“ปาฏิหาริย์ไม่ใช่การเดินบนน้ำ หรือบินอยู่บนอากาศ แต่ปาฏิหาริย์คือการเดินอยู่บนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว”

ติช นัท ฮันท์

425 .. เสียงอ่านเพชรพระอุมา-ภาคสมบูรณ์ # 60 (571-585)










เสียงอ่านเพชรพระอุมา–ภาคสมบูรณ์ # 60

ลำดับที่ 571-585






ที่มาของเสียงอ่านเพชรพระอุมา ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่






ขอเชิญฟังเสียงอ่านนวนิยาย เพชรพระอุมา – ภาคสมบูรณ์

ลำดับที่ 571-585 ค่ะ






ลำดับที่ 571-573






ลำดับที่ 574-576






ลำดับที่ 577-579






ลำดับที่ 580-582






ลำดับที่ 583-585






ขอเชิญติดตามตอนต่อไปในลำดับที่ 61 (ตอนจบค่ะ)






















สถานที่ที่กล่าวถึงในเพชรพระอุมาภาคแรก








สถานีกักสัตว์ของบริษัทไทยไวล์ดไลฟ์ เป็นสถานีเตรียมสัตว์ป่าส่งออกนอกประเทศ ตั้งอยู่ในเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 15 ไร่ ภายในกำแพงคอนกรีตแข็งแรงกั้นรอบ ประตูเหล็กขนาดใหญ่สองบาน แบบเปิดออก มีอาคารทันสมัย และกรงสัตว์มากมายล้อมรอบ




ขุนเขาพระศิวะ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสันเขาตะนาวศรี




ทุ่งพลายงาม สถานที่ที่รพินทร์ ไพรวัลย์ตอนยังเป็นพรานฝึกหัด ไปล่าเลียงผาอยู่แถว ๆนั้น




หนองน้ำแห้ง แต่เดิมก็เป็นใจกลางดงแห่งหนึ่งนั่นเอง เพิ่งจะกลายเป็นหมู่บ้านย่อยๆขึ้นมาก็โดยฝีมือของรพินทร์เอง ซึ่งเขาเห็นว่าทำเลเหมาะ จึงมาสร้างแคมป์ถาวรขึ้น สำหรับเป็นสถานที่พักพิงในระหว่างตระเวนดง แล้วก็ขยับขยายมาเป็นสถานีกักสัตว์ปลูกสร้างบ้านพักขึ้นในเวลาต่อมา พวกบรรดาชาวป่าและพรานทั้งหลายที่ท่องเที่ยวผ่านไปพลอยเห็นดีด้วย จึงรวมตัวกันทยอยอพยพมาตั้งหลักแหล่งถาวร กลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆขึ้น โดยยกย่องให้
รพินทร์เป็นนายบ้านด้วยความนับถือเคารพ จากอัธยาศัยไมตรีจิต และความเผื่อแผ่กว้างขวางของเขา พวกตระเวนป่าพื้นเมืองทั้งหลายจึงเต็มไปด้วยความรักใคร่เลื่อมใส
หมู่บ้านนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการผจญภัยสู่ป่าลึกทั้งสองภาค (ไม่รู้ทำไมต้องมาเริ่มที่หนองน้ำแห้งด้วย โดยเฉพาะในการเดินทางครั้งที่สอง ) (มีสถานที่จริงชื่อ "น้ำแห้ง" ในจังหวัดกาญจนบุรี)




ห้วยกวาง แงซายบอกรพินทร์ตอนมาสมัครเป็นคนใช้ในคืนสุดท้ายที่หนองน้ำแห้ง......"ถูกแล้วครับ ท่านผู้กอง ท่านกับผมเคยพบกันมาครั้งหนึ่งแล้ว ที่ห้วยกวาง ในวันก่อนหน้าที่กองโจรกะเหรี่ยงจะบุกเข้าทำลายค่ายตำรวจตระเวนชายแดนหนึ่งวัน"




เขาโล้น จุดพักวันแรกของการเดินทางจากหนองน้ำแห้ง ใช้เวลาเดินทาง 6 - 7 ชั่วโมง (ไพรมหากาฬ เล่ม 1 หน้า 378) จากเขาโล้นไปโป่งกระทิง ใช้เวลา 12 - 15 ขั่วโมง




ค่ายหมีดำ ค่ายตชด.สมัยรพินทร์ยังรับราชการเป็นตำรวจชายแดน เป็นค่ายที่ร้อยโทแงซายบุกเข้าโจมตีจนค่ายแตก



ทุ่งผีหลอก อยู่ด้านหลังเขาโล้น รพินทร์พาไชยยันต์เดินล่าวัวแดง




เขาจ้าว หรือ "เขาหัวแร้ง" ที่ระบุไว้ในลายแทง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหล่มช้าง (ไพรมหากาฬ เล่ม 3 หน้า 871-872) แต่ในดงมรณะเล่ม 3 หน้า 2686 บอกว่าอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ?









