"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
25 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
เสาชิงช้า เกิด 8 เมษายน 2327


ภุมวารสิริสวัสดิ์-มานมนัสรมเยศที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ ค่ะ


เพราะพระมเหลเถไถมะไหลถาแท้ๆ เลย จึงทำให้รู้จักเสาชิงช้าดีขึ้น กับเวลาไปไหว้พระวัดสุทัศน์ เรามารู้จักเสาชิงช้าเถอะค่ะ


เสาชิงช้า สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2327

เชิงช้า ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่สำคัญชิ้นหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ ระหว่าง ศาลาว่าการกรุงเทพฯ และ วัดสุทัศน์เทพวรารามนั้น เราเรียกกันสั้นๆ ว่า เสาชิงช้า ที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ครั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

เป็นวัตถุสถานที่แสดงถึงคติความเชื่อในการสร้างเมือง เพื่อทำหน้าที่เป็นขวัญและกำลังใจแก่พสกนิกร สถานที่ประกอบพิธีเพื่อความศักดิ์สิทธิ์และความมั่นคงของเมือง

เสาชิงช้าบ่งบอกถึงความเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันยาวนานของไทย อีกทั้งยังเป็นหลักฐานสำคัญ แสดงถึงคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ที่เข้ามาแพร่หลายอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิแต่ครั้งบรรพกาล

มีอิทธิพลต่อทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชน ดังจะเห็นได้จากความสำคัญของเสาชิงช้า ในการเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย หนึ่งในพระราชพิธี 12 เดือน

ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของชาวพระนคร ที่พระมหากษัตริย์ให้ความสำคัญ และเป็นงานสนุกสนานรื่นเริงประจำปีสำหรับชาวเมือง ที่จะได้ชมขบวนแห่ของพระยายืนชิงช้า และชมการโล้ชิงช้า ตลอดจนมหรสพนานาชนิดที่จัดขึ้น เพื่อความบันเทิงของชาวพระนคร

ใน พ.ศ.2477 ได้ยกเลิกการโล้ชิงช้า และขบวนแห่พระยายืนชิงช้าไป
ปัจจุบันเราจึงได้เห็นแต่เสาแดงที่ตั้งสงบนิ่งโดยปราศจากกระดานหรือที่ยืนชิงช้า

แต่ในอดีตนั้น การโล้ชิงช้า เป็นที่ประกอบพระราชพิธีอันสำคัญ มาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 และ มาสิ้นสุดเอาในสมัย รัชกาลที่ 7 ก่อนจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ประชาธิปไตย ได้เพียงปีเดียว

เป็นที่ทราบกันดีว่า ศาสนาฮินดูนั้นเป็น ศาสนาที่มีบทบาทในสังคมไทย เทียบคู่มากับ พุทธศาสนามานาน เมื่อมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ทรงพระราชทานที่ให้กับเหล่านักบวชพราหมณ์ ในเขตพระนครที่ไม่ห่างจาก พระบรมมหาราชวังมากนัก

นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้าง เทวสถาน เพื่อให้เป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าฮินดู พร้อมทั้งเสาชิงช้ายักษ์ เหมือนกับ สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เหตุที่เชื่อกันว่า ควรมีการโล้ชิงช้านั้น

สมเด็จพระกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงสันนิษฐานว่าน่าจะมีไว้แก้บน และการแก้บนนี้จะต้องทำต่อหน้ากษัตริย์ เนื่องจาก กษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ
( ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช) แต่เนื่องจากกษัตริย์เองก็มีพระราชกรณียกิจที่ต้องทำมาก จึงได้ทรงแต่งตั้งให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาเป็นผู้แทนพระองค์ และตัวแทนที่ว่านี้เรียกว่า พระยายืนชิงช้า

พิธีกรรมนี้สิ้นสุดลงเมื่อปีพ.ศ.2474 ในสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเศรษฐกิจในสมัยนั้นตกต่ำถึงขีดสุด จำต้องมีการลดค่าใช้จ่ายลงไปเป็นอันมาก และพิธีนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย


พิธีโล้ชิงช้า
ที่มาแห่งพิธีโล้ชิงช้า
จากหนังสือ “ของดีกรุงเทพฯ" พบว่า พิธีนี้ถือเป็นพิธีกรรมวันปีใหม่แบบโบราณของพราหมณ์ในดินแดนชมพูทวีป โดยมีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพซึ่งบันทึกเอาไว้ว่า...

พระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่า โลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวรโดยให้พญานาคขึงตนระหว่าง “ต้นพุทรา” ที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัว โดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรนั้นไม่ตกลง แสดงว่า โลกที่ทรงสร้างนั้น มั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน

ดังนั้น พิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น “ต้นพุทรา” ช่วงระหว่างเสาคือ “แม่น้ำ” ส่วนนาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ “พญานาค” โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ

นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ โดยเชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ ปีละครั้งในเดือนยี่ ครั้งหนึ่งกำหนด 10 วัน คือจะลงมาในวันขึ้น 7 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เสด็จขึ้นกลับ คณะพราหมณ์จึงได้จัดพิธีต้อนรับขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร

สำหรับการประกอบพิธีโล้ชิงช้านั้น ถือได้ว่าเป็นพิธีการที่สนุกสนานครึกครื้น เริ่มด้วยการตั้งโรงราชพิธี จากนั้นให้พราหมณ์อันเชิญพระอิศวร ครั้งได้ฤกษ์ดี ทางราชการจะให้ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาพานทองแต่งตัวโอ่โถงสมมุติเป็นพระอิศวร เรียกว่า พระยายืนชิงช้า เสร็จแล้วให้มีกระบวนแห่ไปที่เสาชิงช้า

เมื่อพระยายืนฯ ไปถึงเสาชิงช้าก็เข้าไปนั่งในโรงราชพิธี จากนั้นให้ผู้ที่จะโล้ชิงช้าขึ้นชิงช้าทีละ 4 คน(โล้ 3 กระดาน รวมเป็น 12 คน) โดยมีเชือกที่ถือยึดไว้แน่นทั้งสี่ด้าน สองคนหันหน้าเข้าหากัน พนมมืออยู่กลางกระดาน มือสอดเชือกไว้ อีกสองคนอยู่หัวท้ายมีเชือกจับมั่นคง ถีบโล้ชิงช้าเพื่อฉวยเงินรางวัล 1 ตำลึง

ส่วนการที่จะฉวยเอาเงินรางวัลได้นั้น คนที่อยู่หัวกระดานเป็นคนฉวย โดยเงินนั้นผูกแขวนไว้กับฉัตรสูงที่ปักไว้แล้วมีคันทวยยื่นออกไประยะห่างพอที่จะโล้ชิงช้ามาถึงได้ คนดูที่อยู่ข้างล่างก็ "ตีปีก" เชียร์กันอย่างสนุกสนาน

การโล้ชิงช้านี้สำคัญอยู่ที่คนท้าย คือจะต้องเล่นตลก คือพอคนหน้าจะคาบถุงเงิน คนท้ายจะทำกระดานโล้ ให้เบี่ยงไปเสียบ้าง ทำกระดานโล้ให้เลยถุงเงินเสียบ้าง จึงจะเรียกเสียงฮา จากคนดูได้

การโล้ชิงช้านี้ ได้มีติดต่อกันมาหลายรัชกาล จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 จึงได้ยกเลิกประเพณีการโล้ชิงช้าไปเสีย และพิธีนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย ซึ่งล่าสุดเมื่อคราวเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 222 ปี ถึงได้รื้อฟื้นพิธีจำลองกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ประวัติการซ่อมบูรณะเสาชิงช้าที่สำคัญ

พ.ศ.2327 รัชกาลที่1 ก่อสร้างเสาชิงช้า
พ.ศ.2361 รัชกาลที่2 เกิดฟ้าผ่าบนยอดเสา แต่ไม่เสียหายมากนัก
พ.ศ.2463 รัชกาลที่6 เสาชิงช้าผุทั้งหมดจึงมีการเปลี่ยนเสาไม้ บริจาคไม้โดย บริษัท หลุย ที เลียวโนเวนส์
พ.ศ.2478 ได้มีการซ่อมกระจังเดิมที่ผุหัก และได้ใช้มาจนทุกวันนี้
พ.ศ.2490 เกิดไฟไหม้ที่โคนเสาแต่ได้มีการซ่อมประทังไว้
พ.ศ.2513 เสาชิงช้าผุชำรุดมาก จนต้องเปลี่ยนเสาโครงสร้างทั้งหมด

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 อธิบดีกรมป่าไม้ (นายฉัตรชัย รัตโนภาส) ได้สั่งการให้สถานีบำรุงพันธุ์ไม้สัก (สถานีวนวัฒนวิจัยงาว ในปัจจุบัน) จังหวัดลำปาง ทำการขยายพันธุ์ไม้สักมงคลทั้ง 6 ต้น

ที่สำนักงานกรุงเทพมหานครจะตัดไปบูรณฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ในท้องที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ซึ่งทางสถานี ฯ ได้ดำเนินการไปเก็บกิ่ง ตา มาทำการติดตา เก็บยอดไปฟอกฆ่าเชื้อ และขยายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

และได้เก็บเมล็ดจากไม้สักดังกล่าว ซึ่งมีเมล็ดเพียง 5 ต้น ไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มตัดต้นไม้ต้นแรก และสามารถทำการ ขยายพันธุ์ไม้สักทั้ง 6 ต้นได้ในระดับหนึ่ง


ขอขอบคุณ : //travel.sanook.com/bangkok/

และสูจิบัตร งานฉลองเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร 12 ก.ย.2550


Create Date : 25 สิงหาคม 2552
Last Update : 26 สิงหาคม 2552 13:57:49 น. 0 comments
Counter : 1099 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.