♥ หน้าตา คือหน้าต่าง....สื่อท่าทาง..จาก..จิตใจ ♥
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
8 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 
คำถามและคำตอบเกี่ยวกับการรับเขตอำนาจ ICC

คำถามและคำตอบเกี่ยวกับการรับเขตอำนาจ ICC กรณีกล่าวหาเรื่องอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ

ทีมข่าว นปช.
2 พฤศจิกายน 2555


ระหว่างการประท้วงทางการเมือง พ.ศ. 2553 มีประชาชนประมาณ 90 คนถูกสังหาร และบาดเจ็บนับพันคน ถูกจองจำอีกหลายร้อย ในปี 2554 ได้มีการยื่นหนังสือถึงอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศกล่าวหาว่ามีการก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติต่อผู้ประท้วงที่เป็นพลเรือน ถึงแม้ว่าศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถทำคดีเกี่ยวกับอาชญากรสงคราม และ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้ แต่ในข้อกล่าวหานั้นระบุแต่เพียง อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ไม่ได้มีการพูดถึง อาชญากรสงคราม หรือ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศาลอาญาระหว่างประเทศตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก โดย สนธิสัญญากรุงโรม โดยมี 121 ประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิก ประเทศไทยได้ลงนามแต่ไม่ได้ลงสัตยาบัน ดังนั้นประเทศไทยจึงไม่ได้เป็นประเทศสมาชิก

หัวหน้าอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศคือ น.ส.ฟาทู เบนสุดา ซึ่งเป็นผู้มีประสบการสูงในด้านอัยการระหว่างประเทศ
คำถามคำตอบต่อไปนี้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในกรณีรัฐบาลไทย (“รัฐบาล”) จะรับเขตอำนาจศาลในกรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติในปี พ.ศ. 2553

ในเมื่อประเทศไทยไม่ใช่สมาชิกสนธิสัญญาของ ICC , ICC จะเข้ามาทำการสอบสวนตามข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติได้อย่างไร


ตามมาตรา 12.3 ของสนธิสัญญากรุงโรม สามารถให้ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกเช่นประเทศไทยยอมรับเขตอำนาจศาลเหนือคดีที่เจาะจงโดยเฉพาะ โดยการส่งคำประกาศไปให้ ICC รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาว่าจะประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลตามข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติปี พ.ศ. 2553


การประกาศดังกล่าวเป็นการกล่าวหาว่ามีใครก่อคดีอาญาหรือไม่


ไม่ เพียงแต่อนุญาตให้ ICC สามารถพิจารณาว่ามีการก่อคดีอาญาขึ้นโดยผู้ใด หรือ กลุ่มใดหรือไม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553


การประกาศดังกล่าวเป็นการยกความรับผิดชอบในการสอบสวนเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติให้กับ ICC หรือไม่


ไม่ ประเทศไทยยังเป็นหลักและรับผิดชอบในการสอบสวน และ ดำเนินคดีทางอาญชากรรม ICC จะดำเนินคดีก็ต่อเมืองทางการไทย ไม่สามารถ หรือ ไม่ต้องการทำคดี


หากเป็นเช่นนั้นแล้วจะยอมรับเขตอำนาจศาลเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติไปทำไม


การประกาศดังกล่าวทำให้ ICC สามารถตรวจสำนวนเบื้องต้นได้ การตรวจสำนวนเบื้องต้นทำให้อัยการสามารถพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของไทยเกี่ยวกับการสอบสวน และการดำเนินคดี หากอัยการเห็นว่ากระบวนการของไทยไม่ยุติธรรมก็จะสามารถดำเนินการได้


ในกรณีนั้น อัยการสามารถสอบสวนเอง และดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติเองได้หรือไม่


