"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
1 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
เดอะ ฮอบบิท






ปกคลุมชั้นนอกของ เดอะฮอบบิท ฉบับปกแข็ง
ของสำนักพิมพ์อัลเลนแอนด์อันวิน
ปี ค.ศ.1937
นำมาจากภาพวาดประกอบภาพหนึ่งของโทลคีน





เดอะฮอบบิท ฉบับภาพยนตร์การ์ตูน




การตีพิมพ์

สำนักพิมพ์ จอร์จ อัลเลนแอนด์อันวิน ตีพิมพ์ เดอะฮอบบิท ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ.1937 พร้อมภาพวาดประกอบแบบขาวดำหลายภาพ ที่โทลคีนเป็นผู้วาดเอง

การพิมพ์ครั้งแรกมีจำนวน 1,500 เล่ม และขายหมดในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้น พร้อมกับคำวิจารณ์ที่ตื่นเต้นและกระตือรือร้น

อัลเลนแอนด์อันวินตีพิมพ์ซ้ำครั้งที่สอง พร้อมภาพประกอบสีเพิ่มเติมในปลายปี 1937 ขณะเดียวกันสำนักพิมพ์ฮูตันมิฟฟลิน แห่งบอสตัน และ นิวยอร์ก ติดต่อขอตีพิมพ์ฉบับอเมริกันในช่วงต้นปี 1938 โดยมีภาพประกอบเป็นภาพสีสี่ภาพ

หลังจากนั้นก็มีการพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง เมื่อโทลคีนเริ่มต้นเขียนนิยายเรื่องต่อของ เดอะฮอบบิท และพบว่าจำเป็นต้องแก้ไขรายละเอียดบางอย่างใน เดอะฮอบบิท เพื่อให้สอดคล้องกับนิยายเรื่องใหม่ของเขา โดยเฉพาะเรื่องของกอลลัม

ในฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก กอลลัมเป็นผู้เสนอให้ใช้แหวนของตน เป็นเดิมพันในการเล่นเกมทายปัญหากับบิลโบ แต่เมื่อ "แหวน" วงนั้นกลายเป็น "แหวนเอก" แหวนจึงจำเป็นต้องมีอิทธิพลต่อกอลลัมมากกว่านั้น

ในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ จึงเล่าว่า การเล่นเกมทายปัญหาใน เดอะฮอบบิท เวอร์ชันแรกเป็นแค่เรื่องโกหกของบิลโบ ส่วนเรื่องจริงคือเรื่องที่อยู่ใน เดอะฮอบบิท ฉบับปรับปรุงแก้ไข หรือฉบับเอดิชันที่สอง ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1951 ทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

ต่อมาในปี ค.ศ.1965 สำนักพิมพ์เอซบุ๊คส์ ได้ตีพิมพ์ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฉบับปกอ่อน โดยไม่ได้ขออนุญาต ทำให้สำนักพิมพ์ฮูตันมิฟฟลินและบัลเลนไทน์ เร่งให้โทลคีนมอบลิขสิทธิ์การตีพิมพ์ ให้แก่พวกเขาเพื่อจะได้ควบคุมการพิมพ์จำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกาได้

เดอะฮอบบิท จึงได้พิมพ์เป็นเอดิชันที่สามในปี ค.ศ.1966 ซึ่งโทลคีนถือโอกาสปรับแก้คำบรรยายบางตอน ให้สอดคล้องกับเนื้อหาใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และแนวคิดในเรื่อง ซิลมาริลลิออน

งานเขียนสุดรักของเขาที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ เช่น คำเรียก เอลฟ์ ที่ยังปรากฏเป็น โนม (Gnome) ซึ่งโทลคีนใช้เรียกชาวโนลดอร์ ในงานเขียนชุดแรกๆ ของเขา เป็นต้น

เดอะฮอบบิท ปรับแก้เป็นเอดิชันที่สี่เมื่อปี ค.ศ.1978 และเอดิชันที่ห้าเมื่อปี ค.ศ.1995 อย่างไรก็ดี เดอะฮอบบิท ฉบับพิมพ์ในปัจจุบัน ก็ยังมีความแตกต่างกับ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ อยู่อีกหลายส่วน

เช่น การเรียก กอบลิน ในเดอะฮอบบิท ซึ่งหมายถึง ออร์ค ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเดิมทีโทลคีนแต่งเรื่อง เดอะฮอบบิท ด้วยตั้งใจให้เป็นนิทานเด็ก จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับปกรณัมของเขาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

