แคงเกอร์..เจ้าตัวร้าย

ตอนนี้ที่มะนาวบางส่วนที่สวนมีปัญหาติดเชื้อแคงเกอร์เยอะเลย..เฮ้อปวดหัว
เลยต้องรีบเข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคแคงเกอร์ที่ว่านี้..พอได้อ่านโดยคร่าวๆ อื้อหืออันตรายจัง

เจ้าต้นมะนาวที่น่าสงสาร..เพิ่งจะได้ลงสัมผัสดินไม่กี่เดือนเอง












เราลองมาดูกันนะคะ ว่าโรคแคงเกอร์ที่ว่านี้เป็นยังไง และมีอันตรายกับต้นมะนาว เท่าใด



:: โรคแคงเกอร์ (Canker) ::







สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv.citri ( Hasse )Dye.


ลักษณะอาการ
โรคแคงเกอร์เกิดได้ทั้งที่ใบ กิ่ง ก้าน และผลส้ม มีลักษณะอาการ ดังนี้
อาการบนใบ ใบอ่อนเกิดเป็นจุดกลม และฉ่ำน้ำ มีสีเหลืองซีดหรือเขียวอ่อน เมื่อขยายใหญ่ขึ้นมีลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำสีเหลืองอ่อน
ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกสะเก็ดขรุขระนูนและแข็งตรงกลางเป็นรอยบุ๋ม มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล
การเกิดแผลนี้ส่วนใหญ่จะเกิดได้ทั้งสองด้านของใบ และเกิดรุนแรงมากเมื่อหนอนชอนใบเข้าทำลายด้วยใบที่เป็นโรคนี้มักร่วงก่อนกำหนด

อาการบนกิ่งก้าน


เมื่อเชื้อทำลายกิ่งอ่อนเริ่มแรกเกิดจุดสีเหลืองนูน ฟูบนเปลือกของกิ่งก้าน ต่อมาแผลจะแตกแห้งเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล
แล้วลุกลามขยายออกไปตามความยาว หรือรอบกิ่งจนกลายเป็นปุ่มหรือ ปมขนาดใหญ่ รูปร่างไม่แน่นอน
และไม่มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ถ้าเป็นโรครุนแรงจะทำให้ต้นแคระแกร็น กิ่งก้านแห้งตาย และทรุดโทรมอาจถึงตายได้


อาการบนผล


เกิดจุดแผลฝังลึกลงไปในผิวผลอ่อน แผลนูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองเข้ม
ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแตกสะเก็ดมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผลทำให้เกิดการปริแตกตามรอยแผลของโรคแคงเกอร์


การสำรวจ


สำรวจที่ใบอ่อน ผลอ่อน


การป้องกันกำจัด


เขตกรรม ใช้กิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรค แข็งแรงปลูก


วิธีกล
ตัดแต่ง เก็บใบหรือส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย เพื่อป้อง กันการระบาด

สารเคมี


1. ฉีดพ่นสารประกอบทองแดง เพื่อป้องกันโรคในระยะส้ม เริ่มแตกใบอ่อน

2. ป้องกันและกำจัดหนอนชอนใบ

3. ในกรณีที่เกิดโรคแคงเกอร์รุนแรงมากอาจใช้สาร streptomycin-sulfate หรือ agrimycin ฉีดพ่น แต่ไม่ควร ซ้ำเกิน 3 ครั้ง จะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้

4. ควรกำจัดโรคให้หมดสิ้นในฤดูแล้งซึ่งทำได้ง่าย และ ควบคุมโรคตลอดฤดูฝนจะทำให้ไม่เกิดการระบาดของ โรคนี้ได้


การแพร่ระบาด

เชื้อแบคทีเรียกระเซ็นทางน้ำ และลมฝนจากเนื้อเยื่อที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นของลำต้น
สภาพที่มีฝนตกชุกทำให้โรคระบาดมาก วิธีการให้น้ำโดยการฉีดเข้าทางทรงพุ่มก็จะแพร่โรคให้ระบาดมาก
แหล่งแพร่ระบาดคือ ส่วนของต้นที่เป็นโรคที่ตกค้างภายในสวนและกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค
การระบาดของหนอนชอนใบจะช่วยแพร่โรคบนใบด้วย


การป้องกันกำจัด

1. ใช้กิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรค

2. ตัดแต่งกิ่ง ลำต้น ใบ ผล ที่เป็นโรค เผาทำลายและฉีดพ่นป้องกัน ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่มทองแดง
เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ สลับกับการฉีดพ่น สเตรปโตมัยซินซัลเฟต อัตรา 300 - 500 ppm.
หรืออัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมกรีเซอรีน 1 % เพื่อให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมที่ดีขึ้น
และฉีดพ่นสารควบคุมแมลงหนอนชอนใบส้มด้วย



แหล่งข้อมูล
//www.doae.go.th/pest/fruit/pommelo/orcan.htm
//agriqua.doae.go.th/plantclinic/clinic/plant/tangerine/distang4.htm






Create Date : 31 สิงหาคม 2550
Last Update : 31 สิงหาคม 2550 13:43:35 น. 1 comments
Counter : 2386 Pageviews.

 
ตั้งใจดูและนะค่ะ เอาใจช่วยค่ะ แล้วขอให้ได้มะนาวลูกโตๆนะ


โดย: d_regen วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:15:23:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KT301
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add KT301's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.