืองานพิมพ์ซะกะ “ตำนานอิเซะ” (Ise monogatari) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1608

วิธีการพิมพ์ที่แม้จะเป็นวิธีที่ยุ่งยากและมีราคาสูงกว่าวิธีการพิมพ์ต่อมาแต่กระนั้นก็ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีที่ใช้กันมาก่อนหน้านั้นที่แต่ละเล่มมาจากการคัดลอกด้วยมือ ซึ่งทำให้เป็นการเริ่มต้นการผลิตหนังสือกันอย่างเป็นอุตสาหกรรมสำหรับสาธารณชน

ขณะที่หนังสือซะกะจะเป็นหนังสือที่พิมพ์บนกระดาษที่สวยงาม และใช้การตกแต่งหลายอย่างเพราะเป็นการพิมพ์สำหรับกลุ่มคนจำนวนไม่มากนักที่เป็นคอหนังสือ แต่สำนักพิมพ์อื่นในเกียวโตหันไปหาวิธีที่จะพิมพ์ให้มีราคาถูกกว่าและขายได้ในวงที่กว้างขึ้น เนื้อหาของหนังสือก็แตกต่างกันออกไปมากที่รวมทั้งหนังสือท่องเที่ยว, ตำราแนะนำ, “นวนิยายเชิงล้อเลียน” (kibyōshi), “วัฒนธรรมคนเมือง” (sharebon), หนังสือศิลปะ และบทละครสำหรับการเล่น “หุ่น” (jōruri)

สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นภายในหนังสือแต่ละประเภท เช่นหนังสือบทละครสำหรับการเล่น “หุ่น” ก็จะมีการเลือกใช้ลักษณะการเขียนแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งก็หมายความว่าลักษณะการเขียนอักษรของผู้ได้รับเลือกก็จะใช้เป็นมาตรฐานของหนังสือประเภทนั้น

สำนักพิมพ์ต่างๆ ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาและขยายตัวกันอย่างรวดเร็วที่พิมพ์ทั้งหนังสือและใบปลิว สำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดสำนักพิมพ์หนึ่งคือสึตะ-ยะ (Tsutaya Jūzaburō) สำนักพิมพ์จะเป็นเจ้าของแม่พิมพ์ที่แกะขึ้นซึ่งคล้ายกับการมีลิขสิทธิ์ในสมัยปัจจุบัน สำนักพิมพ์หรือเอกชนสามารถซื้อแม่พิมพ์จากกันและกันได้ เมื่อซื้อแล้วก็จะเป็นผู้มีสิทธิในการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ที่ซื้อมา แต่ความคิดเรื่องการเป็นเจ้าของปัญญสมบัติยังไม่ปรากฏ

การพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แกะดำเนินต่อมาจนกระทั่งความนิยมภาพอุคิโยะเริ่มลดถอยลง และการใช้แท่นพิมพ์และวิธีการพิมพ์แบบอื่นเข้ามาแทนที่ในการพิมพ์งานศิลปะที่เป็นแบบใหม่

วิธีพิมพ์

"Shōki zu" (โชคิก้าวเท้า) โดย โอะคุมุระ มะซะโนะบุ ราว ค.ศ. 1741- ค.ศ. 1751 ตัวอย่างภาพพิมพ์ติดเสาที่เดิมสูงกว้าง 69.2 x 10.1 เซนติเมตรวิธีการพิมพ์เนื้อความ และ ภาพจะคล้ายคลึงกัน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดก็แต่ตรงปริมาณที่พิมพ์ และความซับซ้อนของสีที่ใช้ถ้าเป็นการพิมพ์ภาพ ภาพประกอบหนังสือส่วนใหญ่จะเป็นภาพเอกรงค์ที่ใช้หมึกดำเท่านั้น และในช่วงระยะเวลาหนึ่งการพิมพ์งานศิลปะจะเป็นแต่การพิมพ์เอกรงค์หรือเพียงสองหรือสามสีเท่านั้น

