"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 
28 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
ดอร์เมาส์ (dormouse) .. กระรอกจิ๋ว






ดอร์เมาส์ (dormouse) .. กระรอกจิ๋ว




ดอร์เมาส์ (dormouse) หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า กระรอกจิ๋ว (micro squirrels) ด้วยลักษณะตัวคล้ายหนู ดวงตาดำกลมโต เป็นสัตว์ฟันแทะอีกชนิดหนึ่งที่มีขนสั้นนุ่มมาก หางฟูเหมือนกระรอก ยาวเท่ากับตัวประมาณ 3-4 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 20-60 กรัม มีขนสีเทาคล้ายชินชิลา

แต่ตอนโตเต็มที่แล้วสีขนจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงทราย ใต้ท้องมีสีขาวครีม และที่สำคัญมันมีขนาดตัวเล็กจิ๋ว ชนิดที่ว่าสามารถกระโดดลงท่อระบายน้ำขนาดเล็กได้อย่างสบาย ทั้งยังมีความว่องไว ปราดเปรียวตามสัญชาตญาณกระรอกป่า

เจ้ากระรอกจิ๋วมีหลากหลายสายพันธุ์ และแพร่กระจายในหลายประเทศทั่วโลก แต่มีถิ่นกำเนิดแหล่งใหญ่สำคัญอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และทวีปแอฟริกา ส่วนชนิดที่นิยมเลี้ยงซึ่งนำเข้ามาภายในประเทศไทย คือแอฟริกัน ปิ๊กมี่ ดอร์เมาส์ (Afican pygmy dormouse)

ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด ส่งตรงจากทวีปแถบแอฟริกากลาง อย่างไรก็ตาม ดอร์เมาส์เกือบทุกชนิดไม่ใช่สัตว์คุ้มครอง (ยกเว้นสายพันธุ์เฉพาะถิ่นในเกาะญี่ปุ่น)

ชื่อดอร์เมาส์นั้น มาจาก คำว่า "Dor" ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า ผู้หลับใหล มันถูกเรียกตามพฤติกรรมที่ต้องนอนจำศีลตลอดฤดูหนาว ในช่วงที่อาหารขาดแคลน

ปกติแล้วดอร์เมาส์เป็นสัตว์กลางคืน สังเกตได้จากดวงตากลมโต สีดำสนิทที่มีไว้สำหรับออกหากินเฉพาะเวลากลางคืนในป่าดิบชื้นแถบแอฟริกา กินอาหารจำพวกผลไม้ อาทิ กล้วย แอปเปิล เป็นต้น ส่วนเวลากลางวันจะนอนหลับ

“เมื่ออากาศเย็นลงดอร์เมาส์จะหาโพรงไม้ รังนกเก่า หรือแทะผลโอ๊กให้เป็นโพรงเพื่อเข้าไปจำศีล แต่พฤติกรรมนี้จะไม่เกิดในเมืองไทยเพราะเป็นเมืองร้อน

ดังนั้นการเลี้ยงดอร์เมาส์จึงต้องมีจัดสถานที่และควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ต่ำกว่า 70 องศาฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ 24 องศาเซลเซียส เพราะฉะนั้นดอร์เมาส์จึงไม่เหมาะที่จะเลี้ยงในห้องแอร์”

เลี้ยงไม่ฝืนธรรมชาติ

ดอร์เมาส์เป็นสัตว์สังคม จึงควรเลี้ยงเป็นคู่หรือรวมกันเป็นกลุ่ม ในธรรมชาติอาจจะพบดอร์เมาส์อยู่รวมกันมากถึง 20ตัวในครอบครัวเดียว เมื่อคนนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง ดอร์เมาส์ก็เข้ากับคนได้ไม่ยากนัก ค่อนข้างเลี้ยงง่าย

จึงเหมาะสำหรับคนไม่มีเวลา ไม่ค่อยอยู่ห้อง หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าดอร์เมาส์มีนิสัยคล้ายชูการ์ไกลเดอร์ แต่จริงๆ แล้วสัตว์ทั้งสองชนิดนี้ไม่เหมือนกันเลย โดยเฉพาะนิสัยที่ค่อนข้างขี้ตกใจของดอร์เมาส์ ต่างจากชูการ์ไกลเดอร์ที่เกาะติดคนอยู่ตลอดเวลา

