CSR-DIW




ได้ไปอบรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility:CSR) เวอร์ชั่นกรมโรงงานอุตสาหกรรมมา สาระโดยสังเขปดังนี้ค่ะ

ปัจจัยขับเคลื่อน CSR
• การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้าน CSR และในฐานะของการเป็นสมาชิกสังคมที่มีความรับผิดชอบ
• การจับตามองการดำเนินธุรกิจขององค์กรโดยภาครัฐ หน่วยงานอิสระต่าง ๆ เช่น NGOs สื่อมวลชน และคู่แข่งทางธุรกิจ
• ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทุกแง่มุม
• ความคาดหวังจากผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมาย และมีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือ การดำเนินธุรกิจขององค์กร

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
• ในองค์กร – ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และพนักงาน
• สังคมใกล้ – ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัวพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ สิ่งแวดล้อมรอบข้าง
• สังคมไกล – ประชาชนทั่วไป คู่แข่งขันทางธุรกิจ

ประโยชน์ของ CSR
• เพิ่มผลกำไร
• ลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
• ภาพลักษณ์ที่ดีต่อตราสินค้า
• เพิ่มยอดขายและสร้างความจงรักภักดีต่อตัวผลิตภัณฑ์ หรือบริการ
• เพิ่มขีดความสามารถและคุณภาพการผลิต
• ดึงดูดพนักงานใหม่ สร้างความภูมิใจให้พนักงานปัจจุบัน
• ลดความเสี่ยงของการละเลยข้อกำหนดต่าง ๆ
• ทัดเทียมคู่แข่ง เท่าทันกับทิศทางของธุรกิจ

ความเสี่ยงของการไม่นำ CSR มาปฏิบัติ
• การเติบโตทางธุรกิจถดถอย เพราะผู้ลงทุนเลือกที่จะลงทุนกับองค์กรที่ผลประกอบการดี และนำหลัก CSR มาปฏิบัติ มากกว่า
• ขาดภาพลักษณ์ที่ดี เพราะธุรกิจที่เอาเปรียบผู้อื่น ย่อมขาดความน่าเชื่อถือ
• ขาดมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจ
• ความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน หรือฟ้องร้องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

มาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม มีใจความสำคัญดังนี้
1. ขอบข่ายและการนำไปใช้ กำหนดเกณฑ์การปฏิบัติของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

2. บทนิยาม

2.1 ความรับผิดชอบต่อสังคม
2.2 ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
2.3 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3. หลักความรับผิดชอบต่อสังคม
3.1 หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งเชิงรุกเชิงรับ ต่อเนื่อง แต่ไม่รวมต่อความรับผิดชอบในเรื่องส่วนตัวของสมาชิกผู้ประกอบการ

3.2 หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติสากล ทำตามสัญญาสากลต่าง ๆ ที่ได้รับการรับรองจากองค์กรระดับประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ

3.3 หลักการยอมรับและฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยอมรับว่ามีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินกิจการของตน เปิดโอกาสให้แสดงความเห็น และต้องสื่อสารเรื่องที่เกี่ยวข้องให้ด้วย

3.4 หลักการความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ รายงานผลการดำเนินการต่าง ๆ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการค้า และความปลอดภัย

3.5 หลักการความโปร่งใส ตั้งใจที่จะเปิดเผยข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารที่ทันท่วงที

3.6 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความพยายามที่จะทำให้บรรลุความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันโดยไม่ทำให้ความต้องการของคนรุ่นอนาคตเสียไป

3.7 หลักการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ดำเนินการอย่างมีศีลธรรมจรรยาที่น่ายกย่อง ได้แก่ จริงใจ ซื่อสัตย์ ไม่ทุจริต บิดเบือน ข่มขู่ เลือกปฏิบัติหรือเล่นพรรคเล่นพวก

3.8 หลักการป้องกันล่วงหน้า คาดการณ์ล่วงหน้าอย่างรอบคอบ ด้วยหลักเชิงวิทยาศาสตร์ ที่มีข้อมูลและองค์ความรู้ครบถ้วนมารองรับ ก่อนตัดสินใจดำเนินการ เพื่อเลี่ยงอันตราย ด้วยการประเมินความเสี่ยง และการทบทวนอย่างรอบคอบ

3.9 หลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และประกาศจากองค์กรระดับสากล

3.10 หลักการเคารพต่อความหลากหลาย จ้างงานโดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา อายุ เพศ หรือความคิดเห็นในทางการเมือง ยอมรับข้อแตกต่างทางสังคม สิ่งแวดล้อม กฎหมาย และวัฒนธรรม และขีดจำกัดในการสื่อสารทางภาษา ประสบการณ์ การฝึกอบรม การศึกษา ความพิการ ฯลฯ

4. ประเด็นหลักของความรับผิดชอบต่อสังคม

4.1 การกำกับดูแลองค์กร

4.1.1 การปฏิบัติตามกฎหมาย
1) แจ้งภาระหน้าที่ตามกฎหมาย
2) ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ที่บังคับใช้
3) ยอมรับสิทธิตามกฎหมายและสิทธิประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4) ทบทวนความสอดคล้องของกฎหมาย