การพิมพ์ก็จะเริ่มด้วยการวาดตัวหนังสือหรือภาพบน “กระดาษวะชิ” (washi) และปิดบนแผ่นไม้ที่มักจะเป็นไม้เชอร์รี จากนั้นก็จะทำการแกะไม้ตามรอยที่วาดไว้ในรูป หลังจากนั้นก็ใช้ “ประคบบะเร็ง” (Baren) กดกระดาษให้ติดกับพิมพ์ที่ทาหมึกเพื่อให้ลวดลายหรือตัวหนังสือปรากฏบนกระดาษ

ในระยะแรกการประคบก็อาจจะทำด้วยมือ แต่ต่อมาก็ได้มีการประดิษฐ์เครื่องมือที่ใช้ในตรึงแม่แบบไว้ให้แน่นก่อนที่จะกดพิมพ์ ซึ่งทำให้การพิมพ์หลายสีทำได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องการจะพิมพ์สีแต่ละสีซ้อนไปบนสีที่พิมพ์อยู่แล้วอย่างเหมาะเจาะ

ดังที่กล่าวแล้วว่าเนื้อหาของหนังสือและภาพส่วนใหญ่ที่พิมพ์จะเป็นเอกรงค์ แต่ความนิยมภาพอุกิโยะที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ความต้องการของจำนวนสีที่ใช้และความซับซ้อนในการพิมพ์มากและซับซ้อนตามขึ้นไปด้วย การวิวัฒนาการของการพิมพ์แบ่งได้เป็นช่วงๆ ดังนี้:

ภาพพิมพ์หมึก (ญี่ปุ่น: Sumizuri-e 墨摺り絵 ?) - ภาพพิมพ์เอกรงค์ที่ใช้แต่หมึกดำ

ภาพพิมพ์สีแดง (ญี่ปุ่น: Benizuri-e 紅摺り絵 ?) - ภาพพิมพ์ที่มีรายละเอียดเป็นหมึกสีแดง หรือเน้นด้วยมือด้วยหมึกสีแดงหลังจากที่พิมพ์เสร็จแล้ว หรือบางครั้งก็จะใช้สีเขียวด้วย

ภาพพิมพ์เน้นสีส้ม (ญี่ปุ่น: Tan-e 丹絵 ?) - ภาพพิมพ์ที่เน้นด้วยสี่ส้มโดยใช้รงควัตถุสีแดงที่เรียกว่า tan

ภาพพิมพ์สีคราม หรือ ภาพพิมพ์สีม่วง (ญี่ปุ่น: Aizuri-e 藍摺り絵 ?), (ญี่ปุ่น: Murasaki-e 紫絵 ?) และภาพพิมพ์ลักษณะอื่นที่เพิ่มสีขึ้นอีกหนึ่งสีนอกไปจากสีดำ หรือแทนที่สีดำ

ภาพอุรุชิ (ญี่ปุ่น: Urushi-e 漆絵 ?) - ภาพพิมพ์ที่ใช้กาวผสมสีเพื่อให้สีมีความหนาขึ้นทำให้ภาพดูเข้มข้นขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีการประดับด้วยทอง ไมคา และ วัตถุอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางศิลปะของภาพให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นภาพอุรุชิ ยังหมายถึงการวาดภาพบนเครื่องแล็คเคอร์แทนที่จะเพียงแต่ทาสีด้วย

ภาพนิชิคิ (ญี่ปุ่น: Nishiki-e 錦絵 ?) - เป็นวิธีการพิมพ์ที่ใช้แม่แบบหลายแม่แบบที่แต่ละแม่แบบก็สร้างขึ้นเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ ที่ทำให้สามารถใช้ในการพิมพ์ภาพที่มีหลายสีที่สร้างความซับซ้อนและรายละเอียดให้แก่ภาพได้ แม่พิมพ์แต่ละส่วนก็จะแกะขึ้นต่างหากจากกัน และจะใช้แต่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของภาพเฉพาะสีเดียวเท่านั้น

แม่พิมพ์แต่ละส่วนก็จะได้รับเครื่องหมายที่เรียกว่า “เคนโต” (見当) เพื่อที่จะได้ประสานแม่พิมพ์ส่วนต่างของภาพได้อย่างสะดวก

