"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
4 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
น้ำ: ตำนานรักแสนโรแมนติกและปริศนาแห่งสวนลอยในมหานครบาบิโลน 2

คอลัมน์ : 108-1000 - ศิลป์  โดย  รองศาสตราจารย์ ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน


ภาพถ่ายวันแรกของการขุดแต่งประตูอิชตาร์แห่งนครบาบิโลน เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1902

       สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรายังคงอยู่ที่บาบิโลน มหานครอันรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่เกรียงไกรที่สุดบนพื้นพิภพในอดีต แต่กลับต้องจมอยู่ภายใต้ธรณีอย่างเงียบสงบและถูกหลงลืมจากโลกเป็นเวลานานนับพันปี (รูปที่ 1-3)
       
        จนกระทั่งเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โรเบิร์ต โคลเดไว (Robert Koldeway / ค.ศ. 1855-1925) สถาปนิกและนักโบราณคดีชาวเยอรมัน (รูปที่ 4) ได้ขุดพบ ประตูอิชตาร์ (Ischtar Gate) ที่ตั้งชื่อตามพระนามของ เทพนารีอิชตาร์ เทพธิดาแห่งสงครามและความรัก อีกทั้งถนนราชดำเนิน (Procession Street) อันกว้างขวางงดงามที่ทอดตัวยาวเหยียดจากประตูอิชตาร์ตรงไปยังพระราชวัง

ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เทพเจ้ามาร์ดุ๊ค (Marduk) เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาพระนคร (รูปที่ 5-8) รวมทั้งพระราชวังที่อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ของพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 และฐานรากอันมหึมาของหอคอย 6 ชั้นแห่งนครบาบิโลน (รูปที่ 9-11) นอกจากนั้น โคลเดไวยังขุดพบฐานรากของอาคารในเขตพระราชวังทางทิศใต้ใกล้กับประตูอิชตาร์ (รูปที่ 3 และ 12) ซึ่งเขาสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฐานรากของสวนลอยแห่งนครบาบิโลน สิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกโบราณ


ประตูอิชตาร์แห่งบาบิโลนระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดี

 

       ถึงแม้ว่าฐานรากของอาคารแห่งนี้จะเป็นโครงสร้างระบบเพดานโค้งที่เหมาะกับการรับน้ำหนักอาคาร อีกทั้งยังมีการขุดพบบ่อน้ำ และสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะคล้ายกว้าน ซึ่งน่าจะใช้สำหรับทดน้ำขึ้นไปบนสวนแบบขั้นบันได รวมทั้งเศษดินเผาแตกๆ อีกจำนวนมากมาย ซึ่งอาจจะเป็นเศษกระถางต้นไม้ดินเผาก็ตาม แต่ก็มีข้อโต้แย้งหลายประการที่ทำให้นักโบราณคดีในปัจจุบันไม่อาจปักใจเชื่อได้ เนื่องจากฐานรากของสิ่งก่อสร้างนี้มีความยาวเพียง 45 เมตร ซึ่งแม้จะมีขนาดใหญ่ไม่น้อย แต่ก็เล็กกว่าที่กล่าวไว้ในบันทึกทางประวัติศาสตร์มาก
       
       นั่นคือ ต้องมีความยาวถึงด้านละ 120 เมตร อีกประการหนึ่ง สิ่งก่อสร้างนี้ ถึงแม้จะอยู่ในเขตพระราชฐาน แต่ก็ตั้งอยู่ในส่วนที่เป็นสำนักราชวัง ไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังชั้นใน ที่สำคัญยังไม่ได้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติสตามที่สตาร์โบบันทึกไว้ อีกทั้งยังอยู่ห่างจากแม่น้ำค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้ยากต่อการบริหารจัดการเรื่องระบบน้ำ
       
       นักโบราณคดีบางคนสันนิฐานว่า บางทีสวนลอยแห่งบาบิโลนอาจไม่เคยมีอยู่จริง เพราะผู้ที่เขียนบันทึกเกี่ยวกับสวนลอยแห่งบาบิโลนทุกคน ไม่เคยมีใครเห็นอุทยานนี้ด้วยตาตนเองแม้แต่คนเดียว แม้กระทั่งเบรอสโซส ผู้เขียนบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับสวนลอยแห่งบาบิโลนเป็นคนแรก ก็ยังมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลา 350 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 250 ปีหลังจากได้มีการสร้างสวนแห่งนี้

