El Nino & La Nina





เมื่อปลายเดือนสิงหา ไปประชุมวิชาการมา เกี่ยวกับ Climate Change กับการบริหารจัดการแหล่งน้ำ
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นบทความวิชาการ ที่เกี่ยวกับการประยุกต์แบบจำลองเพื่อมาทำนายการเกิดอุทกภัย
เพื่อใช้ป้องกัน และเตือนภัย เป็นส่วนใหญ่ แต่มีอยู่เรื่องนึงที่สนใจค่ะ
ก็คือเรื่องการใช้ปรากฏการณ์ El Nino และ La Nina มาเตือนภัยล่วงหน้าระยะยาว

ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีผลต่อทรัพยากรน้ำ

1. ปรากฏการณ์ El Nino

El Nino เป็นภาษาสเปน แปลว่าเด็กชาย ซึ่งสื่อถึงพระบุตร
ชาวเปรูใช้เรียกความผิดปกติของสภาพธรรมชาติที่เริ่มสังเกตได้ในราวค.ศ. 1500
ในช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซูคริสต์

ชาวประมงเปรูได้สังเกตเห็นความผิดปกติของท้องทะเล
แถบชายฝั่ง มหาสมุทรแปซิฟิกทุก 2- 3 ปี
ซึ่งเป็นบริเวณที่เคยมีปลาชุกชุม 1 ใน 5 ของโลก มีปริมาณปลาลดลงอย่างเห็นได้ชัด
เกิดฝนตกหนักในแหล่งที่เคยแห้งแล้ง และเกิดอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มต่ำของประเทศ
ชาวเปรูจึงสร้างบ้านเรือนบนภูเขาสูง มากกว่าที่จะตั้งบ้านเรือนตามชายฝั่งน้ำ
และกักตุนอาหารไว้กินในช่วงภัยพิบัติดังกล่าว

ค.ศ. 1960 มนุษย์มีความรู้ความเข้าใจใน ปรากฏการณ์ El Nino มากขึ้น
พบว่ามีความเกี่ยวพันที่ส่งผลกระทบถึงสภาพอากาศ ที่เรียกว่า Southern Oscillation
จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ El Nino- Southern Oscillation (ENSO)

ถ้าดูรูปแรก หมายเลข 1 อิทธิพลของลมสินค้า
ซึ่งพัดจากฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก (ทางฝั่งทวีปอเมริกา)
ไปทางตะวันตกของมหาสมุทร (ทางฝั่งทวีปออสเตรเลีย)
โดยผลักดันกระแสน้ำให้ไหลไปทางทิศตะวันตก
เข้าสู่น่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย และชายฝั่งทวีปออสเตรเลีย
มีสภาพเป็นกระแสน้ำที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเคลื่อนไปในทิศตะวันตก
เพราะถูกแสงอาทิตย์เผาเป็นระยะทางยาว
ทำให้ระดับน้ำฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าฝั่งตะวันออก ถึง 50 ซ.ม. โดยประมาณ



รูปที่ 1 การหมุนเวียนของมวลอากาศและกระแสน้ำ
ในแถบโซนร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกในสภาวะปกติ

หมายเลข 2 กระแสน้ำที่อุ่นกว่าบริเวณตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
จะส่งผลให้มวลอากาศเหนือผิวน้ำมีอุณหภูมิสูง ลอยตัวขึ้นไปก่อตัวเป็นเมฆฝน
ทำให้ในสภาวะปกติมีฝนตกในฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมากกว่าทางฝั่งตะวันออก
ในสภาวะปกติจึงมีฝนตกในอินโดนีเซียมากกว่า ในเปรู

หมายเลข 3 กระแสน้ำใต้มหาสมุทรที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
ที่อยู่ใต้เส้น เส้นแบ่งอุณหภูมิสูงและต่ำของน้ำ (Thermocline)
จะเคลื่อนตัวขึ้นมาด้านบนและไหลเวียนเข้าหาชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก (ทวีปอเมริกาใต้)
ซึ่งกระแสน้ำนี้เป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์
ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมแห่งหนึ่งของโลก



รูปที่ 2 การหมุนเวียนของมวลอากาศและกระแสน้ำ
ในแถบโซนร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเกิดปรากฏการณ์ El Nino


หมายเลข 1 (จากรูปที่ 2) ลมสินค้าที่ปกติพัดจากทิศตะวันออกไปตะวันตก
ของมหาสมุทรแปซิฟิก อ่อนกำลังลง จนอาจจะเปลี่ยนทิศทาง
ทำให้กระแสน้ำที่อุ่นกว่า บริเวณฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก เคลื่อนตัวไปทางฝั่งตะวันออก

