tuk...tuk more than one or cannot run
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
26 ธันวาคม 2554

มาชมวัดเก่า ... วัดนกออก ณ อำเภอปักธงชัย โคราชบ้านเอ็ง



วัดนกออกหรือวัดปทุมคงคา

อยู่ที่ตำบลนกออก อ. ปักธงชัย นครราชสีมา







เป็นวัดของชุมชนมอญ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317

ศาสนสถานเก่าแก่ที่ยังเหลืออยู่ของวัดนี้คือ

หอไตรกลางน้ำ และ สิม







หอไตรกลางน้ำ

















อุโบสถ หรือ สิม

ด้านหน้ามีพระธาตุทรงบัวเหลี่ยม






















ช่อฟ้าเป็นปูนปั้น












มีทางเข้าออกทางเดียว







กรอบด้านบนเป็นไม้แกะลายรวงผึ้ง ประดับกระจกอังวะสีเขียว












เสากรอบทำโค้งแบบจีนลาดยื่นลงมาเบื้องล่าง












พระประธานปางมารวิชัย ศิลปรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือพระวรกายผอมบาง







ภาพเขียนบนเพดาน

เป็นภาพจิตกรรมที่เขียนด้วยฝุ่น

ได้รับอิทธิพลจากสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์

ผสมจิตรกรรมช่างพื้นบ้าน






ภาพอยู่เหนือศรีษะ บอกถึงท้องฟ้า ดารา

ลวดลายเกี่ยวกับสัตว์ป่าหิมพานต์ และลวดลายพันธุ์พฤกษา

แสดงสิ่งในธรรมชาติ และเหนือธรรมชาติ



ช่องกลาง







ช่องหน้าประตู







ปิดท้ายด้วยทางที่จะไปต่อ











 

Create Date : 26 ธันวาคม 2554
30 comments
Last Update : 5 มกราคม 2555 10:26:24 น.
Counter : 9638 Pageviews.

 

โห ดูเก่าแก่และขลังมากๆ เลยอะค่ะ

แวะมาเที่ยววัดด้วยคนนะคะ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 26 ธันวาคม 2554 15:02:13 น.  

 

สวัสดีตอนบ่ายๆ ครับคุณตุ๊ก .....

เห็นโบสถ์และหอไตรกลางน้ำของวัดนี้แล้ว ดูเก่าแก่มากเลยนะครับ ผมชอบวัดเก่าๆ แบบนี้นะครับ ดูเข้มขลังดีจริงๆ .....

 

โดย: NET-MANIA 26 ธันวาคม 2554 15:28:55 น.  

 

สวัสดียามบ่าย4 โมงเย็นค่ะ คุณพี่ตุ๊ก

ขอตามมาไหว้พระทำบุญ ด้วยคนค่ะ

ขอให้มีความสุขนะคะ

 

โดย: iamorange 26 ธันวาคม 2554 16:01:45 น.  

 

..ปักธงชัย มีอะไ อะไรที่สวยๆเยอาะ ของอร่อยๆก็มาก ดูวัยรุ่นปัก.มีแต่อ้วนๆทั้งนั้น (อำเภอคนรวย สามล้อยังคาดผ้าขาวม้าใหมเลย) ถ้าผัดหมี่ก็ต้อง ผัดหมี่ยัยยวน อร่อยมาก สั่งที่เดียวแล้วนั้งรอเฉยๆ ถ้าสั่งซำ้หรือจุกจิก เจอด่าเปิงเลย ระหว่างนั้งรอ ก็ไปล้วงหม้อน้ำซุบแก จะมีกระดูกหมูติดเนื้อให้แทะเล่นระว่างรอ ได้ไม่เคยว่า

 

โดย: จรูญ น้อยศรี ศิษ์ย์เก่า ศ.ว.ก คนหัวรถ IP: 27.130.51.182 26 ธันวาคม 2554 17:33:18 น.  

 

สวัสดีค่ะ..

วัดนี้มีแต่นกออก ไม่มีนกเข้าเน้อะ..

แวะมาเที่ยววัดด้วยคนค่ะ

สาธุ..สาธุ

 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 26 ธันวาคม 2554 19:23:54 น.  

 

เหมาะสำหรับคนชืนชอบประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย จากอดีตสู่ปัจจุบัน ของโบราณต้องชอบมากๆถึงจะเข้าใจ รายละเอียดน่าติดตามครับ และจะตามตอไป....อิ..อิ..

 

โดย: พายุสุริยะ 26 ธันวาคม 2554 21:03:03 น.  