เขาหัวแร้ง เป็นจุดเริ่มต้นในลายแทงมังมหานรธา กะเหรี่ยงหล่มช้างเรียก เขาจ้าว ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหล่มช้าง มองจากหล่มช้างจะเห็นลักษณะเหมือนส่วนคอกับหัวแร้ง ( คำพูดของรพินทร์ ดงมรณะ เล่ม 2 หน้า2289)




ทุ่งช้าง จุดนัดพบตอนคณะเดินทางแยกไปตามล่ามหิงษา นัดพบกองเกวียนที่โป่งผีสิง แต่ถ้าตามตอนนี้กองเกวียนก็น่าจะไปพักที่ทุ่งช้าง แต่ถ้าไม่ทันที่ทุ่งช้างก็ไปเจอกันที่ป่าหวาย แต่สุดท้ายไม่ทันไปก็โดนน้ำป่าซัดกระจัดกระเจิงเสียก่อน ทุ่งช้าง(อยู่เลยห้วยยายทอง) อยู่ระหว่างโป่งผีสิง กับป่าหวาย (ไพรมหากาฬ เล่ม 3 หน้า 1220 ไพรมหากาฬ เล่ม 4 หน้า 1260 )




โป่งกระทิง ตั้งอยู่ในหุบ ห่างจากเขาโล้น 12 -15 ชั่วโมง อยู่ทางทิศเหนือของหนองน้ำแห้ง (ไพรมหากาฬ เล่ม 1 หน้า 21) เป็นสถานที่ที่รพินทร์พบนายชด ประชากรเป็นครั้งสุดท้าย และพักอยู่ที่นั่น 7 วันเพื่อเกมล่ากระทิง และที่นี่เป็นที่ที่เสียลูกหาบไปสองคน (อินจากไอ้แหว่ง และเลินจากโขมดดง...)
ตำแหน่งที่ตั้งแค้มป์ เป็นบริเวณที่ราบสูงตอนหนึ่งในระหว่างส่วนลาดเชิงเขาสองลูกมาบรรจบกัน ไม่มีธารน้ำไหลผ่าน แต่มีแอ่งหรือที่ชาวบ้านเรียก "พุ" แห่งหนึ่ง อยู่ต่ำกว่าระดับที่ตั้งแค้มป์ลงไปประมาณ 100 เมตร แอ่งนั้นจะมีน้ำซึมขังไว้สำหรับพวกสัตว์หรือพวกเดินป่าได้อาศัยดื่มกินอยู่ตลอดทั้งปี มีเนื้อที่กว้างประมาณ 1 ไร่ ในหน้าแล้งอันเป็นฤดูกันดารน้ำ ส่วนที่ขังน้ำลึกที่สุดมีระดับแค่หัวเข่าเท่านั้น (ไพรมหากาฬ 2 หน้า 430-431)




พุบอน อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโป่งกระทิง ห่างไป 3 ชั่วโมง ภูมิประเทศเป็นช่องเขาติดต่อกับทุ่งหญ้าเล็กๆ มีลำธารไหลผ่าน (ถ้าเดินต่ออีก 3 ชั่วโมงก็จะถึง ผาเยิงของโต๊ะถะ) เป็นสถานที่บุญคำกับ 'อิน' โดนไอ้แหว่งถล่มตอนเอาหนังไอ้กุดไปส่งที่หนองน้ำแห้งกลับมา
(ไพรมหากาฬ 2 หน้า543)




ผาเยิง อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโป่งกระทิง 6 ชั่วโมงเดิน (เส้นทางเดียวกับพุเตย ซึ่งแค่ 3 ชั่วโมง) หมู่บ้านที่โดนไอ้แหว่งถล่ม ตาย 8 ศพ โต๊ะถะเป็นหัวหน้า ต่อมาย้ายไปอยู่ห้วยแม่เลิง (ไพรมหาหากาฬเล่ม 2 หน้า 770)




