"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
2 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
"จุด" ต่อลมหายใจแห่งยุคสมัย ของ ฉลอง พินิจสุวรรณ ที่หอศิลป์ไตยวน

 

นาฏินันท์ จันทร์ธีระวงศ์ เรื่อง

ศักดิ์สกุล กุลละวณิชย์ ภาพ

 

Original image of FBf0b781.jpg

 

 

 "ฉลอง พินิจสุวรรณ สร้างสรรค์งานศิลปะด้วยปลายปากกาลูกลื่น จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของเขาเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น เมื่อพินิจดูผลงานของเขาใกล้ๆ ก็จะพบว่า แสง เงา ตึก ภูเขา แม่น้ำ ไปจนถึงพระอาทิตย์ดวงโตที่ฉายแสงสู่มวลมนุษย์นั้น ในงานของฉลองแล้ว สรรพสิ่งมีต้นกำเนิดจากจุดเล็กๆ สีดำนับหมื่นนับแสนจุด รวมกันเป็นผลงานทางพุทธศิลป์ ธรรมชาติ และจินตนาการ จรดปลายปากกาลูกลื่น แปรเปลี่ยนเป็นความงามของโลกและจักรวาล"

 

ข้อความจากแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการเปิดบ้านศิลปินเชียงราย นำพาให้เราก้าวไปสู่ "หอศิลป์ไตยวน" สถานที่แสดงผลงานศิลปะของ "ฉลอง พินิจสุวรรณ" หนึ่งในกว่าร้อยศิลปินชาวเชียงราย ที่เราพลาดโอกาสชมผลงานของเขามาหลายครั้ง เพราะทุกคราที่เยือนเชียงราย สถานที่ท่องเที่ยวมากมายของจังหวัดนี้มักดึงดูดใจชาวคณะของเราได้มากกว่าเสมอ

 

หลังถามไถ่และนัดหมายเวลา เราจึงได้พบกับเจ้าของหอศิลป์แห่งนี้ ที่เพิ่งกลับจากการเข้ารับพระราชทานปริญญาศิลปมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาทัศนศิลป์ ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มอบให้เป็นเกียรติประวัติ ถึงจะเหนื่อยล้าจากการเดินทาง แต่แววตาของเขาดูสดใสในวันที่พาเราเยี่ยมชมผลงาน

 

 หอศิลป์ไตยวน เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะมีสถานที่สำหรับทำงานและจัดแสดงผลงานศิลปะของ ฉลอง พินิจสุวรรณ หลังตัดสินใจอำลาชีวิตข้าราชการครูที่ยาวนานกว่า 28 ปี

 

 ชื่อของหอศิลป์ไตยวนนั้น ฉลองเล่าให้ฟังว่า "คุณยายของผมอพยพมาจากเชียงแสน ไปอยู่ที่ลำปาง และย้ายจากลำปางมาอยู่ที่อำเภอแม่ใจ บ้านเกิดของผม ซึ่งก็คือจังหวัดเชียงรายในอดีต ผมเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งของเชียงราย คือไตยวน ซึ่งก็คือชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบน"

 

 "หลังจากกองทัพของกรุงรัตนโกสินทร์ขับไล่พม่าออกจากเชียงแสน ไตยวนเป็นกลุ่มชนกลุ่มแรกที่อพยพออกไปก่อน แล้วไปตั้งรกรากอยู่ที่ลำปาง น่าน เชียงใหม่ สระบุรี และราชบุรี ปัจจุบัน คนรุ่นหลังๆ ไม่รู้จักไตยวนแล้ว ผมในฐานะที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตชนเผ่าต่างๆ เลยคิดว่า หากไม่มีใครกล่าวถึง คนรุ่นหลังจะไม่รู้จัก เลยนำชื่อชนเผ่านี้ มาตั้งเป็นชื่อหอศิลป์ อย่างน้อยเพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบทอดบรรพบุรุษที่ถูกอพยพกวาดต้อนไปเมื่อประมาณสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมา"

 

สอดคล้องกับแนวคิดในการทำงานศิลปะ ที่มุ่งจดบันทึกเรื่องราว วิถีชีวิตของผู้คน ประเพณี และวัฒนธรรม ให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ของคนรุ่นต่อไป เพราะทุกวันนี้ โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว จนเขาเกรงว่า วันข้างหน้า คนรุ่นหลังจะไม่รู้จักรากเหง้าเหล่ากอทางวัฒนธรรมของตนเอง

 

 "งานส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับวิถีชีวิต  เช่นว่า  เราตื่นเช้ามา เราก็ไหว้พระ ตักบาตร กลางคืนก่อนเข้านอนก็ไหว้พระ มันเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนล้านนา หรือของคนชนเผ่า คนไตยวน ที่ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา  ฉะนั้น การที่เราวาดภาพใบหน้าพระก็ดี วิถีชีวิตก็ดี ความเป็นอยู่ของชาวไร่ ชาวนา การทำเกษตร พวกนี้เป็นสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่เราเห็นมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย แต่จนวันนี้ สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนไป ชีวิตของชาวนาเปลี่ยนไป จากที่เคยทำไร่ไถนาโดยใช้แรงงานจากคน จากสัตว์ เคยไถนาโดยใช้ควาย มีอุปกรณ์เครื่องมือในการทำนา มีแอก มีไถ แต่วันหนึ่งมันอันตรธานหายไปจากวิถีชีวิต แล้วเกิดเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทดแทน

