"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
11 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
ศูนย์ควบคุมการบิน ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ






ศูนย์ควบคุมภารกิจ




ศูนย์ควบคุมการบินต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสถานีอวกาศนานาชาติชิ้นส่วนต่างๆ ของสถานีอวกาศนานาชาติอยู่ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบ โดยองค์การอวกาศผู้รับผิดชอบแต่ละส่วน โดยมีศูนย์ควบคุมภารกิจอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วโลก ต่อไปนี้เป็นรายชื่อส่วนหนึ่ง

ศูนย์ควบคุมภารกิจขององค์การนาซา ที่ ศูนย์อวกาศลินดอน บี. จอห์นสัน ที่เมืองฮูสตัน รัฐเท็กซัส จัดเป็นศูนย์ควบคุมภารกิจหลักสำหรับเซ็กเมนต์ของสหรัฐอเมริกา บนสถานีอวกาศนานาชาติ และยังควบคุมภารกิจกระสวยอวกาศที่เดินทางไปเยือนสถานีด้วย

ศูนย์ควบรวมและปฏิบัติการเปลี่ยนถ่าย (Payload Operations and Integration Center) ขององค์การนาซ่า ที่ศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล เมืองฮันต์สวิลล์ รัฐแอละแบมา ทำหน้าที่ศูนย์ประสานงานการเปลี่ยนถ่ายนักบินอวกาศ สำหรับเซ็กเมนต์ของสหรัฐอเมริกา

ศูนย์ควบคุมภารกิจรอสคอสมอส (Roskosmos) ที่เมืองโคโรลยอฟ มอสโคว์ ควบคุมภารกิจในเซ็กเมนต์ วงโคจรรัสเซียของสถานีอวกาศนานาชาติ นอกเหนือไปจากภารกิจโซยุสและโพรเกรส

ศูนย์ควบคุมโคลัมบัส ขององค์การอวกาศยุโรป ที่ศูนย์อวกาศยานเยอรมัน (DLR) ที่เมือง Oberpfaffenhofen ประเทศเยอรมนี ควบคุมห้องปฏิบัติการวิจัย โคลัมบัส ของยุโรป

ศูนย์ควบคุม ATV ขององค์การอวกาศยุโรป ที่ศูนย์อวกาศตูลูส (CST) เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ควบคุมเที่ยวบินอัตโนมัติที่ไม่มีคนบังคับของยุโรปทั้งหมด

ศูนย์ควบคุม JEM และศูนย์ควบคุม HTV ขององค์การอวกาศญี่ปุ่น ที่ศูนย์อวกาศซุคุบะ (TKSC) เมืองซุคุบะ ประเทศญี่ปุ่น รับผิดชอบภารกิจในการจัดการโมดูลการทดลองของญี่ปุ่น และเที่ยวบินที่ไม่มีคนบังคับทั้งหมดของญี่ปุ่นใน H-II Transfer Vehicle

ศูนย์ควบคุม MSS ขององค์การอวกาศแคนาดา ที่เมืองเซนต์-ฮิวเบิร์ต
รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา ควบคุมและตรวจดูระบบบริการเคลื่อนที่ (Mobile Servicing System) หรือ Canadarm2


การบริหารความปลอดภัย
ขยะในอวกาศ

ระดับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นบริเวณที่ขยะอวกาศอยู่มากมาย นับตั้งแต่ชิ้นส่วนจรวดที่ไม่ใช้งานแล้ว ดาวเทียมที่หมดอายุ ไปจนถึงเศษชิ้นส่วนจากมอเตอร์จรวด

สารหล่อเย็นที่ถูกปล่อยทิ้งออกมาจากดาวเทียม ซึ่งอาศัยพลังงานนิวเคลียร์ และชิ้นส่วนอื่นๆ อีกมากมายวัตถุต่างๆ เหล่านี้รวมกับชิ้นส่วนอุกกาบาตขนาดเล็ก ก่อให้เกิดอันตรายต่อสถานีอวกาศ

เพราะมันอาจทำความเสียหาย แก่โมดูลปรับความดันหรือส่วนต่างๆ ของสถานี

อุกกาบาตขนาดเล็ก ยังทำให้การปฏิบัติภารกิจในการท่องอวกาศ ของนักบินอวกาศเป็นอันตรายด้วย เช่นอาจสร้างความเสียหายกับชุดอวกาศและทำให้สูญเสียแรงดัน