4.1.2 ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบต่อ
1) ผลการดำเนินการของผู้ประกอบกิจการตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้
2) การใทรัพยากรมนุษย์ การเงิน ทรัพยากรธรรมชาติ วิธีการปฏิบัติในการบัญชีและการรายงานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปอย่างถูกต้อง
3) ผลการตัดสินใจ ผลสืบเนื่องที่มีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่คาดคิด
4) การตัดสินใจและการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ภายใต้อำนาจ หน้าที่ ของผู้ประกอบการ

4.1.3 ความโปร่งใส
1) ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้าถึงข้อมูลได้
2) ข้อมูลทันสมัย เป็นจริง ไม่ละเว้นประเด็นสำคัญ นำเสนออย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประเมินผลกระทบได้ถูกต้อง

4.1.4 การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ส่งเสริมการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมโดย
1) ประกาศเจตนารมณ์ด้านจริยธรรมที่ชัดเจนต่อสาธารณะ
2) การสนับสนุนและการส่งเสริมการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ฯที่ได้ประกาศไว้ทั่วทั้งองค์กร

4.1.5 ยอมรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความเห็น
1) แสดงออก เคารพผลประโยชน์ ความต้องการ ความสามารถในการติดต่อและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2) พิจารณาความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งอาจได้รับผลกระทบกับการตัดสินใจ แม้จะไม่มีบทบาทอย่างเป็นทางการต่อโรงงาน

4.2 สิทธิมนุษยชน

4.2.1 สิทธิความเป็นพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
1) เคารพสิทธิส่วนตัวของพนักงาน เช่น การเก็บข้อมูลด้านการแพทย์ต้องระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
2) เคารพสิทธิการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก การหาข้อมูล และการให้ความเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ โดยไม่แทรกแซง
3) ขั้นตอนการดำเนินการทางวินัยต้องสมเหตุสมผล ไม่ลงโทษต่อร่างกาย
4) เคารพสิทธิเสรีภาพทางการเคลื่อนย้าย เช่นไม่ยึดหนังสือเดินทาง
5) สอบกลับไปยังปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้แรงงานทาส และละเว้นปัจจัยการผลิตนั้น

4.2.2 สิทธิด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ต้องเคารพสิทธิต่อไปนี้
1) ความต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเองและครอบครัวได้แก่ ปัจจัย 4 และการคุ้มครองทางสังคมที่จำเป็น
2) การได้รับการศึกษา เลือกสถานศึกษาให้บุตรหลาน ระมัดระวังเรื่องการจ้างแรงงานเด็กซึ่งจะทำให้เด็กไม่ได้รับการศึกษา คำนึงถึงระดับการศึกษาภาคบังคับ อายุขั้นต่ำ และแรงงานเด็ก โดยใช่มาตรฐานระหว่างประเทศ
3) การสมรส การมีครอบครัว ไม่จำกัดเชื้อชาติ สัญชาติ และศาสนา จัดสภาพการทำงานให้สอดคล้องกับชีวิตครอบครัวพนักงาน
4) ความคิด มโนธรรม ศาสนา และวัฒนธรรม

4.2.3 กลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ผู้ประกอบการต้อง
1) ระมัดระวังในการเคารพสิทธิของคนพื้นเมือง ประเพณีนิยม วัฒนธรรม และภาษา
2) เคารพสิทธิของผู้หญิง เอาใจใส่ สร้างโอกาส ส่งเสริมการกระทำที่เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติต่อสตรีมีครรภ์
3) พิจารณาให้ผลประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่เด็ก ไม่เลือกปฏิบัติ และเคารพสิทธิเด็กในการมีชีวิต การอยู่รอด การพัฒนา และแสดงออกอย่างอิสระ
4) เคารพบุคคล ศักดิ์ศรี การปกครองตนเอง เสรีภาพในการเลือกและความเป็นอิสระของคนไร้สมรรถภาพ
5) ไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้อพยพ และแรงงานอพยพ

4.2.4 สิทธิพื้นฐานในการทำงาน
1) พนักงานสามารถรวมกลุ่มในองค์กรเพื่อเจรจาต่อรองได้ เช่น สหภาพ คกก.สวัสดิการ
2) ไม่ใช้แรงงาน หรือมีผลประโยชน์ร่วมกับแรงงานบังคับ แรงงานนักโทษ
3) ไม่เข้าร่วมหรือมีผลประโยชน์ร่วมกับการใช้แรงงานเด็กที่ขัดต่อกฎหมาย
4) ไม่เลือกปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างงาน การคัดเลือก การฝึกอบรม และการเลื่อนตำแหน่ง โดยใช้เกณฑ์ข้อจำกัดด้านสีผิว เพศ ศาสนา สัญชาติ การเมือง แหล่งกำเนิดทางสังคม รวมทั้งผู้เป็นโรคร้ายเช่น HIV/AIDS