ตะเคียนล้ม อยู่ใกล้ผาเยิง 6 ชั่วโมงจากโป่งกระทิงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ฝรั่งนักสำรวจชาวอเมริกัน 3 คน (สองคนเป็นนายแพทย์อีกคนเป็นทหารจัสแม็ค หน้า771) โดนโขลงไอ้แหว่งถล่มก่อนถล่มผาเยิง (ไพรมหาหากาฬเล่ม 2 หน้า 770)


ตะเคียนล้มมีกล่าวอีก 2 ที่ ตอนแงซายเล่าเรื่องเจอโขมดดงที่โป่งผีสิง จนต้องรีบโกยอ้าวไปตั้งหลักที่ตะเคียนล้ม (ไพรมหากาฬเล่ม 3 หน้า 919) ตรงนี้อยู่เหนือโป่งน้ำร้อนเลยห้วยยายทองไปแล้ว


กับอีกตอน รพินทร์บอกเจอมหิงสาที่ตะเคียนล้มเขตติดต่อกับหล่มช้าง(ไพรมหากาฬเล่ม 1 หน้า 239 - 240)


ตะเคียนล้มทั้ง 3 แห่งที่กล่าว ตรวจสอบระยะทางและเส้นทางแล้วไม่น่าจะเป็นที่เดียวกัน




ทับกวาง
มีสถานะเป็นตำบล อยู่ในฝั่งไทย สถานที่ที่ฝรั่งสามคนเริ่มต้นออกเดินทาง (ไพรมหาหากาฬเล่ม 2 หน้า 771) ทับกวางยังอยู่ในเขตไทย




โป่งน้ำร้อน สถานที่นี้ที่เดียวที่ปรากฏทั้งสองภาค ในภาคแรกคณะรพินทร์ไปพักหนึ่งคืนขณะตามล่าไอ้แหว่ง อยู่ในเส้นทางระหว่างโป่งกระทิงกับหุบชะมดก่อนถึงห้วยยายทอง ส่วนภาคหลังทั้งคณะรพินทร์ (ยิงแมนอี๊ตเตอร์) และคณะเชษฐา (ทำสงครามกับไอ้งาดำและมันตรัยปรากฏตัว) ต่างมาพัก และเป็นสถานที่ถิ่นหมี ลุงของจันก็มาตายด้วยหมีที่นี่


โป่งน้ำร้อนในภาคแรกมีธารน้ำไหล แม้จะเป็นร่องน้ำแห้งแต่ก็มีตะไคร่จับอยู่ อากาศหนาวเย็น ส่วนในภาคหลังเป็นป่าหิน ค่อนข้างแห้งแล้ง เป็นบ่อน้ำซับแห่งดียวในละแวกนี้ อากาศอบอุ่น









หล่มช้าง ในสมัยเมื่อสี่ร้อยปีก่อนยังไม่มี ตั้งอยู่บนไหล่เขา ไม่เกิน20 หลังคาเรือน เป็นกะเหรี่ยงดง แทบไม่มีโอกาสติดต่อกับโลกภายนอก ทำไร่ข้าวโพดกับไร่กล้วย หัวหน้าเป็นชายกลางคนอายุประมาณ 50 ปี (ไพรมหากาฬ เล่ม 3 หน้า 876) อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของหนองน้ำแห้ง (ดงมรณะ เล่ม 2 หน้า 2174)


หล่มช้างพรมแดนติดกับพม่า (ไพรมหากาฬ เล่ม 1 หน้า 22 บรรทัดที่ 13) = หล่มช้างอยู่ในเขตไทย ??




ดอยหมี แงซายเล่าให้ฟังว่าเคยไปเขาหัวแร้งมาก่อน แต่คนละทางกับที่มาคราวนี้ โดยตัดไปทางตะวันตกแล้วตีวกขึ้นเฉียงเหนือที่ดอยหมี ตอกทอยไต่หน้าผาชันลัดขึ้นเขาอีเก้ง นอนบนเขาอีเก้ง พอตะวันขึ้นไต่ลงอีกฟากก็ถึงเขาหัวแร้ง เขาเคยข้ามเขาหัวแร้ง ผ่านช่องเขาขาด ตัดป่าแดงไปอีกทั้งวัน แล้วเข้านรกดำอีกสี่วันสี่คืน แต่ก็ต้องถอยกลับเพราะถูกงูกัด ได้พระธุดงค์ช่วยไว้




เขาอีโก้ง สันเขาที่ไอ้เขาเกก มหิงสาที่ตามโขลงไอ้แหว่ง ขณะไต่สันเขาอีโก้ง ตอนที่รพินทร์พาคณะนายจ้างออกตามจากหุบชะมด(ไพรมหากาฬ เล่ม 3 หน้า 1026)




