......U s a g i   b u n n Y    h o l l a n d   l o p   f a r m.......

 บานได้ใจ สไตล์ฮอลแลนด์ลอป 08-1199-4545 ,085-222-5587

 
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
27 พฤศจิกายน 2551
 
 
holland lop

ประวัติ Holland lop นักพัฒนาพันธุ์กระต่ายชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ นายแอนเดรียน เดอคอก



ซึ่งในขณะนั้นเป็นนักพัฒนากระต่ายสายพันธุ์แทน แต่กลับมีความชื่นชอบกระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟและสายพันธุ์เฟรนช์ลอปเป็นพิเศษ มีความคิดที่จะผสมกระต่ายให้ได้กระต่ายหูตกที่มีขนาดเล็กลงกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้นในช่วงฤดูหนาวปี ค.ศ. 1949 หรือ พ.ศ. 2492 เขาได้ผสมกระต่ายเฟรนช์ลอปเพศผู้กับกระต่ายขาวเนเธอร์แลนด์ดวอฟเพศเมีย โดยหวังว่าจะได้กระต่ายหูตกที่ตัวเล็กลง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากการผสมข้ามพันธุ์ในครั้งนั้น สองปีต่อมา คือในปี ค.ศ. 1951 หรือ พ.ศ. 2494 เขาลองผสมกระต่ายเฟรนช์ลอปเพศเมียกับกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟเพศผู้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะผสมกระต่ายต่างสายพันธุ์ที่มีขนาดที่แตกต่างกันมากเช่นนี้ แต่เขาก็ประสบความสำเร็จ จากความพยายามผสมในครั้งที่ 3 จนกระทั่งได้ลูกกระต่ายออกมาทั้งหมดหกตัว ทุกตัวมีหูตั้งและชิดกัน อันเกิดจากลักษณะเด่นของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งข่มทับอย่างสมบูรณ์ ในปีถัดมา เขานำลูกกระต่ายเพศเมียเหล่านั้นไปผสมกับกระต่ายอิงลิชลอปเพศผู้สีฟางข้าว ได้ลูกกระต่ายออกมาห้าตัว ตัวเมียหนึ่งตัวในครอกนี้หูตก สองตัวหูตั้ง ที่เหลือ หูตกข้างตั้งข้าง ด้วยความที่ฝืนธรรมชาติกระต่ายเพศเมียที่ได้ทุกตัวจากการทดลองผสมข้ามสายพันธุ์ ไม่สามารถผสมติดให้ลูกเลย กระนั้นเขาก็ไม่ได้ละความพยายาม เขาได้ทดลองเอาพี่น้องต่างครอกผสมกัน ผลปรากฏว่าเป็นผลสำเร็จ จำนวนลูกหูตกที่ได้มากขึ้นและก็มีขนาดที่เล็กลงด้วย จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1955 หรือ พ.ศ. 2598 ความพยายามของเขาก็เป็นผลสำเร็จ กระต่ายต้นแบบฮอลแลนด์ลอปได้ถือกำเนิดมาที่น้ำหนักประมาณ 2.5 ถึง 3 กิโลกรัม ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1964 หรือ พ.ศ. 2507 กระต่ายแคระหูตกฮอลแลนด์ก็ได้รับการรับรองมาตรฐานสายพันธุ์จากสภากระต่ายแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าสองกิโลกรัม

กระต่ายแคระหูตกฮอลแลนด์ของแอนเดรียน ได้นำเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1976 หรือ พ.ศ. 2519 และได้มีการเสนอให้มีการยอมรับสายพันธุ์นี้ต่อสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายของสหรัฐอเมริกา ที่งานประกวดกระต่ายสวยงาม ณ ทักสัน ในปี ค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ. 2523

