"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
15 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
พระสงฆ์กับอำนาจรัฐไทย : บทเรียนจากอดีต - พระธรรมยุตสายอีสาน

ผศ. ธีระพงษ์ มีไธสง
สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม





ไม่ว่าสมัยใดๆ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล พระสงฆ์ได้เข้าไปมีส่วนทางการเมืองมากบ้างน้อยบ้าง เมื่อพุทธศาสนาเข้ามาในเมืองไทย อาจเริ่มพบหลักฐานตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์

แม้พระสงฆ์จะมีบทบาทอย่างมากต่อบ้านเมือง โดยเฉพาะในภาวะที่สังคมเผชิญกับวิกฤติการณ์ด้านการปกครอง พระสงฆ์ที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่หลายรูป ได้แสดงบทบาทต่อบ้านในฐานะเป็นพลเมือง

แต่ทางการปกครองในองค์กรสงฆ์แล้ว กลับพบว่า สถาบันสงฆ์ไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของพระมหากษัตริย์มาตลอด สอดคล้องกับความเห็นของ ชัยอนันต์ สมุทวณิช ที่กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ ไม่มีอาวุธที่จะสามารถควบคุมการลุกฮือของสามัญชนจำนวนมากๆ ได้

เครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมที่ดีที่สุด คือ การสร้างความเชื่อในความเป็นอภิมนุษย์ให้สามัญชนเกิดความกลัวเกรง และยอมรับนับถือ (๒๕๔๑ : ๔๑-๔๖)

และความเชื่อที่มีพลังมากคือความเชื่อทางศาสนา ในศาสนาฮินดูมีชุดความเชื่อแบบเทวราช และศาสนาพุทธมีชุดความเชื่อแบบพระโพธิสัตว์ ซึ่งชุดความเชื่อทั้งสองเอื้อต่อการนำมาอธิบายและตีความให้สนับสนุนสถานะอันสูงส่งของพระมหากษัตริย์ได้เป็นอย่างดี

ทำให้พระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณทรงนำมาเป็นเครื่องมือในการปกครองบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ศาสนาพุทธถูกผสมผสานด้วยศาสนาพราหมณ์ และถูกตีความในลักษณะที่สนับสนุนระบบศักดินา

เช่น การทำพิธีกรรมความศักดิ์สิทธิ์ในพระราชพิธีต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวดาอวตาร ย่อมมีความชอบธรรมที่จะปกครองสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียว (๒๕๑๗ : ๔๔)

ในขณะเดียวกัน สถาบันนักบวชซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา ก็ยอมรับสถานะการอยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้รักษาความมั่นคงของศาสนา

แต่อำนาจครอบงำศาสนาดังกล่าว ดูเหมือนจะคลี่คลายในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ เห็นได้จากพระองค์ได้ทรงมอบหมายงานของคณะสงฆ์ทั้งหมดให้อยู่ในการปกครองของเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชเป็นพระวชิรญาณภิกขุอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

ทำให้พระวชิรญาณภิกขุทรงปฏิรูปองค์กรสงฆ์ไทยที่ย่อหย่อนต่อพระวินัยได้อย่างดี กอปรกับพระองค์ทรงผนวชและศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกจนช่ำชองถึงขนาดเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลี และทรงมีอำนาจในการตัดสินพระราชหฤทัยอย่างแท้จริง

ทำให้ทรงปฏิรูปองค์กรสงฆ์ได้รวดเร็วโดยตั้งคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น จากการมอบอำนาจการปกครองให้แก่พระวชิรญาณภิกขุ ดูเหมือนว่าอำนาจการปกครองคณะสงฆ์จะเป็นขององค์กรอย่างเบ็ดเสร็จ

แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว พระวชิรญาณภิกขุ นอกจากมีฐานะเป็นพระสงฆ์แล้ว ยังมีฐานะเป็นเชื้อพระวงศ์ (เจ้าฟ้ามงกุฎ) อยู่ด้วย ดังนั้น จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า อำนาจการปกครองคณะสงฆ์ได้ถูกถ่ายโอนให้แก่องค์กรสงฆ์อย่างเต็มที่

สุดท้ายแล้วก็เป็นเพียงการบริหารที่แอบชิดอยู่กับแวดวงศ์ของพระมหากษัตริย์ แต่เผอิญพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระภิกษุเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม แต่เมื่อพระวชิรญาณภิกขุทรงลาผนวชแล้วเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ก็ได้ทรงรวบการปกครองคณะสงฆ์เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจพระมหากษัตริย์