เขาอีโก้ เป็นเขาที่รพินทร์พาคณะหลงอ้อมไปครึ่งเขา ตอนออกจากพุเตยจะไปหล่มช้าง




นรกดำ เป็นป่าทึบที่อยู่ถัดจากเขาจ้าว ในลายแทงมังมหานรธาระบุชื่อป่าทึบนี้ว่า นรกดำ ปากทางอยู่ระหว่างหุบเขาใหญ่สองลูก ผ่านป่าแดงไป 2 วันก็เข้าเขตดงทึบ ใช้เวลาผ่านดงนี้ไม่เกิน 7 วัน




ห้วยเสือร้อง เป็นจุดที่รพินทร์พบเนวินผู้มอบลายแทงให้ อยู่ห่างจากหล่มช้างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ระยะเดินทางสองวัน และเป็นจุดเริ่มเดินทางเข้าดงมรณะในภาคสอง (ไพรมหากาฬ เล่ม 3 หน้า 874)




โป่งผีสิง ดงทึบห่างจากโป่งกระทิงไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทางเดินสิบกว่าชั่วโมง เป็นสถานที่กะเหรี่ยงเพื่อนแงซายตายแบบเดียวกับนายเลินที่ถูกโขมดดงสูบเลือด (ไพรมหากาฬเล่ม 3 หน้า 918)




หุบชะมด จุดระหว่างโป่งน้ำร้อนกับห้วยยายทอง ที่รพินทร์แยกกับขบวนเกวียนเพื่อไปสำรวจรอยไอ้แหว่ง





วังช้าง ดงเถาวัลย์ขนาดใหญ่ มีเถาเลื้อยคดเคี้ยวไปมาประสานเกี่ยวกันราวกับโครงอะไรสักอย่างที่มนุษย์ประดิษฐ์ไว้ พื้นราบโล่งเตียนเป็นเวิ้งถ้ำ ไม่มีต้นไม้ชนิดอื่นแซม เบื้องบนปกคลุมไปด้วยหลังคาใบเถาวัลย์ แต่ละตอนของพื้นที่เบื้องล่างนั้นมีลำเถาวัลย์ขึ้นเป็นระยะๆแบ่งอาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ให้แลดูเหมือนตรอกซอกมุมและห้องหับต่างๆ จากห้องนี้ทะลุไปห้องโน้น หรือบางทีก็เป็นทางเดินยาวตลอดพาดสลับกันไปมาราวกับเขาวงกต




ห้วยยายทอง เป็นแหล่งเสือชุม อยู่ระหว่างโป่งน้ำร้อนกับห้วยแม่เลิง อยู่ในเส้นทางระหว่างโป่งกระทิงไปป่าหวาย




ห้วยแม่เลิง ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบโล่ง(บนไหล่เขา) (ไพรมหากาฬ 4 หน้า 1516) ในระหว่างไหล่เขาใหญ่ลูกหนึ่ง รอบด้านล้อมไปด้วยทิวเขาใหญ่น้อย มีลำห้วยเล็กๆอันเป็นกิ่งแยกของทางน้ำตกจากยอดเขาใหญ่ ไหลผ่านชมรมของพวกกะเหรี่ยงที่เพิ่งจะอพยพย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ใหม่ มีอยู่ประมาณ 30 หลังคาเรือน แต่ละหลังเป็นเรือนยกพื้นสูงลิบ ฝาขัดแตะหลังคามุงแฝก มีกะไดหรือพะองสำหรับพาดขึ้นลงและสามารถชักขึ้นไปเก็บไว้บนเรือนได้ในยามกลางคืน อันเป็นธรรมเนียมของการสร้างบ้านเรือนของพวกชาวเขาที่อยู่ในดงลึกทั่วๆไป (ไพรมหากาฬ 4 หน้า 1517) ห้วยแม่เลิงอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือจากจุดที่ยิงเสือแม่ลูกอ่อน เป็นระยะทางเดินราว 3- 4 ชั่วโมง ออกเดินทาง 15.05 (ไพรมหากาฬ 4 หน้า 1516) มาถึงเวลาโพล้เพล้ (ไพรมหากาฬ 4 หน้า 1517) โต๊ะถะย้ายมาจากผาเยิง เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเพราะไอ้แหว่งถล่มหมู่บ้าน(ไพรมหากาฬเล่ม 4 หน้า 1491)