หมายเลข 2 อุณหภูมิของผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก
และบริเวณชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรจึงสูงขึ้นตามอุณหภูมิของกระแสน้ำ
ส่งผลให้เกิดพายุฝน มีอุทกภัยแถบชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้
และเกิดความแห้งแล้งในแถบประเทศทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทร
(แห้งแล้งในแถบออสเตรเลีย อินโดนีเซีย)

หมายเลข 3 น้ำทะเลสองฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกมีระดับใกล้เคียงกัน
เส้นแบ่งอุณหภูมิสูงและต่ำของน้ำ (Thermocline) จมลึกลงไป
ทำให้อาหารสัตว์บริเวณน่านน้ำทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกลดลง
จนปลาที่เคยชุกชุมในน่านน้ำประเทศเปรู มีปริมาณน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

2. ปรากฏการณ์ La Nina

La Nina ในภาษาสเปนหมายถึง เด็กหญิง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกับ ปรากฏการณ์ El Nino



รูปที่ 3 การหมุนเวียนของมวลอากาศและกระแสน้ำ
ในแถบโซนร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเกิดปรากฏการณ์ La Nina


หมายเลข 1 (จากรูปที่ 3) ลมสินค้าที่พัดจากทิศตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก
ไปทางทิศตะวันตกมีกำลังแรงขึ้น ทำให้กระแสน้ำ แถบเส้นศูนย์สูตร ในมหาสมุทรแปซิฟิก
มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิที่ผิวน้ำในช่วงเวลาปกติ
เกิดความแห้งแล้ง และหนาวเย็นในพื้นที่แถบชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก
โดยเฉพาะชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้

หมายเลข 2 มีฝนตกหนักและเกิดอุทกภัยในบริเวณ พื้นที่แถบชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
(ฝนตกทางทวีปออสเตรเลีย อินโดนีเซีย)

หมายเลข 3 ระดับน้ำทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
สูงกว่าทางฝั่งตะวันออก มากกว่าในช่วงเวลาปกติ
กระแสน้ำใต้มหาสมุทรที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า และอุดมไปด้วยอาหารของสัตว์น้ำ
จะเคลื่อนขึ้นมาด้านบนและไหลเวียนเข้าชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก เข้าสู่ทวีปอเมริกาใต้มากขึ้น
ทำให้น่านน้ำบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้มีปลาชุกชุมมากกว่าสภาวะปกติ

สรุปและข้อเสนอแนะ

ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการป้องกันอุทกภัย
และดำเนินการจนประสบความสำเร็จในการลดความรุนแรงของอุทกภัย
โดยยึดแนวทางการบริหารจัดการน้ำหลากอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งการก่อสร้างเขื่อนอเนกประสงค์ ทำนบ คันดินป้องกันน้ำท่วม

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีการใช้มาตรการทางวิศวกรรมแบบใช้สิ่งก่อสร้าง จะลดปัญหาน้ำท่วมได้
แต่ปัจจุบัน มีการใช้ที่ดินอย่างรวดเร็ว การขยายของชุมชนเมือง และพื้นที่การเกษตร
ทำให้จัดการสิ่งก่อสร้างเพื่อการจัดการน้ำท่วมทำได้ยากลำบากขึ้น
เนื่องจากมาตรการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่หนึ่งอาจจะส่งผลเสียหายให้อีกพื้นที่หนึ่งได้

การใช้มาตรการทางการบริหารจัดการน้ำหลากแบบไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง
โดยการเฝ้าระวังภัยน้ำหลากล่วงหน้าระยะยาวเป็นแนวทางหนึ่ง
ในการที่จะช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดจากอุทกภัยลงได้
การพยากรณ์การเกิดปรากฏการณ์ El Nino และ La Nina ได้เป็นผลสำเร็จ
เป็นก้าวแรกของการเตือนภัยล่วงหน้าระยะยาวได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง
เพราะประชาชนในภูมิภาค ที่ได้รับผลกระทบ
สามารถเตรียมรับมือล่วงหน้าได้เป็นเวลานานเพียงพอ

- - - - - - - - - - - - -

ขอบคุณ ข้อมูลจากเอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิศวกรรมแหล่งน้ำครั้งที่ 2
และคณะผู้ศึกษาวิจัย ผศ.ดร.สายสุนีย์ พุทธาเจริญ

