JOB หางาน สมัครงาน งาน

<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
5 กันยายน 2551
 

ผู้นำเช่นไร...ได้ใจลูกน้อง

ผู้นำเช่นไร...ได้ใจลูกน้อง

Post Today - การเป็นผู้นำ หรือผู้บริหาร หากสามารถก้าวเข้า ไปนั่งอยู่กลางใจของ ลูกน้องหรือผู้ใต้ บังคับบัญชาได้ ...
นอกจากจะเป็นผลดีแก่ตัวผู้นำเองแล้ว ยังส่งผลดีแก่บริษัทหรือองค์กรนั้นๆ อีกด้วย แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นกับผู้นำเองว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าไปนั่งอยู่กลางใจของลูกน้องได้

เคล็ดลับดีๆ ง่ายๆ ของการที่จะไปนั่งอยู่ในใจลูกน้องได้ “สุจินต์ จันทร์นวล” เจ้าของผลงานพ็อกเกตบุ๊กคุณภาพหลายสิบเล่ม อาทิ เขาว่าผมเป็นมืออาชีพ เขาว่าผมใช้เลขาฯ เปลือง หรือแม้แต่ บริหารแบบย้อนศร ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทหลายแห่ง และเป็นประธาน บริษัท สมาร์ท ทู เวิร์ค มีประสบการณ์ในการบริหารทั้งงานบุคคลและธุรกิจมาอย่างโชกโชน จะมาบอกเล่าวิธี ทำอย่างไรให้ได้ใจลูกน้อง สำหรับคนที่กำลังจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำหรือผู้บริหาร หรือผู้นำหรือผู้บริหารป้ายแดง หรือแม้แต่ผู้บริหารป้ายขาวที่ขับมายาวนาน แต่ไม่เคยอยู่ในใจของลูกน้องสักครา

ใจเขาใจเรา อกเขาอกเรา

สุจินต์ บอกว่า ผู้นำหรือผู้บริหารที่จะอยู่ในหัวใจของลูกน้องได้ไม่มีอะไรมาก ขอเพียงยึดมั่นในหลัก “ใจเขาใจเรา ...อกเขาอกเรา” ใช้ใจอย่างเดียวนำทาง แค่นี้ก็สามารถที่จะทำให้ลูกน้องรักและศรัทธาในตัวผู้นำได้อย่างน่าทึ่งตรึงใจ

“ตอนที่ผมเรียนที่เยอรมนีและทำงานไปด้วยนั้น ผมเป็นหัวหน้าของพวกฝรั่ง อายุน้อยกว่าเขา แต่ผมทำให้พวกเขายอมรับและแฮปปี้ในตัวผมได้ โดยผมจะไปคลุกคลีกับพวกเขา ทำตัวดีๆ กับพวกเขา พี่ๆ ช่วยหน่อย ทำอย่างนี้เสมอ เขาก็แฮปปี้กับผม พอผมสั่งอะไรไปเขาก็ทำด้วยความกระตือรือร้นและเต็มใจ” สุจินต์ บอกเล่าความหลังเมื่อครั้งเรียนและทำงานไปด้วยที่เยอรมนี

สุจินต์ ย้ำว่า การบริหารที่จะให้ได้ใจลูกน้องเต็มกระบุง ไม่จำเป็นต้องพึ่งหลักการบริหารหรือทฤษฎีใดๆ หรือตำราวิชาการทั้งหลายทิ้งไปได้เลย ใช้ “ใจ” และ “ความรู้สึก” ก็เป็นอันสำเร็จแล้ว