เหมืองห้วยสุด
เป็นสถานที่รพินทร์เล่าให้คณะนายจ้างฟังตอนเชษฐายิงเสือในเขตห้วยยายทอง เกี่ยวกับการฟังเสียง ว่าตอนอยู่กับหนานไพร หนานไพรไม่ได้ยินเสียงรถ แต่ได้ยินเสียงเม่นเดิน (ไพรมหากาฬเล่ม 4 หน้า 1261)




หุบหมาหอน เป็นหุบกลางแอ่งกระทะ มีเนื้อที่หลายพันตารางกิโลเมตร (ไพรมหากาฬ เล่ม 4 หน้า1644)อยู่ทางตะวันออกของสันเขาที่ผ่านห้วยแม่เลิง รพินทร์เคยผ่านมา 4 - 5 ครั้ง และติดมาลาเรียที่นี่ (ไพรมหากาฬ เล่ม 4 หน้า 1644) เคยเข้ามาตามกระทิงกับบุญคำ (ไพรมหากาฬ เล่ม 4 หน้า1647) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหุบเป็นเขานาง ข้ามเขานางก็ถึงป่าหวาย มีทางติดต่อกับภายนอกแต่รพินทร์หาไม่เจอ (มาเจอเอาตอบตามไอ้แหว่ง)




ห้วยยายแฟง สถานที่ที่รพินทร์ประจันหน้ากับ "ไอ้จ้าว" กระทิงลำบากที่หนีเข้าหุบหมาหอน ขณะนั้นรพินทร์ยิงด้วยลูกซองแฝด แล้ววิ่งหนีขึ้นต้นตะเคียน (ไพรมหากาฬ เล่ม 4 หน้า 1647)




พุตะคร้อ อยู่ทางใต้ของป่าหวาย ที่่ซึ่งรพินทร์สงสัยว่าไอ้แหว่งจะไปหลบ (ดงมรณะ เล่ม 1 หน้า 1989)




ด่านลับหุบหมาหอน ทางด่านที่เป็นทางผ่านเข้าออกระหว่างป่านอกกับหุบหมาหอน อยู่ที่น้ำตกเขานาง เป็นถ้ำใหญ่อยู่หลังม่านน้ำตก (ดงมรณะ เล่ม 1 หน้า 2075) ปากถ้ำไม่กว้างใหญ๋นัก แต่ก็ขนาดที่ช้างสองตัวเดินคู่กันผ่านเข้าออกได้อย่างสบาย (ดงมรณะ เล่ม 1 หน้า 2085)

ระดับน้ำลึกแค่คอ จากม่านน้ำตกเป็นบริเวณวังน้ำ ลึกเข้าไปอีกราว 20 เมตรก็จะถึงผนังผา ปากถ้ำอยู่ในตำแหน่งใจกลางของผนังผา กลางระดับของม่านน้ำตกมีก้อนหินสลับเป็นชั้นเหมือนขั้นบันไดให้ไต่ขึ้นไปถึงปากถ้ำได้อย่างสบาย (ดงมรณะ เล่ม 1 หน้า 2087)


เมื่อลุยน้ำเข้ามาจริงก็พบว่า ลักษณะของมันเหมือนฝาหอย เพดานด้านบนสูงขึ้นประมาณ 10 เมตร ชะโงกเงื้อมออกไปเป็นหลังคา และนั่นคือตำแหน่งที่สายน้ำตกกระโจนผ่านลงไปสู่วังน้ำเบื้องล่าง (ดงมรณะ เล่ม 1 หน้า 2092)


กะคร่าวๆว่ากำแพงภูเขาที่กั้นระหว่างป่านอกกับหุบหมาหอนขนาดแคบที่สุดโดยตัดดิ่งเป็นเส้นตรง ก็ต้องเป็นระยะทางไม่ต่ำกว่า 5-6 กิโลเมตร กว่าจะทะลุถึงกัน นั่นก็แปลว่าทางในถ้ำลับ มีระยะไม่ต่ำกว่า 5-6 กิโลเมตร (ดงมรณะ เล่ม 1 หน้า 2088)


ในเส้นทางถ้ำใต้น้ำตก มีเหว ก้นเหว ทะลุขึ้นบนสันเขานางหลายแห่ง (ดงมรณะ 2 หน้า 2112)


ในถ้ำมีบ่อโคลนเดือด (ดงมรณะ 2 หน้า 2139)


