"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
เงื่อนไขของการอยู่ประพฤติปริวาส (4)







การอยู่ประพฤติปริวาสทุกประเภท มีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติขณะที่อยู่ประพฤติปริวาส ๓ กรณีด้วยกัน คือ

1.สหวาโส แปลว่า การอยู่ร่วม
2.วิปวาโส แปลว่า การอยู่ปราศ
3.อนาโรจนา แปลว่า การไม่บอกวัตรที่ประพฤติ

ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นเงื่อนไขที่ทำให้การอยู่ประพฤติปริวาสของภิกษุนั้นเป็นโมฆะ นับราตรีไม่ได้ หรือทางวินัยเรียกว่า “รัตติเฉท” แปลว่า การขาดแห่งราตรี นับราตรีไม่ได้

เมื่อราตรีขาดเสียแล้ว ก็ต้องเสียเวลาในการประพฤติปริวาสไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสควรต้องทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง ซึ่งเงื่อนไขทั้ง ๓ ประการมีรายละเอียดต่อไป

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ควรทราบก็คือ เรื่อง “วัตตเภท” แปลความว่า ความแตกต่างแห่งวัตร หรือ ความแตกต่างแห่งข้อปฏิบัติในขณะอยู่ประพฤติปริวาส คือ ทำให้วัตรมัวหมองด่างพร้อย ซึ่งเป็นการละเลยวัตร ละเลยหน้าที่

ไม่เอื้อเฟื้อต่อวัตรที่กำลังประพฤติอยู่ และกระทำผิดต่อพุทธบัญญัติโดยตรง เช่น หาอุปัฎฐากเข้ามารับใช้ ในขณะอยู่ประพฤติปริวาส เข้านอนร่วมชายคาเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส หรือคณะสงฆ์ซึ่งเป็นอาจารย์กรรม

มีการนั่งบนอาสนะที่สูงกว่าอาสนะของคณะสงฆ์อาจารย์กรรม เหล่านี้ถือว่าเป็น “วัตตเภท” สิ่งไหนเป็น รัตติเฉท หรือ วัตตเภท ก็ดังตัวอย่างเช่น ภิกษุ ศ. และภิกษุ อ. เป็นเพื่อนกันไปอยู่ประพฤติปริวาสด้วยกัน เมื่อปฏิบัติกิจทางสังฆกรรมเสร็จแล้ว ภิกษุ ศ. ก็เข้ากลดแล้วนอนหลับ

ไป ส่วนภิกษุ อ. นอนไม่หลับก็เข้าไปนอนเล่นในกลดของภิกษุ ศ. แล้วก็เผลอหลับไปจนสว่าง ซึ่งในกรณีนี้ ภิกษุ ศ. ผิดในส่วนของ รัตติเฉท อย่างเดียว ส่วนภิกษุ อ. ผิดทั้ง รัตติเฉท และ วัตตเภท ซึ่งกรณีเช่นนี้ถือเจตนาเป็นใหญ่

ฝ่ายใดก่อเจตนาฝ่ายนั้นเป็นทั้ง รัตติเฉท และ วัตตเภท ส่วนฝ่ายที่ไม่มีเจตนา ฝ่ายนั้นเป็นเพียง รัตติเฉท แต่ถ้าจะให้ละเอียดว่าทำไม ภิกษุ อ. ซึ่งไม่ได้มีเจตนาทำไมถึงเป็น รัตติเฉท

คำตอบก็เพราะว่า เป็นการอยู่ร่วมในที่มุงบังอันเดียวกัน ถือว่าเป็น รัตติเฉท ทั้งสิ้นไม่มีกรณียกเว้นถ้าไม่เก็บวัตร เพราะเงื่อนไขเป็น อจิตตกะ

สหวาโส

“สหวาโส” แปลว่า “การอยู่ร่วม” ซึ่งในความหมายนี้หมายเอาพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาส อยู่ร่วมกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน หรืออยู่ร่วมกับคณะสงฆ์ผู้เป็นพระอาจารย์กรรมในที่มุงบังเดียวกัน

“การอยู่ร่วม” นั้นมีขอบเขต คือ ท่านหมายเอาการนอนอยู่ร่วมกันในที่มุงอันเดียวกันในทางสถานที่ นั่นหมายถึงมีการทอดกายนอน ดังมีอรรถกถาบาลีว่า