4.3 การปฏิบัติด้านแรงงาน

4.3.1 การจ้างงานและความสัมพันธ์ในการจ้างงาน
1) เชื่อมั่นว่างานทั้งหมดที่ทำโดยตรง และในนามของตน จ้างลูกจ้างที่ถูกกฎหมายโดยตรง
2) ไม่หลบเลี่ยงหน้าที่ตามกฎหมายของนายจ้าง
3) หลีกเลี่ยงการจ้างงานชั่วคราวหรือจ้างตามฤดูกาล
4) มีการแจ้งที่สมเหตุสมผลต่อผู้แทนนักงาน และร่วมกันลดผลกระทบที่รุนแรง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ (เช่น เหตุผลในการเลิกจ้าง หรือ ลดสวัสดิการ)
5) มีการจ้างงานหรือเสนอโอกาสที่เท่าเทียมต่อ ผู้หญิง แรงงานเด็ก และกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
6) ไม่เลิกจ้างตามอำเภอใจ
7) สัญญาการจ้างงานไม่ขัดต่อกฎหมาย บอกถึงความสามารถและความตั้งใจที่จะรับผิดชอบลูกจ้าง
8) ยืนยันว่าองค์กรปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายด้านแรงงาน

4.3.2 เงื่อนไขในการทำงาน และการคุ้มครองทางสังคม
1) ยืนยันว่าเงื่อนไขในการทำงานเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดระหว่างประเทศ
2) จ้างงาน และประกันสังคมโดยขั้นต่ำสุดเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
3) เงื่อนไขในการทำงานในการทำงานต้องเคารพถึง ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์
4) จ่ายค่าจ้างโดยตรงให้พนักงาน การจำกัด หรือลดค่าจ้างต้องเป็นไปตามกฎหมายหรือข้อตกลงจากการเจรจาต่อรองเท่านั้น
5) เคารพสิทธิของพนักงานในเรื่องชั่วโมงการทำงานตามที่ตกลงกันโดยคำนึงถึงกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ หรืออันตรายในการทำงาน พนักงานควรได้รับการชดเชยการทำงานล่วงเวลาตามกฎหมาย
6) เคารพต่อวันหยุดประจำสัปดาห์ ตามประเพณี ชาติหรือศาสนา

4.3.3 การเจรจาหารือทางสังคม
1) ยอมรับความสำคัญและเข้าร่วมในองค์กรนายจ้างหรือองค์กรเจรจาต่อรอง
2) ไม่ขัดขวางต่อการก่อตั้งหรือเข้าร่วมองค์กรเจรจาต่อรอง
3) ไม่ปลดหรือเลือกปฏิบัติต่อพนักงานที่ก่อตั้งหรือเข้าร่วมองค์กรเจรจาต่อรอง

4.3.4 สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
1) เข้าใจในเรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยอันเกิดจากกิจกรรมขององค์กร มีขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง จัดหา PPE ที่จำเป็นต่อการป้องกันอุบัติเหตุและเหตุฉุกเฉิน
2) มีนโยบายด้านสุขภาพ และความปลอดภัยที่ระบุชัดเจนว่า เรื่องนี้สำคัญที่สุดในการประกอบกิจการ
3) มาตรการทางสุขภาพ และความปลอดภัยจะไม่กี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายโดยพนักงาน
4) ให้พนักงานมีส่วนร่วมกับระบบสุขภาพ และความปลอดภัย

4.3.5 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
1) จัดให้มีการพัฒนา ฝึกอบรม ให้โอกาสความก้าวหน้าต่อ พนง.โดยเท่าเทียม
2) เคารพต่อความรับผิดชอบต่อครอบครัวของ พนง.ในเรื่องเวลาทำงาน
3) ไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงาน สรรหา คัดเลือก การเข้าถึงการฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง และการเลิกจ้าง

4.4 สิ่งแวดล้อม

4.4.1 การชี้บ่งและจัดการกับลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมของกิจจกรม ผลิตภัณฑ์และบริการ
4.4.1.1 การลดมลพิษสู่อากาศและน้ำ
1) ชี้บ่ง วัด บันทึก และรายงานการปล่อยมลพิษสู่อากาศและน้ำ
2) วางแผนลดการปล่อยมลพิษน้ำและอากาศพร้อมทั้งปฏิบัติและรายงานผลเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานกำหนด
4.4.1.2 ลดการปล่อยของเสีย
1) ชี้บ่ง วัด บันทึก และรายงานของเสียจากกิจกรรมของโรงงาน
2) จัดทำระบบการคัดแยกของเสีย (พื้นฐาน) เป็นอย่างน้อย
3) กำหนดกลยุทธ์ในการจัดการและลดของเสีย ตามแนวทาง
4) จัดหาแหล่งกำจัดของเสียที่ถูกกฎหมาย
4.4.1.3 ลดการใช้วัตถุมีพิษและวัตถุอันตราย
1) หลีกเลี่ยงการใช้ยาฆ่าแมลงที่มีฤทธิ์รุนแรง ถ้าจำเป็นต้องมีเหตุอันสมควรและ ต้องแจ้งหน่วยงานเกี่ยวข้อง
2) หลีกเลี่ยงการใช้สารทำลายโอโซน ถ้าจำเป็นต้องมีเหตุอันสมควรและ ต้องแจ้งหน่วยงานเกี่ยวข้อง
3) หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีอันตราย ถ้าจำเป็นต้องมีเหตุอันสมควรและ ต้องแจ้งหน่วยงานเกี่ยวข้อง
4) ทบทวนการใช้สารเคมีที่มีการเสนอให้ยกเลิกโดย Blacklists ของภาครัฐ หรือผู้บริโภคเรียกร้องให้ยกเลิก