“สมมติถ้าเราเป็นลูกน้องคนอื่นหากจะทำงานให้เขาแบบถวายชีวิต อย่างแรกเขาต้องทำให้เรายอมรับได้ก่อน หรือสร้างความรู้สึกที่ดีๆ ให้เรา เป็นกันเอง ช่วยเหลือเรา เช่น ทางบ้านครอบครัวเป็นยังไงบ้าง พอมีปัญหาก็เข้ามาช่วยเหลือ อย่างนี้เป็นใครก็ทำงานถวายชีวิตให้ เช่นเดียวกัน ถ้าเราไปเป็นนายคนอื่น หากจะให้ลูกน้องศรัทธาในตัวเรา ทำงานให้เราแบบถวายชีวิตบ้าง เราก็ต้องทำให้ลูกน้องซาบซึ้งในตัวเราให้ได้ก่อน นี่คือ อกเขาอกเรา ใจเขาใจเรา ไม่ต้องใช้หลักบริหารหรือทฤษฎีใดๆ อยู่ที่ใจทั้งนั้น ถ้าทำให้เขายอมรับในตัวเราได้ก็สำเร็จ” สุจินต์ อธิบายหนักแน่น

อ่านใจลูกน้องให้ออก

ผู้นำที่ดีต้องอ่านใจลูกน้องออก มองทะลุ ว่าเขาเป็นคนอย่างไร โดยจะต้องเรียนรู้และศึกษาลูกน้องให้รู้จักตัวตน นิสัยใจคอ คุณสมบัติ รวมถึงศักยภาพของเขาให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีที่จะเรียนรู้และศึกษาลูกน้องนั้นมีหลายวิธี เริ่มตั้งแต่ การพูดคุย ความใกล้ชิด การเฝ้าสังเกตพฤติกรรม การแสดงออกต่างๆ ของเขา รวมถึงการหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขา เช่น ครอบครัว การศึกษา หน้าที่การงาน และอื่นๆ เช่นชอบหรือไม่ชอบอะไร เป็นต้น เพื่อที่จะประเมินนิสัย ความคิด ทัศนคติ และอื่นๆ ของเขา

“ผมจะคลุกอยู่กับลูกน้องทุกคนเพื่ออ่านใจและเรียนรู้นิสัยของเขา ยิ่งรู้ว่าเขามาจากครอบครัวเช่นไร เรียนจบอะไร เริ่มต้นทำงานที่ไหน เป็นคนทำอะไรได้ดีที่สุด ก็ยิ่งดีมากๆ ซึ่งการรู้อย่างเดียวไม่พอผมต้องเทสต์ด้วย และเมื่อนั้นก็สามารถที่จะใช้เขาทำงาน ซึ่งเขาก็จะทำได้ดี ผมเองก็ได้งานด้วย แต่ถ้าไม่ใกล้ชิดไม่มีทางรู้ ผมจึงต้องเรียนรู้ลูกน้องให้ได้ คนไหนที่ไม่ได้เรื่อง ผมก็รู้ว่าเขาไม่ได้เรื่องเพราะอะไร จากนั้นก็เอาสิ่งที่ผมเรียนรู้นี้ไปแก้ไขให้เขา ไม่เพียงเท่านั้น เวลาที่ผมทำงานยังต้องนั่งอ่านใจนายด้วย ว่านายเป็นคนยังไง ชอบลูกน้องแบบไหน ชอบลูกน้องขี้ประจบหรือชอบทำงาน” สุจินต์ กล่าว

นายที่ลูกน้องต้องการ

ธรรมชาติของคนเรามักให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนในด้านบวกทั้งนั้น ไม่มีใครที่ต้องการให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหรือมีพฤติกรรมไม่ดีต่อตัวเอง ไม่ว่าจะทางกาย หรือทางวาจา

คนที่เป็นนาย ก็ต้องการลูกน้องดี มีความสามารถ ฉลาด ซื่อสัตย์ ไม่ทุจริตคดโกง มีสัมมาคารวะ คนที่เป็นลูกน้องก็เช่นเดียวกัน ย่อมต้องการนายที่ดี ไม่เห็นแก่ประโยชน์ตนจนลืมลูกน้อง มีความรัก ความเมตตา ยุติธรรม พูดจาดี ไม่ชอบดูหมิ่นดูแคลน และมีน้ำใจต่อลูกน้อง

