บางครั้งโลกแห่งความจริงไม่สวยงาม...เฉกเช่นความฝัน แต่รู้สึกและจับต้องได้
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
4 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
หลักปฏิบัติ(2)…อริยสัจ จากพระโอษฐ์






อริยสัจจากพระโอษฐ์


ครึ่งศตวรรษก่อน ท่านพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกษาจารย์, เงื่อม อินทปัญโญ) เป็นภิกษุรูปแรกที่เล็งเห็นความสำคัญของพุทธวจน ถึงกับขนาดลงทุนลงแรง ใช้เวลาทั้งหมดยี่สิบกว่าปีในการ “สกัด” เฉพาะส่วนที่เป็นพุทธวจนออกมาจากสิ่งที่เรียกกันว่าพระไตรปิฎก โดยบรรจงแปลจากฉบับบาลีของประเทศต่างๆ เทียบเคียง เพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ที่สุดด้วยศรัทธาอันไม่หวั่นไหวในพระผู้มีพระภาค ท่านพุทธทาสและสหายธรรมของท่านทำงานชิ้นนี้สำเร็จออกมาเป็นผลงานที่เรียกว่า “ชุดจากพระโอษฐ์” ซึ่งมีทั้งหมด ๕ เล่ม คือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลายปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ และ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์

ผลงานชุดนี้ มิใช่ผลงานประพันธ์ของท่านพุทธทาส แต่เป็นผลงานแปลพุทธวจนโดยสกัดจากต้นฉบับบาลีในที่ต่างๆตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ ท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล รวมถึงคณะสงฆ์ คณะศิษย์วัดนาป่ าพง ได้ร่วมกันรวบรวมพุทธวจนล้วนๆ จากพระสูตรทั้งหมดที่มีอยู่ในบาลีสยามรัฐพร้อมจัดหมวดหมู่ธรรมะ โดยใช้ฐานข้อมูลเดิมที่ท่านพุทธทาสได้ตั้งต้นทำไว้ คือหนังสือชุดจากพระโอษฐ์ทั้ง ๕ เล่ม โดยคงรักษารูปแบบการจัดลำดับ หมวดธรรมที่ท่านพุทธทาสได้จัดไว้อย่างดีแล้ว รวมไปถึงการเสริมพระสูตรในหมวดธรรมเดียวกัน (เช่น หมวดของอริยสัจ ๔)ที่ยังดึงออกมาไม่หมด ตรวจแก้คำผิด เชิงอรรถที่คลาดเคลื่อนและข้อสงสัยที่ยังเคยคงเอาไว้ซึ่งคณะสงฆ์ได้ค้นคว้าจนพบคำตอบแล้ว

พร้อมกับรวบรวมพุทธวจนที่เป็นหลักธรรมหมวดอื่นๆอีก ที่ยังหลงเหลือเช่น อนุปุพพิกถา, ภาวะของนิพพานฯลฯ ที่ยังไม่ได้รวบรวมไว้ ออกมาให้ครบทั้งหมด นำมาบรรจุเพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกทั้งยังจะจัดทำพุทธวจนของพระองค์ทั้งหมด ออกมาเป็นฉบับเทียบเคียงทั้งภาษาบาลีและภาษาไทยอยู่ในเล่มเดียวกันเพื่อความสะดวกแก่ผู้ต้องการศึกษาอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันได้ทำในระดับของการตรวจแก้ฉบับเดิมแล้วเสร็จไป ๒ เล่มคือ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ และอริยสัจจากพระโอษฐ์

คณะศิษย์จึงได้ปวารณาที่จะจัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ ซึ่งการทำงานตรงนี้เป็นผลเกิดจากการได้เห็นความทุ่มเทแรงกายแรงใจของท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ เป็นหลัก อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากบรรดาพุทธบริษัทที่ได้เห็นคุณค่า และความสำคัญของพุทธวจนในความหมายที่ถูกต้อง โดยทั้งหมดนี้ มีจุดประสงค์เพียงข้อเดียวเท่านั้น นั่นคือ เพื่อสร้างเหตุปัจจัยที่ถูกต้องตรงตามพุทธประสงค์ ตรงตามพุทธบัญญัติ ในการสร้างความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ด้วยการสร้างความชัดเจน และมั่นคงในพุทธวจนนี้ ถือเป็นการอัญเชิญพระพุทธองค์กลับมาสู่จิตใจชาวพุทธอีกครั้งหนึ่ง……คัดคำนำบางส่วน จากหนังสืออริยสัจจากพระโอษฐ์ จัดทำโดย มูลนิธิพุทธโฆษณ์ (เวบไซด์ //www.buddhakos.org) ร่วมกับ คุณณัฏฐนันท์ ฉวีวงษ์ และศิษย์วัดนาป่าพง


หลักปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นนั้นต้องยึดแก่นแกนจากอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งอิรยสัจจากพระโอษฐ์ นี้ได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ ทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้ เพื่อนำไปประยุกต์และปฺฏิบัติให้ตรงทิศตรงทาง สำหรับพุทธบริษัทที่มีความสนใจเกี่ยวกับธรรมะของพระพุทธองค์ควรที่จะได้ทำการศึกษาเป็นอย่างยิ่งดังคำตรัสของพระพุทธองค์ที่ว่า(ทัสนะ)

ทำที่สุดทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้นเป็นไปไม่ได้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ ข้าพเจ้า ไม่รู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจคือทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์แล้วข้าพเจ้าก็จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้” ดังนี้ : ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าจักทำห่อด้วยใบแห่งไม้สีเสียด หรือใบแห่งไม้สรละ หรือใบแห่งไม้มะขามป้อม แล้วจักใส่น้ำหรือน้ำตก
จากต้นตาล แล้วนำไปได้” ดังนี้ : ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ;

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจคือทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แล้วข้าพเจ้าก็จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้” ดังนี้ : ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุ ท. ! ส่วนผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้ารู้เฉพาะตามเป็นจริงซึ่งอริยสัจคือทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แล้วข้าพเจ้าก็จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้” ดังนี้ : ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าจักทำห่อด้วยใบบัว หรือใบปลาสะ หรือใบยางซายแล้วจักใส่น้ำ หรือน้ำตกจากต้นตาล แล้วนำไปได้” ดังนี้ : ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ;

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้ารู้เฉพาะตามเป็นจริงซึ่งอริยสัจคือทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ซึ่งอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แล้วข้าพเจ้าก็จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้” ดังนี้ : ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้.” ดังนี้.

ดาวน์โหลด อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ

ดาวน์โหลด อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย มรรค




Create Date : 04 มกราคม 2554
Last Update : 12 มกราคม 2554 17:48:49 น. 2 comments
Counter : 1719 Pageviews.

 
ขอกราบอนุโมทนาครับ สาธุ


โดย: shadee829 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:0:28:45 น.  

 
___/|\\___


โดย: Peace IP: 61.7.159.19 วันที่: 19 มีนาคม 2554 เวลา:8:46:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

atruthoflife10
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




กลับคืนสู่ธรรมชาติ ด้วยสุขภาพที่ดีกว่า

ไตรลักษณ์
เกิดขึ้น 26 พ.ย.2553

ดับไป....???

Friends' blogs
[Add atruthoflife10's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.