....OUR FAMILY'S JOURNEY....

+ ไปชมโบสถ์คริตส์ ท่าแร่ +

 


 
อัพบล๊อกวันนี้พาไปเที่ยวบ้านท่าแร่ อ.เมือง จ.สกลนคร ครับ ... ที่จริงเรื่องโบสถ์คริตส์ท่าแร่นี้ ผู้เขียนได้อัพไว้ใน facebook แล้ว เมื่อซัก 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาครับ แต่วันนี้พามาชมฉบับเต็มในบล๊อกกัน ... บ้านท่าแร่ถือว่าเป็นชุมชนคริตส์ หรือคาทอลิคที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเลยนะครับ ท่าแร่อยู่คนละฟากหนองหานกับตัวเมืองสกลนคร ต้องเดินทางตามถนนสาย สกลนคร-นครพนม อยู่ห่างจากตัวเืองประมาณ 21 กม. ถนนสะดวกครับสี่เลนส์ตลอด

หมู่บ้านท่าแร่ (ชุมชนคาทอลิค) ตั้งอยู่ริมหนองหาร บนทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-นครนม) ต.ท่าแร่ อ.เมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 21 กม. หมู่บ้านท่าแร่ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์มากที่สุดในประเทศไทย เป็นชุมชนที่เก่าแก่มีอายุกว่า 100 ปี ชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนนับถือศาสนาคริสต์ ในอดีตประมาณปี พ.ศ.2427 ประชากรชาวท่าแร่เป็นคริตชน อพยพมาจากประเทศเวียดนามประมาณ 40 คน อาศัยอยู่ในตัวเมืองสกลนคร และมีบาทหลวงเกโก(มิชชั่นนารีชาวฝรั่งเศส) เป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ แต่เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น กอปรกับมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน จึงได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านท่าแร่ ซึ่งเต็มไปด้วยป่าไม้มีหินลูกรังทั่วไป และคนพื้นเมืองเรียก "หินแฮ่" และยังเป็นที่ตั้งของอัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง หรือสำนักมิสซังท่าแร่ฯ หมู่บ้านนี้มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก คล้ายกับบ้านเมืองในแถบประเทศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสที่งดงามเรียงรายสองข้างทางในถนนสายหลักของหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น ในทุกๆ วันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี ชุมชนแห่งนี้จะจัดเทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส โดยจัด "ขบวนแห่ดาวคริสต์มาส" ที่ อ.เมือง โดยเชื่อว่า "ดาว" เป็นสัญลักษณ์ของการเสด็จลงมาประสูติบนโลกมนุษย์ของพระเยซู ขบวนรถจะตกแต่ง ด้วยดาวขนาดใหญ่ ประดับประดาด้วยดวงไฟวิทยาศาสตร์หลากสีสันอย่างสวยงาม และจะสื่อถึงเรื่องราวการประสูติของพระเยซู ในทุกปีจะมีรถดาวเข้าร่วมขบวนประมาณ 200 คัน ชาวบ้านก็จะตกแต่งโคมไฟรูปดาวไว้ที่หน้าบ้าน จากนั้นเป็นการเฉลิมฉลองในหมู่ชาวคริสต์ มีการร้องเพลงประสานเสียง การประกวดร้องเพลงคริสต์มาส มีการจำหน่ายสินค้าและมีมหรสพทั้งคืน☺️









โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล



โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล

มาสกลนครต้องมาแวะเที่ยวโบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล โบสถ์ขนาดใหญ่รูปทรงคล้ายเรือ ตั้งอยู่ในชุมชนคาทอลิกแห่งหนึ่งที่บ้านท่าแร่ ซึ่งเป็นชุมชนคาทอลิกที่มีประชากรนับถือคาทอลิกมากที่สุดในประเทศไทยนับหมื่นคน โดยคริสตชนท่าแร่ดั้งเดิมนั้นอพยพมาจากเวียดนามในราวปี พ.ศ. 2427 หรือ ค.ศ.1884

โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลเป็นโบสถ์รูปทรงเรือเนื่องจากเพื่อเป็นการระลึกถึงการอพยพมาตั้งถิ่นฐานของคริสตชนในหมู่บ้านนี้ โดยเมื่อปี ค.ศ.1881 คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ โปรดม และคุณพ่อซาเวียร์ เกโก พระสงฆ์คณะมิสซังแห่งกรุงปารีสได้รับมอบหมายจากพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ให้มาเผยแผ่ศาสนาที่ภาคอีสาน จนกระทั่งเดือนเมษายน ค.ศ.1884 คุณพ่อโปรดม กับคุณพ่อเกโก และ ครูทัน ครูเณรชาวเวียดนามได้เดินทางจากอุบลฯ มายังนครพนมและตั้งกลุ่มคริสตชน แต่เดิมมีชื่อว่าวัดมหาพรหมมีคาแอล หนองหาร ใช้เป็นศาสนสถานสำหรับการรับศีลล้างบาปของคริสตศาสนิกชน

จนเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1971 จึงได้ชื่อ “อาสนวิหารอัครเทวดา มีคาแอล” โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลยังเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลเขตมิสซังท่าแร่ – หนองแสงอีกด้วย  (
อ่านเพิ่มเติม)
 



























เมื่อเดินออกทางประตูด้านหลังแล้ว ก็สามารถไปชมตึกเก่าแก่ หรือตึกโบราณ รวมทั้งบ้านหินเก่าแก่บนถนด้านหลังนั้นได้นะครับ





ตึกโบราณของ องเลื่อง โสรินทร์





บ้านโบราณของ องเลื่อง โสรินทร์

อาคารโบราณหลังนี้ ตั้งอยู่เลขที่ 269 หมู่ 6 ถนนราษฎร์เจริญ บ้านท่าแร่ เป็นของนายเลื่อง โสรินทร์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) โดยช่างชาวเวียดนามที่อพยพมาอยู่ในจังหวัดนครพนมและบ้านท่าแร่ เป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส (French Colonial Architecture Style) ผสมเวียดนาม ช่างก่อสร้างได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประสบการณ์ในการก่อสร้าง แบบก่ออิฐถือปูน ไม่มีปูนซีเมนต์ ไม่มีเหล็ก แต่ช่างได้ใช้วัสดุพื้นบ้าน โดยการนำปูนขาวผสมกับทราย ยางพืชพื้นเมือง คือยางบงและน้ำอ้อยแทนปูนซีเมนต์ โครงสร้างชั้นบนส่วนมากเป็นไม้ อุปกรณ์บางอย่าง นำเข้ามาจากประเทศฝรั่งเศส ผ่านทางคุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออ มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอัครเทวดามีคาแอล ลงเรือมาถึงกรุงเทพ ขึ้นรถไฟมาถึงโคราช และบรรทุกใส่เกวียนต่อมาถึงท่าแร่ อาคารหลังนี้จึงกลายเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางสถาปัตยกรรม ที่โดดเด่นสวยงามอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร
 
 














บ้านหินโบราณ 100 ปี
 


บ้านโบราณ 100 ปี

บ้านโบราณหลังนี้ มีอายุประมาณ 90-100 ปี เป็นบ้านของ นายหนู ศรีวรกุล (เฮียน เรียนดึงดึง) และนางหนูนา อุปพงษ์ ซึ่งเป็นบุตรของ พระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนครเวลานั้น เดิมสร้างเป็นที่อยู่อาศัย ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการสั่งปิดโบสถ์ ไม่ให้ใช้ทำพิธีใดๆ ในทางศาสนา ชาวคริสต์จึงต้องหาสถานที่แห่งใหม่ เพื่อใช้ทำพิธีต่างๆ เช่น พิธีบูชามิสซา พิธีรับศีลสมรส และเนื่องจากบุตรหลานของเจ้าของบ้านหลังนี้ เป็นพระสงฆ์ในศาสนาคริสต์ จึงอนุญาตให้ใช้บ้านหลังนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และชาวคริสต์ รุ่นเก่าหลายคนก็เคยใช้บ้านหลังนี้จัดพิธีรับศีลแต่งงาน น่าเสียดายที่ต่อมาบ้านถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม ไม่มีการบูรณะซ่อมแซม มีต้นโพธิ์ขึ้นรกรุงรัง จนกลายเป็นบ้านร้างอย่างที่เห็นในปัจจุบัน.


เมื่อเที่ยวชมโบสถ์คริตส์ และตึกโบราณที่บ้านท่าแร่แล้ว ขากลับก็แวะถ่ายภาพและเดินเล่นที่อุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร ซึ่งอยู่ติดถนนสาย 22 (สกลนคร-นครพนม) ก่อนถึงหมู่บ้านท่าแร่ หรือเลยทางแยกเข้ามหาวิทยาลัยเกษตศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ ไปหน่อยเดียวครับ อยู่ทางซ้ายมือ ที่นั่นมีบัวหลากหลายพันธุ์สวยงามให้ชมกัน แถมยังมีสะพานทอดข้ามสระบัวขนาดใหญ่ให้เราเดินถ่ายภาพด้วย

 


อุทยานบัว สกลนคร


อุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร
 
ประวัติความเป็นมา : อุทยานบัว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2553 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมบัวพันธุ์ต่างๆ และรองรับการประชุมวิชาการบัวนานาชาติปี พ.ศ.2553 ที่จัดขึ้นที่วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ของนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสกลนคร


 


ลาด้วยภาพนี้ครับ.




