ความผิดปกติเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารและลำไส้อาจไม่ได้แสดงอาการให้เห็นชัดเจนแต่แรกเริ่ม แถมอาการทั้งหลายยังมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แม้จะเป็นโรคที่ต่างกันและร้ายแรงต่างกัน ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคทางเดินอาหารและลำไส้ด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหาร จึงเป็นวิธีบ่งชี้ความผิดปกติที่ดีที่สุด เป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่ายใช้เวลาไม่นาน และในโรคบางโรคแพทย์สามารถให้การรักษาได้ทันที ซึ่งในการส่องกล้องสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดดังนี้
การส่องกล้องทางเดินอาหารมี 2 ชนิด 1.การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper GI Endoscopy) จะใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ตั้งแต่หลอดอาหาร ไล่ลงไปกระเพาะอาหาร ถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนมากเพื่อหาสาเหตุอาการโรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน การกลืนลำบาก ปวดท้องเรื้อรัง ตรวจหาแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในช่องท้อง หรือหาเนื้องอก
2.การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นการตรวจเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติของผนังลำไส้ และสามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติบางขนิดออกได้โดยไม่ต้องผ่าตัดทางช่องท้อง หรือเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อมาตรวจวินิจฉัยเนื้อร้าย ผู้ที่ควรส่องกล้องลำไส้ใหญ่มักจะมีอาการเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ หรือติ่งเนื้อในลำไส้ หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง อาการเช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด อุจจาระลีบเล็ก ปวดท้อง ท้องอืดแน่น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เป็นกังวลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีอย่างการส่องกล้องทางเดินอาหาร เนื่องจากไม่เคยได้รับการตรวจเช่นนี้มาก่อน การปรึกษาหมอเฉพาะทางระบบทางเดินอาหารจะช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นและคลายความกังวลได้ ทั้งนี้คนไข้แต่ละคนมีความแตกต่างกันในแง่ของสุขภาพร่างกายและข้อบ่งชี้ในการตรวจ หมอจะเป็นผู้ให้คำแนะนำเพื่อเลือกแนวทางการรักษาร่วมกันให้เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
#ส่องกล้องทางเดินอาหาร
Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2564 |
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2564 15:31:05 น. |
|
0 comments
|
Counter : 531 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|