 

มุมภาพถ่ายได้แจ๋วมากครับพี่ตุ๊ก

มาวันนี้ผมได้รู้คำใหม่อีกคำคือ สิม ที่มีความหมายว่าอุโบสถไงครับ

มีความสุขมากๆครับพี่ตุ๊ก

 

โดย: ปลายแป้นพิมพ์ 26 ธันวาคม 2554 21:17:39 น.  

 

เห็นชื่อวัดปทุมคงคาครั้งแรก นึกว่าคุณตุ๊กบึ่งรถ
มาเที่ยวกรุงเทพซะอีก พอเลื่อนดูภาพแล้ว ไม่คุ้น
ผมค่อนข้างจะมีความผูกพันกับชื่อวัดนี้ครับ
เพราะเคยเรียนที่ ร.ร. ปทุมคงคา เมื่อย้ายมาที่เอกมัยแล้ว

วัดปทุมคงคาที่โคราช ภาพเขียนบนเพดานค่อน
ข้างสมบูรณ์ คงได้รับการดูแลเป็นอย่างดี จาก
ภาพเขียน แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของช่าง
ท้องถิ่นที่มีต่อวัดนี้ ลวดลายเฉพาะตัว คล้ายกับ
กำลังเล่าเรื่องตำนานพื้นบ้าน น่าสนใจครับ

 

โดย: Insignia_Museum 26 ธันวาคม 2554 21:37:10 น.  

 

อยู่ปักธงชัยแค่นี้นี่เอง แต่...

เพิ่งมารู้จักว่ามีวัดนี้อยู่ในโลก ก็จากบล็อกของคุณตุ๊กนี่แหละ

โบสถ์เก่า และหอไตรกลางน้ำเก่า ทั้งงดงามและขรึมขลังลงตัว

อยู่รูปหนึ่ง มองเห็นโบสถ์ที่สร้างขึ้นใหม่

เกิดการเปรียบเทียบกันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

โบสถ์หลังใหม่ แม้จะดูอลังการมากกว่า แต่...

เท่าที่ดู รูปร่างหน้าตาเป็นโบสถ์โหล ๆ หาดูที่ไหนก็ได้ ไม่มีเอกลักษณ์อะไรของท้องถิ่นอยู่เลยกระมัง

ทุกวันนี้ เวลาขับรถผ่านวัดต่าง ๆ เห็นโบสถ์วิหาร ศาลาที่สร้างกันใหญ่โตโอราฬแล้ว...

คนบาปหนาอย่างผม อดจะคิดถึงเม็ดเงินจำนวนมากมายมหาศาลที่ถูกทุ่มเทลงไปในสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นไม่ได้ทุกทีสิน่า...

นึกย้อนกลับไปถึงต้นทางของเงินจำนวนมากเหล่านั้น

คงจะเดินทางไกลผ่านพกห่อน้อย ๆ ของชาวบ้านร้านตลาดประเภทหาเช้ากินค่ำ ที่เก็บหอมรอมริบจากหยาดเหงื่อแรงงานของตน

แน่ละ ด้วยคำว่า ศรัทธาเพียงคำเดียว

แต่ถ้าจะย้อนกลับไปมองต่อไปว่า ชาวบ้านเหล่านั้น ได้อะไรตอบแทนความอลังการของโบสถ์วิหารเหล่านั้น...?

คงจะตอบได้ยากเหมือนกัน

ปัจจุบัน วัดที่มีโบสถ์วิหารอลังการเหล่านั้นสักกี่แห่งที่ได้ทำหน้าที่จรรโลงพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการเผยแผ่ธรรมะให้แก่ประชาชนโดยรอบ

ย่อหน้าที่แล้ว ขอละเว้นศาสนพิธีที่เป็นเชิง "พิธีกรรม" นะครับ เอาในแง่เนื้อหาของธรรมะล้วน ๆ

คิดถึงตรงนี้ แล้วก็ให้รู้สึกอ้างว้างอย่างบอกไม่ถูก

ในขณะที่ชาวบ้านที่ยากไร้ สละเงินคนละเล็กละน้อยที่หามาอย่างยากลำบาก

สร้างโบสถ์วิหารหลังละหลายสิบล้านบาท

แต่ตนเอง ต้องอยู่ในบ้านรูหนู หรือกระต๊อบเก่าคร่ำคร่าไม่มีเงินพอจะบูรณะให้ดูดีกว่าที่เป็นอยู่....

เป็นสองภาพที่ตัดกันจนยากจะบรรยาย...