 

 งานของผมจึงถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ออกมาว่า ในช่วงหนึ่งของชีวิต วิถีชาวนาเป็นอยางนี้ ซึ่งคนรุ่นหลังอาจจะไม่เคยรู้ ไม่รู้จัก แม้แต่ควาย เด็กรุ่นหลังๆ บางคนยังไม่รู้จัก ว่านี่คือสัตว์อะไร  มีประโยชน์อยางไร อีกหน่อยอาจจะหายไปจากวิถีชีวิตของคนล้านนา ถ้าหากเราไม่ได้จดบันทึกเอาไว้ในลักษณะของรูปภาพ ผลงานหรืออะไรต่างๆ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา  เขาก็อาจจะไม่รู้จักรากเหง้าเหล่ากอทางวัฒนธรรมของตนเอง"

 

ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น ความน่าสนใจในงานของฉลอง พินิจสุวรรณ คือเทคนิคที่เขาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานโดยการบรรจงแต้มหมึกจากปลายปากกาลูกลื่น ทีละจุด ทีละแต้ม ถ่ายทอดด้วยความพากเพียร

 

 "ที่เลือกใช้ปากกาลูกลื่นเพราะพกพาง่าย มีแค่ปากกาและกระดาษก็สามารถสร้างงานได้แล้ว ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อย่างน้อยก็ได้สเก็ตช์เอาไว้แล้วนำมาขยายเป็นงานชิ้นใหญ่ และปากกาเป็นเทคนิคที่ละเอียด ทำงานได้ช้า ก็เป็นการฝึกสมาธิไปด้วย การที่จะทำงานสำเร็จนอกจากจะอาศัยปัญญา ทักษะ ความสามารถแล้วก็ยังต้องมีสมาธิ  ผมเป็นคนชอบเก็บรายละเอียด เพราะฉะนั้นปากกาจึงเป็นอุปกรณ์ที่ถูกใจผมมากกว่าเทคนิคอื่นๆ แม้จะใช้เวลาเป็นเดือนๆ ในการสร้างงานแต่ละชิ้น"

 

 นอกจากผลงานจิตรกรรม งานแกะสลัก แล้ว ฉลองยังเขียนหนังสืออีกหลายเล่ม อาทิ จากล้านนาถึงสิบสองปันนา, มิตรภาพไทย-จีน ยิ่งยืนนาน, อหังการ สล่าล้านนา, จดหมายถึงลูก ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังที่จะต่อลมหายใจให้กับยุคสมัย

 

 "หนังสือ ก็คล้ายๆ กับการทำงานศิลปะ เป็นการจดบันทึกสิ่งที่คนเฒ่าคนแก่ ปราชญ์โบราณ เล่าให้ฟัง เราไม่อยากให้สิ่งนั้นมันตายไป อยากให้มันยังมีลมหายใจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด คำคม หรือความรู้ที่เป็นวิชาการ ถ้าเรานำมาพูดบ้าง มาเขียนลงในงานของเราบ้าง มันก็จะทำให้สิ่งเหล่านั้นยังมีลมหายใจต่อไป


 อย่างน้อยให้รู้จักที่มาที่ไปของตนเองและเกิดความภาคภูมิใจในชาติกำเนิด ถ้าเราไม่ทำอะไรตรงนี้ไว้มันก็ไม่เกิดความภาคภูมิใจ  ผมบันทึกเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิต ปราชญ์ล้านนา จิตรกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเอาไว้ เผื่อว่าหากวันหนึ่งมันหายไป และคนที่เล่านั้นก็ตายไปแล้ว แต่ความรู้ ภาษา วัฒนธรรม สิ่งดีงามต่างๆ จะยังคงอยู่ เพราะได้มีคนต่อลมหายใจนั้นไว้แล้ว"

 

ความสงบงามของหอศิลป์แห่งนี้ ดึงดูดให้เราได้ย้อนทำความเข้าใจในวิถีแห่งชีวิตผู้คนล้านนา จากผลงานของฉลองทั้งงานจิตรกรรม และงานแกะสลักไม้จากฝีมือที่ไม่เป็นรองใคร รวมทั้งหนังสืออีกหลายเล่ม ที่ฉลองเขียนขึ้นเพื่อถ่ายทอดเรื่องเล่าจากการเดินทางไปหลายหนแห่ง เพื่อมุ่งหวังให้คนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้

 