"คนเลี้ยงหลายคนมักจะทอดทิ้งดอร์เมาส์ของตนเองเมื่อโตขึ้น เนื่องจากพวกมันไม่มีนิสัยออดอ้อนเหมือนสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ ชอบซ่อนตัว ไม่ชอบแสง เคลื่อนไหวรวดเร็ว และระวังตัวสูง เพราะเป็นเหยื่อของสัตว์ใหญ่ตามธรรมชาติ ทำให้มันค่อนข้างตื่นง่าย ชอบซุกซ่อน และกลัวสิ่งที่เคลื่อนไหววูบวาบ"

ถ้าผู้เลี้ยงเข้าใจพฤติกรรมตามธรรมชาติของพวกมันให้ดี และให้เวลากับมันเพียงพอ มีความสุขที่ได้จับเล่น ลูบคลำเจ้ากระรอกจิ๋วตัวอ้วน ได้จัดมุมของเล่นในตู้ และนั่งดูมันแสดงกายกรรมอย่างคล่องแคล่ว วิ่งเล่นปีนป่าย หรือนั่งแทะอาหาร ก็จะช่วยลดปัญหาการทิ้งขว้างสัตว์ จากอาการเริ่มเบื่อหน่ายได้

ส่วนใหญ่คนที่ต้องการเลี้ยงจะนึกว่าดอร์เมาส์นั้นเหมือนหนูแฮมเตอร์ที่อาศัยอยู่ในกรงได้ แต่เจ้าดอร์เมาส์นี้เป็นสัตว์ที่ชอบผจญภัย ชอบมุด และปีนป่าย จึงไม่นิยมเลี้ยงในกรงที่มีลักษณะเป็นซี่ลวด


“คนส่วนใหญ่จะเลี้ยงในตู้กระจกสำหรับใช้เลี้ยงปลา ขนาดกว้าง20นิ้ว ปิดด้วยตะแกรงขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับเลี้ยง 2 ตัว แต่จะมีข้อเสียคือ ทำความสะอาดยาก และมีน้ำหนักมาก แต่สำหรับตัวผมเองจะเพาะดอร์เมาส์ในตะกร้าสุนัขแบบพกพา

ซึ่งทำความสะอาดง่าย มีน้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี ควรปูพื้นด้วยขี้เลื่อยหนาประมาณ1-2นิ้ว อาจใช้เป็นบ้านไม้หรือบ้านดินเผาสำหรับทำเป็นรังนอน สำหรับถ้วยอาหารจะใช้แบบเซรามิกมีแบบแห้งและแบบเปียก เสริมด้วยขวดน้ำแบบสุญญากาศ”

คนเลี้ยงอาจมีการตกแต่งสถานที่เลี้ยงเพื่อเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางกิ่งไม้ ผูกเชือกให้สัตว์ได้ปีนป่าย และมีของเล่นไม้ต่างๆ แต่ที่สำคัญอย่างที่กล่าวไว้ในข้างต้นว่าไม่แนะนำให้เลี้ยงในห้องปรับอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 24 องศาเซลเซียส

ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้ดอร์เมาส์จะเริ่มนอนจำศีล ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับสัตว์ เพราะฉะนั้นอุณหภูมิห้องจึงเหมาะกับการเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้มากที่สุด

ตามธรรมชาติของเจ้าดอร์เมาส์จะกินอาหารหลากหลาย ทั้งเมล็ดพืช ผลไม้ และแมลงต่างๆ ดังนั้นอาหารที่เหมาะสมสำหรับดอร์เมาส์ในกรงเลี้ยงนั้นคือ อาหารสำเร็จรูปของหนูแฮมสเตอร์ และเสริมด้วย นม โยเกิร์ต ซีรีแลค ขนมปัง ผักสด จิ้งหรีด และผลไม้ต่างๆ