ขออภัยที่เพ้อเจ้อมากไปสักหน่อย แต่เป็นความอัดอั้นใจที่เก็บมานานครับ

พอดีวันนี้คุณตุ๊กเอาภาพโบสถ์เก่า ประชันโบสถ์ใหม่ ทำให้ลาวาหลอมละลายที่ปะทุอยู่ในอก ได้เวลาระเบิดออกมา....

 

โดย: ลุงแว่น 26 ธันวาคม 2554 22:04:50 น.  

 

เห็นวัดเก่า ที่ใช้ไม้ทำเป็นศาลา หรืออะไรพวกนี้ชอบครับ

เห็นคำว่า "สิม" เลยรู้ความหมายคราวนี้เอง ตอนนั้น
ผมไปวัด ผาปล่อง เชียงใหม่ ยังคิดว่า หลวงพ่อ สิม
ชื่อนี้แปล ว่าอะไรหนอ

ที่วัดผาปล่องนี้ ผมนับถือท่านมาก เพราะสร้างทาง
เดินขึ้นวัด เดินได้สบาย ไม่ชัน ทอดยาว คดเคี้ยว
ร่มรื่น พอถึงข้างบน ตัววัดดี สงบ มีการปฏิบัติธรรม
ด้วย. มีถ้ำตื้น สอาด ลมถ่ายเทดี มองไปข้างบน
เห็นดอยสูงตระหง่าน คงจะเป็นดอยเชียงดาวมั้ง

อ้าวแทนที่จะคุยเรื่องวัดของคุณตุ๊ก กลับไปเขียน
ถึงวัดผาปล่องเฉยเลย ขออำภัยครับ

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 26 ธันวาคม 2554 22:33:10 น.  

 

สวยงาม
แบบศิลปพื้นบ้าน
มีจิตวิญญาณแฝงอยู่
ในงานดังกล่าวครับ

 

โดย: ravio 26 ธันวาคม 2554 23:19:12 น.  

 

ศิลปะพื้นบ้าน อยู่คู่กับประวัติศาสตร์
น่าสนใจมาก ๆ

++

สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่ตุ๊ก

 

โดย: ostojska 26 ธันวาคม 2554 23:26:43 น.  

 


มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

หอไตรกลางน้ำ ที่กรุงเทพฯ ก็มีอยู่แห่งหนึ่งครับ แถวฝั่งธนฯ แต่ชื่วัดอะไรหว่า? ผมจำไม่ได้แล้ว ลักษณะเหมือนในภาพนี้เลยครับ

อิอิ

 

โดย: อาคุงกล่อง 26 ธันวาคม 2554 23:45:02 น.  

 

สุขสันต์และสดใส สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.๒๕๕๕ นะคะ

 

โดย: วิสกี้โซดา 27 ธันวาคม 2554 0:10:23 น.  

 

มาไหว้พระ วัดเก่าแก่ครับ พี่ตุ๊ก

 

โดย: เศษเสี้ยว 27 ธันวาคม 2554 0:30:17 น.  

 

ของดีบ้านเรา

ชอบครับ

 

โดย: แมวหง่าว (chaiwatmsu ) 27 ธันวาคม 2554 3:32:26 น.  

 


ว่างๆ อุ้มมักเดินชมสิมต่างๆ ของวัดในภาคอีสาน
เพราะจะสวยด้วยเอกลักษณ์ประจำภาค
ซึ่งหาดูในอุโบสถของวัดในภาคอื่นๆ ไม่มี
และสำหรับปีใหม่ที่จะมาถึงนี้
อุ้มขอให้คุณตุ๊กและครอบครัว
มีสุขภาพที่แข็งแรง
และสมหวังในสิ่งที่หวังตลอดปี 2012 จ๊ะ

 

โดย: อุ้มสี 27 ธันวาคม 2554 6:04:52 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สวัสดีเช้าวันอังคาร
มีความสุขตลอดวันค่ะคุณตุ๊ก

 

โดย: ดอกฝิ่นในสายลมหนาว 27 ธันวาคม 2554 7:40:44 น.  

 

หวัดดียามเช้าครับ ช่วงนี้ใครๆ ก็ต้องไปโคราช จริงม่ะครับ อากาศดีสุดๆ (จินตนาการหนะครับ)

 

โดย: พี่รี่+ต๊อก 27 ธันวาคม 2554 8:06:04 น.  

 

 

โดย: Kavanich96 27 ธันวาคม 2554 10:23:06 น.  