และที่น่าประหลาดใจคือ แม้กระทั่ง เฮโรโดตุส (Herodotus) บิดาแห่งประวัติศาสตร์โลกชาวกรีก ผู้มีชีวิตระหว่าง 484-424 ปีก่อนคริสตกาล ก็ยังไม่เคยกล่าวถึงสวนลอยแห่งบาบิโลนเลย ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพียงจิตนาการของผู้เขียนบันทึกเท่านั้น เพราะแต่เดิมสวนลอยแห่งนี้ผูกพันกับตำนานเกี่ยวกับ ราชินีเซมิรามิส (Semiramis) จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สวนลอยของเซมิรามิส
       
       อย่างไรก็ตาม นักโบราณคดีส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่าสวนลอยแห่งนครบาบิโลนมีอยู่จริง เพราะในดินแดนอียิปต์และเมโสโปเตเมียการสร้างอุทยานขนาดใหญ่ที่งดงามไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายสายพันธุ์รวมทั้งพันธุ์ไม้หายากจากทั่วทุกสารทิศในลักษณะสวนพฤกษชาติ เป็นประเพณีนิยมของทุกราชสำนักในดินแดนแห่งนี้ จากจารึกของ พระเจ้าทิกลัทไพลเซอร์ (Tiglath-Pileser / 1115-1076 ปีก่อนคริสตกาล) ทำให้เราทราบว่า ทุกครั้งที่เสด็จกลับมาจากการศึกสงคราม พระองค์จะทรงนำเอาพืชพันธุ์ไม้แปลกๆ จากดินแดนที่พระองค์ทรงยึดครองได้กลับมายังอัสซีเรียเพื่อนำมาเพาะปลูกไว้ในพระราชอุทยานของพระองค์ ดังปรากฏในจารึกว่า
       
        …พืชพรรณไม้มีค่า ซึ่งไม่มีในดินแดนของข้า ข้าได้ปลูกมันไว้ในอุทยานแห่งอัสซีเรียน
       
        นอกจากนั้นประติมากรรมนูนต่ำจาก นครคอร์ซาบัด หรือ ดูร์ชาร์รูคิน (Khorsabad / Dur-Sharrukin) (รูปที่ 13) และเมืองเกายูนจิค (Kouyunjik) (รูปที่ 14 และ 15) ยังแสดงภาพอุทยานของอัสซีเรีย ที่สร้างบนเนินสูง มีธารน้ำ ไม้ดอกไม้ประดับนานาพรรณ และนกนานาชนิด บนยอดเนินปรากฏสิ่งก่อสร้างที่สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเทวาลัยหรือแท่นบูชาสำหรับบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ประติมากรรมนูนนี้ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า สวนลอยแห่งบาบิโลน ที่มีลักษณะก่อตัวสูงขึ้นไปเป็นชั้นๆ แบบขั้นบันได น่าจะสร้างตามแบบพระราชอุทยานใน นครนิเนเวห์ (Nineveh) ซึ่งพระเจ้าเซนนาเชริบ (Sennacherib) ผู้ปกครองอาณาจักรอัสซีเรียระหว่าง 705-681 ปีก่อนคริสตกาล ทรงมีพระบัญชาให้สร้างขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำไทกริส เพื่อถวายแก่พระราชินีธาสเมทูนซาร์รัท (Tasmetun-Sarrat) พระมเหสีของพระองค์ (รูปที่ 16 และ 17) สำหรับการบริหารจัดการเรื่องระบบน้ำคงจะใช้ระหัดสูบน้ำของอาร์คิมิดิส ที่ใช้กันแพร่หลายในดินแดนอัสซีเรีย ทดน้ำจากแม่น้ำไทกริสขึ้นไปบนอุทยาน
       