ตระกูล/โรงเรียนศิลปะ และ ขบวนการทางด้านศิลปะ
การพิมพ์ภาพในญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกับศิลปะสาขาอื่นๆ ของญี่ปุ่นที่จัดเป็นตระกูล/โรงเรียนศิลปะ และ ขบวนการต่างๆ ตระกูลการการสร้างภาพพิมพ์ที่มีชื่อเสียงที่ต่อมาคือขบวนการ moku hanga ก็ได้แก่:

สำนักศิลปินโทะรี (Torii school) - ตั้งแต่ ค.ศ. 1700

สำนักศิลปินคะอิเก็ตซุโด (Kaigetsudō school) - ระหว่าง ค.ศ. 1700 ถึง ค.ศ. 1714

สำนักศิลปินคัตซึคะวะ (Katsukawa school) - ระหว่างตั้งแต่ ค.ศ. 1740 ที่รวมศิลปินเช่นซูซูคิ ฮะรุโนะบุ และ โฮะกุไซ

สำนักศิลปินอุตะกะวะ (Utagawa school) - ระหว่างตั้งแต่ ค.ศ. 1842 ที่รวมศิลปินเช่นคุนิซะดะ

สำนักศิลปินโซซะคุ ฮะงะ (Sōsaku hanga) - ระหว่างตั้งแต่ ค.ศ. 1904 หรือขบวนการ "ภาพพิมพ์สร้างสรรค์"

สำนักศิลปินชิง ฮะงะ (Shin hanga) - ระหว่างตั้งแต่ ค.ศ. 1915 หรือขบวนการ "ภาพพิมพ์ใหม่"

ศิลปินอื่นๆ เช่นอุตะมาโระ, ชะระคุ และ ฮิโระชิเงะไม่เกี่ยวข้องกับตระกูลใดโดยเฉพาะ และจะวาดภาพจากหลายลักษณะ

ขนาดของภาพ
ขนาดมาตรฐานของภาพในสมัยเอะโดะมีด้วยกันหลายขนาด เช่นในตัวอย่างข้างล่าง:

Chūban (中判, ขนาดกลาง) (26 x 19 เซนติเมตร)

Chūtanzaku (中短冊) (38 x 13 เซนติเมตร) - หรือเรียกง่ายๆ ว่า tanzaku; ครึ่งหนึ่งของขนาด ōban ตามความยาว

Hashira-e (柱絵) (68-73 x 12-16 เซนติเมตร) - แถบแคบยาวแนวตั้งที่มักจะเรียกว่า "ภาพพิมพ์ติดเสา"

Hosoban (細判) (33 x 15 เซนติเมตร) - ภาพขนาด hosoban หลายภาพตัดมาจาก ō-ōban (大大判, ขนาดใหญ่มาก); hosoban เป็นขนาดที่เล็กที่สุดในภาพพิมพ์ที่เป็นแผ่น

Kakemono-e (掛物絵) (76.5 x 23 เซนติเมตร) - ขนาดใหญ่แนวตั้งที่ประกอบด้วยขนาด Ōban สองชิ้นวางซ้อนกัน นอกจากนั้น คะเคะโมะโนะ ก็ยังหมายถึง จิตรกรรมม้วน ด้วย

Ōban (大判, large size) (39 x 26.5 เซนติเมตร) - เป็นขนาดที่ใช้กันโดยทั่วไป
Ō-hosoban (大細判) (38 x 17 เซนติเมตร) - หรือเรียกว่า Ō-tanzaku

Shikishiban (21 x 18 เซนติเมตร) มักจะใช้สำหรับซุริโมะโนะ

ภาษาญี่ปุ่นสำหรับภาพแนวตั้ง (portrait) คือคำว่า “portrait” คือคำว่า “tate-e” (立て絵) และภาพแนวนอน (portrait) คือคำว่า “landscape” คือคำว่า “yoko-e” (横絵)

ขอบคุณ วิกิพีเดีย

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




Create Date : 07 สิงหาคม 2556
Last Update : 7 สิงหาคม 2556 20:04:54 น. 0 comments
Counter : 2572 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.