 

เลิ๊ฟๆๆๆ บ้านเอ๋งๆๆๆ..
ทั้งเชียงหม่าย ทั้งโคราช..คร๊าบ พี่ตาตุ๊ก..
หวัดดี ปีหม่ายย ครับโผ๊มมมม...จุ๊บจ๊วบๆๆๆๆ..^.^

 

โดย: ตาติ๊ก (สกุลเพชร ) 27 ธันวาคม 2554 11:02:24 น.  

 

ว้าว ชุดนี้มุมกล้องสวยนะครับ

 

โดย: grilled chicken 28 ธันวาคม 2554 21:14:40 น.  

 

เรียนท่านเจ้าของกระทู้ อยากจะขอความรู้เพิ่มเติมครับ
- 1.ในปี พศ.1841 กษัตริย์ศรีราช จากแคว้นศรีจนาศะ (เมืองเสมา-สูงเนิน)มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตัดถนนนำกฐิน 7 กองไปทอดถวายที่เมืองปักธงชัย ทรงถวายบาทจาริกาและโคม้าเป็นพุทธบูชาเป็นอันมาก และทรงอุปสมบทเป็นศรีราชภิกษุ นับแต่นั้น อาณาจักรศรีจนาศะที่รุ่งเรืองกว่า 5-600 ปีก็สิ้นราชวงศ์ (อยากทราบว่า 700 ปีก่อน มีวัดไหนในเขตนั้น ที่น่าจะเป็นศูนย์รวมแห่งศาสนาจนมีพระราชศรัทธาปานนั้น)
-2. ในเดือนเมษายน 2493 มีหมายจากราชวัง ให้ผู้ว่าโคราชไปตักน้ำศักดิ์สิทธิ เพื่อใช้ในพิธีมุรธาภิเษก (พิธีอาบน้ำศักดิ์สิทธิทั่วแผ่นดิน ก่อนราชาภิเษก)จากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ 4 แห่ง คือ สระแก้ว,สระขวัญ อ.เมือง,สระปักธงชัย อ.ปักธงชัย,และจากลำปราสาท อ.โนนสูง.(อยากทราบว่า สระปักธงชัย อยู่ตรงไหน ใช่ในวัดใหญ่ๆเลยปักฯไปแล้วเลี้ยวขวาไหมครับ ที่มีหอไตรกลางน้ำสวยๆ เช่นเดียวกับวัดนกออก)
มาช่วยกันภูมิใจกับอดีตกันครับ

 

โดย: สืบพงษ์ IP: 223.207.162.24 6 มกราคม 2555 11:44:05 น.  

 

ตอบคุณสืบพงษ์

ที่ถามมาตอนนี้ยังไม่ทราบค่ะ
แล้วจะลองค้นคว้าสอบถาม
แต่ไม่ทราบว่าผลจะเป็นอย่างไรนะคะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 6 มกราคม 2555 15:03:39 น.  

 

ขอบคุณครับ จะรอด้วยความหวังนะครับ
ข้อ1 เบาะแสน่าจะอยู่ที่ศิลาจารึกบ่ออีกา หลัก 2 ซึ่งขุดได้จากทางปราจีนนะครับ แต่ผมไม่แน่ใจ
ส่วนข้อ2 ไม่แน่ใจว่าชื่อวัดหน้าพระธาตุ หรือป่าว
อย่างไรก็ดี ถ้าเป็นตามนั้น อ.ปักธงชัย ก็คงเคยมีอดีตที่ยิ่งใหญ่มาก่อนในอดีต ก่อนที่พระเจ้าตากจะกวาดต้อนครัวชาวลาวมาอยู่ในภายหลังครับ

 

โดย: สืบพงษ์ IP: 171.4.25.170 6 มกราคม 2555 19:17:21 น.  

 

วัดหน้าพระธาตุเคยไปถ่ายรูปมาค่ะ

ที่ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tuk-tukatkorat&month=26-06-2011&group=40&gblog=51

 

โดย: tuk-tuk@korat 6 มกราคม 2555 22:24:46 น.  

 

ขออนุญาตแก้ความสับสนครับ ปีที่ศรีราชภิกษุ ไปทอดกฐินและบวชที่ปักธงชัยนั้น เป็น ปี 1481 ไม่ใช่ปี 1841 ครับ ขออภัยกับโรคเอ๋อด้วยครับ
-- ถ้าน้ำทะเลท่วมโลกก็อย่าแปลกใจมาก ที่วังน้ำเขียว อดีตมีร่องเขา เรียกว่า "ช่องเรือแตก" และไม่ทราบว่าผู้โดยสารชุดนั้นหรือเปล่า ที่รอดชีวิตมา "จับโป๊ะ" ที่แผลงมาเป็น "จะโปะ" หรือปักธงชัยในวันนี้
และก็ไม่น่าแปลก ที่พบซากคนโบราณ (3-4000ปี) ที่บ้านธารปราสาท อ.โนนสูง มีกำไรประดับด้วยหอยทะเล จำนวนมาก ครับ

 

โดย: สืบพงษ์ IP: 171.4.25.170 7 มกราคม 2555 9:58:47 น.  