อัยการสามารถทำการสอบสวนเองได้หากมีเงื่อนไข 2 ข้อ

1. อัยการต้องแจ้งให้ประเทศไทยทราบว่าจะสอบสวนคดีและให้เวลาประเทศไทย 30 วันในการให้คำตอบ ประเทศไทยอาจจะเลือกที่จะยอมรับให้อัยการสอบสวน ในทางกลับกันประเทศไทยยังสามารถที่จะโต้แย้งและยืนยันที่จะให้สิทธิแก่เจ้าหน้าที่ของไทยเองในการดำเนินการ ในกรณีนี้อัยการจะไม่สามารถดำเนินการสอบสวนได้ นอกจากจะต้องขออำนาจจากผู้พิพากษาของ ICC ซึ่งอัยการจะต้องพิสูจน์ให้ผู้พิพากษาเห็นว่าการดำเนินการในประเทศไทยไม่มีความเป็นธรรม ตัวแทนประเทศไทยจะมีโอกาสได้ชี้แจงต่อองค์คณะผู้พิพากษา 3 ท่าน เพื่อคัดค้านต่ออัยการ หากผู้พิพากษาตัดสินตามข้อเสนอของอัยการ ประเทศไทยยังสามารถอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ซึ่งมีองค์คณะ 5 ท่าน
2. ถึงแม้ว่าประเทศไทยไม่คัดค้าน อัยการก็ไม่สามารถดำเนินการสอบสวนได้จนกว่าจะได้รับการอนุมัติจากผู้พิพากษาที่มีองค์คณะ 3 ท่าน ตราบใดที่ยังไม่ได้รับอนุมัติดังกล่าว อัยการก็ทำได้เพียงการตรวจสำนวนเบื้องต้นเท่านั้น
โดยรวมแล้ว การประกาศรับเขตอำนาจศาลของรัฐบาลภายใต้มาตรา 12.3 เพียงแค่เปิดประตูให้อัยการสามารถพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ไทย และเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ไม่ใช่เป็นที่สุด

การตรวจสำนวนเบื้องต้นคืออะไร


การตรวจสำนวนเบื้องต้น เป็นขั้นตอนแรกเพื่อให้อัยการพิจารณาว่าจะไปขออนุญาตจากศาลเพื่อทำการสอบสวนหรือไม่ ในการตรวจสำนวนเบื้องต้นอัยการสามารถพิจารณาความก้าวหน้าในการสอบสวนและดำเนินคดีในประเทศไทย และยังอาจสามารถสอบถามอย่างจำกัดว่ามีการก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติขึ้นหรือไม่ การตรวจสำนวนเบื้องต้นจะไม่ก้าวก่ายการทำงานของเจ้าหน้าที่ของไทย การดำเนินการในประเทศไทยยังสามารถทำไปได้พร้อมกัน


หากรัฐบาลไทยประกาศรับเขตอำนาจศาล ICC อัยการจะเริ่มการตรวจสำนวนเบื้องต้นหรือไม่


ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอัยการ อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอัยการจะดำเนินการตรวจสำนวนเบื้องต้นต่อกรณีการก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติใน พ.ศ. 2553


อัยการสามารถทำอะไรได้บ้างในกรณีการตรวจสำนวนเบื้องต้น


อัยการสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีผู้มอบให้ และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานภาครัฐโดยความเต็มใจของหน่วยงานนั้นๆ หรือ รัฐบาลอื่นๆ และ สหประชาชาติ จากองค์กรระหว่างประเทศใดๆ นอกจากนี้ยังสามารถสอบปากคำพยานที่กรุงเฮกโดยความเต็มใจของพยาน จากข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ อัยการจะพิจารณาว่าจะดำเนินการสอบสวนหรือไม่


มีอะไรบ้างที่อัยการไม่สามารถทำได้


ในการตรวจสำนวนเบื้องต้น อัยการไม่สามารถสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของไทยนำพยานมาเพื่อสอบปากคำ และไม่สามารถสอบปากคำพยานหรือดำเนินการสอบสวนในประเทศไทย หากอัยการเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการเหล่านั้น อัยการต้องขออนุญาตรัฐบาลไทย และขออนุญาตจากผู้พิพากษา ICC เพื่อทำการสอบสวนตามที่อธิบายไปแล้วด้านบน


การตรวจสำนวนเบื้องต้นใช้เวลานานเท่าใด


ไม่มีการกำหนดเวลาไว้อาจจะหลายเดือน หากอัยการตัดสินใจปล่อยให้กระบวนการในประเทศไทยดำเนินไป อาจจะกินเวลาหลายปี


เป็นไปได้หรือไม่ว่าอัยการจะไม่ทำการสอบสวน


เป็นไปได้ หากการดำเนินการในประเทศไทยเป็นไปด้วยความยุติธรรมอย่างแท้จริง ก็จะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้อัยการทำการสอบสวน


หากอัยการดำเนินการสอบสวนและพบว่ามีผู้ก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติจริง อัยการจะสามารถตั้งข้อหาต่อคนผู้นั้นได้หรือไม่


ไม่สามารถทำได้ลำพัง อัยการต้องขออนุญาตต่อผู้พิพากษาองค์คณะ 3 ท่าน และให้ประเทศไทย และผู้ถูกกล่าวหาสามารถคัดค้านต่อข้อกล่าวหาได้ หากองค์คณะ 3 ท่านตัดสินตามอัยการ ก็ยังสามารถอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ซึ่งมีองค์คณะ 5 ท่านได้อีก


