“ปาฏิหาริย์ไม่ใช่การเดินบนน้ำ หรือบินอยู่บนอากาศ แต่ปาฏิหาริย์คือการเดินอยู่บนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว”

ติช นัท ฮันท์
376 .. เสียงอ่านเพชรพระอุมา-ภาคสมบูรณ์ # 37 (226 - 240)











เสียงอ่านเพชรพระอุมา–ภาคสมบูรณ์ # 37

ลำดับที่ 226 - 240







ที่มาของเสียงอ่านเพชรพระอุมา ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่





ขอเชิญฟังเสียงอ่านนวนิยาย เพชรพระอุมา – ภาคสมบูรณ์

ลำดับที่ 226 – 240 ค่ะ






ลำดับที่ 226 - 228






ลำดับที่ 229 - 231






ลำดับที่ 232 - 234






ลำดับที่ 235 - 237






ลำดับที่ 238 - 240






ขอเชิญติดตามตอนต่อไปในลำดับที่ 38 ค่ะ














อิ น ไ ซ ด์ เ พ ช ร พ ร ะ อุ ม า

จากนิตยสาร จักรวาลปืน ฉบับที่ 292
ต อ น ที่ 1/3

โดย........ พนมเทียน

**********









"พล็อต" หรือที่มาของโครงเรื่อง


การจะเขียนนวนิยายขึ้นมาสักเรื่องหนึ่งก็ต้องมี "โครงเรื่อง" หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า "พล็อต" นั่นเอง เรื่อง เพชรพระอุมา ก่อนจะลงมือเขียน ก็ต้องมีการวางโครงเรื่องเหมือนกัน นอกจากโครงนอกที่หยาบที่สุด คือ โครงใน ของเรื่องราวการผจญภัยในป่า ของพรานคนหนึ่ง



ที่นี้ พรานป่าคนนั้น รวมทั้งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในป่าเหล่านั้น จะดำเนินไปอย่างไร นี่คือจุดสำคัญของเรื่อง ส่วนประกอบอันเป็นรายละเอียดต่างๆ ที่จะมาสนับสนุนการดำเนินเรื่องไปนั้น มีอยู่ครบถ้วนเต็มเปี่ยมแล้ว ศิลป์ของการล่าสัตว์ และพื้นภูมิประเทศในป่าดงพงไพร ที่ตนเองเคยผ่านมาก่อน พล็อตของเรื่องนี้ซิ จะเอายังไง ก่อนที่จะลงมือเขียน



เมื่อยังวัยรุ่น ตอนเป็นนักเรียนอักษรศาสตร์ ผมได้ไปพบกับหนังสืออ่านประกอบบทเรียนของญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งท่านเก็บเอาไว้ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนในแผนกภาษา ของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (สมัยที่ผมเรียนอักษรศาสตร์อยู่ในปี 2491-2492 นั้น เขาเลิกใช้หนังสือเล่มนี้กันแล้ว) ชื่อเรื่อง KING SOLOMON'S MINES เขียนโดยนักประพันธ์อังกฤษ คือ SIR H. RIDER HAGGARD มีเนื้อหาสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับการเดินผจญภัยในป่าของพรานผิวขาวผู้หนึ่ง ซึ่งมีผู้จ้างวานให้ไปติดตามคนหายก่อนการออกเดินทางนั้น มีคนพื้นเมืองคนหนึ่งมาขออาสาสมัครเป็นคนใช้ติดตามไปด้วย และผลที่สุดเมื่อไปถึงดินแดนหลงสำรวจในป่าลึกนั้น ก็ปรากฏว่า เจ้าคนใช้ที่สมัครติดตามมานั้น แม้ที่จริงก็คือรัชทายาทของนครลับแล หลงสำรวจนั้น พรานนำทางกับคณะผู้ติดตามคนหาย ก็เลยช่วยกันต่อสู้กอบกู้บัลลังก์จากทรราช ให้เจ้าคนใช้คนนั้นได้สำเร็จ พร้อมทั้งได้พบกับขุมทรัพย์ใหญ่แห่งนครนั้น



โครงเรื่องเพียง 5-6 บรรทัดแค่นี้เองแหละครับ (เฉพาะในภาคหนึ่ง) ที่ผมได้เอามาจากแนวโครงเรื่องเดิมของคิง โซโลมอนส มายน์ส ของ เซอร์ แฮกการ์ด เพราะมันเป็นเค้าโครงเรื่องที่ดีมากในการจะนำมาเขียนถึงพฤติกรรม หรือปฏิบัติการเดินป่าของพรานในนวนิยายที่กำลังจะเขียนขึ้น เพราะจะทำให้พล็อตเรื่องมีจุดหมายที่แน่นอนลงไป ส่วนหน้าที่ในการสร้างบรรยากาศให้เป็นป่าแบบไทยความรู้สึกนึกคิด สิ่งแวดล้อมต่างๆ ของเรื่องเป็นหน้าที่ของผมเองที่จะต้องนำมาประสานกันให้กลมกลืนหมดจด