- - - - - - - - - - - - -

นี่อาจไม่ใช่เรื่องใหม่
แต่ก็บอกถึงความตระหนักของมนุษย์ระดับหนึ่งล่ะ
หลายคนออกมาเตือนเรื่องน้ำจะท่วม
หลายจังหวัดจะหายไปจากแผนที่ รวมทั้งชลบุรีด้วยสิ
FWD มากมายที่มาบอกให้คำนึงถึงเรื่องนี้ได้แล้ว
แต่มีน้อยมากที่บอกว่า คน ต้องช่วยกันยังไง

วันนี้อ่านหนังสือพิมพ์แล้วรู้สึกดีจัง ที่ได้ยินข่าว และเห็นภาพ

นศ.หันมาขี่จักรยานแทนการใช้พาหนะใช้น้ำมัน

อบต.ที่ไหนสักแห่ง พากันทาสีถังอลิเมดเก่าสีฟ้า
ให้กลับมาทำเป็นถังขยะ แทนการซื้อถังขยะใหม่

มีโครงการบริจาครองเท้า .."คู่เก่าพี่...เพื่อคู่ใหม่ให้น้อง"
นอกจากอิ่มบุญแล้วยังช่วยโลกอีก

ลูกน้องโทรมาขอให้หาข้อมูล
เรื่องการอนุรักษ์สัตว์และป่า
เพื่อเอาไปให้หลาน ป.4 ทำการบ้าน
ทำให้ผู้ใหญ่อย่างเรารู้รายละเอียด CITES

หรือแม้แต่ได้ยินว่าท่านายกฯจะใช้ Climate Change
ไปเป็นหัวข้อในการประชุมกับ UN

ก็อมยิ้มแล้ว

ส่วนตัวเอง แค่นักสิ่งแวดล้อมตัวเล็ก ๆ ก็ขอมีส่วนร่วม
โดยการอัพบล็อกนี้ เพื่อสะกิดเพื่อน ๆ เพียงไม่กี่คนที่ได้อ่าน
ให้ตระหนักถึง และตั้งใจที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมบ้างก็แล้วกันจ้ะ

ไม่ได้ทำบล็อกสาระมานาน
ช่วงนี้ไม่แพ้แล้ว แต่อึดอัดแทนค่ะ พุงใหญ่ นั่งไม่ได้นาน

ไปดูเฉลยเพศน้องในพุง

แล้วจะเวียนไปเยี่ยมเพื่อนบล็อกนะคะ

- - - - - - - - - - - - -




 

Create Date : 13 กันยายน 2550
16 comments
Last Update : 20 กันยายน 2550 12:35:54 น.
Counter : 1987 Pageviews.

 

มาทักทายและขอชมว่ามีหัวใจเป็นนักวิศวกรสิ่งแวดล้อมจริงๆ บางคนอาจรู้แต่ลืมไปที่จะปฏิบัติปล่อยเลยตามเลยไม่สนใจ เรื่องนี้สำคัญกับอนาคตของเราและลูกหลานเรามากต้องใส่ใจ ......เยี่ยมเป็นเลย

 

โดย: JJ IP: 203.150.194.102 20 กันยายน 2550 12:55:54 น.  

 

ดีมากๆค่ะ ถึงเราจะเป็นเพียงส่วนเล็กๆแต่อย่าลืมว่าส่วนเล็กๆเมื่อมารวมกันแล้วก็กลายเป็นส่วนใหญ่ที่สำคัญขึ้นมาได้...เริ่มที่ตัวเราก่อนนะคะเป็นอันดับแรกพยายามฝึกตัวเองให้เป็นนิสัย ทั้งในเรื่องการลดขยะ การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า...ถ้าทำได้เราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้...เช่น ถ้าเราใช้ไฟฟ้าน้อยลง โรงไฟฟ้าก็ผลิตน้อยลง CO2 ก็น้อยลงด้วย แค่นี้ก็ช่วยได้แล้วนะค่ะขอบคุณนะคะที่นำสิ่งดีๆมาเสนอ...ขอให้น้องในท้องแข็งแรงๆเน้อ

 

โดย: น้องหน่อยจ้า IP: 124.157.224.2 20 กันยายน 2550 16:45:52 น.  

 

วันนี้มาแนววิชาการ อ่านอย่างเข้าใจผ่อง บ่เข้าใจก็หลาย แต่ว่าดีจ้ะเพราะว่าบางอย่างก็เหมือนได้อ่านเสริมสร้างความเข้าใจที่เราไม่ค่อยได้หาอ่านที่ไหนเลย ... น้องนกเอามาฝากแบบนี้จะไม่อ่านได้อย่างไร เพราะคนเก่งมาอธิบายเองเลย ...


โลกเราร้อนขึ้นอะไรเลวร้ายมากขึ้น ยังไงตอนี้เราช่วยอะไรได้กับธรรมชาติก็น่าจะช่วยบ้างหรอกเน๊าะ

 

โดย: JewNid 20 กันยายน 2550 18:37:43 น.  

