Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
7 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
หัดเยอรมันเป็นตอนท้องอันตราย

หัดเยอรมันเป็นตอนท้องอันตราย (รักลูก)



การติดเชื้อในสตรีตั้งครรภ์ เป็นหนึ่งในภาวะที่อาจส่งผลต่อความพิการหรือการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ได้ค่ะโดยการติดเชื้อของทารกอาจเกิดตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์ ผ่านทางรกหรือจากการคลอด โดยผ่านน้ำคัดหลั่งในช่องคลอด หรือเลือดของมารดาขณะคลอด รวมทั้งสามารถผ่านทางน้ำนมแม่หลังคลอด ซึ่งความรุนแรงของการติดเชื้อในทารกนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของตัวเชื้อช่วงระยะเวลาที่ติดเชื้อ รวมทั้งภาวะภูมิคุ้มกันทั้งของแม่และทารก ดังเช่น การติดเชื้อหัดเยอรมันที่จะพูดต่อไปค่ะ




หัดเยอรมัน




เป็นปัญหาของโรคติดเชื้อไวรัส ที่สำคัญแม้ว่าจะมีการให้วัคซีนกันแพร่หลายมากขึ้น แต่ก็ยังพบการติดเชื้อนี้ในกลุ่มวัยรุ่น วัยเจริญพันธุ์ และแม่ตั้งครรภ์ได้บ่อย นำไปสู่ปัญหาสำคัญ คือ ภาวะทารกพิการโดยกำเนิดจากการติดเชื้อหัดเยอรมัน

เนื่องจากเชื้อหัดเยอรมันเป็นไวรัสที่ติดจากการสัมผัสโดยตรงต่อสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกและปากของผู้ติดเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 14-21 วัน หลังจากสัมผัสเชื้อโรคโดยระยะเวลาแพร่กระจายเร็วคือ 7 วันก่อนผื่นขึ้น จนถึง 7 วันหลังผื่นขึ้น




อาการแสดง



ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ มีไข้ต่ำ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะตาแดง คออักเสบ จากนั้นจะมีสภาพผื่นแดงเล็กๆ และมีต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะตรงบริเวณหลังหูและลำคอ นอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 3 ของการติดเชื้อหัดเยอรมันจะไม่มีอาการแสดงใดๆ


พบแม่ท้องติดเชื้อหัดเยอรมันได้ประมาณร้อยละ 0.1-0.2 การติดเชื้อจากแม่สู่ทารกสามารถติดต่อได้ขณะแม่ตั้งครรภ์ โดยความรุนแรงของโรคและความพิการของทารกขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ขณะที่มีการติดเชื้อ ซึ่งผลของการติดเชื้อหัดเยอรมันในขณะแม่ตั้งครรภ์ทำให้เกิดการแห้ง ทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือพิการโดยกำเนิดได้ แต่มีบางส่วนที่ไม่พบการติดเชื้อและไม่มีความพิการใดๆ

ความพิการโดยกำเนิดของทารกจะเกิดจะมากที่สุด เมื่อติดเชื้อช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ พบว่าทารกมีโอกาสติดเชื้อถึงร้อยละ 80 และจะพบทารกติดเชื้อในครรภ์ได้น้อยลง เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ถึงประมาณร้อยละ 54 ที่อายุครรภ์ 13-14 สัปดาห์ และร้อยละ 25 เมื่อติดเชื้อหลังไตรมาสที่ 2 เนื่องจากเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น จะเริ่มมีการส่งผ่านภูมิคุ้มกันจากแม่ไปยังลูกได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อหัดเยอรมันของทารกในครรภ์มิได้ก่อให้เกิดความพิการในทารกทุกราย ซึ่งความพิการโดยกำเนิดของทารกที่พบ ได้แก่ความผิดปกติทางตา (ต้อกระจก ต้อหิน ตาเล็ก) ความผิดปกติของหัวใจ ความบกพร่องทางการได้ยิน ทารกเติบโตช้าในครรภ์ ม้ามโตมีเกร็ดเลือดต่ำ ภาวะซีด ตับ รวมทั้งความผิดปกติของโครโมโซม “การป้องกันหัดเยอรมันสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน” ซึ่งความผิดปกติที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อหัดเยอรมันในครรภ์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ



1. กลุ่มที่ปรากฏความผิดปกติขึ้นชั่วคราว จะสามารถพบได้นานถึง 6 เดือนหลังจากคลอด ได้แก่ ตับ ม้ามโต ตัวเหลือง ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายเกร็ดเลือดต่ำ ปอดอักเสบ