“สตคพฺภา จตุสฺสาลา เอกา เสยฺยาอิจฺเจว สงฺขยํ คจฺฉติ, เยปิ เอกสาลทฺวิสาลตฺติสาลจตุสฺสาลสนฺนิเวสา มหาปาสาทา เอกสฺมึ โอกาเส ปาเท โธวิตฺวา ปวิฏฺเฐนสกฺกา โหติ สพฺพตฺถ อนุปริคนฺตํ เตสุปิ สหเสยฺยาปตฺติยา น มุจฺจติฯ

แปลความว่า “ ศาลา ๔ มุข มีห้องตั้งร้อย แต่อุปจาระเดียวกันก็ถึงอันนับว่าที่นอนอันเดียวกันแท้ แม้มหาปราสาทใด ที่มีทรวดทรงเป็นศาลาหลังเดียว สอง สาม และสี่หลัง

ภิกษุล้างเท้าในโอกาสหนึ่งแล้วเข้าไป อาจเพื่อจะเดินเวียนรอบได้ในที่ทุกแห่ง แม้ในมหาปราสาทเหล่านั้น (ถ้านอนร่วมกัน) ภิกษุย่อมไม่พ้นสหเสยยาบัติ คือ อาบัติเพราะการนอนร่วม(มนฺต.๒/๒๙๙)

ซึ่งจะเห็นว่า การอยู่ร่วม คือ นอนร่วมกันและท่านก็เพ่งเอา การทอดกายนอนเฉพาะตอนกลางคืนนั้น ในที่มุงบังอันเดียวกัน หลังคาเดียวกัน ก็ไม่พ้นจากอาบัติเพราะการนอน คือมีการทอดกายนอน

และคำว่าที่มุงบังอันเดียวกันนั้น ท่านก็หมายเอาแต่วัตถุที่เกิดขึ้นโดยวิทยาศาสตร์ เช่น ศาลาการเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร ที่มนุษย์ใช้เครื่องมือสร้างขึ้น แต่ไม่รวมถึงที่มุงบังโดยธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ หากมีการกางกลดภายใต้ร่มไม้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกัน

ดังนั้นจึงชี้ให้เห็นข้อแตกต่างของที่มุงบังเดียวกัน ซึ่งหากภิกษุสองรูปขึ้นไปอยู่ร่วมกัน ภิกษุรูปหนึ่งนั่งแต่ภิกษุอีกรูปหนึ่งนอน หรือภิกษุทั้งสองต่างนั่งอยู่ด้วยกันโดยไม่มีการทอดกายนอน ก็ถือว่าไม่เป็นอาบัติหรือรัตติเฉท

ทั้งนี้ก็มีข้อแม้ว่าในศาลาที่ทำสังฆกรรมนั้น เป็นที่มุงบังหลังคาเดียวกัน แต่หากในขณะเมื่ออยู่ปริวาสนั้น เกิดภัยทางธรรมชาติคุกคามแปรปรวน เช่นฝนตก น้ำท่วม ลมแรง หรือมีการปฏิบัติธรรมร่วมกันก็อนุญาตให้อยู่ร่วมในศาลามุงบังนั้นได้

แต่ทั้งนี้ต้องไม่มีการทอดกายนอน พอใกล้จวนสว่างแล้วก็ให้ลุกออกไปเสียที่อื่น ให้พ้นจากที่มุงนั้นให้ได้อรุณ ซึ่งกิริยาเช่นนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ออกไปรับอรุณ”

ดังนั้นคำว่า “สหวาโส” นั้นขึ้นอยู่กับการ นอน อย่างเดียวเท่านั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการนอน ไม่มีการเอนกาย ไม่ถือว่าเป็น สหวาโส จึงสรุปว่า แม้การร่วมทำสังฆกรรมทำวัตรเช้าสวดมนต์เย็น ร่วมปฏิบัติธรรมภายใต้ศาลาเดียวกันโดยมีที่มุงบังก็ดีโดยไม่ได้เก็บวัตรก็ดี