ผมเคยทราบมาก่อนเหมือนกันว่า บทประพันธ์ของ แฮกการ์ด เรื่องนี้ นักแปลรุ่นพ่อคือ สมุทร ศิริไข ได้เคยแปลไว้ก่อนแล้ว และท่านผู้นี้ก็ใช่ใครอื่น แท้ที่จริงก็คือ บิดาของสุมิตร ศิริไข ผู้ช่วยบรรณาธิการของ นิตยสารจักรวาลปืน ในขณะนี้นั่นเอง ซึ่งเราเคยเป็นเพื่อนเรียนหนังสือมาด้วยกันแต่เล็กๆ จนกระทั่งโตขึ้น จับผลัดจับผลูอย่างไรไม่ทราบ เขาก็ได้มามีโอกาสร่วมงานอยู่ในกองบรรณาธิการของผม ปัจจุบันนี้ผมเรียกคุณพ่อเขาว่า "น้าหมุด" และ "น้าหมุด" คนนี้แหละ เป็นคนแรกที่สนับสนุนให้ผมก้าวเข้ามาสู่วงการนักเขียนเป็นครั้งแรก เมื่อ 30 กว่าปีก่อนนี้ โดยนำเอาเรื่อง ปฐพีเพลิง ของผมไปนำลงในนิตยสาร เพลินจิตต์ ในยุคนั้น แต่ผมก็ไม่เคยมีโอกาสได้อ่านเรื่องแปลเรื่องนี้ของท่าน (ชื่อที่ท่านแปลกลับมาเป็นภาษาไทยคือ "สมบัติพระศุลี") ผมดันไปอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ อันเป็นหนังสือประกอบบทเรียนของญาติผู้ใหญ่ (คุณสุวรรณา คุปตาสา) ตั้งแต่สมัยยังเด็กๆ อยู่ดังได้กล่าวแล้ว และท่านคงไม่สงสัยนะครับ เพราะภาษาอังกฤษของผมสบายมาก มาตั้งแต่อายุเพียง 14 ปีแล้ว ซึ่งก็จำพล็อตเรื่องคร่าวๆ ดังกล่าวนี้ได้มาตลอด จะว่าผมเขียน เพชรพระอุมาภาคแรก ขึ้นมาโดยกอปปี้เค้าโครงเรื่องนี้ ผมก็ยอมรับ แต่รายละเอียดของโครงภายในและปลีกย่อยการดำเนินเรื่องต่างๆ นั้น เป็นของผมเองโดยบริสุทธ์ เอาแต่โครงเรื่องสั้นๆ ของเขามาเท่านั้น ว่าจุดมุ่งหมายของเรื่องอยู่ในแนวทางนี้ แนวทางอย่างที่ได้เขียนออกมาแล้วมีเนื้อหาแค่ 4-5 บรรทัดนี่แหละ



บทประพันธ์เรื่อง คิง โซโลมอน'ส มายน์ส เป็นเรื่องที่ไม่ยาวครับ หนาแต่ปกแข็งเล่มเดียว ซึ่งครั้งแรก ผมก็กะ (อย่างที่บอกไว้ในฉบับก่อน) ว่าจะเขียนออกมาเป็นปกแข็งเพียง 1 เล่ม หรือไม่เกิน 2 เล่มเท่านั้น แต่แล้วในที่สุดโครงเรื่องมันก็กว้างใหญ่ไพศาลเป็นจำนวนถึงปกแข็ง 53 เล่ม ดังได้เรียนแล้ว