 ถึงแม้จะต้องทำงานไปพร้อมๆ กับต้อนรับผู้มาเยือนในแต่ละวัน ความพากเพียรในการสร้างสรรค์งานศิลป์ด้วยจุดเล็กๆ จากปลายปากกาก็ไม่ได้ลดน้อยลง เนื่องจากช่วงนี้เขาอยู่ในช่วงสร้างงานสำหรับนิทรรศการ "ศิลปะคือชีวิต ฉลอง พินิจสุวรรณ 60 ปี ไอเหมือนฟานโขก" ที่เจ้าตัวเตรียมผลงานจิตรกรรมขนาดใหญ่โดยตั้งใจจะวาดให้ครบ 6 ภาพ สำหรับวาระพิเศษนี้ จัดแสดงร่วมกับผลงานที่สะสมมาตลอดชีวิตการทำงานศิลปะ และจะจัดขึ้นในวันครบรอบวันเกิด 6 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ เป็นโอกาสดีสำหรับใครที่ชื่นชอบศิลปะจะได้ไปเยือน

 

 หอศิลป์ไตยวน ตั้งอยู่เลขที่ 250 หมู่ 15 ซอย3 ถ.ราชโยธา ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย โทรศัพท์ 0-5371-2137  08-9631-9438 ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

 


 Original image of TPte9577.jpg

 


 ชื่อนิทรรศการ "ศิลปะคือชีวิต ฉลอง พินิจสุวรรณ 60 ปี ไอเหมือนฟานโขก" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2555 ที่หอศิลป์ไตยวน ฉลอง ขยายความถึงที่มาจากปราชญ์โบราณล้านนาที่ได้สรุปวงจรชีวิตของมนุษย์เรา และประจักษ์ชัดมาหลายชั่วอายุคน เอาไว้ว่า

 

สิบปี๋ อาบน้ำบ่หนาว คือชีวิตช่วงวัยเด็ก สนุกสนาน ไม่รู้จักความหนาว ความร้อน

 

ซาวปี๋ แอ่วสาวบ่ก้าย ชีวิตวัยหนุ่ม เป็นวัยที่มีความสุขที่ได้อยู่กับเพศตรงข้าม

 

สามสิบปี๋ บ่หน่ายสงสาร คนวัยนี้ไม่รู้จักเบื่อหน่ายต่อชีวิต เพราะกำลังสร้างเนื้อสร้างตัว

 

สี่สิบปี๋ ยะก๋านเหมือนฟ้าผ่า เป็นวัยที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทำงานเร็ว ความคิดโลดแล่น

 

ห้าสิบปี๋ สาวหน้อยด่าบ่เจ็บใจ๋ เมื่ออายุมากขึ้น ก็มักจะชอบหยอกล้อกับคนที่อายุน้อยกว่า แม้จะถูกด่า แต่ก็ไม่โกรธเคือง

 

หกสิบปี๋ ไอเหมือนฟานโขก  ฟานก็คือเก้งในภาษาเหนือ  ที่มีวิธีการกินผลไม้เปลือกแข็งโดยการนำมาโขกกับก้อนหิน ทำให้เกิดเสียงดังโขลก..โขลก ก้องป่า เปรียบเทียบเหมือนเสียงไอของคนในวัยนี้  ที่ฟันฟางเริ่มเสื่อม เข้าสู่ช่วงชีวิตขาลง

 

เจ็ดสิบปี๋ บะโหกเต๋มตัว สุขภาพร่างกายอ่อนแอ เต็มไปด้วยโรคภัย

 

แปดสิบปี๋ ไค่หัวเหมือนไห้ คนในวัยนี้ถึงหัวเราะแต่ก็ดูเหมือนร้องไห้

 

เก้าสิบปี๋ ไข้ก็ต๋าย บ่ไข้ก็ต๋าย มันหมดอายุขัย แล้วแต่สุขภาพร่างกาย เต็มที่ของชีวติแล้ว ป่วยก็ตาย ไม่ป่วยก็ตาย

 

 "เหมือนสัจธรรมแห่งชีวิตที่ปราชญ์โบราณได้ว่าไว้ ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ หากเราเข้าใจ จะไม่ทุกข์ เพราะเมื่อถึงช่วงหนึ่งๆ ในชีวิตคนเรา มันก็เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ขณะยังมีชีวิตอยู่ได้ทำอะไรไว้บ้าง ช่วงที่ยังมีลมหายใจอยู่เราต้องใช้ให้เป็นประโยชน์ คุ้มค่ากับการที่ได้เกิดมา เรามีหน้าที่ทำอะไรก็ต้องทำ นั่นต่างหากที่เราต้องตระหนัก

 

 อย่างผมมีหน้าที่วาดรูป ก็จะพยายามวาด เพื่อให้เป็นสมบัติกองสุดท้าย ให้กับคนรุ่นหลัง เพราะหลังจากนี้โรคก็คงเริ่มรุมเร้า แต่คงไม่เครียดกับชีวิต เพราะได้สร้างภูมิคุ้มกันให้ชีวิตเอาไว้แล้ว" ฉลองกล่าวทิ้งท้าย


ขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
คุณนาฏินันท์ จันทร์ธีระวงศ์
คุณศักดิ์สกุล กุลละวณิชย์

สิริสวัสดิ์จันทรวารค่ะ







Create Date : 02 กรกฎาคม 2555
Last Update : 2 กรกฎาคม 2555 11:06:50 น. 0 comments
Counter : 2002 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.