เมื่อมาโผล่ออกปากถ้ำด้านหุบหมาหอน เป็นบริเวณป่าทึบ ตีนเนินเขาตอนหนึ่ง สูงกว่าระดับป่าเบื้องล่างประมาณ 30 เมตร มีทางด่านแคบๆซ่อนเร้นวกเวียนขึ้นมาจากป่าล่าง ซึ่งถ้าอยู่เบื้องล่างแล้ว จะไม่มีสายตาใดเฉลียวคิดได้เลยว่า ตำแหน่งนี้มีปากถ้ำซ่อนอยู่ เพราะหมู่ไม้ที่ขึ้นปิดบังไว้อย่างมิดชิด มันถูกอำพรางลึกลับ ไม่ผิดอะไรกับปากทางด้านตรงข้ามที่มีกระแสน้ำตกเป็นท่านบังอยู่ (ดงมรณะ 2 หน้า 2113)




พุเตย หมู่บ้านร้างจากโรคระบาด ไข้ทรพิษหรืออหิวาห์ ราวเดือนเศษก่อนรพินทร์ไปถึง มีผาเอิงเป็นหัวหน้า ลูกสาวผาเอิงชื่อยะขิ่นเป็นคู่รักของเส่ย พุเตยไม่ห่างจากหล่มช้างเท่าไหร่




จอโหลง อยู่ในเขตกะยา เป็นจุดเริ่มต้นที่ส่างปาพาฝรั่งสองผัวเมียซึ่งก็คือมาเรีย และฮ๊อฟมัน ออกสำรวจหาสมุนไพรและแร่ เลียบลงมาตามลุ่มน้ำสาละวินเพื่อหาทางเข้าเขตไทย แต่มาหลงทางเสียก่อนที่จะมาพบคณะรพินทร์ที่เขาหัวแร้ง









หมู่บ้านสางเขียว ซ่อนมิดชิดอยู่บนบริเวณยอดเขาสูงอันลี้ลับตอนหนึ่ง ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เวลาเดินทาง 8 - 9 ชั่วโมงจากเขาหัวแร้ง อยู่ในระหว่างวงล้อมของขุนเขารอบด้าน โดยมีหุบเหวและหน้าผาชันเป็นคูเมืองตามธรรมชาติ อยู่กันเป็นชมรมใหญ่ มีประมาณ 5 - 6 ร้อยคน บ้านมีไม่ต่ำกว่า 150 หลังคาเรือน ภายใต้การนำของหัวหน้าใหญ่ผู้มีนามว่าซูซู และคู่คิดที่ปรึกษามุมบาอันเป็นหมอผี (ดงมรณะ 4 หน้า 3048)




ประตูผี พรมแดนด้านนอกของหมู่บ้านสางเขียว หัวของเหยื่อจะถูกตัดมาเสียบปักไว้เพื่อความหมายว่า ให้ช่วยเฝ้าปากทาง เป็นบริวารของเทวรูปอินคา แล้วส่งข่าวไปให้อินคาทราบ ทุกด้านที่จะเข้าถิ่นของมันในรัศมีประมาณ 5 กิโลเมตร จะมีประตูผีอย่างนี้ไว้ทั้งหมด (ดงมรณะ 4 หน้า 3372-3373)




อินคา รูปบูชาศักดิ์สิทธิ์ของสางเขียว เป็นหินทั้งแท่งสกัดจากหน้าผา อยู่บริเวณหน้าลานหมู่บ้าน ศีรษะเป็นเสือกำลังแสยะเขี้ยว กายเป็นคน อยู่ในท่านั่ง มือทั้งสองวางราบไปกับเข่า หันหน้าไปทางตะวันตก เป็นผู้จะบันดาลโชคชัยทุกสิ่งทุกอย่างมาสู่หมู่บ้าน และจะต้องเซ่นทรวงด้วยเลือดและศีรษะมนุษย์ในทุกรอบฤดูกาลของการเพาะปลูกพืชไร่ (ดงมรณะ 4 หน้า 3048-3049)




โปร่งหอม หมู่บ้านที่บุญคำเคยเป็นผู้ใหญ่บ้าน มีลูกบ้าน 20 หลังคาเรือน ตั้งอยู่ในดงทึบที่บุญคำไปบุกเบิกทำไร่ (จอมผีดิบมันตรัยเล่ม 1 หน้า 3454) เป็นเรื่องที่บุญคำเล่าเรื่องเจ้าม้วนที่จะเอาผีนางตะเคียนเป็นเมีย




ทุ่งมรณะ เป็นที่หมายในแผนที่ของมังมหานรธา เป็นเป้าหมายถัดไปจากหัวหัวแร้งทีต้องผ่าน