เป็นอันว่า ท่านกระจ่างแจ้งละว่าโครงเรื่องย่อๆ เฉพาะภาคหนึ่งนั้น ผมได้มาจากไหน คราวนี้ ว่าถึงโครงเรื่องละเอียด ที่นำเรื่องให้ขยายกว้างไกลออกไปลิบลับ สมมติว่า ท่านได้อ่านนิยายผจญภัยของ แฮกการ์ด เรื่องนี้มาก่อนแล้ว (ถ้าหาต้นฉบับเดิมไม่ได้ ผมก็แนะให้ไปหาเรื่องแปล สมบัติพระศุลี ตามห้องสมุดต่างๆ อ่านดู) ท่านจะเห็นได้ชัดเจนว่า นอกจากพล็อตเรื่องสั้นๆ นี้แล้ว อย่างอื่นๆ จะไม่มีอะไรใกล้เคียงกันเลย แม้กระทั่งลักษณะอุปนิสัยของตัวละครในเรื่องทุกตัว ฉาก, สถานที่, พฤติกรรมที่มันเกาะเกี่ยวประสานกัน ในต้นฉบับเดิมนั้น คณะเดินทางไม่มีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย เป็นเรื่องผจญภัยล้วนๆ ในกาฬทวีป ของผมก็สร้างตัวเอกฝ่ายหญิงของเรื่องขึ้นมา คือ ม.ร.ว.หญิง ดาริน วราฤทธิ์ เพื่อให้ร่วมเดินทางเป็น "ขมิ้นกับปูน" หรือ "คู่ปรับสำคัญ" ของพรานนำทางไปด้วย และตัวคนพื้นเมืองลึกลับที่มาสมัคร เป็นคนใช้ของคณะเดินทาง ในต้นฉบับเดิมของเรื่องเก่า จะไม่มีบทบาทอะไรมากนัก แต่ท่านที่อ่านนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมาแล้วนั้น ท่านคงจะรู้จักแงชาย หรือ จักราช ดี โดยไม่ต้องอธิบายเปรียบเทียบอะไรมาก ว่าแพรวไปด้วยกลเม็ดเด็ดพรายขนาดไหน เชือดเฉือนหักเหลี่ยมเล่นเชิงกับ รพินทร์ อยู่ในทุกบททุกตอน ทำท่าจะเป็นตัวเอกสำคัญกว่าตัวรพินทร์เองเสียอีก ในนิยายเรื่องนี้ เหมือนมี "พระเอก" อยู่สองคน แงชายจะไม่ดูว่าเต็มไปด้วยเล่ห์ไหวพริบ เก่งกาจ น่ารักน่าชัง ถ้าหากไม่มีตัวรพินทร์ และแม้รพินทร์เอง ก็จะไม่เป็นพรานป่า ระดับ "จอมพราน" ไปได้เลย ถ้าหากไม่มีแงชายมาเป็นตัวช่วยเสริมบทให้ และท่านผู้อ่านบางท่านอาจชอบ "แงชาย" มากกว่ารพินทร์เสียอีก ดูคล้ายๆ กับว่า ไม่ว่าจะฝีมือชั้นเชิงเขาเหนือรพินทร์ไปเสียหมดทุกอย่าง แต่แท้ที่จริงแล้ว เขายังด้อยกว่าในส่วนลึกๆ ซึ่งในเนื้อหาของเรื่อง ท่านผู้อ่านคงจะดูดซับรับจินตนาการ ที่ผมเจตนาจะให้เป็นไปเช่นนี้ได้อยู่แล้ว



เมื่อได้โครงสร้างสำคัญของเรื่อง และโครงสร้างส่วนประกอบอื่นๆ ครบถ้วนแล้วผมก็เริ่มลงมือเขียนนิยายเรื่องนี้ ท่านอาจสงสัยต่อไปอีกว่า เรื่องเกี่ยวกับป่าดงพงไพร หรือการเดินป่า ผจญกับสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ นั้น ผมไปเอามาจากไหน ?
อันนี้แหละครับ ที่ผมจะเปิดเผยให้ทราบเดี๋ยวนี้



ติดตามอ่านอินไซด์ เพชรพระอุมา ตอนที่ 2/3 ได้ในลำดับถัดไป












ขอขอบคุณ "พนมเทียน" เจ้าของผลงาน "เพชรพระอุมา"

ขอขอบคุณ ณ บ้านวรรณกรรม ผู้จัดพิมพ์วรรณกรรมเรื่องนี้

ขอขอบคุณ ห้องสมุดคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ผู้จัดทำเป็นหนังสือเสียง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ...เว็บแฟนแท้แท้เพชรพระอุมา และ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขอขอบคุณภาพจากทุกเว็บที่เกี่ยวเนื่องกับเพชรพระอุมา

ขอขอบคุณไลน์และอีโม จากบล็อกชมพร / บล็อกญามี่

และขอขอบคุณ คุณ treetree6969 ผู้จัดทำวิดีโอนี้



สาขา Book Blog


ร่มไม้เย็น ค่ะ




Create Date : 17 กันยายน 2556
Last Update : 17 กันยายน 2556 9:46:31 น. 0 comments
Counter : 3491 Pageviews.

ร่มไม้เย็น
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 127 คน [?]







เริ่มเขียน Blog เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2551


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยม เมื่อเวลา 18.15 น.



Group Blog
 
<<
กันยายน 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
17 กันยายน 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ร่มไม้เย็น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.