4.4.2 ส่งเสริมการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน
4.4.2.1 ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
1) ชี้บ่ง วัด บันทึก และรายงานการใช้วัตถุดิบ
2) บันทึกและรายงานการใช้วัตถุดิบ ที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น และเพื่อเปรียบเทียบกับผลการใช้วัตถุดิบของตนในปีที่ผ่านมา
4.4.2.2 การจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
1) คุณค่าของเงิน โดยพิจารณาจากราคา คุณภาพ ความพอเพียงพอของวัตถุดิบ และประโยชน์การใช้งาน
2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ประสิทธิภาพวัตถุดิบ ระดับการปล่อยมลพิษ ผลกระทบต่อภูมิอากาศ

4.4.3 การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
4.4.3.1 การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1) ชี้บ่ง วัด บันทึก และรายงานแหล่งพลังงานและการใช้พลังงานในกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการประกอบการ การขนส่งสินค้าและบริการ
2) พัฒนาแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปปฏิบัติ และเลือกใช้พลังงานจากแหล่งกำเนิดที่สร้างใหม่ได้
3) บันทึกและรายงานการใช้พลังงาน ที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น และเพื่อเปรียบเทียบกับผลการใช้พลังงานของตนในปีที่ผ่านมา
4.4.3.2 การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
1) ตระหนักถึงคุณค่าของน้ำสะอาด วางแผนการใช้และนำไปปฏิบัติ
2) ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน เกี่ยวกับมาตรการจัดการลุ่มน้ำ (แบ่งสันปันส่วน ควบคุมกระแสน้ำ ระบบนิเวศน์ จัดหาทรัพยากรน้ำอย่างเท่าเทียม)
3) จัดหาน้ำดื่มที่สะอาด
4) บันทึกและรายงานการใช้น้ำ ที่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น และเพื่อเปรียบเทียบกับผลการใช้น้ำของตนในปีที่ผ่านมา

4.4.4 การรณรงค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
4.4.4.1 การบรรเทาปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
1) วางนโยบายและกลยุทธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีเป้าหมายและวัดผลได้ชัดเจน
2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการขนส่ง
3) วางแผนลดการใช้ก๊าซเรือนกระจกและนำไปใช้
4) ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล หันมาใช้พลังงานทดแทน
5) ลดปริมาณขยะ โดย Reuse Recycle หรือใช้วัสดุ Recycle
6) สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และสร้างความตะหนักต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
7) ปลูกป่าดูดซับ CO2 ซื้อพลังงานจากแหล่งที่สร้างใหม่ได้
8) ใช้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM)
4.4.4.2 การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
1) ใช้หลักการป้องกันในการบริหารจัดการและลดผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากการภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
2) ประเมินความเสียหายขั้นต่ำ
3) วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ชี้บ่งความเสี่ยง และป้องกัน

4.4.5 การสร้างคุณค่าเชิงนิเวศ
4.4.5.1 การฟื้นฟูระบบนิเวศ
1) กำหนดให้เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
2) มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูระบบนิเวศของชุมชนตน
4.4.5.2 การบริการระบบนิเวศ ตระหนักถึงการรักษาความสมบูรณ์ ถ้าไม่สามารถทำได้ต้องหาสิ่งชดเชยมาทดแทน ซึ่งบางกรณีอาจชดเชยโดยใช้เงินได้ แต่ไม่เสมอไป
4.4.5.3 ความหลากหลายทางชีวภาพ
1) รวมการอนุรักษ์ความหลากหลายฯเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน
2) ส่งเสริมการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
3) ส่งเสริมการออกแบบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร พลังงาน และลดการใช้น้ำ เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ
4) เข้าร่วมประชุมกับชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายฯ ผ่านการสื่อสาร และการตระหนักที่ดี
5) ส่งเสริมการให้ความรู้ และการสร้างความตระหนักและพัฒนาพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของตนและเคารพต่อการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว
6) มีมาตรการอนุรักษ์สายพันธุ์และแหล่งที่อยู่ที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรม
7) ให้ความรู้ และการสร้างความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์และการฟื้นฟูธรรมชาติ

4.5 การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม
4.5.1 ต่อต้านการทุจริตและรับสินบน
1) มีนโยบายและการปฏิบัติที่ต่อต้านการทุจริตและรับสินบน การจ่ายเงินเพื่อความสะดวก หรือการขูดรีด
2) จ่ายค่าตอบแทนพนักงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
3) ฝึกอบรมและยกระดับความตระหนักของพนักงานและตัวแทนเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริต
4) กระตุ้นการให้พนักงานเป็นหูเป็นตา และรายงานเกี่ยวกับการฝ่าฝืนนโยบายบริษัท
5) ทำงานเพื่อโน้มน้าวต่อการต่อต้านการทุจริต

4.5.2 มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างรับผิดชอบ
1) หลีกเลี่ยงกิจกรรมการโน้มน้าว ชักจูงที่มีส่วนในการให้ข้อมูลที่ผิด ขู่เข็ญ บังคับด้วยวิธีการก้าวร้าว
2) ฝึกอบรมและยกระดับความตระหนักของพนักงานและตัวแทนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง
3) หลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ผิดกฎหมาย
4) มีมาตรการควบคุมกิจกรรมของผู้แทนฯหรือที่ปรึกษา ที่ทางโรงงานได้มอบหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้
5) โปร่งใสในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการหาเสียงและการมีส่วนร่วมทางการเมือง