จนถึงรัชกาลที่ ๕-๖ เงื่อนไขของการล่าอาณานิคมของจักรวรรดิตะวันตก ทำให้หัวเมืองอีสานซึ่งเป็นฝั่งขวาของแม่น้ำโขงอาจถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของลาว เพราะคนอีสานมีวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตที่เป็นแบบลาว

จึงทรงมีนโยบายที่จะทำคนอีสาน (ลาว) ให้เป็นไทยผ่านการตีความหลักธรรมคำสอนในศาสนาพุทธให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของชาติและนโยบายของชาติ ถึงกับสอนว่า การสู้รบเพื่อชาตินั้นไม่ถือว่าผิดศีล

เพราะแม้พระพุทธองค์ก็ได้ทรงอนุญาตแล้ว (ดูรายละเอียดในเทศนาเสือป่า ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว น. ๑๒๐) ทำให้พุทธศาสนากลายเป็นกลไกของรัฐเพื่อตอบสนองอุดมการณ์ของชาติ

ในขณะเดียวกัน คนอีสานมีลักษณะยึดมั่นและศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น ทำให้พระองค์ทรงพยายามจะปรับเปลี่ยนคนอีสานซึ่งมีวัฒนธรรมแบบลาวให้กลายเป็นคนไทย จึงได้ส่งพระสงฆ์ชาวอีสานซึ่งมาบวชและฝึกอุดมการณ์แบบรัฐไทยผ่านธรรมยุติกนิกายไปเพื่อปฏิรูปหัวเมืองอีสาน

เริ่มจากการสร้างวัดสุปัฏนาราม เป็นศูนย์กลางธรรมยุตแห่งแรกในการเผยแพร่อุดมการณ์รัฐชาติ ทำให้ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานถูกทำให้ล้าหลัง และสูญหายไป เช่น หนังสือผูกที่จารึกด้วยอักษรลาว และอักษรธรรมซึ่งบันทึกภูมิปัญญาที่หลากหลาย

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาและตรวจสอบวัดรวมถึงพระสงฆ์ พระสงฆ์เองถูกดึงออกจากชุมชนไปผูกติดกับอำนาจสถาบันสงฆ์แห่งชาติ ทำเกิดให้ช่องว่างระหว่างพระสงฆ์กับชาวบ้านมากยิ่งขึ้น

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า หลังพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ๒๔๕๑ วัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนในฐานะเป็นวัดของชาวบ้านถูกรัฐยึดเอาไปเป็นของรัฐฝ่ายเดียว ความรู้สึกผูกพันกับวัดเหมือนเป็นสมบัติของชุมชนจึงเริ่มจืดจางลงไปตั้งแต่นั้น (นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใน //www.matichon.co.th)

นอกจากนั้น พิธีฮดสรงซึ่งเป็นพิธีกรรมยกย่องพระสงฆ์แบบโบราณล้านช้างให้มีตำแหน่ง ก็ถูกทำให้ผิดพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย ซึ่งให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่มหาเถรสมาคมในการแต่งตั้ง-ถอดถอนสมณศักดิ์พระสงฆ์

กระบวนการคัดสรรพระสงฆ์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนหายไป พระสงฆ์อีสานจะได้รับสมณศักดิ์ได้ต้องเป็นไปตามอำนาจของพระเถระผู้ปกครอง ซึ่งอาจจะให้ความดีความชอบเฉพาะแก่พระสงฆ์บางรูปที่ตนเองเห็นชอบ โดยปราศจากความเห็น หรือการมีส่วนร่วมของชุมชน

สุดท้าย วัดกับชุมชนจึงมีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะที่เหินห่าง

เดิมชาวอีสานมักเรียกวัดในชุมชนของตนเองว่า “เป็นวัดบ้านเฮา” แต่ปัจจุบันไม่สามารถเรียกเช่นนั้นได้อย่างเต็มปากเต็มคำ เพราะวัดกลายเป็นสมบัติของรัฐส่วนกลางไปแล้ว


ขอบคุณ มติชนออนไลน์
ผศ. ธีระพงษ์ มีไธสง

สิริสวัสดิ์โสรวารค่ะ


Create Date : 15 มีนาคม 2557
Last Update : 15 มีนาคม 2557 11:28:34 น. 0 comments
Counter : 2025 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.