เทือกเขาพระศิวะ
ที่ไชยยันต์เทียบกับแผนที่สากล น่าจะเป็นใจกลางป่าลึก ท่ามกลางขุนเขาล้อมรอบ ถ้าไม่ใช่ในเขตไทยใหญ่ ก็ต้องเป็นเขตว้า หรือมิฉะนั้นก็เหนือขึ้นไปอีก แถบยูนาน โดยเปรียบเทียบกับลำน้ำสาละวิน ขุนเขาพระศิวะในลายแทงอยู่ทางด้านเหนือของแม่น้ำ เฉียงไปทางตะวันออกประมาณ 30 ดีกรี ซึ่งตามแนวทางนี้ มันเป็นเส้นทางที่มุ่งขึ้นด้านเหนือของสหภาพพม่า ถ้าเราขีดเส้นจะพบว่ามันผ่านเขตว้า เรื่อยขึ้นไปบนประชิดพรมแดนจีนตอนใต้…ยูนาน




เขาก็องกอย เป็นสันเขาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขาหัวแร้ง




เขา"วงพระจันทร์" ในบันทึกของแจน เครเมอร์ตอนหนึ่ง กล่าวว่า "….ฝนที่ตกเมื่อคืน เหมือนพระเจ้าจะประทานน้ำมาให้ประทังชีพเราชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะเมื่อข้ามเขา "วงพระจันทร์"มาแล้ว เราก็พบแต่ความแห้งแล้งกันดาร มันคือมหานรกในมนุษยโลก มองไปทางใด มีแต่ทุ่งหญ้าแห้ง กับเปลวแดดระยับ เราตัดสินใจแยกเข้าทางตะวันออกเฉียงใต้อันเป็นป่าเถาวัลย์ประหลาด ข้าพเจ้ากำลังจะหมดแรง เส่งล่าประคองปีกไว้ ตูเล่เดินนำอย่างทรหดไปเบื้องหน้า ให้ความหวังไว้ว่า ในป่าเถาวัลย์เบื้องหน้า เราอาจได้อาหาร….."


ดังนั้นเขาวงพระจันทร์ของแจน เครมเม่อร์กับเขาก็องกอยของมังมหานรธา จึงน่าจะเป็นเขาเดียวกัน (จอมผีดิบมันตรัย เล่ม 2 หน้า 4087)




นิทรานคร นครหลับ เป็นบ่วงกรรมที่เกิดจากมันตรัยจองล้างจองผลาญมายาวนานกว่าแสนๆปี




ทิวเขาเกือกม้า เป็นทิวเขาเป้าหมายแห่งหนึ่งในลายแทง อยู่ห่างนิทรานคร 20 - 25 กิโลเมตรไปทางตะวันออก




โอเอซีส เป็นแหล่งชุ่มชื้นท่ามกลางป่าหินที่อยู่ระหว่างเขาเกือกม้ากับช่องเขาขาด และที่นี่คณะเดินทางพบหลักฐานการพักแรมของนายชด ที่เขียนว่า "เกาะแห่งชีวิต"




ช่องเขาขาด เป็นเทือกเขาที่กั้นระหว่างป่าหินกับทะเลสาบมรณะ









ทะเลสาบมรณะ เป็นทะเลสาบของป่าล้านปี อยู่ทางด้านขวาของช่องเขาขาด และอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครลิง




ภูเขานิลกาฬ เป็นชุมชนลิงที่มีมนุษย์วานรเป็นหัวหน้า ผู้ซึ่งเคยช่วยชีวิตนายชดและหนานอิน ที่นี่มีฤาษีโกฑัญญะเป็นที่สักการะ ระยะทางจากที่นี่ไปเนินพระจันทร์ ถ้าเดินอย่างมนุษย์วานรก็ 6 วัน




แอ่งการะเวก เป็นเป้าหมายแรกที่ระบุไว้ในลายแทงตั้งแต่ออกจากนครลิง (ป่าโลก 3 หน้า 7747)




ทุ่งลมกรด เป็นท้องทุ่งที่มีอากาศวิปริตและลมแรงตลอดเวลา (ป่าโลก 3 หน้า 7769)