4.5.3 การแข่งขันที่เป็นธรรม
1) ปฏิบัติตามกฎหมายทางด้านการแข่งขัน
2) ป้องกันการสมรู้ร่วมคิดการต่อต้านการแข่งขัน
3) ส่งเสริมให้เกิดการตระหนักของพนักงานถึงกฎหมายและการแข่งขันที่เป็นธรรม
4) สนับสนุนนโยบายสาธารณะที่สนับสนุนการแข่งขันและต่อต้านการทุ่มตลาด

4.5.4 ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมในห่วงโซ่อุปทาน Supply Chain
1) นโยบายการจัดซื้อและทำสัญญา ต้องมีเกณฑ์ด้านจริยธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย
2) สนับสนุนผู้ประกอบการฯ อื่น ที่รับนโยบายที่คล้ายกัน
3) กรณีที่ Supply Chain ขัดแย้งกับ CSR ต้องมีการดำเนินการและการสอบสวนที่เหมาะสม
4) ส่งเสริมการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรมตลอด Supply Chain
5) มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการยกระดับความตระหนักของผู้ประกอบการฯ ในเรื่องหลักการและประเด็น CSR

4.5.5 การเคารพสิทธิในทรัพย์สิน
1) ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคารพในทรัพย์สิน
2) ไม่มีส่วนในการฝ่าฝืนต่อทรัพย์สิน
3) มีวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยชอบด้วยกฎหมายเช่น การใช้ การทำลาย
4) จ่ายค่าชดเชยอย่างเป็นธรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน ที่หามาหรือใช้

4.6 ประเด็นด้านผู้บริโภค
4.6.1 การให้ข้อมูล การทำตลาด และการปฏิบัติที่เป็นธรรม
1) ไม่หลอกลวง ฉ้อโกง ไม่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติดังกล่าว ไม่ฉ้อโกง ไม่ละเว้นการให้ข้อมูล
2) ปฏิบัติตามนโยบายหรือกระบวนการเกี่ยวกับผู้บริโภคตามที่ได้สื่อสารไว้
3) ให้ข้อมูลและข้อเท็จจริง ในเวลาที่เหมาะสม
4) ไม่ใช้เงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม เช่นการละเว้นการรับผิด สิทธิในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ราคาแต่เพียงผู้เดียว การถ่ายโอนความเสี่ยงไปยังผู้บริโภค หรือสัญญาที่มีระยะเวลานาน
5) ไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้บริโภค ในด้านเชื้อชาติ ศาสนา หรือถิ่นที่อยู่
6) เปิดเผยราคา กำหนดเวลา เงื่อนไข และให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
7) ให้ข้อมูลครบถ้วน และสามารถเปรียบเทียบได้ ในเรื่อง
 วัตถุดิบ สารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์ หรือที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์
 ราคาของผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ประกอบ
 การบริการหลังการขาย
 การทดสอบที่ได้มาตรฐานด้านคุณภาพ
 ข้อมูลด้านสุขภาพและความปลอดภัย กฎหมาย-ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
8) จัดหาวิธีการให้ผู้บริโภคสอบย้อนกลับ ตั้งแต่การกระจายสินค้า ไปถึงผู้ผลิต
9) มีการโฆษณาและการทำตลาดในสื่อที่ชัดเจน
10) ระมัดระวังเป็นพิเศษในการให้ข้อมูล การทำตลาดและการปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

4.6.2 การป้องกันด้านสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
1) สินค้าหรือบริการต้องไม่เป็นอันตรายต่อด้านสุขภาพ ทรัพย์สิน และและสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค
2) ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐาน และข้อกำหนดอื่น ที่เกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการ
3) ประเมินความเพียงพอของกฎหมาย ระเบียบ มาตรฐาน และข้อกำหนดอื่น ว่าครอบคลุมด้านสุขภาพและความปลอดภัยเพียงพอ
4) หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีอันตราย ถ้าจำเป็นต้องมีเหตุอันสมควรและ ต้องแจ้งหน่วยงานเกี่ยวข้อง
5) ลดโอกาสการได้รับสารเคมีอันตราย
6) สื่อสารข้อมูล คปภ.ต่อผู้บริโภค เช่น ใช้สัญลักษณ์สากล
7) แนะนำให้ผู้บริโภคในการใช้อย่างถูกต้อง และความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้สินค้า
8) ยอมรับผลกระทบของสินค้าที่ทำให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค และชดเชยค่าเสียหาย
9) ป้องกันกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เกี่ยวกับขีดจำกัดในการยอมรับหรือประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
10) ไม่แนะนำสินค้าที่ได้รับการคัดค้านจากประชาชน เช่น อาหารดัดแปลงพันธุกรรม

4.6.3 กลไกการเรียกคืนสินค้า หลังวางขายแล้วพบอันตรายหรือบกพร่อง ผู้ประกอบการต้อง
1) แจ้งต่อกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
2) เรียกคืน ซ่อม เปลี่ยน ดัดแปลง หรือทดแทนผลิตภัณฑ์ที่บกพร่อง
3) ชดเชยให้ผู้เสียหายโดยไม่ประวิงเวลา