มีการตรวจติดตามชิ้นส่วนขยะอวกาศต่างๆ จากบนพื้นโลก ซึ่งลูกเรือของสถานีอวกาศจะได้รับการเตือนว่า มีวัตถุใดใกล้เคียงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเกิดการกระแทกกันได้

และให้เริ่มปฏิบัติการหลบหลีกขยะอวกาศ (Debris Avoidance Manoeuvre หรือ DAM) โดยอาศัยเครื่องผลัก ที่อยู่บนเซ็กเมนต์วงโคจรรัสเซีย เพื่อเปลี่ยนระดับวงโคจรของสถานีอวกาศ ในการหลบหลีกชิ้นส่วนเหล่านั้น

การปฏิบัติการ DAM ไม่ยุ่งยากนัก โดยการตรวจสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นว่าชิ้นส่วนขยะอวกาศจะเข้าใกล้สถานีในระยะ ที่เป็นอันตรายขนาดเท่าใด

มีปฏิบัติการหลบหลีกขยะอวกาศทั้งสิ้น 8 ครั้งนับถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 โดยที่ 7 ครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2003

โดยปกติวงโคจรจะถูกยกระดับขึ้นราว 1-2 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย เมื่อเพิ่มความเร็ววงโคจรขึ้น 1 เมตรต่อวินาที ส่วนกรณีไม่ปกติคือการลดระดับลง 1.7 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2008 ซึ่งเป็นการลดระดับลงครั้งแรกในรอบ 8 ปี

ในปี 2009 มีปฏิบัติการ DAM 2 ครั้ง ในวันที่ 22 มีนาคมและ 17 กรกฎาคม หากว่าการตรวจสอบการปะทะกับขยะอวกาศ ทำได้ช้าเกินไปจนไม่สามารถเริ่มปฏิบัติการ DAM ได้ทัน

ลูกเรือของสถานีอวกาศ จะต้องปิดประตูหน้าต่างทุกบานบนสถานีและย้ายไปอยู่ในยานอวกาศโซยุส เพื่อที่ทั้งหมดจะได้หลบหนีได้ทันทีหากว่าการปะทะนั้นทำให้เกิดอันตราย

การอพยพสถานีบางส่วนเช่นนี้เคยเกิดขึ้น 2 ครั้ง คือวันที่ 6 เมษายน 2003 และ 13 มีนาคม 2009


การแผ่รังสี

เมื่ออยู่ในอวกาศ นักบินอวกาศจะได้รับรังสีจากการแผ่รังสีคอสมิก ในระดับที่สูงกว่าปกติ เนื่องจากไม่มีชั้นบรรยากาศของโลกช่วยปกป้อง

ลูกเรือของสถานีอวกาศนานาชาติจะได้รับรังสีราว 1 millisievert ในแต่ละวัน หรือเทียบเท่ากับการที่เราได้รับรังสี จากแหล่งกำเนิดรังสีปกติบนพื้นโลกในเวลา 1 ปี

ซึ่งส่งผลให้นักบินอวกาศมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งมากกว่าปกติ การแผ่รังสีในระดับสูงนี้ ยังสามารถทำลายโครโมโซมของลิมโฟไซต์ ซึ่งเป็นเซลส์สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน

การที่เซลส์ถูกทำลายจึงทำให้นักบินอวกาศ มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำสามารถส่งผล ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในหมู่ลูกเรือได้

โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่จำกัด การแผ่รังสียังทำให้นักบินอวกาศ มีโอกาสเป็นต้อกระจกสูง การใช้อุปกรณ์ป้องกันการแผ่รังสีร่วมกับยาสามารถช่วยลดความเสี่ยงลง ไปในระดับที่ยอมรับได้

แต่การได้รับรังสีในระยะยาว ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

แม้จะมีความพยายามพัฒนาเกราะป้องกัน รังสีให้แก่สถานีอวกาศนานาชาติ ดีขึ้นกว่าสถานีอวกาศรุ่นก่อนๆ เช่น เมียร์ แต่ระดับของรังสีภายในสถานี ก็ยังไม่ค่อยลดลงมากนัก

นักวิทยาศาสตร์เห็นว่า ยังต้องมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากกว่านี้ก่อนที่การเดินทางระยะยาว ในระบบสุริยะจะเป็นไปได้


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศุกรวารสิริสวัสดิ์ โสมนัสวัฒนสิรินะคะ



Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2554 12:55:11 น. 0 comments
Counter : 952 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.