"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
28 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
ภูมิปัญญาไทย

 

สวง โฮสูงเนิน

 

บวบ เป็นพืชผักตระกูลแตง ในอดีตคนไทยส่วนใหญ่นิยมปล่อยให้บวบเลื้อยตามรั้วหรือปล่อยให้เลื้อยพันไปตามต้นไม้ แล้วคอยเก็บผลอ่อนมารับประทานเป็นผัก ส่วนบวบที่ไม่ได้เก็บ จะปล่อยจนแก่แห้งเหลือแต่เส้นใย ที่เรียกว่า รังบวบ และนำมาใช้ในการอาบน้ำ ขัดถูภาชนะ โดยไม่ต้องไปหาซื้อฟองน้ำให้สิ้นเปลือง บวบที่ปลูกได้ในประเทศไทยมีหลายชนิด ได้แก่ บวบเหลี่ยม บวบงู บวบหอม

 

 


1. บวบเหลี่ยม เป็นไม้เถา อายุปีเดียว เถามีความยาว 6-8 เมตร ผลของบวบมีขนาดแตกต่างกันตามชนิด รูปทรงกระบอก มีเหลี่ยมตามความยาวผล เมล็ด มีลักษณะเป็นวงรี สีดำ ผิวขรุขระ ไม่มีปีกที่เมล็ด เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว นิยมปลูกโดยการหยอดเมล็ดในแปลงปลูก แปลงปลูกควรมีขนาดกว้างเพื่อให้เถาเลื้อยได้สะดวก ทำค้างเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม ผูกยึดให้แข็งแรง บวบเหลี่ยมเริ่มเก็บเกี่ยวได้ที่อายุ 45-50 วัน หลังหยอดเมล็ด และสามารถเก็บผลผลิตได้เป็นเดือน ถ้ามีการดูแลรักษาที่ดี


2. บวบงู ผลมีลักษณะกลมยาว ปลายผลแหลม ผิวเรียบ มีแถบสีขาวสลับเขียวทั้งผล เมื่อสุกมีสีส้มแดง เมล็ดบวบงูมีขนาดใหญ่ การปลูกจึงหยอดเมล็ดลงในแปลงปลูกโดยตรงหรือเพาะกล้าก็ได้ อายุกล้าประมาณ 15-20 วัน ขนาดแปลงปลูก 1.6x6 เมตร ระยะปลูก 80x50 เซนติเมตร บวบงูจะเลื้อยทอดยอดที่อายุ 30 วัน หลังหยอดเมล็ด ทำค้างเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ ใช้ตาข่ายขึงเพื่อให้เถายึดเกาะ เริ่มออกดอกที่อายุ 45-50 วัน หลังหยอดเมล็ด และเริ่มเก็บเกี่ยวผลอ่อนที่อายุ 50-60 วัน หลังหยอดเมล็ด


3. บวบหอม ผลอ่อนสีเขียวมีลายเขียวเข้ม ผลแก่สีเขียวออกเหลืองจนถึงสีน้ำตาล มีเส้นใยเหนียว ลักษณะเป็นร่างแห การปลูกบวบหอม สามารถหยอดเมล็ดลงในแปลงปลูกโดยตรง เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 10-14 วัน ถอนแยกให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ ระยะปลูก 40-90x60-90 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายแล้วใส่ก้นหลุมก่อนปลูก บวบหอมจะเลื้อยทอดยอดที่อายุ 15-20 วัน หลังหยอดเมล็ด ทำค้างเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้เพื่อให้เถายึดเกาะ บวบหอมจะเริ่มออกดอกที่อายุ 42-70 วัน หลังหยอดเมล็ด และเริ่มเก็บเกี่ยวผลอ่อนที่อายุ 63-91 วัน หลังหยอดเมล็ด


การใช้ประโยชน์ ผลอ่อนใช้รับประทานสด นำมาทำแกงเลียง ผัดกับไข่ หรืออาจลวกจิ้มกับน้ำพริกต่างๆ เส้นใยจากผลแก่นำมาทำเส้นใยสำหรับขัดตัวหรือล้างภาชนะ การถูตัวด้วยเส้นใยธรรมชาติจะช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น และกระตุ้นผิวหนังให้สดชื่น เพราะเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วได้ถูกกำจัดออกไป


คุณค่าทางอาหาร และสรรพคุณทางยา
คุณค่าทางอาหารที่ได้จากการรับประทานบวบหอม 100 กรัม ประกอบด้วย พลังงาน 85 กิโลแคลอรี น้ำ 93 กรัม โปรตีน 0.6-1.2 กรัม ไขมัน 0.21 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4-4.9 กรัม แคลเซียม 16-20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 24-32 มิลลิกรัม เหล็ก 0.4-0.6 มิลลิกรัม และวิตามินซี 7-12 มิลลิกรัม