4.6.4 จัดหาและพัฒนาสินค้าให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1) ลดผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพ
2) ใช้ง่าย ไม่มีอุปสรรคให้การใช้
3) มีประสิทธิภาพ
4) มีระบบการกำจัดของเสียอิเล็กทรอนิกส์
5) ซื้อสินค้าและบริการจากในท้องถิ่นเป็นอันดับแรก

4.6.5 การบริการและการสนับสนุนผู้บริโภค
1) เสนอการซ่อมบำรุง/ซ่อมแซม ในราคาที่เหมาะสม มีอะไหล่พร้อม
2) ช่องทางการสื่อสารเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว
3) มีการแก้ไขที่เหมาะสมให้ลูกค้า เช่น ชดเชยภายในเวลาที่กำหนด
4) ไม่กำหนดให้ผู้บริโภคสละสิทธิการขอความช่วยเหลือ หรือ สิทธิการไล่เบี้ยตามกฎหมาย

4.6.6 ความเป็นส่วนตัว และการปกป้องข้อมูลของผู้บริโภค
1) จำกัดการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และการได้มาซึ่งข้อมูลต้องถูกกฎหมาย ศีลธรรมโปร่งใส จำเป็นต่อการใช้งาน และต้องเต็มใจให้แม้ไม่มีกฎหมายบังคับ
2) รวบรวมข้อมูลให้น้อยที่สุด
3) บอกวัตถุประสงค์
4) ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหรือนำไปใช้นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ เว้นแต่เจ้าของอนุญาต หรือตามกฎหมาย
5) เก็บรักษาข้อมูลไม่ให้สูญหาย และการเข้าถึงข้อมูลโดยผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ ดัดแปลง เปิดเผยข้อมูล หรือทำลาย
6) ผู้ควบคุมข้อมูลต้องมีความรับผิดชอบและปฏิบัติตามมาตรการข้างต้น

4.6.7 การบริโภคอย่างยั่งยืน ต้องให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคด้านสมรรถนะ การใช้พลังงาน ส่วนประกอบ ส่วนผสม สุขภาพ ผลข้างเคียง การใช้อย่างปลอดภัยอย่างครบถ้วน จริงใจ ถูกต้อง ในการโฆษณาหรือการทำตลาดต่าง

4.7 การพัฒนาสังคม
4.7.1 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม
4.7.1.1 การส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี โดยเฉพาะกับพนักงานของตน
1) ปรับปรุงสภาพการทำงาน
2) ให้พนักงานได้รับยาและวัคซีนป้องกันโรค
3) ส่งเสริมการออกกำลังกาย และได้รับอาหารถูกสุขลักษณะ
4) ให้ความรู้เรื่องโรคสำคัญต่าง ๆ เช่น AIDS มาลาเรีย วัณโรค
4.7.1.2 การส่งเสริมวัฒนธรรมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
1) ส่งเสริมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2) ตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นและขนบธรรมเนียนประเพณี
3) สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเพื่อรณรงค์การเลือกปฏิบัติ
4) อนุรักษ์และปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม โดยฌพาะผลกระทบจากกิจกรรมของตน
4.7.1.3 ส่งเสริมการศึกษา
1) สนับสนุนการศึกษาทุกระดับของพนักงานและครอบครัว
2) กระตุ้นให้บุตรหลาน พนง.ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการ
3) ร่วมกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพการศึกษาและขจัดความไม่รู้หนังสือ
4) กำจัดอุปสรรคในการศึกษาของเด็ก
5) ส่งเสริมการศึกษาและการอบรมที่เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะพนักงาน
4.7.1.4 การบรรเทาความยากจนและความหิวโหย
1) จ้างงาน สร้างรายได้ให้ชนกลุ่มน้อยผ่านกิจกรรมหลัก/การลงทุนทางสังคม
2) มีส่วนร่วมในการเข้าถึงด้านอาหารแก่ผู้ด้อยโอกาส และคำนึงถึงการเพิ่มความสามารถ ทรัพยากรและโอกาส
3) ลงทุนร่วมกับผู้ประกอบการด้านสังคมและการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ทุนต่ำ ง่ายต่อการผลิต และมีผลในการบรรเทาความหิวโหยและความยากจน

4.7.2 มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
4.7.2.1 การใช้ทรัพยากร ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการในการเข้าไปใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

4.7.2.2 มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจท้องถิ่น
1) ร่วมสร้างศักยภาพในเศรษฐกิจท้องถิ่นและพัฒนาบุคลากร
2) ให้สิทธิพิเศษแก่ลูกค้าในท้องถิ่น เช่น ใช้วัตถุดิบ สินค้าและบริการ และพัฒนาคู่ค้าในท้องถิ่น
4.7.2.3 นวัตกรรมเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งจ้างคนในท้องถิ่นทำงาน
4.7.2.4 การลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม จัดสรรทรัพยากร และทำการลงทุนในกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลองค์กร ให้เหมาะกับท้องถิ่นที่ตั้งอยู่

