"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 
6 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 

ภาพถ่ายดาราศาสตร์ที่ใครๆ ก็ถ่ายได้

 โดย ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

ตัวอย่างภาพเส้นแสงดาวที่ (Startrails) ของผู้เข้ากิจกรรมซึ่งถ่ายภาพด้วยเทคนิคถ่ายภาพแบบต่อเนื่องแล้วนำมาภาพที่ได้มาประมวลผลภาพด้วยโปรแกรม Startrailsซึ่งในวันดังกล่าวท้องฟ้ามองเห็นแสงดาวน้อยมาก แต่ผู้เข้าร่วมก็สามารถถ่ายภาพออกกมาได้อย่างสวยงาม

 

       หลังจากการจัดฝึกอบรมถ่ายภาพทางดาราศาสตร์เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติร่วมกับบริษัทแคนนอนในการจัดฝึกอบรมครั้งนี้ ผมเองได้เป็นวิทยากรในการบรรยายเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ซึ่งก็เป็นที่น่าดีใจครับที่มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ หลังจากที่ทางทีมงานประกาศรับสมัครปรากฏว่า มีผู้สนใจลงชื่อเข้าร่วม30 ท่านแรกเต็มภายใน 2 ชั่วโมง และนอกจากนั้นยังมีผู้ลงชื่อสำรองไว้อีกกว่า 50 ท่าน
       
       งานนี้ผมและทีมเจ้าหน้าที่ก็เลยจัดเต็มแบบไม่มีกักเทคนิคกันเลยทีเดียว เท่าที่เวลาจะมีให้ครับ โดยนอกจากการแนะนำอุปกรณ์ในการถ่ายภาพรวมทั้งฟังก์ชั่นต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญของบริษัทแคนนอนแล้ว ผู้เข้าอบรมยังได้เรียนรู้เทคนิคทางดาราศาสตร์ อาทิ การหาตำแหน่งดาวเหนือ การเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า การวัดระยะเชิงมุม ฯลฯ ซึ่งเป็นความรู้ที่เหมาะกับนักดาราศาสตร์สมัครเล่นในระดับพื้นฐาน ในการนี้ผมได้นำตัวอย่างภาพถ่ายทางดาราศาสตร์มาใช้ในการฝึกปฏิบัติการประมวลผลภาพถ่าย ซึ่งล้วนแต่เป็นเทคนิคพื้นฐานที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นควรรู้ทั้งสิ้น
       
        ในตอนแรกก่อนการจัดอบรมผมแอบนึกในใจว่าผู้เข้าร่วมจะเบื่อกับความรู้ทางดาราศาสตร์ที่จะบรรยายไหม จะเข้าใจกันยากไหม หรือจะชอบเทคนิคการถ่ายภาพดาราศาสตร์กันหรือไม่ แต่หลังจากอบรมเสร็จแล้วผมกลับโล่งใจ เพราะมีผู้ให้ความสนใจและชื่นชอบการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์กันมากขึ้น และอยากให้จัดอีกบ่อยๆ ผมและทีมเจ้าหน้าที่หายเหนื่อยกันเลยทีเดียว เพราะหน้าที่หนึ่งของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ก็คือการสร้างนักดาราศาสตร์สมัครเล่นในเมืองไทยให้เพิ่มขึ้น ซึ่งเทคนิคและความรู้พื้นฐานต่างๆ ที่ใช้ในการบรรยายในครั้งนี้ ก็ล้วนแต่เป็นความรู้พื้นฐานของการเก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์ของนักดาราศาสตร์สมัครเล่น

ภาพบรรยากาศการฝึกอบรมถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ โดยรูปแบบกิจกรรมเน้นการให้ความรู้และเทคนิค รวมทั้งการฝึกปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับนักดาราศาสตร์สมัครเล่น

 

                        เนื้อหาในการจัดฝึกอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วยการแนะนำอุปกรณ์การถ่ายภาพการแนะนำวิธีการและเทคนิคการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ เช่น การถ่ายภาพเส้นแสงดาว(Startrails) โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการดูดาวเบื้องต้นเพื่อใช้ในการหาตำแหน่งทิศเหนือและการทำความเข้าใจกับกลไกท้องฟ้า การวัดระยะเชิงมุมบนท้องฟ้า รวมทั้งการถ่ายภาพดวงอาทิตด้วยกล้องโทรทรรศน์ผ่านโซลาร์ฟิลเตอร์ (solar filter) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถถ่ายภาพจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ได้อย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นพื้นฐานการสังเกตการเปลี่ยนแปลงบนดวงอาทิตย์อีกรูปแบบหนึ่งอีกด้วย
        
