"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
9 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
ปลาซีลาแคนท์มหาสมุทรอินเดียตะวันตก






ปลาซีลาแคนท์มหาสมุทรอินเดียตะวันตก
Latimeria chalumnae Smith, 1939





ตัวอย่าง Latimeria chalumnae
ที่พิพิธภัณฑ์สัตวศาสตร์ โคเปนเฮเกน





ปลาซีลาแคนท์มหาสมุทรอินเดียตะวันตก (Latimeria chalumnae) เป็นปลาซีลาแคนท์หนึ่งในสองชนิดที่ยังมีชีวิตอยู่ ลำตัวมีสีน้ำเงิน เป็นที่รู้จักกันดีกว่าปลาซีลาแคนท์อีกชนิด


ลักษณะ

น้ำหนักของปลาซีลาแคนท์ทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย (ลาติเมอเรีย ชาลัมนี) เฉลี่ยแล้วประมาณ 80 กิโลกรัม และอาจมีความยาวของลำตัวได้มากถึง 2 เมตร

เพศเมียที่โตเต็มวัยหนักมากกว่าเพศผู้เล็กน้อย พบการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง แต่พบได้ในปริมาณน้อยมากในบริเวณขอบด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย

จากอัฟริกาใต้ทางด้านเหนือไปตาม ชายฝั่งอัฟริกาตะวันออกไปจนถึงเคนย่า โคโมรอส และมาดากัสการ์ ซึ่งดูเหมือนว่าจะพบเป็นโคโลนีเล็กๆ

ประชากรและการอนุรักษ์

ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ ปลาซีลาแคนท์ถูกจัดอยู่ในบัญชีที่ 1 เมื่อ ค.ศ. 1989 ในสนธิ สัญญาการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการส่งตัวอย่างไปยังพิพิธภัณฑ์ต้องได้รับการอนุญาต

ในปี ค.ศ. 1998 ประชากรปลาซีลาแคนท์มหาสมุทรอินเดียตะวันตกคาดว่าเหลืออยู่ราว 500 ตัวหรือน้อยกว่านั้น ซึ่งถือเป็นการคุกคามการคงอยู่ของปลาชนิดนี้เป็นอย่างมาก IUCN ได้จัดให้ L. chalumniae อยู่ในสภาวะถูกคุกคามถึงขั้นวิกฤติ (CR) และ L. menadoensis อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (VU)

การพบครั้งแรกในอัฟริกาใต้

ตัวอย่างปลา Latimeria chalumnae ที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (ยาว 170 ซม. น้ำหนัก 60 กก.) ตัวอย่างนี้ถูกจับได้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 1974 ใกล้กับซาลิมานิ (แกรนด์ โคโมร์ เกาะโคโมรอส)

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1938 เฮนดริก กูเซน (Hendrik Goosen) กัปตันเรือลากอวนพาณิชย์ “เนอรีน” กลับไปที่ท่าเรืออีสต์ลอนดอนในอัฟริกาใต้ หลังจากลากอวนแถวปากแม่น้ำชาลัมน่า

แล้วเขาก็ทำอย่างที่เขาเคยทำอยู่บ่อยๆ คือโทรศัพท์ไปหาเพื่อนของเขา มาร์จอรี คอร์ทีเนย์-ลาติเมอร์ (Marjorie Courtenay-Latimer) ภัณฑรักษ์ที่พิพิธภัณฑ์เล็กๆ แห่งหนึ่งในอีสต์ลอนดอน

เพื่อให้ไปดูว่าสิ่งที่จับได้นั้นเป็นสิ่งที่เธอสนใจหรือไม่ และยังบอกเธอว่ามีปลาเกล็ดแข็งที่เขาเก็บไว้ให้เธอดูอีกด้วย จากจดหมายเหตุของสถาบัน ความหลากหลายทางชีวภาพทางน้ำแห่งแอฟริกาใต้ (SAIAB)

แสดงให้เห็นว่ากูเซนรักษาสภาพของปลาอย่างดี และสั่งให้ลูกเรือนำมันไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์อีสต์ลอนดอน ภายหลังกูเซนกล่าวว่าปลามีน้ำเงินโลหะ แต่กว่าที่เนอรีนจะเข้าเทียบท่าก็กินเวลาหลายชั่วโมง ทำให้ปลากลายเป็นสีเทาเข้ม

สิ่งที่ค้นพบนั้นไม่พบว่ามีการบันทึกถึงลักษณะเอาไว้ ในหนังสือใดๆ ที่เธอมีอยู่ เธอพยายามติดต่อกับเพื่อนของเธอ ศาสตราจารย์เจมส์ เลียวนาร์ด เบรียเลย์ สมิธ (James Leonard Brierley Smith) แต่เขาไม่อยู่เนื่องจากเทศกาลคริสต์มาส

เนื่องด้วยไม่อาจเก็บรักษาสภาพของปลาเอาไว้ได้ เธอจึงลังเลใจที่จะส่งมันไปทำเทคนิค การทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิต เมื่อสมิธ กลับมาเขาพบว่ามันเป็นปลาซีลาแคนท์ที่พบได้เฉพาะเป็นฟอสซิล

สมิธได้ตั้งชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ลาติเมอเรีย ชาลัมนี” (Latimeria chalumnae) เพื่อเป็นเกียรติแก่ มาร์จอรี คอร์ทีเนย์-ลาติเมอร์และแม่น้ำที่เป็นแหล่งค้นพบ

ผู้ค้นพบทั้งสองจึงกลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังรู้จักกันไปทั่ว และปลาชนิดนี้ก็กลายเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นฟอสซิลมีชีวิต และปลาซีลาแคนท์ที่พบในปี ค.ศ. 1938 นี้ ปัจจุบันยังคงจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ในอีสต์เบิร์นนั้นเอง

อย่างไรก็ตาม ชิ้นตัวอย่างที่ถูกสตัฟฟ์นั้น ไม่สามารถตรวจสอบลักษณะของเหงือกและโครงกระดูกได้ และยังมีข้อสงสัยที่ค้างคาอยู่ว่ามันจะเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ สมิธเริ่มล่าตัวที่สองซึ่งก็ต้องใช้เวลามากกว่าทศวรรษ


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ศุกรวาร สิริมานปรีดิ์ปราโมทย์ค่ะ


Create Date : 09 มิถุนายน 2553
Last Update : 11 มิถุนายน 2553 16:20:02 น. 0 comments
Counter : 3648 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.