4.7.3 การมีส่วนร่วมในชุมชน
4.7.3.1 ผลกระทบต่อชุมชน
1) ชี้บ่ง จัดการผลกระทบด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นทั้งในอดีต-ปัจจุบัน
2) ชดเชยให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ(ที่ไม่อยากเลี่ยงได้)อย่างเป็นธรรม โดยชุมชนนั้นมีบทบาทในการกำหนดค่าชดเชยที่เหมาะสม
4.7.3.2 การปรึกษา หารือ เจรจาต่อรอง
1) รับฟังผู้มีส่วนฯอย่างรับผิดชอบ
2) ให้ชุมชนเข้าถึงข้อมูล และสามารถสื่อสารกับผู้ประกอบการฯได้
3) สร้างสัมพันธภาพอันดี และมีการสื่อสารกับชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เช่น คนพื้นเมือง คนนับถือศาสนาส่วนน้อย อย่างต่อเนื่อง
4) เปิดใจกว้างในการเจรจาต่อรอง โดยพัฒนาเป็นพันธมิตรระหว่างผู้ประกอบการฯกับชุมชน/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4.7.3.3 การลงทุนเพื่อสังคม
1) ทำให้การลงทุนเพื่อสังคมสอดคล้องกับผลกระทบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม และพิจารณาการลงทุนจาก ลักษณะ ที่ตั้ง ขนาดของผู้ประกอบการฯ และข้อกังวลของชุมชน
2) ทำให้การลงทุนเพื่อสังคมสอดคล้องกับการสร้างความสามารถในชุมชน
3) ทำให้การลงทุนไม่ทำให้กิจกรรมเพื่อสังคม หรือการบริจาคของผู้ประกอบการฯ อื่น ๆ สิ้นสุดลง และสอดคล้องกับเป้าหมายในการลงทุนเพื่อสังคม
4) วางแผนการลงทุนเพื่อสังคมโดยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และมนุษย์ และขยายโอกาสให้ประชาชน
5) เลี่ยงการกระทำที่ทำให้ชุมชนต้องพึ่งพาการบริจาคอย่างถาวร โดยเฉพาะชุมชนยากจน

5. เกณฑ์การปฏิบัติ

5.1 การทบทวนสถานะเบื้องต้น ทบทวนการทำ CSR จากประเด็นหลัก (ข้อกำหนด4) กฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย และมีการทบทวนสถานะอยู่เสมอเพื่อใช้ในการทบทวนนโยบาย และพิจารณาปรับปรุงการดำเนินการด้าน CSR

5.2 นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
5.2.1 การกำหนดนโยบาย ผู้บริหารระดับสูงต้องกำหนดนโยบายด้าน CSR ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
5.2.2 การนำไปปฏิบัติและการสื่อสาร ให้นำนโยบายไปสื่อสารและปฏิบัติและเผยแพร่ต่อสาธารณะ

5.3 การทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
5.3.1 การชี้บ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องมีการชี้บ่งทั้งภายในภายนอก ทั้งจากผลิตภัณฑ์และกิจกรรม โดยจัดทำรายชื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไว้เป็นเอกสารและทบทวนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
5.3.2 การจัดลำดับความสำคัญผลประโยชน์และผลกระทบ ทำการประเมิน และจัดลำดับฯไว้เป็นเอกสาร และทบทวนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
5.3.3 แผนการเข้าถึงและการสื่อสาร ต้องมีแผนการเข้าถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิธีการและความถี่ของการสื่อสาร

5.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ต้องทำให้มั่นใจได้ว่าปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ตามที่ได้กำหนดไว้

5.5 การนำความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติ

5.5.1 ความตระหนักและความรู้ความสามารถ
5.5.1.1 ความตระหนัก
1) อธิบายให้ พนง.ทุกระดับเข้าใจนโยบายและวิธีการปฏิบัติ
2) ให้การส่งเสริม สนับสนุน จูงใจในด้าน CSR อย่าเปิดเผยและโปร่งใส
3) สร้างทีม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับ ต่อกิจกรรม CSR
5.5.1.2 ความรู้ความสามารถ
1) ระบุตัวบุคลากรหรือในเครือข่ายฯ ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้าน CSR
2) ระบุตัวบุคลากรผู้ที่สมัครใจ หรือ ผู้ที่มักจะได้รับการสนับสนุนในการปฏิบัติงาน
3) จัดการฝึกอบรม
4) เรียนรู้จากกรณีศึกษาที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด/ไม่ดี จากอุตสาหกรรมใกล้เคียงกัน
5) สร้างทีมงานจากสายงานและระดับที่หลากหลายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
6) จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อช่วยให้พนักงานระบุความสำเร็จในงานตน
7) กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีคุณค่ากับกิจกรรม สินค้าและบริการ งานวิจัย หรือพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ
8) แลกเปลี่ยนความรู้ และหารือร่วมกันระหว่างพนักงาน กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในเรื่องความสำเร็จในงานด้าน CSR

5.5.2 โครงสร้างการปฏิบัติงาน ทบทวนและปรับโครงสร้างการปฏิบัติงานในส่วนของ CSR ตามความจำเป็น โดยต้องระบุบุคลากรและความรับผิดชอบในการดำเนินการด้าน CSR

5.5.3 แผนการปฏิบัติการ จัดทำแผน การปฏิบัติงานด้าน CSR ระบุ เป้าหมาย ลำดับกิจกรรม ระยะเวลา ทรัพยากร วิธีการบริหารแผนงาน และการวัดผล

