♥ หน้าตา คือหน้าต่าง....สื่อท่าทาง..จาก..จิตใจ ♥
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
26 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 

"ชัชชาติ" เปิดมิติใหม่ระบบราง ไฮสปีดเทรนคือ Growth Engine


 20 พ.ค. 2556 เวลา 12:37:58 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

หนึ่งปีมีครั้งเดียว งานสัมมนาใหญ่ของหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ปีนี้ในวาระพิเศษเข้าสู่ปีที่ 37 ได้รับเกียรติจาก "ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม บรรยายพิเศษถึงเรื่อง "ระบบราง" ของประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่ "รัฐบาลเพื่อไทย" กำลังนำมาพลิกโฉมระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ทัดเทียมนานาประเทศ

โดยเฉพาะ "รถไฟความเร็วสูง" หรือไฮสปีดเทรน นับเป็นโปรเจ็กต์ไฮไลต์เพราะใช้เม็ดเงินสูงสุดถึง 39% หรือประมาณ 783,230 ล้านบาท

ไฮสปีดเทรน ยุทธศาสตร์ประเทศ

"ชัชชาติ" เริ่มเปิดประเด็นบนเวทีว่า ความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ "ไฮสปีดเทรน" จะเป็น Growth Engine ของประเทศไทย "...2 ล้านล้านไม่ได้สร้างความเหลื่อมล้ำแต่จะลดความเหลื่อมล้ำ กระจายโอกาสให้กับทุกคน เพราะไม่ใช่มีแค่รถไฟฟ้าความเร็วสูง ยังมีมิติอื่นที่ครบทุกด้าน ทั้งรถไฟทางคู่ ถนน 4 เลน ท่าเรือ ด่านศุลกากร"

กับคำถาม ทำไมรัฐบาลต้องมองอนาคตด้วยการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน คำตอบ...เพราะสามารถแข่งขันและเพิ่มโอกาสให้คนทั้งประเทศ ที่สำคัญโครงการที่รัฐบาลเพื่อไทยทำไม่ใช่โครงการใหม่ หลาย ๆ โครงการเริ่มตั้งแต่ 20 ปีมาแล้วก็มี

"ถ้าไม่ทำวันนี้อีก 10 ปีต้นทุนรถไฟความเร็วสูงจาก 8 แสนล้านบาท จะเป็น 2 ล้านล้านบาทก็เป็นได้"

ในแผนลงทุนมีรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมระยะทาง 1,300 ก.ม. ลงทุน 783,230 ล้านบาท หรือ 39% รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ 300 ก.ม. ลงทุน 472,448 ล้านบาท หรือ 24% รถไฟทางคู่ 403,214 ล้านบาท หรือ 20% มอเตอร์เวย์ 91,820 ล้านบาท หรือ 5% ถนน 4 เลน 183,569 ล้านบาท หรือ 9% สถานีขนส่งสินค้า 14,093 ล้านบาท หรือ 1% ปรับปรุงลำน้ำและชายผั่ง 29,820 ล้านบาท หรือ 1% และด่านศุลกากร 1% หรือ 12,545 ล้านบาท

วันนี้พูดถึงรถไฟความเร็วสูงเป็นหลัก ต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจก่อนว่า "รถไฟทางคู่-รถไฟความเร็วสูง" มีรางแตกต่างกันหรือไม่ ปัจจุบันรถไฟไทยเป็นรางขนาด 1 เมตร หรือมิเตอร์เกจ มีระยะทางรวม 4,000 ก.ม.ทั่วประเทศ แบ่งเป็นทางคู่แค่ 300 ก.ม.

ขณะที่ความกว้างราง 1 เมตรใช้อยู่ 20% ทั่วโลก ทำให้สามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านได้ทันที เพราะราง 1 เมตรเหมือนกันหมด ทั้งมาเลเซีย สิงคโปร์ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม

ตัวอย่างในปีนี้ สิงคโปร์เริ่มแล้วด้วยการเชื่อมเส้นทางกัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์ อนาคตเชื่อมถึงปาดังเบซาร์และทะลุถึงกรุงเทพฯ ด้วย กรุงโฮจิมินห์ซิตี้ทางรถไฟวิ่งอยู่ 30 ชั่วโมง มีแนวคิดพัฒนารถไฟความเร็วสูงใช้ชินคันเซ็น ความเร็ว 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ได้เวลา...ยกเครื่องรถไฟไทย