ซึ่งถ้วยอาหารนั้นต้องแยกแบบเปียกและแบบแห้ง และต้องเปลี่ยนถ้วยอาหารทุกวัน รวมทั้งเปลี่ยนขี้เลื่อยใหม่ และล้างอุปกรณ์ทุกๆ สัปดาห์ เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นที่อาจเกิดขึ้นได้


ถึงตัวเล็กแต่ลูกดก

สำหรับในต่างประเทศสามารถเพาะพันธุ์ดอร์เมาส์ได้น้อยครั้งต่อปี เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น สัตว์จำศีลจึงไม่เอื้ออำนวยต่อการผสมพันธุ์ แต่สำหรับเมืองไทยมีสภาพอากาศร้อนชื้น จึงสามารถขยายพันธุ์สัตว์ได้ตลอดทั้งปี

เจ้าดอร์เมาส์เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถดูเพศได้ตั้งแต่เกิด แต่สามารถรู้ได้ตอนเข้าสู่วัยผสมพันธุ์ เพศผู้จะมีอัณฑะ ส่วนตัวเมียจะไม่มี ดอร์เมาส์ เมื่อตัวผู้โตขึ้นจะเริ่มทะเลาะกัน (สิ่งที่ระวังควรจะมีตัวผู้แค่ 1 ตัว ต่อตัวเมีย 2 ตัว ถ้าตัวผู้เยอะกว่า 1 ตัว จะเกิดการแย่งตัวเมียอาจทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายได้)

ดอร์เมาส์มีความพร้อมผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งจะสังเกตอาการตัวผู้ได้จากเสียงร้อง "คริกๆ" คล้ายเสียงจิ้งหรีด หากผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะตั้งท้องนานประมาณ 25-35 วัน และออกลูกครอกละประมาณ 2-10 ตัว

ดอร์เมาส์นั้นเป็นสัตว์ที่หวงลูกมาก เพราะฉะนั้นเมื่อลูกดอร์เมาส์เกิดจึงไม่ควรเปิดดูถ้าไม่จำเป็น ควรตั้งกรงไว้ที่คนไม่เดินพลุกพล่าน ถ้าจับลูกดอร์เมาส์ในช่วงนี้จะทำให้แม่เกิดความเครียด อาจไม่เลี้ยงลูกหรือกินลูกได้ แต่สามารถดูลูกดอร์เมาส์หลังจากลืมตาได้แล้ว

สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับแม่ดอร์เมาส์หลังคลอด คืออาหารและน้ำ ถ้าให้ดีควรมีอาหารเสริมให้วันเว้นวัน ลูกดอร์เมาส์นั้นจะหย่านมและกินอาหารเองได้หลังคลอดประมาณ 30 วัน

“แต่สำหรับผมนั้นไม่แนะนำให้เลี้ยงลูกป้อน เพราะมีอัตราการเสี่ยงสูงและมีความสมบูรณ์ไม่เทียบเท่ากับให้แม่เลี้ยงลูกดอร์เมาส์เอง แต่สามารถทำให้เชื่องโดยเอาออกมาเลี้ยงตอนอายุได้ 28-30 วัน แต่ต้องเอาใส่ใจโดยจับเล่นบ่อยๆให้คุ้นมือ โดยตอนแรกลูกดอร์เมาส์นั้นงับบ้างเป็นบางครั้ง”

ในช่วงแรกได้มีการนำเข้าดอร์เมาส์มาจากต่างประเทศ จากนั้นก็มีการเพาะพันธุ์ภายในประเทศ เพราะดอร์เมาส์เป็นสัตว์ที่เพาะง่าย เนื่องจากสภาพอากาศในเมืองไทยเป็นอากาศร้อน ทำให้มีลูกได้ถึงปีละ 3-4 ครั้ง แต่ในต่างประเทศพบว่าดอร์เมาส์มีลูกได้เพียง 1-2 ครั้ง/ปี

จึงมีการนำเข้าจากต่างประเทศเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น ส่งผลทำให้เกิดปัญหาเลือดชิดในสายพันธุ์แล้วเกิดลูกที่ไม่สมบูรณ์