และได้มีการปรับแก้เนื้อหาเดอะฮอบบิท ให้สอดคล้องกับปกรณัมของเขามากขึ้น ก็เมื่อเขาเริ่มเขียนภาคต่อของเดอะฮอบบิทนั่นเอง นอกจากนั้น ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเขาเอง ก็มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่ตลอดเวลาในช่วงชีวิตของเขา


แนวคิดในการประพันธ์

โทลคีนแต่งเรื่อง เดอะฮอบบิท ขึ้นโดยมีโครงเรื่องแบบการเดินทางผจญภัยเพื่อบรรลุจุดหมาย (Quest) โดยอาจใช้รูปแบบของ "The Icelandic Journals" ของวิลเลียม มอร์ริส นักประพันธ์ในดวงใจ ของโทลคีนเป็นต้นแบบก็ได้

ในเนื้อเรื่องจะมีบทเพลงง่ายๆ ประกอบ วิธีการเล่าเรื่องเป็นแบบนิทานเด็ก ซึ่งผู้เล่าเรื่องจะพูดกับผู้อ่านเป็นระยะๆ

ตัวละครในเรื่องก็จะอยู่ในรูปแบบที่เด็กๆ สามารถรับทราบและทำความเข้าใจได้ง่าย รวมถึงลำดับการนำเสนอและการบรรยายถึงสถานที่ ในเนื้อเรื่อง ซึ่งสามารถสื่อถึงความรู้สึก "ปลอดภัย" และ "อันตราย" ได้อย่างชัดเจน

เมื่อแรกเริ่ม เดอะฮอบบิท มีความเกี่ยวข้องกับโครงร่างปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของโทลคีนแต่เพียงหลวมๆ โดยโทลคีนตั้งใจให้การผจญภัยของบิลโบ คือการหลุดเข้าไปในดินแดนจินตนาการมิดเดิลเอิร์ธ

โดยมีจุดเชื่อมต่อแรกที่ริเวนเดลล์ ฉากหลังในเรื่องนับแต่เทือกเขามิสตี้ ป่าเมิร์ควู้ด หรือเทือกเขาโลนลี่ จึงเป็นฉากหลังอันเดียวกันกับ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน

ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่พบประวัติความเป็นมาของ ฮอบบิท ในโครงร่างปกรณัมชุดใหญ่ของโทลคีนมาก่อน จนเมื่อโทลคีนเริ่มเขียนนิยายเรื่องต่อจากเดอะฮอบบิท คือ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ความเกี่ยวพันระหว่างตัวละคร สิ่งของ และสถานที่ จึงค่อยๆ ถูกถักทอขึ้นจนเป็นโครงร่างอันแน่นแฟ้น

เมื่อทิศทางของเรื่องเปลี่ยนไป โทลคีนจึงเกิดความต้องการจะเปลี่ยนแนวทางของเรื่องเดอะฮอบบิท ในฉบับปรับปรุงแก้ไข เขาตัดทอนคำพูดของผู้เล่าเรื่องออกไปหลายส่วน เพื่อให้รูปแบบของเรื่องมีความหนักแน่นมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีหลงเหลืออยู่บ้าง

สำหรับแรงบันดาลใจของโทลคีน นอกจากงานของวิลเลียม มอร์ริส แล้ว เขาได้นำชื่อตัวละครมาจากตำนานยุโรปเก่า ประกอบกับความรู้ด้านภาษาศาสตร์ของเขาเอง

ตัวอย่างเช่น ชื่อของพ่อมดแกนดัล์ฟและเหล่าคนแคระ นำมาจากบทกวีนอร์สโบราณเรื่อง "โวลุสปา" (Völuspá) จาก Elder Edda (รวมบทกวีนอร์สโบราณ)[9] ส่วนภาพวาดและอักขระต่างๆ มีต้นกำเนิดจากตัวอักขระของแองโกล-แซกซอน เป็นต้น


การแปลเป็นภาษาอื่น

เดอะฮอบบิท ได้แปลเป็นภาษาต่างๆ มากกว่า 40 ภาษา บางภาษามีการแปลหลายสำนวนและแปลจากต้นฉบับต่างเอดิชัน (จากการแก้ไขเรื่องของโทลคีนเอง)

สำหรับฉบับภาษาไทยแปลโดยสุดจิต ภิญโญยิ่ง พิมพ์ครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 2519-20 (หนังสือไม่ระบุปีที่พิมพ์) โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ธนิต ธรรมสุคติ เป็นผู้จัดพิมพ์ พิมพ์ที่โรงพิมพ์โพสต์พับบลิชชิ่ง จำกัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 สำนักพิมพ์แพรวเยาวชน นำมาตีพิมพ์อีกครั้งหนึ่งและมีการพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง


กระแสตอบรับ

มื่อ ซี. เอส. ลิวอิส ได้อ่านต้นฉบับเรื่องนี้ เขาได้เขียนบทวิจารณ์ชมเชยอย่างมากมายลงใน Times และ Times Literary Supplement ทำให้เกิดกระแสตอบรับหนังสือในทางที่คึกคักอย่างยิ่ง จนหนังสือขายหมดเกลี้ยงในเวลาเพียงไม่ถึง 3 เดือน และได้พิมพ์ฉบับประกอบภาพสีจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาทันที

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กเฮอรัลด์ทริบูน (New York Herald Tribune) แห่งสหรัฐอเมริกา มอบรางวัลหนังสือเยาวชนยอดเยี่ยม ประจำฤดูใบไม้ผลิ (Children's Spring Book Festival Award) ให้แก่โทลคีนเมื่อต้นปี ค.ศ.1938

หนังสือ เดอะฮอบบิท ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกๆ กลายเป็นของมีค่าในวงการนักสะสม ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษมีราคาไม่ต่ำกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐไม่ว่าหนังสือจะอยู่ในสภาพใด

หนังสือในสภาพดีและมีลายเซ็น ของผู้ประพันธ์เคยประกาศโฆษณาในราคาสูงกว่า 40,000 เหรียญสหรัฐทีเดียว สถิติสูงสุดในการประมูลหนังสือ เดอะฮอบบิท ฉบับพิมพ์ครั้งแรกอยู่ที่ราคา 60,000 ปอนด์ (ประมาณ 120,000 เหรียญสหรัฐ)

นอกจากนี้ฉบับพิมพ์ครั้งอื่นๆ รวมถึงฉบับพิเศษวาระครบรอบปีต่างๆ ก็ยังเป็นที่นิยมเสาะหาในบรรดานักสะสมอยู่ตลอดมา


สำหรับคำวิจารณ์จากสื่อต่างๆ

ส่วนใหญ่เป็นไปในทางที่ดี บทวิจารณ์จาก นิวยอร์กไทมส์ บอกว่า "โทลคีนมีพรสวรรค์อย่างน่าอัศจรรย์ ในการตั้งชื่อและการเล่าเรื่อง เมื่อเราอ่านหนังสือจบ ก็จะรู้เรื่องราวทั้งหมดของฮอบบิท เอลฟ์ คนแคระ ตลอดจนถิ่นที่อยู่ของพวกเขาเป็นอย่างดี เหมือนกับที่เรารู้เรื่องราวในวัยเด็กของเราเอง"

บทวิจารณ์จาก ซันเดย์ไทมส์ บอกว่า "ผู้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษในโลกแบ่งออกได้เป็นสองพวก คือ พวกที่อ่าน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ เดอะฮอบบิท แล้ว กับพวกที่กำลังจะอ่าน" ขณะที่นิตยสารไทมส์ ลอนดอน บอกว่าหนังสือเล่มนี้ "ยอดเยี่ยมไม่มีที่ติ"


การดัดแปลงไปยังสื่ออื่น

ละครเวที
เดือนมีนาคม ค.ศ.1953 มีการนำเรื่อง เดอะฮอบบิท ไปแสดงเป็นละครเวทีที่โรงเรียนเซนต์มาร์กาเร็ต เมืองเอดินเบิร์ก นับเป็นการดัดแปลงหนังสือเรื่องนี้เป็นครั้งแรก

ปี ค.ศ.2001 มาร์โจ คูเซลา อำนวยการแสดงบัลเล่ต์เรื่อง Hobitti (เดอะฮอบบิท ในภาษาฟินนิช) โดยมีออลีส์ ซัลลิเนน เป็นผู้อำนวยเพลง จัดการแสดงที่โรงละครฟินนิชเนชันแนลโอเปรา

ปี ค.ศ.2004 เดอะฮอบบิท ดัดแปลงเป็นบทละครโอเปราและเปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ประเทศแคนาดา หลังจากนั้นได้ตระเวนไปเปิดการแสดงในที่ต่างๆ ทั่วโลก และเปิดการแสดงที่ประเทศอเมริกาในฤดูใบไม้ผลิปี 2008 ที่โรงละครซาราโซตาโอเปรา ในเมืองซาราโซตา รัฐฟลอริดา