ช่องประตูผา เป็นเป้าหมายที่สองที่ต้องค้นหาให้เจอ เพราะจะเป็นทางเริ่มต้นให้ไปหลุมอุกาบาตที่ 1 ตั้งต้นจากที่นี่ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเวลา 5 - 6 ชั่วโมง ......."ในกลุ่มดงหินนั้น จะมีหินสูงใหญ่เหนือกว่าก้อนหินอื่นใดในละแวกนั้นอยู่สองก้อน ยืนอยู่เคียงคู่ขนานกัน กำหนดไว้ว่า 'ช่องประตูผา' ...." (ป่าโลกล้านปี เล่ม 3 หน้า 7889)




ทิวเขาปีกครุฑ เป็นทิวเขายาวเหยียดทางตะวันตกพาดจากเหนือลงใต้ จะเป็นจุดสังเกต เมื่อหันหลังกลับมาครั้งใดจะต้องเห็นนกอินทรีเหลียวหลัง




หลุมอุกาบาตที่1 เป็นหุบเหวที่เกิดจากอุกาบาตตก เป็นแหล่งแร่ทองคำ และที่นี่เองที่มาเรียมีอาการแพ้ท้อง




หลุมอุกาบาตที่2 เป็นเส้นทางผ่าน หลุมนี้เล็กกว่าหลุมที่1




หลุมอุกาบาตที่3 จากจุดนี้ให้เดินไปทางตะวันออก ตามการชี้ของจะงอยปากนกอินทรี




เนินพระจันทร์ เนินมหัศจรรย์ของมังมหานรธา เป็นประตูสู่มรกตนคร ที่ระบุให้ต้องมาถึงที่นี่ก่อนวันขึ้น 5 ค่ำเดือน 12




เขาศิวะเทพ เขาเป็นแท่งโด่ๆ อยู่ทางตะวันตกของเนินพระจันทร์




ประตูปีศาจ เป็นบริเวณที่กองโจร มักจะซุ่มโจมตีกองทหารหลวงอยู่เสมอ อยู่ระหว่างทางก่อนถึงมรกตนคร (แงซายจอมจักรา เล่ม 3 หน้า 9295)




เขาวงพระจันทร์ เป็นหุบเขาที่สลับซับซ้อนอยู่ทางตะวันตกของมรกตนคร เป็นแหล่งซุ่มและแหล่งพักของกองโจร









ลานผาตัด เป็นช่องทางเข้าไปราวกับใครมาขุดเป็นนครถ้ำใต้ภูเขา อยู่ปากทางหุบเขาวงพระจันทร์ เป็นสถานที่แรกที่คณะเชลยสิงหรามาถึง ตั้งแต่หนีออกจากคุกมรกตนคร




ถ้ำเหมราช อยู่ในวงล้อมของหุบเขาวงพระจันทร์ เป็นแหล่งที่กองโจรใช้แฝงตัวเมื่อเข้าใกล้พระนคร (แงซายจอมจักรา เล่ม 4 หน้า 9704)




สิงคาล เป็นหมู่บ้านที่ถูกรหัสยะเผา ฆ่าตัดแขนขาวายุ และเป็นสถานที่ที่กุตะมะต้องธนูอาบยาพิษแล้วดารินช่วยไว้ได้




หุบเขาวงเดือน อยู่ทางตะวันตกของมรกตนคร เป็นสถานที่ที่รหัสยะพ่ายยับเยินให้กับกองโจรประชาชน เหตุเกิดเมื่อ 7 เดือนที่แล้ว (แงซายจอมจักรา 2 หน้า 9154)





ติดตาม สถานที่ภาคจบได้ในลำดับถัดไป


















ขอขอบคุณ "พนมเทียน" เจ้าของผลงาน "เพชรพระอุมา"

ขอขอบคุณ ณ บ้านวรรณกรรม ผู้จัดพิมพ์วรรณกรรมเรื่องนี้

ขอขอบคุณ ห้องสมุดคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ผู้จัดทำเป็นหนังสือเสียง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ...เว็บแฟนแท้แท้เพชรพระอุมา และ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขอขอบคุณภาพจากทุกเว็บที่เกี่ยวเนื่องกับเพชรพระอุมา

ขอขอบคุณเครื่องแต่งบล็อก จากบล็อกชมพร / บล็อกญามี่

และขอขอบคุณ คุณ treetree6969 ผู้จัดทำวิดีโอนี้



สาขา Book Blog


ร่มไม้เย็น ค่ะ





 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2557
0 comments
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2557 14:34:03 น.
Counter : 7009 Pageviews.


ร่มไม้เย็น
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 127 คน [?]







เริ่มเขียน Blog เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2551


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยม เมื่อเวลา 18.15 น.



Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
16 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ร่มไม้เย็น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.