 

กำลังช่วยลูกหาข้อมูลเรื่องชุมชนโบราณอยู่ พี่ชายก็ช่วยส่งรูปโบสเก่าวัดนกออกของคุณตุ๊กมาให้ดู...ชอบมากค่ะ...ดูตอนแรกนึกว่า วัดตะคุ..อ.ปักธงชัยน่ะแหละค่ะ...(พอดีเคยไปหลายครั้ง)..ที่วัดตะคุก็มีโบสโบราณแบบนี้เหมือนกัน..และมีหอไตรกลางน้ำด้วย..แล้วยังมีกุฎิเก่าโบราณอีก2หลัง..มีพระธาตุเก่า อันเป็นที่มาของชื่อวัดหน้าพระธาตุ(วัดตะคุ)อยากให้คุณตุ๊กไปถ่ายรูปแล้วเอามาลงเว๊บอวดชาวโลกกันหน่อย...เห็นแล้วปลื้มใจค่ะ...ที่จริงปักธงชัยเรามีของดีอยู่เยอะ...แต่ไม่ได้มีการโปรโหมดกันแค่นั้นเองเนาะ....

 

โดย: นางพี่..(เด็กปัก) IP: 171.101.149.23 17 มกราคม 2556 10:47:22 น.  

 

วัดหน้าพระธาตุ ได้ลงไว้สองครั้งแล้วค่ะ

ฮูปแต้มวัดหน้าพระธาตุ

และ

สิมเก่าวัดหน้าพระธาตุ ค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 17 มกราคม 2556 11:26:19 น.  

 

มอญและภาษามอญ ชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่บริเวณเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2318 ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชทานครัวมอญที่อพยพเข้ามาสวามิภักดิ์ มีพระมหาโยธา (เจ่ง) เป็นหัวหน้า แบ่งให้พระยานครราชสีมานำขึ้นมาอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ตั้งครัวมอญที่ลำพระเพลิง เขตอำเภอปักธงชัยที่บ้านพลับพลาอำเภอโชคชัย พระยาศรีราชรามัญผู้เป็นหัวหน้าพาญาติพี่น้องมาอยู่ในเมืองเป็นสายกองส่วยทอง ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าบ้านมอญ เมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) คุมกองมอญมาสมทบมาร่วมรบกับกำลังฝ่ายไทย เมื่อเสร็จศึกแล้วพวกมอญเห็นเมืองปักธงชัยอุดมสมบูรณ์จึงมาตั้งถิ่นฐาน ปัจจุบันชาวมอญในนครราชสีมายังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญไว้ เช่น ภาษา การไหว้ผี การเล่นสะบ้า ในเขตบ้านท่าโพธิ บ้านสำราญเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำเครื่องปั้นดินเผา

เพิ่งรู้ว่ามีมอญในโคราชด้วย ตอนแรกงงๆ ว่าวัดมอญมาจากไหน

 

โดย: ปลาทองสมองน้อย IP: 171.101.168.60 27 กรกฎาคม 2557 9:25:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


tuk-tuk@korat
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 148 คน [?]




งานหลักคืองานอดิเรก

10 บล็อกล่าสุด


What I Did For Love - Josh Groban ... ความหมาย


วัดพระธาตุเสด็จ อำเภอเมือง ลำปาง



Oh, Pretty Woman - Roy Orbison ... ความหมาย


I Will Whisper Your Name - Michael Johnson ... ตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 349


เชียงใหม่ - วัดสันทรายหลวง อำเภอสันทราย



In Dreams - Roy Orbison ... ความหมาย



ลำปาง - วัดพระธาตุหมื่นครื้น ... อย่างฉุกละหุก ตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 348



For Lovin' Me - Gordon Lightfoot ... ความหมาย


เชียงใหม่ - วัดสันทรายมูล อำเภอสันทราย


When I Dream - Crystal Gayle ตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 347 ติดเป็นนิสัย















ของแต่งบล็อกจาก
ป้าเก๋า "ชมพร"
คุณญามี่
คุณ Rainfall in August
ขอบคุณค่ะ

[Add tuk-tuk@korat's blog to your web]