ผลอ่อนมีสรรพคุณแก้ร้อนใน ลดไข้ ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามทางเดินอาหาร แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ นอกจากอาหารการกิน บวบยังมีประโยชน์ในเรื่องการใช้สอยอื่นๆ เช่น เส้นใยของบวบหอมที่เมื่อแห้งแล้วสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุแทนฟองน้ำ ใช้ได้ตั้งแต่ขัดทำความสะอาดร่างกาย ซึ่งไม่มีสารที่เป็นพิษต่อผิวหนัง แช่น้ำให้ชุ่มก็นุ่มนวลพอดีกับผิวอ่อนๆ ของเรา

หรือถ้าเป็นเส้นใยของบวบแก่มีความเหนียวใช้ขัดถ้วย ขัดจาน หรืออื่นๆ ก็ได้ ที่เราเห็นมีวางขายนั้นเป็นเส้นใยของบวบหอม ถ้าใช้บวบชนิดอื่นก็จะคันได้ ยิ่งตอนนี้มีการดัดแปลงเสริมแต่งใยบวบให้สวยงามและใช้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น เย็บให้มีความสวยงาม แข็งแรง ไม่เปื่อยยุ่ยเร็ว จากใยบวบที่ไม่ค่อยมีราคาก็ค่อยๆ ไต่เต้าขึ้นมา เวลานี้ก็หาได้ตามห้างหรูๆ และตามร้านที่ขายสินค้าปลอดสารพิษทั่วไป

คุณณัฎฐกิตติ์ ของทิพย์ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู บอกว่า ตามที่ได้ออกติดตามงานส่งเสริมการเกษตรทุกอำเภอ จะเน้นมากโดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ซึ่งจะมีการรวมกลุ่มของแม่บ้านเกษตรกรอยู่แล้ว เนื่องจากแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่แล้ว ไม่ได้เดินทางไปหางานทำต่างถิ่นหรือต่างจังหวัด เพราะจะอยู่ที่บ้านและประกอบอาชีพการเกษตรในหมู่บ้าน หรืองานอาชีพต่างๆ ตามความสามารถของตนเอง

ดังนั้น อยากจะเน้นการบริหารของกลุ่มให้มีความเข้มแข็ง มีกิจกรรมทำอย่างต่อเนื่อง มีกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม และผลิตหรือแปรรูปทางการเกษตรออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด ดังเช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านราษฎร์เกษมศรี หมู่ที่ 7 ตำบลนาดี อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู

คุณคำห่อ ศรีกวนชา ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ที่ประสบผลสำเร็จในการผลิตใยบวบ ได้เล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งได้ไปอบรบและดูงานที่ศูนย์วัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ได้พบเห็นการแปรรูปสิ่งของต่างๆ และวันนั้นเอง เห็นคนแก่หาบเร่ขายของเดินผ่านไป และมองเห็นในตะกร้าของยายมีลูกบวบที่แกะเปลือกแล้วเป็นลูกๆ พร้อมที่จะขาย

จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่า บวบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีอยู่มากมายในหมู่บ้านของเรา น่าจะใช้ใยบวบให้เป็นประโยชน์ จะทำอย่างไรถึงจะนำบวบที่มีอยู่มาขายได้ จึงเกิดความคิดว่าควรมีการแปรรูป จึงจะทำให้บวบขายได้ และน่าใช้มากขึ้น หลังจากศึกษาดูงานเสร็จ กลับมาถึงบ้านจึงได้ไปเก็บบวบแห้งมาแกะเปลือกให้เหลือแต่ใยบวบ แล้วนำมาเย็บริมแบบง่ายๆ และทดลองขายให้กับหน่วยงานราชการดู

ปรากฏว่าขายได้ดีและขายได้เรื่อยๆ โดยทีแรกได้ทำผลิตภัณฑ์ใยบวบเพียง 3 รูปแบบ คือ รูปหัวใจ วงรี และแบบด้ามจับขัดหลัง ต่อมาได้เป็นที่สนใจจากสื่อต่างๆ จนผลิตภัณฑ์ได้รับเผยแพร่ทางสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ จนสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด และยังส่งไปจำหน่ายต่างประเทศอีกด้วย

จากภูมิปัญญาชาวบ้านจุดเล็กๆ สามารถสร้างสรรค์ให้เป็นสิ่งมีค่า มีราคา พัฒนาไปได้อย่างก้าวไกล ยั่งยืน และมั่นคง เพราะชีวิตของคนเราไม่หยุดนิ่ง ชีวิตต้องเดินต่อ ผลิตภัณฑ์ย่อมต้องมีการพัฒนาต่อไป ตราบที่คนไทยยังซื้อของไทย กินของไทย ใช้ของไทย เงินเข้าสู่คนไทยด้วยกันเอง และร่วมใจประหยัด