       ถึงแม้ว่าฐานรากของอาคารที่มีโครงสร้างระบบเพดานโค้ง ซึ่งโคลเดไวขุดพบ จะไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นของสวนลอยอันเลื่องชื่อ แต่นักโบราณคดีส่วนใหญ่ก็ยังไม่ปักใจเชื่อว่า อุทยานซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกนี้ จะเป็นเพียงจินตนาการอันพิสดารพันลึกของผู้เขียนบันทึกยุคโบราณเท่านั้น สาเหตุเพราะสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศอิรักที่ผ่านมาหลายปีจนถึงปัจจุบัน ทำให้การขุดค้นทางโบราณคดีในดินแดนพระจันทร์เสี้ยวต้องหยุดชะงักลงอย่างไม่มีกำหนด บางทีสวนลอยแห่งนครบาบิโลนอาจยังรอคอยผู้ค้นพบอย่างสงบภายใต้แผ่นดินอันร้อนระอุของประเทศอิรักอยู่ก็เป็นได้
       
       พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ น้ำ มาเล่าให้แฟนๆ ที่รักทุกท่านฟังอีก อย่าลืมคลิกเข้ามาอ่านต่อในวันพฤหัสบดีหน้านะคะ



ภาพถ่ายทางอากาศส่วนหนึ่งของพระราชวังของพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 บนพื้นที่ 51,000 ตารางเมตรระหว่างการขุดค้นทางโบราณคดี ด้านหน้าสุดเทวสถานของเทพนารีนินมาฮ์ (Ninmah) (A) เหนือขึ้นไปทางด้านขวาเป็นประตูอิชตาร์ (B) และถนนราชดำเนิน (C) ถัดขึ้นไปด้านบนจะเป็นฐานรากของอาคารที่มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและมีโครงสร้างระบบเพดานโค้ง ซึ่งโคลเดไวสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฐานรากของสวนลอยแห่งนครบาบิโลน (D)
       

Robert Koldewey สถาปนิกและนักโบราณคดี ชาวเยอรมัน ผู้ขุดพบมหานครบาบิโลน
       

แบบจำลองประตูอิชตาร์และถนนราชดำเนิน
       

สัณฐานโดยอนุมานของประตูอิชตาร์และถนนราชดำเนิน
       

ประตูอิชตาร์และถนนราชดำเนินในจินตนาการของศิลปิน
       

ประตูอิชตาร์ที่ประกอบขึ้นใหม่ตามสัณฐานโดยอนุมานของนักโบราณคดี ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี สูง 14.30 เมตร
       

แบบจำลองมหาวิหารของเทพเจ้ามาร์ดุ๊คและหอคอยแห่งนครบาบิโลน สัณฐานโดยอนุมานจากการสันนิษฐานของ Walter Andrae
       

หอคอยแห่งนครบาบิโลนจากจินตนาการของ Pieter Bruegel จิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์
       

หอคอยแห่งนครบาบิโลนในจินตนาการของศิลปิน
       

แผนผังพระราชวังของพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 ตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง (e)ใกล้ประตูอิชตาร์ (a) คือบริเวณที่โคลเดไวสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฐานรากของสวนลอยแห่งนครบาบิโลน
       

ประติมากรรมนูนต่ำจากนครคอร์ซาบัด แสดงภาพอุทยานของอัสซีเรียที่สร้างเป็นเนินสูงขึ้นไป
       

ประติมากรรมนูนต่ำจากเมืองเกายูนจิค แสดงภาพอุทยานของอัสซีเรียที่สร้างเป็นเนินสูงขึ้นไป
       

ภาพเขียนลายเส้นคัดลอกจากประติมากรรมนูนต่ำจากเมืองเกายูนจิค
       

แบบร่างสัณฐานโดยอนุมานของสวนลอยแห่งนครบาบิโลนจากการสันนิษฐานของโคลเดไว
       

สวนลอยแห่งบาบิโลนในจินตนาการ
       

มหานครบาบิโลนในจินตนาการของศิลปิน

ขอบคุณ
ผู้จัดการออนไลน์
คอลัมน์ : 108-1000 - ศิลป์ 
รศ.ดร. กฤษณา หงษ์อุเทน

สวัสดิ์สิริชีววารค่ะ




Create Date : 04 เมษายน 2556
Last Update : 4 เมษายน 2556 9:54:54 น. 0 comments
Counter : 1339 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.