5.6 การเฝ้าระวัง

5.6.1 การเฝ้าระวัง ทบทวนการดำเนินงานด้าน CSR ในช่วงเวลาที่กำหนดสม่ำเสมอ เฝ้าระวังการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ มีการสื่อสารข้อมูลผลการดำเนินการที่ได้รับการทวนสอบแล้วว่าถูกต้อง สมบูรณ์และเชื่อถือได้ ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยวิธีการเหมาะสม โดยต้องรวบรวมข้อมูล เก็บรักษาบันทึก ผลที่ทำไปและผลที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้ในการทบทวน

5.6.2 การแก้ไขปรับปรุง ทำการทบทวนกิจกรรม เพื่อพิจารณาความจำเป็นในการแก้ไขปรับปรุง รวมทั้งนโยบาย วัตถุประสงค์ ทรัพยากร เป้าหมาย และแผนการปฏิบัติ โดยทำบันทึกหลักฐาน เมื่อพบว่าการดำเนินการ CSR ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ผลจากการทบทวนโดยฝ่ายบริหารต้องสื่อสาร และตอบสนองต่อความเห็นไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และมีการสื่อสารทั้ง 2 เรื่องดังกล่าวนั้นต่อสาธารณชนด้วย

กล่าวโดยสรุปได้ว่า CSR-DIW เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม ซึ่งมีเนื้อหาสาระของข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นเดียวกับ ISO 26000 แต่ไม่มีการติดตามตรวจสอบโดย Certified Body ในที่นี่คือ กรอ. แต่จะใช้วิธีติดตามตรวจสอบโดยอาศัยกลไลการเฝ้าติดตามความรับผิดชอบนี้ โดยสังคม ชุมชนรอบข้าง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดแทน




 

Create Date : 04 มีนาคม 2552
10 comments
Last Update : 4 มีนาคม 2552 16:41:10 น.
Counter : 1369 Pageviews.

 

สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ
มีความสุขมากๆค่ะ

ขอให้สุขสมหวังในวันปีใหม่ไทยค่ะ

เทคแคร์ค่ะ

 

โดย: สักกะนิด 13 เมษายน 2552 8:11:50 น.  

 

อ่านยังไม่จบแต่ขอคอมเมนท์ก่อน
จริง ๆ แล้วต้องเริ่มตั้งแต่ประถมเลยนะคะความรับผิดชอบต่อสังคมเนี่ย

 

โดย: คุณย่า (คุณย่า ) 12 พฤษภาคม 2552 23:42:44 น.  

 

ดองบล็อกเหมือนกันเลยแฮะ

 

โดย: คุณย่า 27 พฤษภาคม 2552 11:51:32 น.  

 

โหยยย หยักไย้เต็มเลย เห่อๆๆ
ปวดหัวกะเด็ก ENV.

 

โดย: ต่อตระกูล 2 มิถุนายน 2552 2:32:29 น.  

 

เนื้อหาการอบรมน่าสนใจดีจัง

 

โดย: p_tham 5 มิถุนายน 2552 17:03:19 น.  

 

เว็บโปรโมทฟรี
//www.googang.in.th

เว็บบอร์ดโปรโมทเซิฟเกมส์ออนไลน์
//www.g-jang.com

เว็บฟังเพลงออนไลน์ โหลดเพลง สตริง ลูกทุ่ง แดนซ์ สากล MV Music Video
//www.sodazaradio.com

เว็บบันเทิงสำหรับผู้ใหญ่ โหลดเพลง โหลดหนัง โหลดโปรแกรม และอีกมากมาย
//www.wairunza.com

 

โดย: ประชาสัมพันธ์ IP: 125.24.202.61 4 ตุลาคม 2552 9:00:07 น.  

 

เอาดาวมาฝากเนื่องจากรู้จักกันมาสี่ปีแล้ว ไว๊ไวเนอะคุณเนอะ


 

โดย: pooktoon 15 พฤศจิกายน 2552 1:39:21 น.  

 

 

โดย: p_tham 23 ธันวาคม 2552 6:51:20 น.  

 



พี่นกจ๋า ... เพิ่งเข้ามาแล้วงงเลย

หลานหนูไปไหน หรือหนูหาไม่เจอเอง

แนะนำด้วยนะคร้าบบบ

^^"

PS : Miss NY & OK jaa

 

โดย: Kik IP: 10.10.0.64, 112.142.154.88 17 มิถุนายน 2553 21:55:24 น.  

 

ครอบครัวสบายดีนะน้องสาม พี่สบายดีแบบเรื่อยๆ
พี่ใหญ่เราสบายดีเปล่านิ ไม่ได้ข่าวเลย

 

โดย: พี่รอง IP: 202.91.19.195 12 กรกฎาคม 2554 10:14:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


varissaporn327
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




(รูปน้องซอน เยจิน ไม่ใช่ จขบ.ค่ะ)

บ ล็ อ ก ล่ า สุ ด


บ ล็ อ ก เ ก่ า ๆ




หลังไมค์ถึงนกจ้า

ฟังเพลงกับ ดีเจ ต่าย

คำ ข อ บ คุ ณ

ป้ามด - บล็อกศาสตร์
หมอปอ - บล็อกแบบนี้
พี่อ้อย - Codeเก็บเพื่อน
คุณต่อฯ - ทดสอบ link
ต่าย - เพลงในบล็อก
ชิดชิด - linkอัพเดทบล็อก
ชิดชิด - Emotion2
ต่าย - Emotion3(รุ่นดัดแปลง)

93 Cool FM



Since 23-04-07
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
4 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add varissaporn327's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.