                       ในการฝึกปฏิบัตินอกจากการถ่ายภาพในแต่ละประเภทแล้ว อีกเทคนิคหนึ่งที่สำคัญในกิจกรรมนี้คือ การประมวลผลภาพถ่ายเส้นแสงดาว ด้วยซอฟแวร์ Startrailsและการประมวลผลภาพดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ด้วยซอฟแวร์ Registax ซึ่งเป็น “ฟรีแวร์” ทางดาราศาสตร์ที่สามารถดาวน์โหลดได้เอง (รายละเอียดเพิ่มเติมการประมวลผลภาพถ่ายวัตถุท้องฟ้าด้วย Registax //www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000114250)

ตัวอย่างภาพถ่ายดวงอาทิตย์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายภาพ ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพด้วยกล้องโทรทรรศน์ผ่านโซลาร์ฟิวเตอร์ โดยเน้นในเรื่องเทคนิคการโฟกัสภาพ ณ จุดบนดวงอาทิตย์ เพื่อให้ภาพคมชัดมากที่สุด

 

       การฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ผ่านโซลาร์ฟิลเตอร์ ซึ่งเทคนิคที่แนะนำสำหรับการปรับโฟกัสภาพให้คมชัดที่สุดคือ การเลือกโฟกัสที่จุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ที่ปรากฏอยู่บนผิวของดวงอาทิตย์ โดยเลือกจุดที่อยู่ใกล้ตำแหน่งกลางดวงอาทิตย์มากที่สุด และหากจะเปรียบเทียบกับการถ่ายภาพบุคคลแล้วก็คล้ายกับการโฟกัสที่ดวงตานั่นเอง เพราะหากเราใช้ขอบของดวงอาทิตย์เป็นตำแหน่งในการโฟกัสก็คงไม่ต่างกับเราโฟกัสที่ใบหูของภาพถ่ายบุคคลนั่นเอง (รายละเอียดเพิ่มเติมเทคนิคการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ //www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000148931)
        
       อีกกิจกรรมหนึ่งในการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ คือการถ่ายภาพดวงจันทร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ PVC Telescope ซึ่งผู้เข้าอบรมสามารถที่จะสร้างเองได้ด้วยงบประมาณที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งเทคนิคสำคัญของการถ่ายภาพดวงจันทร์ คือการเลือกระบบโฟกัสภาพแบบเฉพาะจุด โดยเลือกโฟกัสบริเวณหลุมบนผิวดวงจันทร์ผ่านจอหลังกล้องถ่ายภาพให้คมชัดที่สุด

ตัวอย่างภาพถ่ายดวงจันทร์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายภาพ ซึ่งเป็นการฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพด้วยกล้อง PVC Telescope ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถสร้างเองได้ด้วยงบประมาณไม่สูงมากนัก ได้สามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ในการถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าได้ดีในระดับหนึ่ง (รายละเอียดเรื่อง “กล้องโทรทรรศน์” ทำเอง-บันทึกวัตถุท้องฟ้าได้จริงตามลิงค์ //www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000120468))

 

       นอกจากกิจกรรมการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ในช่วงกลางวันแล้ว อีกกิจกรรมหนึ่งที่หลายท่านให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ การถ่ายภาพเส้นแสงดาว (Startrails) ซึ่งสถานที่ในการการฝึกปฏิบัติสถานการณ์จริง เทคนิคการถ่ายภาพเส้นแสงดาว และการถ่ายภาพดวงจันทร์ เราเดินทางไป ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
        
       ก่อนหน้าการจัดกิจกรรมอบรมผมและทีมเจ้าหน้าที่ได้สำรวจสถานที่ไว้ก่อนหน้าซึ่งท้องฟ้ามีความมืดพอสมควร และสามารถสังเกตเห็นดาวเหนือได้ชัดเจน แต่ในวันจริงท้องฟ้ากลับไม่เป็นใจเต็มไปด้วยควันและฟ้าหลัวทั่วท้องฟ้า แต่ผู้ร่วมกิจกรรมหลายท่านก็ไม่ท้อถอยและได้ทดลองถ่ายภาพเส้นแสงดาวรวมทั้งดวงจันทร์กันมาได้ภาพออกมาอย่างที่เห็น ซึ่งก็ถือว่าเป็นภาพแรกๆของใครหลายๆ คน และก็เป็นภาพที่ใครๆก็ถ่ายได้ครับ(รายละเอียดเพิ่มเติมเทคนิคการถ่ายภาพเส้นแสงดาว //www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000016487)

ขอบคุณ
ผู้จัดการออนไลน์
คุณศุภฤกษ์ คฤหานนท์

สิริสวัสดิ์จันทรวารค่ะ




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2556
0 comments
Last Update : 6 พฤษภาคม 2556 8:16:04 น.
Counter : 1704 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.