2. กลุ่มความผิดปกติถาวร กลุ่มความผิดปกตินี้ ได้แก่ ความบกพร่องในการได้ยิน ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด ความผิดปกติทางตา ความผิดปกติทางสมอง รวมทั้งภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งพบได้ร้อยละ 10-20

3. กลุ่มที่ปรากฏความผิดปกติภายหลัง คือไม่มีอาการแสดงขณะแรกคลอด พบได้ประมาณ 1 ใน 3 ของทารกที่มีการติดเชื้อ แต่จะมีอาการแสดงออกภายหลังใน 10-30 ปี



ความผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ความบกพร่องของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ เบาหวาน และภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต รวมทั้งความบกพร่องในการได้ยินและการมองเห็น ความบกพร่องของหลอดเลือดความดันโลหิตสูง โดยความผิดปกติของสมองมักพบในทารกที่แม่ติดเชื้อตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์




การวินิจฉัย



ภาวะติดเชื้อหัดเยอรมันจากอาการต่างๆ นี้ อาจสังเกตเห็นได้ยาก มีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ เนื่องจากอาการแสดงต่างๆ สามารถพบได้ในโรคติดเชื้ออื่นๆ ด้วย ซึ่งแม่ตั้งครรภ์ที่มีประวัติสัมผัสโรค หรือมีอาการคล้ายหัดเยอรมันในช่วงอายุครรภ์ก่อน 16 สัปดาห์ ควรได้รับการตรวจยืนยันการติดเชื้อหัดเยอรมัน เพื่อช่วยในการตัดสินใจดูแลต่อไป ในทางปฏิบัตินั้นนิยมใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจระดับของ Immunoglobulin โดยจะส่งตรวจระดับของ Ig M.Specific Antibody ซึ่งสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่วันที่ 5 หลังผื่นขึ้น และคงอยู่ 4-6 สัปดาห์ ก็จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้ นอกจากนี้ยังมีรายงานการตรวจแยกเชื้อไวรัสโดยตรวจจากน้ำลายและคอได้



การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อหัดเยอรมัน



ในทารกก่อนคลอดมีความสำคัญ โดยเฉพาะกรณีที่สงสัยการติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แล้วผลการตรวจยืนยันในแม่ให้ผลไม่ชัดเจนทำได้โดยการตรวจ IgM ในเลือดลูก การเก็บเลือดจากสายสะดือโดยตรง เนื่องจาก IgM ไม่ผ่านจากแม่สู่ลูก ซึ่งตรวจได้หลังจากแม่ติดเชื้อแล้ว 7-8 สัปดาห์ และเมื่ออายุครรภ์ 20-22 สัปดาห์

สำหรับการตรวจจากน้ำคร่ำสามารถทำได้ โดยมีโอกาสแท้งน้อยกว่า แต่มีความยุ่งยากในทารกแยกเชื้อไวรัส และความน่าเชื้อถือค่อนข้างต่ำ

สำหรับการตรวจยืนยันทารกแรกคลอด ที่สงสัยมักทำในกรณีที่แม่มีประวัติติดเชื้อ หรือได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ ในแม่ตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมันหรือมีอาการแสดง ควรได้รับการตรวจเชื้อทันที

ในกรณีที่ตรวจพบการติดเชื้อแม่ควรได้รับให้คำแนะนำถึงความเสี่ยง และความพิการโดยกำเนิดของทารก รวมทั้งตรวจยืนยันการติดเชื้อของทารก โดยตรวจเลือดทารกหรือเจาะน้ำคร่ำ หลังแม่ได้รับการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อจริงกรณีที่มีการติดเชื้อของทารกในครรภ์ด้วย แม่ควรได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับโอกาสเกิดความพิการโดยกำเนิดของทารก และการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ หากการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก สำหรับการให้ Immunoglobulin หลังจากคุณแม่สัมผัสโรค ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าช่วยลดการติดเชื้อของทารกในครรภ์ จึงไม่แนะนำให้ฉีดในทารกแรกคลอดที่ไม่มีอาการแสดงใดๆ ควรได้รับการแยกจากทารกปกติ เพื่อสังเกตอาการและประเมินความผิดปกติที่อาจเกิดภายหลัง


การป้องกันหัดเยอรมัน สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือนนะคะ



ข้อมูลจาก นิตยาสารรักลูก


Create Date : 07 กรกฎาคม 2552
Last Update : 7 กรกฎาคม 2552 0:54:44 น. 0 comments
Counter : 403 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tuktauiu
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








Friends' blogs
[Add tuktauiu's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.