ทำกิจทุกอย่างร่วมกันภายในเต็นท์หรือปะรำที่สร้างขึ้น เพื่องานนั้นโดยไม่เก็บวัตรก็ดี เข้าห้องน้ำห้องสุขาที่มีเครื่องมุงบังพร้อมกันแม้จะเป็นหลังเดียวกัน กับอาจารย์กรรมโดยไม่เก็บวัตรก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่ถือเป็น สหวาโส ไม่มีผลกระทบแม้แต่น้อย

และไม่เป็นอาบัติทุกกฎเพราะวัตตเภทก็ไม่มี ทั้งนี้เพราะ กิจ ที่ทำนั้นไม่ถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกัน แต่เป็นการทำธุระร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งต่างกับการ “อยู่ร่วม” หรือ “สหวาโส” ขอบเขตของ “สหวาโส” การ “อยู่ร่วม”

เรื่องของสถานะ ภิกษุทุกรูปที่เข้าอยู่ประพฤติปริวาสนั้น เป็นผู้ตกอยู่ในข้อหาละเมิดสิกขาบท (ต้องโทษ) สังฆาทิเสส ซึ่งการอยู่ปริวาสนั้นเปรียบเหมือนกำลังพยายามออกจากสิกขาบทที่ละเมิด

ดังนั้น ภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสนั้น แม้จะมีพรรษามากเท่าใดก็ตาม มีสมณะศักดิ์สูงเพียงใดก็ตาม ก็จะต้องเคารพและให้เกียรติต่อคณะสงฆ์อาจารย์กรรมในเรื่องที่เป็นธรรมเป็นวินัย แม้สงฆ์ท่านนั้นจะเพิ่งบวช แม้ในวันนั้นทุกรูปก็ตาม

จะทำการคลุกคลีด้วยการฉันร่วม นั่งร่วมในอาสนะเดียวกันเกินขอบเขต ซึ่งทำให้เป็น วัตตเภทบ้าง รัตติเฉท บ้างไม่ได้ ซึ่งในส่วนนี้ก็ต้องยอมลดทิฎฐิ และสถานะ สมณศักดิ์ลงต่อคณะสงฆ์และอาจารย์กรรม

แต่สำหรับพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสด้วยกันแล้ว ก็ยังคงรักษาพรรษาไว้ และยังคงต้องนั่งตามลำดับพรรษาดังเดิม และพระเถระที่เคยมีอุปัฏฐากอยู่ที่วัด พอมาอยู่ปริวาสท่านจะมีอุปัฏฐากเช่นนั้นไม่ได้

ซึ่งในข้อนี้มีพระบาลีว่า สทฺธิวิหาริกาทีนํ สาทิยนฺตสฺส ทุกฺกฎเมวฯ อหํ วนยกมฺมํ กโรมิ มยฺหํ วตฺตํ มา กโรถ มา มํ คามปฺปเวสนํ อาปุจฺฉถ, วาริตกาลโต ปฏฺฐาย อนาปตฺติฯ

ความว่า เป็นอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุผู้ยินดี แม้ของสัทธิวหาริกเป็นต้น พึงห้ามเขาว่าเรากำลังทำวินัยกรรมอยู่ พวกท่านอย่าทำวัตรแก่เราเลย อย่าบอกลาเข้าบ้านกะเราเลย

จำเดิมแต่กาลที่ห้ามแล้วไม่เป็นอาบัติ (สมนฺต.๓/๒๘๒) ยกเว้นแต่ว่าเป็นกรณีพิเศษคือ ท่านอาจจะไหว้วานชั่วคราว เช่น ฝากซื้อของเครื่องใช้ที่จำเป็นต้องใช้ เรื่องของสถานที่ เช่น - ที่ฉันภัตตาหาร - ที่ทำธุระส่วนตัว เช่น ห้องน้ำ ห้องสุขา - ที่เดินจงกรม - ที่ปฏิบัติธรรม - ที่ทำสังฆกรรม - ที่นอน

ทั้งหมดนี้ ควรแยกสัดส่วนออกจากกัน คือ ส่วนไหนเป็นของคณะสงฆ์อาจารย์กรรม ส่วนไหนเป็นของพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาส ก็ต้องแยกจากกันให้เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้เกียรติแก่คณะสงฆ์อาจารย์กรรม และเพื่อความนอบน้อมสำหรับภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาส

วิปวาโส

“วิปวาโส” หรือ การอยู่ปราศ หมายถึง การอยู่ปราศจากคณะสงฆ์อาจารย์กรรม การอยู่ประพฤติปริวาสนั้นจะอยู่กันเองตามลำพัง โดยปราศจากอาจารย์กรรมไม่ได้เด็ดขาด อย่างน้อยก็ต้องมีอาจารย์กรรม นั่นคือ ต้องใช้คณะสงฆ์อาจารย์กรรม ๑ รูป สำหรับการอยู่ประพฤติปริวาส และ ๔ รูป สำหรับมานัต ทั้งนี้เพื่อจะได้คุ้มกรรมไว้

ส่วนเหตุอื่นที่จะเป็น วิปวาโส ได้นั้น ก็คือ ถึงแม้จะมีคณะสงฆอาจารย์กรรมอยู่ด้วย แต่มีกำหนดขอบเขตของ วิปวาโส ไว้ว่า ถ้าหากพระลูกกรรมผู้อยู่ประพฤติปริวาสนั้นอยู่ไกลเกินกำหนด ซึ่งกำหนดของวิปวาโส นี้ ท่านบอกว่า ๒ ชั่ว เลฑฑุบาต

คือ เอาคนมีอายุปานกลางและมีกำลัง ขว้างก้อนดินตกลง ๒ ชั่ว คือ ขว้างก้อนดินต่อกัน ๒ ครั้งนั่นเอง (เท่ากับขว้างครั้งแรกตกลงที่ใดแล้วก็ยืนตรงจุดที่ดินตกแล้วก็ขว้างครั้งที่สองไกลออกไปเท่าใดก็ถือเอาจุดนั้นเป็นเขตกำหนด)

ซึ่งจุดศูนย์กลางของ ๒ เลฑฑุบาตนี้ให้ยึดเอาจุดที่คณะสงฆ์พระอาจารย์กรรมอยู่กัน แล้วก็ให้วัดขอบเขตไปที่ภิกษุผู้ปักกลดองค์แรก ที่อยู่ใกล้อาจารย์กรรมที่สุดนั้นเป็นเกณฑ์

ส่วนภิกษุท่านอื่น ๆ ก็ถือว่าปักกลดอยู่ต่อ ๆ กันไปเหมือนดั่งยังอยู่ในหัตถบาสเหมือนที่ลงสวดพระปาติโมกข์ในโบสถ์ซึ่งองค์แรกอยู่ในหัตถบาส องค์ต่อไปก็นั่งเรียงลำดับกันไป

ซึ่งการกำหนดขอบเขตนี้ก็ขึ้นอยู่ที่คณะสงฆ์อาจารย์กรรมท่านเป็นผู้ชี้เขตและอนุญาตให้อยู่ได้

ซึ่งการอยู่ปราศ นั้น ก็คือห้ามอยู่โดยปราศจากอาจารย์กรรม ถึงแม้ภิกษุท่านจะเจ็บไข้ได้ป่วยมีเหตุให้ต้องไปนอนโรงพยาบาล ตราบใดที่ภิกษุยังนอนรักษาตัวอยู่ก็ต้องมีอาจารย์กรรมไปเฝ้าไข้ตลอดเวลา อย่าให้เกินสองเลฑฑุบาตไป

อนาโรจนา

“อนาโรจนา” แปลว่า การไม่บอก หมายถึง การไม่บอกวัตร หรือ บอกอาการที่ตนประพฤติแก่คณะสงฆ์อาจารย์กรรมในสำนักที่ตนอยู่ประพฤติปริวาสนั้น การบอกวัตรของปริวาส ตามหลักพระวินัยเมื่อขอปริวาสแล้ว จะต้องบอกวัตรแก่คณะสงฆ์อาจารย์กรรม เพียงครั้งเดียวก็อยู่ไปจนครบ ๓ ราตรีก็ได้


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วุธวารศุภสวัสดิ์ โสมนัสวัฒนสิริค่ะ


Create Date : 18 พฤษภาคม 2553
Last Update : 19 พฤษภาคม 2553 8:37:24 น. 0 comments
Counter : 1856 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.