 

Create Date : 28 เมษายน 2562
9 comments
Last Update : 29 เมษายน 2562 9:34:59 น.
Counter : 2200 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณKavanich96, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณภาวิดา คนบ้านป่า

 

ไม่เคยทราบมาก่อนเลยนะคะ ว่าท่าแร่ มีอะไรดี ๆ งาม ๆ ให้ชมแบบนี้ ..

ขอบคุณนะคะ ที่แนะนำ

 

โดย: poongie 28 เมษายน 2562 11:43:24 น.  

 

ถ่ายรูปได้สวยค่ะพี่ จ.สกลนคร มีสถานทีที่น่าไปเที่ยวหลายแห่งนะคะ

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 28 เมษายน 2562 14:01:04 น.  

 

ขอบคุณที่แบ่งปัน

 

โดย: Kavanich96 29 เมษายน 2562 4:11:39 น.  

 

ศาสนาคริสต์เผยแผ่อย่างได้ผล
กับคนเวียตนามจริงๆ นะคุณวิก

 

โดย: หอมกร 29 เมษายน 2562 10:11:55 น.  

 

สถาปัตยกรรม สวย..ถ่ายภาพมาก็สวยครับคุณอ๊อด

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 29 เมษายน 2562 21:38:18 น.  

 

สวยงามครับ เห็นแล้วอยากไปเที่ยวท่าแร่เลย

 

โดย: IFINDNOI (Ces ) 30 เมษายน 2562 5:44:16 น.  

 

ภาพสวยมากกกกกกกกกกกกกกกก
ภาพสวยมากกกกกกกกกกกกกกกก
ภาพสวยมากกกกกกกกกกกกกกกก
ภาพสวยมากกกกกกกกกกกกกกกก
อยากบอกแค่นี้ค่ะ

 

โดย: อุ้มสี 30 เมษายน 2562 23:51:16 น.  

 

ภาพสวยมากค่ะ ทำให้อยากไปชมใกล้ๆบ้าง
ขอบคุณนะคะ

 

โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า 1 พฤษภาคม 2562 18:19:25 น.  

 

เห็นทริปนี้ที่เฟชบุ๊คว่าสวยแล้ว
มาเห็นที่บล็อกสวยอลังกว่าเยอะค่ะ
โบสถ์สวยงามมาก โดยเฉพาะกระจกสีสวยจริง ๆ

เสียดายบ้านหินโบราณ 100 ปีเนอะ
ถ้าบูรณะคงจะดึงดูด นทท.ได้อีกเยอะเลย

จินชอบถ่ายรูปดอกบัวนะ
เห็นเป็นพุ่งถ่าย พอ ๆ กับเห็นดอกกล้วยไม้
มีทางเดินเล่นสวนบัวด้วย น่าเดินเล่นมาก ๆ ค่ะ
ภาพดอกบัวบานสะพรั่งเต็มสระ สวยงามขนาดเลยนะคะ

 

โดย: JinnyTent 2 พฤษภาคม 2562 16:58:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wicsir
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 75 คน [?]











...... ชอบเดินทาง ชอบท่องเที่ยว และชอบถ่ายภาพ แม้ฝีมือจะไม่ให้ แต่ใจก็รัก เพราะได้ทำแล้วมีความสุข แถมยังมี bloggang ได้ให้โอกาสนำสิ่งเหล่านั้นมาแสดงด้วย ยิ่งทำให้หัวใจพองโต .......


อยากจะบอกว่า

@ ดีใจที่ได้แบ่งปันความสุขเล็กๆน้อยๆ กับเพื่อนๆในบล็อกแก๊ง ตลอดจนคุณๆที่ผ่านเข้ามาอ่าน.... แม้ภาพถ่ายจะไม่สวยนัก แต่กว่าจะได้มาก็แสนยากลำบาก จึงขอสงวนสิทธิไว้เป็นการส่วนตัว

@ ภาพทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของบล๊อก ถ้ามีความประสงค์จะใช้ภาพเพื่อการใด กรุณาติดต่อเจ้าของบล็อกด้วย เพราะจะได้พิจารณาเป็นเรื่องๆไปครับ.

@ ขอบคุณเพื่อนๆสมาชิกที่คอยให้กำลังใจกันเสมอมา และขอบคุณทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่าน หวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าท่านคงแวะเข้ามาอีก...


ด้วยจริงใจ
นาย wicsir.




Rec. 11.06.08
New Comments
Group Blog
 
<<
เมษายน 2562
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
28 เมษายน 2562
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add wicsir's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.