 

นกต้องตอกเสาเข็มให้มันแน่นๆนะ เผื่อวันคลอดพายุมาพอดี๊ ลูกนกจะได้ไม่ตกใจ

อยากกินไรบอกพ่อนกได้นะ

ดูแลตัวเองดีๆนะจ๊ะ เจ๊น่ะเล่นบล็อกมากก็ไม่เป็นไรหรอก เพราะชีวิตมันไม่มีอะไรทำอยู่แล้ว

 

โดย: โจเซฟิน 20 กันยายน 2550 21:32:59 น.  

 

เค้าไม่ค่อยจะรับถุงพลาสติกจาก เซเว่นละ (ยกเว้นไม่สามารถ จิงจิงอ่ะนก)
...
...
วันก่อน ได้ยินเรื่อง คาร์บอนเครดิตไฟแนนซ์
ตอนนี้ยังไม่ค่อยรู้อะไรมาก
...
เพลง I need to wake up เนี่ย ใช้ได้เลยนก
...
...
ขอให้นกและน้องฝันดีเน่อออ
ไปละ คิดถึง คิดถึง

 

โดย: Serendipity_t 20 กันยายน 2550 22:26:13 น.  

 

ข้อมูลมีทั้งสาระจริงๆ ตอนนี้ในหมองพี่รี่มีแต่เรื่องวุ่นๆทั้งวันรับไม่ไหวอะจ๊ะ เดี๊ยวจะหนีเที่ยวสักสอง สามอาทิตย์ พาตายายไปเที่ยว ยังไงก็ฝากบล๊อคด้วยนะจ๊ะ

คุณแม่ยังสาวรักษาสุขภาพตวยเน่อ หนุ่มน้อยคงจะเริ่มดิ้นในพุงอุ่นๆแล้วละ เอารูปพุงส่งมาให้ดูตวยเน่อ เหอเหอเหอ ของไผจะหย่ายกว่ากั๊น

 

โดย: erina 21 กันยายน 2550 1:22:13 น.  

 

บล๊อคนี้สาระดี
พักผ่อนบ้างนะ อย่าเครียด ทำบุญเยอะๆ ด้วยลูกออกมาจะได้ใจบุญ

 

โดย: ต่อตระกูล 21 กันยายน 2550 20:59:42 น.  

 

สวัสดีวัน car free day จ้า แต่พี่ก็ต้องใช้รถอยู่ดีเพราะบ้านพี่อยู่นอกเมือง
ภาวะโลกร้อนน่ากลัวเนอะ พี่สงสัยในใจว่าอย่างเมกาเป็นประเทศที่ก่อปัญหาโลกร้อนมากที่สุด แต่ไม่เห็นจะกระตือรือล้นซักเท่าไหร่ แต่ชอบไปยุ่งเรื่องขอประเทศอื่นเนอะ
นน.แรกคลอดเจ้าเก็ต 4070g ก็เพราะพี่อืดมั่ก ๆ นน.ขึ้นไป 28 โลนิด ๆ พอคลอดลูกแล้วก็ยังเป็นพะโล้อยู่แบบที่เห็นอ่านะ
น้องนกต้องระวังนะจ๊ะ ทานพวกโปรตีนเย๊อะ ๆ อาหารจำพวกโปรตีนเจ้าตัวเล็กในพุงได้เต็ม ๆ
พี่กินแต่ขนมปัง คุ๊กกี้ ไอติม ฯลฯ มีเพื่อนเอารูปสมัยก่อนท้องมาให้พี่ดู พี่ยังจำตัวเองม่ะได้เลยอ่า เหอ เหอ
เทคแคร์จ้า

 

โดย: khunya IP: 203.107.199.5 22 กันยายน 2550 6:42:29 น.  

 

คุณแม่นกกลับมาแล้ว ยินดีด้วยกับสมาชิกใหม่นะครับ

มีเด็กชาย แล้วก็ต้องมีเด็กหญิงตามมา สิเนอะ
ตามกฏของ El Nino & La Nina
ได้ความรู้มากเลยครับ แต่ไม่รู้จะได้ใช้รึเปล่า อีกไม่นานโลกใบนี้ คงไม่เหมือนเดิม เพราะ CLimate change + Global Warming

มีความสุขมากๆนะครับ

 

โดย: K'mint 24 กันยายน 2550 12:37:06 น.  

 

ชอบความรู้แบบนี้จัง ขอขอบคุณครับ

 

โดย: Matt (everything on ) 25 กันยายน 2550 20:07:11 น.  