คุณคำห่อ ประธานกลุ่ม เล่าต่อว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยและเพิ่มมูลค่า ทางกลุ่มได้มีการพัฒนารูปแบบใยบวบให้มีหลายๆ รูปแบบเหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น โดยทางกลุ่มได้พัฒนาสินค้าเป็นรองเท้าใยบวบเพื่อสุขภาพ รองเท้าใยบวบนี้จะเป็นการเพิ่มประโยชน์การใช้สอยของบวบมากขึ้นคือ รองเท้าใยบวบเมื่อสวมใส่ พื้นที่เป็นใยบวบจะนวดฝ่าเท้า และขัดเท้าไปด้วย ทำให้คลายเส้น เลือดไหลหมุนเวียนดี สุขภาพดีขึ้น โดยมีขั้นตอนการทำ ดังนี้

ขั้นตอนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใยบวบ

1. เก็บบวบแห้งมาเคาะเมล็ดออก แกะเปลือกออกให้หมด (ในการแกะเปลือกควรนำบวบแห้งทั้งลูกแช่น้ำก่อน ประมาณ 5 นาที แล้วค่อยแกะเปลือกออกจะง่ายกว่า)
2. ตัดบวบที่แกะเปลือกแล้วเอาแกนหรือไส้ข้างในออก
3. นำบวบที่ตัดแล้วไปแช่น้ำผสมสบู่ก้อนซันไลต์ แช่จนกว่าจะขาว
4. นำบวบขึ้นจากน้ำมาทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า
5. นำบวบไปผึ่งแดด ตากให้แห้ง
6. นำบวบที่ตากแห้งแล้วมารีด หรือทุบด้วยค้อนเพื่อให้แบนราบ
7. ตัดตามรูปแบบที่ต้องการ


ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งกลุ่ม 
แม่บ้านเกษตรกรมีคุณธรรม ทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน และการจัดจำหน่าย ทำให้กลุ่มผลิตสินค้าส่งลูกค้าได้ตามความต้องการที่ลูกค้าสั่งทันเวลา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีรายได้ ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้จากการเย็บใยบวบ ทำให้คนในหมู่บ้านมีรายได้จากการนำบวบมาขาย มีรายได้ต่อคน ต่อเดือน 5,000-9,000 บาท

การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน
และการปลูกฝังภูมิปัญญาสู่เยาวชน

ทางกลุ่มได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านคือ ทางกลุ่มได้มีการช่วยเหลือหมู่บ้านในด้านการเงินและแรงงานจากสมาชิกในกลุ่ม เช่น การขุดลอก คู คลอง และได้มีการอบรมการแปรรูปใยบวบให้กับนักเรียนและเยาวชนที่สนใจ โดยนำเยาวชนมาทำงานร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม

เหตุผลสำคัญที่หมู่บ้านได้รับเลือกเข้ารับรางวัล "หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร" รางวัลเสริมคนดีมีคุณธรรม ประจำปี พ.ศ. 2553 เนื่องจาก ใยบวบหรือผลิตภัณฑ์จากใยบวบ สร้างรายได้ให้คนในชุมชน เยาวชน และสมาชิกของกลุ่ม ทำให้สมาชิกไม่ต้องย้ายแรงงาน สามารถเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมได้ ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาได้ มีความเอื้ออาทรต่อกันและกันของคนในชุมชน ผลิตภัณฑ์จากใยบวบ เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตภัณฑ์ใยบวบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม


กฎระเบียบของกลุ่มใยบวบ 
1. สมาชิกต้องเข้าร่วมประชุมกลุ่มทุกครั้ง โดยประชุมอย่างน้อย 3 เดือน ต่อครั้ง
2. สมาชิกที่ไม่เข้าร่วมประชุมต้องแจ้งให้ประธานกลุ่มหรือเลขานุการทราบตามความจำเป็น
3. สมาชิกต้องเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน/ท้องถิ่น ทุกครั้งที่หมู่บ้านขอร้อง
4. สมาชิกต้องเป็นบุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน
5. สมาชิกจะได้รับเงินปันผลประจำปี ร้อยละ 2 ทุกปี
6. สมาชิกต้องลงหุ้น หุ้นละ 100 บาท 

กรรมการกลุ่ม 
1. ให้มีกรรมการบริหารกลุ่มอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 15 คน
2. กรรมการต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน
3. มีความประพฤติเรียบร้อย ซื่อสัตย์ และเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่น
4. ต้องเป็นสมาชิกกลุ่ม และมาจากการเลือกโดยสมาชิกเป็นผู้เลือก
กรรมการจะหมดหน้าที่ก็ต่อเมื่ออยู่ครบวาระ 2 ปี ลาออกโดยได้รับอนุมัติจากสมาชิก

 

ขอบคุูู๊ณ
มติชนออนไลน์
คุูู๊ณสวง โฮสูงเนิน


สิริสวัสดิ์โสรวารค่ัะ




Create Date : 28 เมษายน 2555
Last Update : 28 เมษายน 2555 21:46:31 น. 0 comments
Counter : 2871 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.