แนวคิดจะลงทุนทางคู่ทั่วประเทศกว่า 2,000 ก.ม. เปลี่ยนจากรางเดี่ยวที่มีอยู่ทั่วประเทศ ทำให้เพิ่มความเร็วได้ถึง 160 ก.ม./ชั่วโมง

แต่ถ้าต้องการความเร็วเกิน 200 ก.ม.จะเข้าสู่มาตรฐานรถไฟความเร็วสูง โดยใช้ราง standard gauge กว้าง 1.435 เมตร วิ่งความเร็ว 250-400 ก.ม./ชั่วโมง เน้นรองรับผู้โดยสารที่ต้องการความเร็ว นักท่องเที่ยว สินค้าที่มีมูลค่าสูง สำหรับประเทศไทยนั่นหมายถึงจะต้องสร้างทางใหม่ขึ้นมา

แผนลงทุนมี 4 เส้นทางคือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 745 ก.ม. กรุงเทพฯ-หนองคาย 615 ก.ม. กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ 982 ก.ม. และกรุงเทพฯ-ระยอง 221 ก.ม. เส้นไหนวิ่งไปตามทางรถไฟเก่าจะประหยัดค่าเวนคืนที่ดิน แผนงานที่ออกแบบไว้จะใช้รถไฟทางคู่เป็นฟีดเดอร์ เพราะจอดทุกสถานี แต่รถไฟความเร็วสูงจะจอดเฉพาะสถานีใหญ่ ๆ เช่น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มี 10 สถานี เพราะถ้ามีสถานีเยอะก็จะไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงแล้ว แต่ละสถานีห่าง 80-100 ก.ม.

ฉะนั้นรถไฟทางคู่กับรถไฟความเร็วสูงจะไม่ทับซ้อนกัน แยกรางกันชัดเจนเหมือนในญี่ปุ่นที่มี 2 ระบบ 2 ราง คือราง 1 เมตรกับรถไฟชินคันเซ็น

สร้างมูลค่าเพิ่มได้ทุกจังหวัด

ข้อมูลด้านลึก ระบบรถไฟความเร็วสูงจะใช้ระบบไฟฟ้าเหมือนแอร์พอร์ตลิงก์ มีสายไฟโยงอยู่ข้างบน ดึงกระแสไฟฟ้าผ่านมอเตอร์ จึงเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและใช้พลังงานที่ประหยัด

กับคำถาม...ระยะแค่ไหนถึงจะเหมาะกับรถไฟความเร็วสูงคำตอบคือโดยทั่วไปในยุโรปหรือญี่ปุ่น ระยะทางอยู่ที่ 300-1,000 ก.ม. จะได้รับความนิยม ใช้เวลา 3 ชั่วโมงกว่า ครอบคลุมทั้งโคราช หนองคาย หาดใหญ่ ถ้าเกิน 1,000 ก.ม. จะเป็นเครื่องบินเพราะใช้เวลามาก สถิติข้อมูลทั่วโลก รถไฟความเร็วสูงดึงมาร์เก็ตแชร์แข่งกับเครื่องบิน-รถยนต์ได้

"รถไฟความเร็วสูงสร้างมูลค่าเพิ่มที่สถานีได้ทุกจังหวัดเท่ากับเพิ่มจีดีพีให้ทุกจังหวัด แต่ถ้าเป็นเครื่องบินจะอยู่บนอากาศ ทำอะไรไม่ได้"

เปิดข้อมูลผลตอบแทนคุ้มค่า

ต้องสร้างความสามารถในการแข่งขัน "...ทุกประเทศคิด แต่ผมว่าประเทศไทยน่าจะลุยได้ก่อน ถ้าเรามีแผนที่ชัดเจน"

สิ่งสำคัญที่จะต่อยอดได้คือ สร้างโอกาสความเจริญและพัฒนาเมืองตามเส้นทางรถไฟ หากทำผังเมืองให้ดีจะมีเมืองใหม่เกิดขึ้น แบบอย่างที่ญี่ปุ่นทำประสบความสำเร็จมาแล้วตั้งแต่ปี 1964 บริหารโดยเจอาร์กรุ๊ป มีรายได้จากค่าตั๋ว 67% รายได้เชิงพาณิชย์ 33% เป็นการหารายได้เพิ่มจากรถไฟ ไม่ใช่ค่าตั๋วอย่างเดียว