ถ้าจะกล่าวถึงกระต่ายที่เป็นที่นิยมในเมืองไทยมากที่สุดในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นกระต่ายหูตกนั่นเอง อันเนื่องมาจากลักษณะที่โดดเด่นในตัวของกระต่ายเอง คือมีหูตกอยู่ที่ข้างแก้ม ซึ่งจัดว่าเป็นลักษณะที่แตกต่างจากกระต่ายปกติที่เราคุ้นเคย คือต้องมีหูตั้ง แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลหลัก ที่ทำให้กระต่ายสายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงในหมู่คนเลี้ยงกระต่าย แต่เป็นเพราะเนื่องจากกระต่ายพันธุ์นี้เป็นกระต่ายที่มีความเชื่องมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง หุ่นที่แข็งแรง บึกบึน หูตก ขนสั้น สามารถจดจำชื่อของตัวเองได้และยังรู้จักเจ้าของอีก นอกจากนี้ ลักษณะภายนอกที่เห็นเด่นชัด ก็ไปมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับสุนัขพันธุ์คอกเกอร์สแปเนี่ยล ที่มีหูตกห้อยอยู่ข้างแก้ม ด้วยคุณลักษณะทั้งหลายดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เราจึงสามารถกล่าวได้ว่ากระต่ายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอปนี้ เป็นกระต่ายในดวงใจของผู้นิยมเลี้ยงกระต่ายหลายๆท่าน รวมทั้งในต่างประเทศด้วย อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา กระต่ายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นอย่างมาก จนถึงกับมีการตั้งมอตโต้ของกระต่ายสายพันธุ์นี้ ว่าเป็น ฮอลมาร์กบรีด (The Hallmark Breed) หรือเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เป็นตราเครื่องหมายของกระต่ายเลยทีเดียว

กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอปจัดว่าเป็นกระต่ายกลุ่มหูตกที่มีขนาดเล็กที่สุด เพราะว่าเมื่อดูจากประวัติของสายพันธุ์ ก็มาจากกระต่ายแคระเนเธอร์แลนด์ดวอฟ กระต่ายสายพันธุ์นี้ มีลักษณะเด่นที่หัวกลมโต แลดูน่ารักเหมือนตุ๊กตา มีน้ำหนักน้อยและลำตัวสั้น ซึ่งแตกต่างจากกระต่ายโดยทั่วไป จึงทำให้เป็นกระต่ายที่เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในขณะนี้ การที่มีขนาดลำตัวที่สั้น ไหล่ที่กว้างหนา และมีความสูงสมดุลกันทั้งตัว ทำให้แลดูเหมือนก้อนกลมๆ หูที่สั้น ไม่ยาวมาก ทำให้แลดูน่ารัก โดยปกติ หูยิ่งสั้น ยิ่งดี เพราะว่าจะแสดงถึงลักษณะของกระต่ายแคระ

ในเพศผู้ จะมีขนาดลำตัวและหัวที่ใหญ่กว่า กล้ามเนื้อเด่นชัดกว่า ในเพศเมียจะแสดงออกถึงลักษณะของเพศเมียมากกว่า แต่ทั้งคู่ก็จะแสดงถึงลักษณะของสายพันธุ์ที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ เมื่อเติบโตเต็มที่แล้ว

สำหรับชื่อที่ใช้เรียก กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอป ในแต่ละประเทศก็จะเรียกแตกต่างกันไป อันอาจจะก่อให้เกิดความสับสนได้โดยง่าย เช่น ในประเทศอังกฤษ (The British Rabbit Council) จะเรียกฮอลแลนด์ลอป ว่าเป็น มินิลอป แต่กลับเรียกมินิลอปเป็น ดวอฟลอป

สำหรับในประเทศไทย ไม่ได้เกิดจากการเรียกชื่อที่ผิด แต่เนื่องจากผู้เลี้ยงกระต่ายในเมืองไทย ยังคงมีความเข้าใจเรื่องมาตรฐานสายพันธุ์ของกระต่ายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอปนี้อย่างผิดๆ โดยเข้าใจว่ากระต่ายหูตกลูกผสมที่มีลักษณะคล้ายกับกระต่ายพันธุ์มินิลอป แต่ขนกระด้างเหมือนกระต่ายไทยทั่วไป คือ ฮอลแลนด์ลอปสายพันธุ์แท้ ทั้งๆที่กระต่ายสองสายพันธุ์นี้ มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ กระต่ายฮอลแลนด์ลอป จะมีหัวที่กลมกว่ามินิลอป น้ำหนักตัวที่น้อยกว่ามาก คือ 1.6-1.8 กิโลกรัม ในขณะที่มินิลอปจะหนักกว่ามาก คือ กว่าสองกิโลกรัม (2.5-2.7 กิโลกรัม) เมื่อโตเต็มที่ หน้าและความยาวของหู สัดส่วนระหว่างหัวกับตัวซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน (ดังรูป) แต่ที่สำคัญและแตกต่างที่สุด ก็คือเรื่องของขน กระต่ายฮอลแลนด์ลอปสายพันธุ์แท้จะมีขนที่นุ่มลื่นเป็นเอกลักษณ์