สุจินต์ เล่าว่า การที่จะเป็นผู้นำที่ดีและเป็นผู้นำในฝันของใครนั้น ง่ายนิดเดียว เพียงคิดและมองในมุมกลับและทำให้ได้ คือถ้าเรามีนายหรืออยู่ในสถานะเป็นลูกน้องเขา ถามว่าเราอยากได้นายแบบไหน นายในฝันของเราเป็นอย่างนี้ๆ แล้วเขียนลงในกระดาษ เช่น ต้องเป็นผู้ที่ทำให้เรายอมรับได้ มีเมตตา ยุติธรรม มีบุคลิกเป็นผู้นำ รับฟังลูกน้อง สนับสนุน เป็นต้น

เวลาที่ลูกน้องทำอะไรผิดพลาดขึ้นมา หัวหน้าต้องไม่ด่วนสรุปตัดสินว่าเขาผิดหรือกล่าวโทษ หรือด่าว่าโดยทันที แต่ต้องมาพิจารณาหาสาเหตุว่าที่ผิดพลาดนั้นเพราะอะไร ผิดพลาดตรงไหน และหาวิธีแก้ไข เพราะลูกน้องเมื่อรู้ว่าตนทำงานผิดพลาด ใจก็หวาดหวั่นครั่นคร้ามว่านายจะเล่นงานอยู่แล้ว

“นายครับผมทำงานนี้ผิดพลาด นายบอกโธ่เอ๊ย ไม่เป็นไร คนเราทำอะไรก็ต้องมีผิดบ้าง อย่าทำผิดซ้ำอย่างเดิมก็แล้วกัน มา...นายจะบอกให้ ที่ผิดที่พลาดมาจากอะไร ให้ระวังตรงนี้ จะบอกให้ จำไว้นะ ไม่เป็นไรหรอก เอาไปทำใหม่ อย่างนี้ก็ได้ใจลูกน้อง แต่นายบางคนไม่คิดอย่างนี้ ได้แต่ด่าๆ อย่างนี้ลูกน้องก็ถอดใจแล้ว”

ถ้าลูกน้องผิดพลาดในเรื่องมหันต์ ก็ต้องพิจารณาหาสาเหตุว่าผิดเรื่องเดิมหรือเปล่า หรือผิดเพราะหลงผิด หรือผิดเพราะทำผิดจริงๆ หรือผิดเพราะไม่รู้ถึงได้ทำผิด แต่ถ้าผิดในเรื่องทุจริตหรือคดโกงบริษัท ลูกค้า อันนั้นก็ต้องมีมาตรการลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งเพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่ยอมไม่ได้

สุจินต์ กล่าวว่า การที่ลูกน้องทำงานผิดพลาดขึ้นมา ผู้นำจะปัดความรับผิดชอบไม่ได้ จะโทษก็ต้องโทษผู้นำหรือผู้บริหารที่ไม่ได้ทำการฝึกสอนเขาให้ดี

“ผมเองหากลูกน้องทำผิด จะไม่โทษลูกน้อง โอเค ที่เขาผิดเพราะผมอาจยังไม่ได้สอนเขา แต่ที่ปล่อยให้เขาทำนั้นก็เพื่อจะดูว่าเขามีแววไหม แต่พอถึงจุดหนึ่ง ผมจะเรียกพวกเขามาสอนเข้าห้องทั้งหมด แจกกระดาษคนละแผ่น ดินสอคนละแท่ง ช่วยกันหาหัวหน้าที่เขาต้องการเป็นอย่างไร จะเขียนกี่ข้อก็ได้ เขียนออกมาให้หมดให้เวลา 10 นาที