ข้อมูลเชิงตัวเลข ความคุ้มค่าโครงการ เช่น สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ EIRR อยู่ที่ 13.38% กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 15.81% กรุงเทพฯ-โคราช 12.89% กรุงเทพฯ-หนองคาย 12.21%

กรุงเทพฯ-หัวหิน 10.33% กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี 12.26% กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ 12.44% และกรุงเทพฯ-ระยอง 16.09%

ตอบโจทย์โปรเจ็กต์เพื่อคนท้องถิ่น

คำถามสำคัญ "คนท้องถิ่นได้อะไร" คำตอบคือ รถไฟความเร็วสูงเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มที่จะตามมา ทั้งนี้ทั้งนั้นแต่ละจังหวัดต้องสร้างแคแร็กเตอร์ของตัวเองว่าต้องการอะไร

"...หนองคาย อุดรธานี ต้องการเป็นฮับอะไร ขอนแก่นจะเป็นเมืองการศึกษาได้ไหม ต้องมองถึงเศรษฐกิจที่ตามมา ในหลายประเทศอย่างจีน จีดีพีเพิ่มขึ้นเพราะรถไฟความเร็วสูง"

ยังมีตัวอย่างที่น่าสนใจใกล้ตัวว่า ไปกินร้านแดงแหนมเนืองที่หนองคาย เจ้าของร้านถามว่า รถไฟความเร็วสูงเมื่อไหร่จะมา จะส่งไปขายที่เมืองจีนและกทม. เขาไม่สนใจค่าตั๋ว เขามองเป็นเครื่องมือทำมาหากิน

"ชัชชาติ" เปิดมุมมองด้วยว่า อีก 10 ปีข้างหน้าเมื่อน้ำมันราคา 200 เหรียญ/บาร์เรล เราจะอยู่กันยังไง ถ้าไม่ลงทุนตอนนี้

"โครงสร้างค่าตั๋วจะมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น ค่าพนักงาน ถ้าดูว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คนในพื้นที่ ท่องเที่ยว โอท็อป เกษตรกร ลงลึกไปถึงประชาชน ถึงรากหญ้าในพื้นที่ได้รับประโยชน์ทั้งหมด"

จีดีพีประเทศโตปีละ 1%

ปัจจุบันการใช้บริการรถไฟคนยังมองว่าเป็นหลังบ้าน ไม่มีใครชอบไม่ค่อยมีใครใช้ แต่ไฮสปีดเทรนจะพลิกโฉมประเทศไทย เพราะจะเป็นศูนย์กลางเมืองใหม่ จะเป็นตัวโชว์หน้าร้าน

"อย่างที่ อ.พันศักดิ์ (วิญญรัตน์) บอก รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่ขายแต่ตั๋ว ต้องขายเอ็กซ์พีเรียนซ์ ขายประสบการณ์ เช่น สินค้าโอท็อปมาใช้กับรถไฟได้ พัฒนาต่อยอดแพ็กเกจจิ้งสวย ๆ เลียนแบบโมเดลเบนโตะ อาหารปิ่นโตของญี่ปุ่น จึงไม่ใช่แค่การเดินทางแต่จะเป็นไลฟ์สไตล์"

ในอนาคตเมื่อแจ้งเกิดไฮสปีดเทรนครบถ้วน มั่นใจได้ว่า ประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับทางตรงคือ "จีดีพี" อย่างน้อยปีละ 1% ในขณะที่สร้างครั้งเดียวแต่อยู่ได้ 50-100 ปี จึงวิเคราะห์ได้ว่าสามารถเก็บเกี่ยวจีดีพีปีละ 1% ต่อไปเรื่อย ๆ นี่คือ Growth Engine สร้างงาน สร้างเศรษฐกิจในประเทศในระยะยาว

//www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1369028318




 

Create Date : 26 พฤษภาคม 2556
0 comments
Last Update : 26 พฤษภาคม 2556 5:30:11 น.
Counter : 1201 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


tudong
Location :
นครปฐม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




๏หนึ่ง..อภัยพ่อแม่ แม้...........ผิดพลาด
สอง....มิตรสหายจะขาด.........มิได้
สาม....คนชิดใกล้ ญาติ.........โอนอ่อน
สี่.......อย่าลืมตนเองไซร์........พลาดพลั้ง ควรอภัย ๚–
Friends' blogs
[Add tudong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.