คณะละครชุดนี้ได้รับรางวัล Wings Awards ซึ่งเป็นการประกวดการแสดงของละครเพลง ในปี 2004 รวม 3 รางวัลคือ นักแสดงยุวชนยอดเยี่ยม (ผู้แสดงเป็นกอลลัม), แต่งหน้ายอดเยี่ยม และเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม


ละครวิทยุ

สถานีวิทยุบีบีซี โดย ไมเคิล คิลการ์ริฟ ดัดแปลง เดอะฮอบบิท เป็นบทละครวิทยุความยาว 8 ตอน (ตอนละครึ่งชั่วโมง) ออกอากาศตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1968 มี แอนโทนี่ แจ็คสัน เป็นผู้ให้เสียงบรรยาย พอล เดนแมน พากย์เป็น บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ และ เฮรอน คาร์วิค เป็น แกนดัล์ฟ


หนังสือเสียง

นิโคล วิลเลียมสัน ตัดทอนเรื่องให้สั้นลงและบันทึกเสียงอ่านจำหน่ายเป็นแผ่น LP 4 แผ่น ออกวางจำหน่ายในปี ค.ศ.1974 โดย อาร์โกเร็คคอร์ด

The Mind's Eye บริษัทวิทยุสัญชาติอเมริกัน จัดทำ เดอะฮอบบิท เป็นหนังสือบันทึกเสียง ออกวางจำหน่ายเป็นเทปคาสเซ็ตต์ 6 ม้วน ม้วนละ 1 ชั่วโมง ในปี ค.ศ.1979

โรเบิร์ต อิงกลิส นักแสดงชาวอังกฤษจัดการแสดงเดี่ยวเรื่อง เดอะฮอบบิท การแสดงคราวนั้นทำให้สำนักพิมพ์เรคคอร์ดเดดบุ๊คส์ ทาบทามให้เขาไปให้เสียงอ่านหนังสือเสียงเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในปี ค.ศ.1990 หลังจากนั้นอีก 1 ปีเขาได้ให้เสียงอ่านหนังสือเสียง เดอะฮอบบิท อีกกับสำนักพิมพ์เดิม


เดอะฮอบบิท ฉบับภาพยนตร์การ์ตูน

รายการโทรทัศน์

เดอะฮอบบิท ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโดย แรนคิน/บาส (Rankin/Bass) ออกฉายเป็นรายการโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1977 มีความยาวตลอดเรื่อง 78 นาที ปีเดียวกันนั้น

บัวนาวิสต้าเร็คคอร์ด บริษัทในเครือของดิสนีย์ ยังได้นำเพลงประกอบภาพยนตร์มาจัดทำเป็นแผ่น LP ออกจำหน่ายด้วย ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จค่อนข้างดี โดยได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลฮิวโก สาขา Best Dramatic Presentation ในปี ค.ศ. 1978 พร้อมกับเรื่อง สตาร์ วอร์ส แต่ไม่ได้รับรางวัล

ต่อมาจึงชนะเลิศรางวัล Peabody Award ในปีเดียวกัน

รายการเด็กในสถานีโทรทัศน์บีบีซี ชื่อ Jackanory ดัดแปลงเรื่อง เดอะฮอบบิท เป็นรายการโทรทัศน์เมื่อปี ค.ศ. 1979


หนังสือภาพ

สำนักพิมพ์อิคลิพซ์คอมิกส์ ตีพิมพ์หนังสือภาพเรื่อง เดอะฮอบบิท เป็นหนังสือ 3 เล่มจบ ในปี ค.ศ.1989 โดยมีชัค ดิกสัน และฌอน เดมมิง เป็นผู้เรียบเรียงและบรรยายเรื่องใหม่ วาดภาพประกอบโดยเดวิด เวนเซล ต่อมามีการพิมพ์ซ้ำโดยรวมเป็นเล่มเดียวโดยสำนักพิมพ์เดลเรย์บุ๊คส์ เมื่อปี ค.ศ.2001


ภาพยนตร์

วันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ.2007 มีการประกาศสร้างภาพยนตร์เรื่อง เดอะฮอบบิท โดย MGM และนิวไลน์ ซีนีม่า ร่วมกับปีเตอร์ แจ็คสัน ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์