พวกเขาก็เขียนกันใหญ่ บางคนเขียนเต็มหน้า พอผมกลับเข้ามาก็ให้เลขาฯ ไปขึ้นกระดาน หัวหน้าต้องเป็นคนยุติธรรม หัวหน้าต้องเป็นคนอย่างนั้นอย่างนี้ ใบที่ 2 คล้ายกันก็ติ๊กเพิ่ม ที่ไม่เหมือนกันก็เขียนลงไป ได้ประมาณ 20 ข้อ เสร็จแล้วมาดูว่าอันไหนคะแนนเยอะที่สุด อันไหนคะแนนน้อย อันไหนข้อความใกล้เคียงกันก็เอามารวมในข้อเดียวกัน ออกมาก็เหลือไม่กี่ข้อ แล้วทุกคนก็รู้ว่าหัวหน้าที่ดีต้องเป็นอย่างไร แล้วลูกน้องก็อยากได้หัวหน้าแบบนี้ นี่คือคอนเซปต์ต้องทำอย่างนี้ จากนั้นก็มาขยายความ” อ.สุจินต์เล่าถึงวิธีสอนลูกน้อง

การที่จะทำให้ลูกน้องเกิดความประทับใจ ผู้เป็นนายสามารถทำได้ในสถานการณ์ที่เห็นว่าเหมาะสม และควรฉวยโอกาสทำทันทีไม่รอช้า เพราะถ้าช้าไปก็อาจไม่มีโอกาสดีๆ เช่นนั้นอีก

“สมมตินายต้องให้อะไรบางอย่างแก่ลูกน้อง แล้วลูกน้องก็รู้ว่าน่าจะได้แล้ว แต่ก็ยังให้ต้องทวงถาม อย่างนี้ถึงจะได้เขาก็ไม่มีความรู้สึกที่ดีต่อนาย แต่ถ้ารู้ว่าจะต้องให้ยังไม่ทันที่ลูกน้องจะคิดเลย ก็ได้มาแล้ว อย่างนี้ก็ได้ใจแล้ว หรือพ่อแม่ที่บ้านไม่สบาย ถ้าไปลาหัวหน้า หัวหน้าบอก โอเค แต่...รีบกลับมาทำงานนะ อย่างนี้เราจะรู้สึกอย่างไง แต่ถ้าหัวหน้าบอก โอ๊ะ...พ่อแม่อยู่ที่ไหน เป็นอะไรมากไหม โรงพยาบาลนั้นเรารู้จัก ตกเย็นรีบไปเยี่ยมเลย หรือภรรยาลูกน้องคลอดลูก ก็สั่งเลขาฯ ไปซื้อชุดเด็กให้ ไม่มีเวลาไปเยี่ยมก็ให้เลขาฯ ไปแทน อย่างนี้เสียอะไร มีแต่ได้กับได้ นี่คือใจเขาใจเรา” สุจินต์ เล่าอย่างอารมณ์ดี

การทำให้ลูกน้องรักนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ง่ายนิดเดียว ไม่ต้องอาศัยตำราหรือหลักการบริหารอะไร เพียงแต่ใช้ “ใจ” อย่างเดียว...อกเขาอกเรา ใจเขาใจเรา แค่นี้ “ผู้นำ” หรือ “ผู้บริหาร” ก็นั่งอยู่ในใจของลูกน้องได้แล้ว




Create Date : 05 กันยายน 2551
Last Update : 5 กันยายน 2551 13:35:51 น. 2 comments
Counter : 909 Pageviews.  
 
 
 
 
การใช้ "ใจ" บริหารงานนี่เป็นศาสตร์ที่เรียนรู้กันได้ไม่จบจริง ๆ นะคะ

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ที่นำมาฝากกันค่ะ
 
 

โดย: แค่คนหนึ่งคน วันที่: 5 กันยายน 2551 เวลา:13:57:38 น.  

 
 
 
เป็นกำลังใจให้คับแล้วก็
เอารอยยิ้มมาฝาก
อยากให้คนไทยรักกัน รักกัน

คลิปเดี่ยว7(ลำปางหนาวมาก)

.............................
ขออนุญาตวางLINK ฮาๆ
เพราะว่าอยากให้ไปหัวเราะ
ไปกลับมาแล้วจะลบก็ได้น๊า
 
 

โดย: พลังชีวิต วันที่: 5 กันยายน 2551 เวลา:15:31:03 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

คนที่คุณไม่รู้ว่าเป็นใคร
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add คนที่คุณไม่รู้ว่าเป็นใคร's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com