หากผู้พิพากษา ICC อนุญาตให้อัยการตั้งข้อหา อัยการจะสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้หรือไม่


ไม่ได้ ต้องผู้พิพากษาเท่านั้นจึงสามารถสั่งจับผู้ต้องหาได้


หากผู้พิพากษาสั่งจับกุมผู้ต้องหา รัฐบาลไทยจะต้องจับกุมและส่งมอบตัวผู้ต้องหาให้ ICC หรือไม่


ใช่ แต่ขึ้นกับกระบวนการยุติธรรม ในการประกาศรับเขตอำนาจศาล ICC รัฐบาลไทยย่อมต้องให้ความร่วมมือ อย่างไรก็ตามผู้ต้องหาสามารถคัดค้านในแง่กฏหมายต่อศาลไทยได้ และยังสามารถคัดค้านในศาล ICC ได้อีกชั้นหนึ่งด้วย


การขึ้นศาล ICC ยุติธรรมหรือไม่


แน่นอน ผู้พิพากษา ICC เป็นอิสระ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอาญา และ กฏหมายระหว่างประเทศซึ่งถูกเลือกมาโดยประเทศสมาชิกกว่า 120 ประเทศ ผู้ต้องหาสามารถเลือกทนายได้เองและยังมีสิทธิทุกประการภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศ ผู้ต้องหาทุกคนจะถูกมองว่าบริสุทธิไว้ก่อน และจะไม่ถูกลงโทษจนกว่าจะมีการพิสูจน์อย่างสิ้นสงสัยว่าผิดจริง หากถูกพิพากษาว่าผิดก็ยังสามารถอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้อีก


รัฐบาลไทยต้องให้รัฐสภาอนุมัติหรือ ให้มีการลงพระปรมาภิไธย เพื่อที่จะประกาศรับเขตอำนาจศาลตามข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติปี พ.ศ. 2553 หรือไม่


ไม่ต้อง ภายใต้มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 กำหนดให้สนธิสัญญาต้องมีการลงพระปรมาภิไธย และ ผ่านการอนุมัติจากสภาฯทุกครั้ง อย่างไรก็ตามการประกาศรับเขตอำนาจศาลในกรณีแบบจำเพาะเจาะจงภายใต้มาตรา 12.3 ของสนธิสัญญากรุงโรม ไม่ใช่สนธิสัญญา ความหมายของสนธิสัญญาคือ การร่วมตกลงระหว่างประเทศไทยกับ คู่สัญญา ซึ่งสนธิสัญญาจะใช้ได้ต้องมีอย่างน้อย 2 ฝ่ายที่ตกลงยอมรับเงื่อนไขว่าเป็นพันธะกฏหมาย

ต่างจากการประกาศตามมาตรา 12.3 ซึ่งประเทศไทยปฏิบัติโดยลำพัง และการประกาศจะมีผลตามกฏหมายทันทีที่หนังสือประกาศนั้นถูกส่งไปที่ ICC ไม่จำเป็นต้องมีการตกลงจากฝ่าย ICC เพื่อให้มีผลบังคับใช้ การประกาศไม่ใช่ข้อตกลงแต่เป็นการปฏิบัติโดยอำนาจของประเทศไทย แลเพราะว่าไม่ใช่สนธิสัญญา จึงไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญไทย และไม่ต้องผ่านรัฐสภาฯหรือการลงพระปรมาภิไธย

การประกาศรับเขตอำนาจศาลภายใต้มาตรา 12.3 ทำให้ต้องแก้กฏหมายไทยหรือไม่


ไม่ใช่ขั้นตอนนี้ และอาจไม่จำเป็นเลยด้วยซ้ำ รัฐบาลสามารถประกาศได้โดยไม่ต้องแก้กฏหมาย หากอัยการตัดสินใจตรวจสำนวนเบื้องต้นตามที่เราคาดการณ์ ในขั้นนี้ไม่ต้องมีการแก้กฏหมาย จนถึงขั้นตอนการสอบสวนของ ICC ซึ่งอาจจะหลายเดือนหรือหลายปีจากนี้ไป จึงอาจจะต้องมีการแก้ไขกฏหมายไทย

//uddred.blogspot.ch/2012/11/blog-post_5282.html




Create Date : 08 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2555 6:07:42 น. 0 comments
Counter : 1294 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tudong
Location :
นครปฐม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




๏หนึ่ง..อภัยพ่อแม่ แม้...........ผิดพลาด
สอง....มิตรสหายจะขาด.........มิได้
สาม....คนชิดใกล้ ญาติ.........โอนอ่อน
สี่.......อย่าลืมตนเองไซร์........พลาดพลั้ง ควรอภัย ๚–
Friends' blogs
[Add tudong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.