“ลักษณะลูกที่เกิดจากการผสมพันธุ์ของดอร์เมาส์ที่มีสายเลือดชิดกันทางพันธุกรรม จะมีความผิดปกติที่แตกต่างจากพ่อแม่ สามารถสังเกตจากลักษณะภายนอกได้อย่างชัดเจน คือปลายหางเป็นสีขาว อาจดูสวยงาม

แต่เป็นลักษณะความผิดปกติของยีนส์ด้อยที่ทำให้เลี้ยงไม่โต นอกจากนี้ยังมีดอร์เมาส์ที่เกิดมามีลักษณะผิดธรรมชาติ หางขด ปลายหางขาด หรือไม่ก็หางกุด ดังนั้น อัตราการเกิดมาจะมีความสมบูรณ์จึงเกิดได้ยาก”


ทุนต่ำ กำไรสูง

ถ้าย้อนไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ธุรกิจขายสัตว์เลี้ยงอย่างดอร์เมาส์มีคู่แข่งในตลาดน้อยมาก เนื่องจากคนเลี้ยงดอร์เมาส์ยังมีจำนวนน้อย ประกอบกับเป็นสัตวที่เลี้ยงไม่ยาก ขยายพันธุ์ง่าย จึงเป็นข้อได้เปรียบกว่าสัตว์ชนิดอื่นสำหรับเพาะเลี้ยงเพื่อขาย

“จากเมื่อ 2 ปีก่อน ดอร์เมาส์มีราคาขายสูงเหยียบหลักพัน อยู่ที่ 2,000-2,500 บาท แต่ปัจจุบันนี้ราคาขายได้ลดลงเท่าตัว อยู่ที่ประมาณ 400-700 บาท ถือว่าราคาถูกกว่าสัตว์เลี้ยงแปลกๆ อีกหลายชนิดในเมืองไทย จึงทำให้ลูกค้าซึ่งมีตั้งแต่อายุ13 ปีจนถึงวัยเกษียณ สามารถซื้อหาจับจองกันได้ง่าย”

ดอร์เมาส์ ยังเปิดโอกาสให้แก่นักลงทุนที่ต้องการเลี้ยงเพื่อขาย ด้วยเม็ดเงินไม่มากอย่างที่คิด เพียงแค่ 20,000 บาทก็สามารถลงทุนได้ง่ายๆ ตั้งแต่ต้นทุนเรื่องค่าใช้จ่ายซื้ออุปกรณ์ในการเลี้ยงทุกชนิด และเจ้าตัวดอร์เมาส์ก็สามารถซื้อได้ทั้งหมด 18 คู่ ตามคำแนะนำของปาล์มแบบไม่สงวนลิขสิทธิ์

ตอนนี้ถ้าใครเกิดหลงรักเจ้าดอร์เมาส์ และอยากเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนเล่นยามว่าง สำหรับผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยงสามารถขอคำแนะนำดีๆ ได้ที่ คุณปาล์ม เจ้าของฟาร์มดอร์เมาส์ โทร. 08-7706-2509 หรือสะดวกติดต่อทางอีเมล : somposh107@hotmail.com


รู้สักนิด...ก่อนคิดจะเลี้ยง

การจับดอร์เมาส์นั้นควรจับลำตัว ไม่ควรจับหาง เพราะจะทำให้ดอร์เมาส์เกิดความตกใจและสลัดหางหลุดได้ ดอร์เมาส์นั้นเป็นสัตว์ที่ขี้ตกใจ จึงไม่ควรปล่อยเล่นในห้องหรือนำออกไปเล่นข้างนอก และที่สำคัญเป็นสัตว์ที่ไม่ควรนำมาเลี้ยงตอนโต เพราะจะให้เชื่องนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก จึงนิยมนำมาเลี้ยงในช่วงอายุไม่เกิน 1 เดือน



ขอขอบคุณ

ผู้จัดการออนไลน์
คุณปาล์ม


อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ค่ะ


ขอความกรุณาช่วยโหวต TBA ด้วยนะคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ
กดที่นี่ค่ะ

sirivinit




Create Date : 28 สิงหาคม 2554
Last Update : 28 สิงหาคม 2554 10:04:05 น. 0 comments
Counter : 12810 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.