ก่อนจะไปรู้จักกับ ข้อดี/ข้อเสีย ของประกันชีวิตควบการลงทุน(ขอเรียกทับศัพท์ว่า ยูนิต ลิงค์ (Unit-Linked)
นะครับ) ผมจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบหรือโครงสร้างเบื้องหลังของการทำประกันชีวิตทั่วไปแบบสั้นๆ กันสักหน่อยเพื่อที่จะได้เห็นความแตกต่างของประกันชีวิตแบบทั่วไป กับแบบยูนิต ลิงค์กันนะครับ
สำหรับประกันชีวิตทั่วไป(แบบตลอดชีพ, สะสมทรัพย์และแบบบำนาญ) โดยปกติแล้ว หลังจากที่เราจ่ายเบี้ยประกันไปบริษัทประกันจะแบ่งเบี้ยประกันของเราออกเป็น 2 ส่วน คือ 1..ส่วนที่ไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย(ค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นการทำประกันชีวิตให้เรานั่นแหละครับ) กับ 2.ส่วนที่เอาไปบริหารจัดการ โดยนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ(ตามนโยบายบริหารของแต่ละบริษัทประกัน) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกลับมานั่นเอง
ข้อดี / จุดเด่นของประกันชีวิตแบบควบการลงทุน( ยูนิต ลิงค์ )
1. เป็นประกันชีวิตที่มีความยืดหยุ่นสูงต่างจากประกันชีวิตแบบดั้งเดิมทั่วไปเพราะมีอิสระสามารถเลือกเองได้ว่าอยากจ่ายเบี้ยกี่ปี (เฉพาะ RP) ต้องการการคุ้มครองกี่ปี(ขึ้นอยู่กับมูลค่าเงินลงทุนการลงทุนที่คงเหลือในกรมธรรม์ด้วย) และสามารถปรับเพิ่ม/ ลด ทุนประกันชีวิตได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมในแต่ละช่วงชีวิต
2.เลือกถอนเงินจากมูลค่าเงินลงทุนการลงทุนในกรมธรรม์เองได้ต่างจากประกันแบบเดิมที่เป็นแบบสะสมทรัพย์หรือแบบบำนาญที่จะได้เงินจากกรมธรรม์เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับเงินจ่ายคืนตามเงื่อนไขของแบบประกันที่ถูกกำหนดมาแล้ว
3. มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันชีวิตแบบทั่วไปเพราะสามารถเลือกบริหารการลงทุนผ่านกองทุนรวมเองได้ หากมีระยะเวลาการลงทุนนานก็สามารถรับความเสี่ยงได้สูงขึ้นได้
สามารถเพิ่มเงินออม (Top Up) เพื่อนำมาลงทุนได้ตลอดสัญญาโดยไม่ต้องซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตเล่มใหม่
ข้อเสีย / จุดด้อยของประกันชีวิตแบบควบการลงทุน( ยูนิต ลิงค์ )
1. ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าการประกันภัย (Costof Insurance) จะปรับสูงขึ้นตามอายุ ต่างจากแบบประกันทั่วไปที่ค่าการประกันภัยจะคงที่ (ขึ้นอยู่กับอายุตอนที่เราทำประกัน) ดังนั้น หากคนที่อายุมากๆมาทำประกันแบบยูนิตลิงค์อาจจะไม่คุ้มเพราะอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าการประกันภัยในปีหลังๆอาจจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ทำให้มูลค่าเงินสดในกรมธรรม์จะค่อยๆลดลง
2. มีความไม่แน่นอนของผลตอบแทนไม่มีการการันตีว่าจะได้เงินคืนตามเปอร์เซ็นต์ของทุนประกันเท่านั้นเท่านี้แน่ๆเหมือนประกันแบบดั้งเดิมเพราะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ต้องเลือกลงทุนด้วยตัวเองจึงต้องเข้าใจเรื่องของความเสี่ยงและรับความเสี่ยงให้ได้
3. มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความรู้ในการบริหารพอร์ตการลงทุน(Portfolio Management) ไม่อย่างนั้นหากลงทุนไปโดยไม่มีความรู้ก็อาจจะเสี่ยงสูงเกินไปจนเกิดผลขาดทุนที่ทำให้มูลค่าเงินลงทุนการลงทุนในกรมธรรม์ไม่เพียงพอต่อการถูกหักไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัยได้(สำหรับ RP หากเราหยุดจ่ายเบี้ยระบบจะไปตัดจากมูลค่าเงินลงทุนการลงทุนในกรมธรรม์มาจ่ายเอง)
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับยูนิตลิงค์เพิ่มเติมได้ที่นี่เลย