มาตรฐานสายพันธ์ Holland Lop


สายพันธุ์กระต่ายฮอลแลนด์ลอปในอุดมคติ ที่เราจะจัดว่าสวยตรงตามมาตรฐานของสายพันธุ์ จะต้องมีหัวที่กลมโต กล้ามเนื้อหนาแน่น ลำตัวสั้น กะทัดรัด และสมมาตรทั้งความยาว ความกว้างและความสูง สัดส่วนของลำตัวและหัว ควรจะเป็น 3:1 ไหล่และอกกว้าง หนาและเต็ม เช่นเดียวกันกับสะโพก หัวที่โตต่อติดกับหัวไหล่ เหมือนไม่มีคอ ขาสั้น หนา ตรงและกระดูกใหญ่ หูทั้งสองข้างต้องตกแนบแก้ม เมื่อมองจากด้านหน้าตรง จะดูเหมือนเป็นรูปเกือกม้า หูต้องหนาและมีขนขึ้นเต็ม หูยาวเลยจากคางไปไม่เกิน 1 นิ้ว ความยาวของหูต้องสัมพันธ์กับหัวและตัว

น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ในอุดมคติคือ 1.6 กิโลกรัม (สำหรับตัวผู้) และ 1.7 กิโลกรัม (ในตัวเมีย) แต่น้ำหนักมากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้ 1.8 กิโลกรัม

ลักษณะที่จะถูกหักคะแนนจากการประกวด ลำตัวยาวและแคบ ความกว้างและความสูงไม่สัมพันธ์กัน สันหลังโค้งผิดรูป ไหล่แคบหรือกว้างเกินไปไม่สมดุลกับลำตัวโดยรวม ไหล่อยู่ต่ำมาก สะโพกแคบ แบน ผอม มีกระดูก หัวยาวหรือแคบ หัวไม่สมดุลกับลำตัว เนื้อหูบาง หูไม่สมดุลกันกับลำตัว

กล่มสีที่ตรงตามมาตรฐาน Holland Lop

กระต่ายฮอลแลนด์ลอปมีสีมากมายหลากหลายสี จนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มอะกูติ (Agouti) กลุ่มสีขาวแต้ม (Broken) กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม (Pointed White) กลุ่มสีพื้น (Self) กลุ่มสีเฉด (Shaded) กลุ่มสีพิเศษ (Ticked) และกลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band) หรือเราอาจจะกล่าวง่ายๆ ว่ามีสีต่างๆ ที่รับรองโดย ARBA แล้ว ดังต่อไปนี้ คือ

กลุ่มอะกูติ : สีเชสนัทอะกูติ สีช็อกโกแล็ตอะกูติ สีชินชิลล่า สีช็อกโกแล็ตชินชิลล่า สีลิงซ์ สีโอปอล สีกระรอก (Squirrel)

กลุ่มสีขาวแต้ม : สีขาวแต้ม คือสีขาว แต่มีสีแต้มเป็นสีอะไรก็ได้ ที่ได้รับการรับรอง รวมถึงสีไตรคัลเลอร์ หรือสามสี (มีสีขาว น้ำตาล และดำ)

กลุ่มสีขาวมีมาร์กกิ้งแปดแต้ม : โดยที่มาร์กกิ้งต้องมีสีกลุ่มสีพื้น (สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค)

กลุ่มสีพื้น : สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค สีขาวตาแดง และสีขาวตาฟ้า

กลุ่มสีเฉด : สีวิเชียรมาศ สีทองแดง สีซีล สีเทาควันบุหรี่ และสีกระ

กลุ่มสีพิเศษปลายขนสีน้ำตาล : ตอนนี้มีอยู่สีเดียวคือ สีสตีล หรือสีสนิมเหล็ก

กลุ่มสีอื่นๆ : สีครีม สีฟางข้าว สีฟร้อสตี้ (เทาควันบุหรี่อ่อนๆ) สีส้ม และสีแดง

ในขณะนี้ได้มีสีอีกกลุ่มหนึ่งที่เพิ่งจะได้รับการรับรองเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา คือ กลุ่มสร้อยทอง หรือ ออตเตอร์ สีทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นสีมาตรฐานของสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Rabbit Breeders Association, Inc.) แต่ของสภากระต่ายแห่งสหราชอาณาจักร (The British Rabbit Council) ก็จะมีสีน้อยกว่านี้ แต่จะมีสีแปลกๆเพิ่มขึ้นมาแทน เช่น กลุ่มสีสร้อยเงิน เช่น สีเทาควันบุหรี่สร้อยเงินและสีทองแดงสร้อยเงิน เป็นต้น

ขอขอบคุณแหล่งความรู้ดีดี
//www.thairabbitclub.com


จะซื้อ ฮอลแลนด์ ลอป คุณรู้จัก ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) กันหรือยัง ?
>>> คุณลักษณะของกระต่าย ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) ที่ตรงตามมาตรฐาน