 

เจียงใหม่ฝนปิ๊กมาตกแหมล่ะนิ...
นกสบายดีน่อ...ต๊องได้กี่เดือนละกา

 

โดย: pu_chiangdao 27 กันยายน 2550 11:04:21 น.  

 

หวายๆๆ สวัสดีค่ะพี่นก คุณแม่มือใหม่ ไม่ได้มาเยี่ยมตั้งนาน เป็นไงบ้างคะเนี้ย หวังว่าคุณแม่และคุณลูกคงสบายดี อิ่มเอง พุงโตมากมายนะคะ คริๆ

เข้ามาเยี่ยม blog พี่นกวันนี้ ออกแนววิชาการจ๋าเลยเนอะ ทำให้สานึกถึงสมัยเรียนจัง ดีค่ะพี่นก ให้คนที่เค้ายังไม่รู้ ไม่เข้าใจ ได้รับทราบผ่านหูผ่านตาบ้าง มิใช่รู้แต่เฉพาะคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะมันก็คงไม่ได้มีอะไรดีขึ้นมา

แต่อย่างว่า คนที่รับรู้ภัยอันตรายจากสถานการณ์ Climate Change ในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีมากขึ้น แต่... คนที่คิดจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือแก้ไขปัญหาดังกล่าว มันน้อยกว่ามากมายซะเหลือเกิน เค้าก็ยังห่วงผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าห่วงโลกเยินๆ ใบนี้ คงคิดว่า ปัจจุบันพวกเค้าก็ยังอยู่ได้ไม่เห็นเป็นไร หรือไม่หากอนาคต ถ้าโลกต้องแย่มากมายจริงๆ เค้าก็คงไม่ใช่คนเดียวในโลกที่เดือดร้อน

น่ากลัวเน้อพี่นก น่ากลัวทั้งคนส่วนใหญ่ที่มีวิธีคิดอย่างที่สาบอก กับอีกอย่างคือน่ากลัว ที่เราดันรู้มาก ก็ยิ่งเป็นห่วงโลกมากขึ้น เอ๊ะ! สาเครียดไปป่าวเนี้ย เป็นนักสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน เรียนมาแต่ไม่ได้ใช้เลย ขอ ment' ทางนี้หน่อยละกันน้า

ไปดีก่า ยังไงรักษาสุขภาพด้วยนะคะ ไว้ว่างๆ จะมีเยี่ยมคนแม่และคุณลูกอีกนะค้า

 

โดย: mini mini 27 กันยายน 2550 20:33:31 น.  

 

ดีจังพี่นก ได้ความรู้ด้วย

คิดถึงจัง ไว้หนูเอารองเท้าไปให้ดีกว่า ...

ฝากจูบหลานตัวน้อยด้วย

ปล.เรื่องหนูในไดฯติด top story ด้วยล่ะจ๊ะ แอบคุยนิดหน่อย

คิดถึงนะคะ

 

โดย: kik IP: 117.47.30.77 1 ตุลาคม 2550 15:22:50 น.  

 

แวะมาทักทายคุณนกและเจ้าตัวน้อยในพุงค่ะ

 

โดย: ทูน่าค่ะ 1 ตุลาคม 2550 19:45:32 น.  

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ค้าบ

ว่างๆ แวะไปเที่ยวดำน้ำเล่น ดูปะการังที่ blog นะค้าบ

 

โดย: rainwindy (rainwindy ) 4 ตุลาคม 2550 11:49:56 น.  

 

คิดถึง คิดถึงค่ะ

ยุ่งนิดหน่อย ไว้จะแวะไปหานะจ๊ะ

เทคแคร์ค่ะ

จุ๊บ จุ๊บ

 

โดย: สักกะนิด 4 ตุลาคม 2550 21:56:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


varissaporn327
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




(รูปน้องซอน เยจิน ไม่ใช่ จขบ.ค่ะ)

บ ล็ อ ก ล่ า สุ ด


บ ล็ อ ก เ ก่ า ๆ




หลังไมค์ถึงนกจ้า

ฟังเพลงกับ ดีเจ ต่าย

คำ ข อ บ คุ ณ

ป้ามด - บล็อกศาสตร์
หมอปอ - บล็อกแบบนี้
พี่อ้อย - Codeเก็บเพื่อน
คุณต่อฯ - ทดสอบ link
ต่าย - เพลงในบล็อก
ชิดชิด - linkอัพเดทบล็อก
ชิดชิด - Emotion2
ต่าย - Emotion3(รุ่นดัดแปลง)

93 Cool FM



Since 23-04-07
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
13 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add varissaporn327's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.