อิทธิพลต่องานแขนงอื่น

ภาพวาด

ภาพวาดจากเรื่อง เดอะฮอบบิท ยุคแรกสุดเป็นผลงานของโทลคีนเอง เขาวาดไว้ทั้งภาพขาวดำและภาพสี ซึ่งสำนักพิมพ์ได้เลือกไปตีพิมพ์บางส่วน หลังจากนั้นมีนักวาดภาพคนอื่นๆ ที่วาดภาพปกและภาพประกอบให้ เดอะฮอบบิท

เช่น สองพี่น้องฮิลเดบรันด์ (Tim และ Greg Hildebrandt) ซึ่งเป็นนักวาดภาพประกอบนิยายวิทยาศาสตร์และแฟนตาซี อลัน ลี ซึ่งวาดภาพประกอบให้ทั้ง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รวมถึง จอห์น ฮาว และ เท็ด แนสมิธ

นอกจากนี้ยังมีศิลปินคนอื่นๆ อีก ได้แก่ Tove Jansson (ผู้วาดภาพประกอบ เดอะฮอบบิท ฉบับแปลภาษาฟินนิช), Peter Pracownik, RL Stine, Stephen Hickman, Roger Garland, Iain McCaig, David Wyatt และ Frank Frazetta เป็นต้น


ดนตรี

เกลนน์ ยาร์โบรห์ นักดนตรีโฟล์คชาวอเมริกัน ออกอัลบัมชุด "inspired by the Hobbit" และได้ร่วมงานกับ แรนคิน/บาส ในการทำเพลงประกอบภาพยนตร์การ์ตูน เดอะฮอบบิท ในปี ค.ศ.1977 เขายังได้ร่วมงานกับแรนคิน/บาส ในการทำเพลงประกอบภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง The Return of the King ในปี ค.ศ.1980 ด้วย

ปี ค.ศ.1999 วงดนตรีร็อก ชื่อ "Hobbit" ออกอัลบัมเพลงเกี่ยวกับ เดอะฮอบบิท ชุด Two Feet Tall และในปี 2001 ออกชุด Rockin' The Shire รวมถึง All For The One ในปี ค.ศ.2003 ซึ่งสร้างจาก เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์


เกม

ะหว่างปี 1976-1977 ทีเอสอาร์ อิงค์ วางจำหน่ายเกมสงครามในลักษณะเกมไพ่พร้อมแผนที่ ซึ่งสร้างขึ้นเลียนแบบ สงครามห้าทัพ หลังจากนั้น เดอะฮอบบิท ได้กลายเป็นเกมกระดานอีกหลายเกม เช่น "The Lonely Mountain" (ค.ศ.1984), "The Battle of Five Armies" (ค.ศ.1984), and "The Hobbit Adventure Boardgame" (ค.ศ.1997) ผลิตโดย Iron Crown Enterprises

และปี ค.ศ.2005 บริษัทเกมชื่อเกมส์เวิร์คชอป วางจำหน่ายเกมสงครามประกอบทีวี ชื่อ "Battle of Five Armies"

แต่เกมจากหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับรางวัล คือเกม "The Hobbit" ของบีมซอฟต์แวร์ ในปี ค.ศ.1982 ซึ่งได้รับรางวัล Golden Joystick Award for Strategy Game of the Year 1983 ผู้จัดจำหน่ายคือ Melbourne House ได้แถมหนังสือไปกับการจำหน่ายเกมด้วย

ปี ค.ศ.2003 เซียร์ราเอ็นเตอร์เทนเมนท์ วางจำหน่ายเกมพีซีชื่อ The Hobbit สำหรับเล่นบนเครื่องวินโดวส์, เพลย์สเตชัน 2, Xbox และ นินเทนโด เป็นเกมที่คล้ายคลึงกับเวอร์ชันก่อนหน้านี้ซึ่งออกจำหน่ายเป็นเกมบอย


การท่องเที่ยว

ชื่อ ฮอบบิท ถูกนำไปใช้เป็นชื่อโรงแรมที่พักในประเทศต่างๆ มากมายหลายแห่ง เนื่องจากสื่อถึงการพักผ่อนสะดวกสบายเ หมือนอย่างชีวิตของชาวฮอบบิท

ตัวอย่างเช่น The Hobbit Hotel Halifax ใน Yorkshire ประเทศอังกฤษ The Hobbit Boutique Hotel ที่ Bloemfontein ประเทศแอฟริกาใต้ (บ้านเกิดของโทลคีน) และ Hobbit Hotel ในประเทศเบลเยี่ยม


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ศุกรวาร สิริมานรมเยศนะคะ



Create Date : 01 เมษายน 2554
Last Update : 1 เมษายน 2554 8:20:30 น. 0 comments
Counter : 2285 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.