1. ลักษณะหัวต้องกลมโต

2. กล้ามเนื้อหนาแน่น

3. ลำตัวสั้นกระทัดรัด สมส่วนทั้งความยาว ความกว้าง และความสูง

4. สัดส่วนของลำตัว และหัว ควรจะเป็น 3 : 1 โดยหัวที่โต จะต่อกับลำตัวแลดูเหมือนไม่มีคอ

5. ไหล่ และอกกว้าง หนาและเต็ม เช่นเดียวกับสะโพก

6. ขาสั้น

7. หน้าตรง และกระดูกใหญ่

8. ใบหูทั้งสองข้างต้องตกแนบสนิทกับแก้ม และใบหูต้องหนาและมีขนขึ้นเต็ม ใบหูต้องยาวเลยจากคางไม่เกิน 1 นิ้วความยาวของหูต้องสัมพันธ์กับหัว และตัว

9. น้ำหนักตัว ตามมาตรฐาน ในตัวผู้ คือ 1.6 ก.ก. ในตัวเมีย 1.7 ก.ก. และน้ำหนักที่มากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้คือ 1.8 ก.ก.

ราคาซื้อขายกันในตลาดทั่วไป

ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแลเลี้ยงดูค่อนข้างสูง เพราะเป็นกระต่ายที่มีนิสัยสนุกสนานกับการกิน และกินเก่งมาก ความสมบูรณ์ของสุขภาพทั้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์อาหารบำรุงต้องถึง ต้องสมบูรณ์ จึงจะทำให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์สามารถให้ผลผลิตลูกออกมาได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งลักษณะขน และความสมบูรณ์ของรูปร่าง กล้ามเนื้อต่าง ๆ จึงทำให้ราคาขายกันทั่วไปในตลาดมีราคาค่อนข้างสูง ราคาเกรดเลี้ยงทั่วไป จะเริ่มกันที่ประมาณ 3,000 – 3,500 บาทขึ้นไป ในเกรดประกวด Show Quality จะเริ่มกันตั้งแต่ 8,000 บาท จนถึงหลักหมื่นกันเลยทีเดียว

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะทำให้ผู้ที่สนใจอยากเลี้ยงกระต่ายสายพันธุ์ ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) เริ่มรู้จักลักษณะ และรายละเอียด อื่น ๆ กันมากขึ้นแล้วนะครับ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันนี้ มีทั้งผู้ที่มีเจตนา และไม่เจตนาในการประกาศขาย กระต่ายลูกผสม ต่าง ๆ ว่าเป็นสายพันธุ์ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop) ดังนั้น จึงอยากให้ผู้ที่สนใจพยายามศึกษาหาข้อมูลให้ถ่องแท้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ เพื่อป้องกันความผิดหวังในการค้นหามาไว้ในครอบครองครับ


Create Date : 27 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 4 ธันวาคม 2551 22:49:19 น. 7 comments
Counter : 2825 Pageviews.

 
test


โดย: polly (ohayo usagi ) วันที่: 17 เมษายน 2553 เวลา:0:03:46 น.  

 
ตัวนี้น่าร๊ากกกกสุดๆเลยชอบๆๆๆ


โดย: ริงโงะ IP: 124.120.202.91 วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:22:57:37 น.  

 
น่ารักมากๆที่บ้านเลี้ยง 2 ตัว


โดย: phyy IP: 61.19.145.16 วันที่: 29 กันยายน 2553 เวลา:11:40:56 น.  

 
น่ารักอ่ะ อยากเลี้ยงกระต่ายบ้างจัง

holland lop กับ mini lop เหมือนกันไหมคะ


โดย: rainny IP: 124.120.192.115 วันที่: 1 ตุลาคม 2553 เวลา:12:51:25 น.  

 
น่ารักมากเลยอยากได้มาเป็นเจ้าของ
ที่มีอยู่สายพันธุ์ธรรมดามากชอบๆ


โดย: หมีภู IP: 221.128.103.20 วันที่: 9 มกราคม 2554 เวลา:14:56:32 น.  

 
น่ารักมาก

ดุไหมอะ


โดย: เหม่ง IP: 117.47.103.246 วันที่: 15 มกราคม 2554 เวลา:13:32:39 น.  

 
กะต่ายอ้วนน่ารักมากคร้


โดย: เเป้ง IP: 101.108.111.80 วันที่: 17 มีนาคม 2554 เวลา:14:22:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

ohayo usagi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ohayo usagi's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com