กุญแจสู่ความมั่งคั่ง "The Key of Wealth"
Group Blog
 
 
มกราคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
17 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
เลือกกองทุนรวมที่แจ๋ว!! จริง (ตอนที่ 2) ด้วย Information Ratio

เลือกกองทุนรวมที่แจ๋ว!! จริง (ตอนที่ 2) ด้วย Information Ratio

**พฤติกรรมนักลงทุนส่วนใหญ่เลือกกองทุนโดยดูแต่ค่าผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว!!**

จากตอนที่แล้วได้อธิบายเทคนิคการเลือกกองทุนโดยพิจารณาค่า Sharpe Ratio กันไปแล้วนะครับ

[อ่านบทความ เลือกกองทุนรวมที่แจ๋ว!! จริง (ตอนที่ 1) ด้วย SharpeRatio

วันนี้เราลองมาดูค่า Information Ratio ซึ่งเป็นวิธีวัดที่แสดงถึงความสามารถของกองทุนในการสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่เหนือกว่าเมื่อเทียบกับตลาด  (Benchmark) ที่ปรับด้วยความเสี่ยง ซึ่งถูกกำหนดโดย


เมื่อเทียบกับสูตร Sharpe Ratio ข้างล่าง จะพบว่า Sharpe Ratio เป็นการเปรียบเทียบกองทุนกับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (ผลตอบแทนเท่ากับดอกเบี้ยปราศจากความเสี่ยงด้านเครดิตส่วน Information Ratio เป็นการเปรียบเทียบกองทุนกับตลาดเช่น SET50


**ดังนั้นเงื่อนไขการเลือกมาตราวัดแบบใดขึ้นอยู่กับสไตล์การลงทุนของแต่ละบุคคลครับ!!!

หลักการใช้งาน Information Ratio มีอยู่ว่า กองทุนที่มีตัวเลขค่า Information Ratio สูงหมายถึง ในบรรดากองทุนที่มีราคาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับ SET50 (Tracking Error ต่ำ) เราเลือกกองทุนที่มีผลตอบแทนสูงกว่า Benchmark แสดงว่า เจ้าของกองทุนนั้นบริหารกองทุนรวมได้ดีและผลตอบแทนของกองทุนรวมนั้นชนะตลาด จากรูป 1 กราฟเปรียบเทียบราคาของ SCBSET50 กับ SET50 ในรอบ 6 เดือนจะพบว่าวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน เราเรียกว่ามี Tracking Error ต่ำ และเส้นราคาของ SCBSET50 อยู่เหนือ SET50 หมายความว่า SCBSET50 ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดนี่คือการคัดเลือกกองทุนตามเงื่อนไข Information Ratio แต่ต้องใช้กับกองทุนประเภทเดียวกันหากใช้เปรียบเทียบกองทุนรวมต่างประเภท เช่นกองทุนรวมตราสารทุนและกองทุนรวมตราสารหนี้ ค่า Information Ratio ที่ได้จะไม่มี ความหมาย


เราลองมาเปรียบเทียบการเลือกกองทุนโดยเงื่อนไขต่างๆดูนะครับ

1. เลือกกองทุนโดยพิจารณาผลตอบแทนสูงสุด (Historical Return)

ริ่มจากรูป 2 แสดง Risk Map ณ วันที่ 16 ม.ค. 56 ที่ผ่านมา วงกลมสีส้มแสดงตำแหน่งของกองทุนรวมตราสารทุนในช่วงเวลาต่างๆ (6M,1Y, 3Y, 5Y) วงกลมสีม่วงแสดงตำแหน่งของกองทุน 10 อันดับแรกที่มีผลตอบแทนสูงสุด (Historical Return) ดังแสดงการจัดอันดับ Top 10 Ranking กองทุนรวมตราสารทุน ในรอบ 6 เดือนล่าสุดที่พิจารณาโดย Historical Return ได้ในตารางที่ 1


ตารางที่ 1 Top10 Ranking By Historical Return 16/01/56 (ข้อมูลย้อนหลัง 6 เดือน

)


2. เลือกกองทุนโดยพิจารณาค่า Information Ratio

เมื่อพิจารณา Risk Map รูปที่ 3 เปรียบเทียบ วงกลมสีม่วงแสดงตำแหน่งของกองทุน 10 อันดับแรกที่มีค่า Information Ratio สูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับรูปที่ 2 จะพบว่ากองทุนที่ติดอันดับทั้ง 2 เงื่อนไขต่างกันมาก กองทุนที่ติดอันดับ Information Ratio จะมีทิศทางไปในทางทิศเหนือของตำแหน่ง SET50 บริเวณเส้นแบ่งโซนพื้นที่สีเขียว และสีเหลือง ทิศทางของกองทุนที่ดูแต่ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งอาจตกในโซนสีเหลืองได้ (รูปที่ 2 ผลตอบแทนมากก็จริง แต่มีความเสี่ยงมากกว่าส่วนความเสี่ยงของกองทุนจากอันดับ Information Ratio มีความเสี่ยงในระดับเดียวกับตลาดหุ้นเสมอ) เราแสดงการจัดอันดับ Top 10 Ranking กองทุนรวมตราสารทุนในรอบ 6 เดือนล่าสุด ที่พิจารณาโดย Information Ratio ได้ในตารางที่ 2


ตารางที่ 2 Top 10 Ranking By Information Ratio 16/01/56 (ข้อมูลย้อนหลัง 6 เดือน)


3. เลือกกองทุนโดยพิจารณาค่า Sharpe Ratio

จากการเลือกกองทุนโดยพิจารณาค่า Sharpe Ratio จะได้ Risk Map ในรูปที่ 4 และแสดงการจัดอันดับ Top 10 Ranking กองทุนรวมตราสารทุน ในรอบ 6 เดือนล่าสุดที่พิจารณาโดย Sharpe Ratio ได้ในตารางที่ 3


ตารางที่ 3 Top 10 Ranking By Sharpe Ratio 16/01/56 (ข้อมูลย้อนหลัง 6 เดือน)


หากเรานำรูปที่ 4 เปรียบเทียบกับรูปที่ 2 และ 3 เราจะพบตำแหน่งของกองทุนที่ติดอันดับ Top 10 ด้วยเงื่อนไขต่างๆ เป็นดังนี้

1. เมื่อพิจารณาผลตอบแทนสูงสุด (Historical Return) ตำแหน่ง Top 10 จะอยู่ด้านบนสุดของ Risk Map ในโซนสีเขียวและอาจรวมรวมถึงสีเหลือง

2. เมื่อพิจารณา Information Ratio ตำแหน่ง Top 10 มีแนวโน้มจะอยู่ด้านบนของ SET50 แต่ไม่จำเป็นต้องมีผลตอบแทนสูงสุด เช่น กองทุน SCBSET50 ในรูปที่ 3 ติดอันดับ 1 ตามเงื่อนไขนี้อยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับ SET50 แต่ผลตอบแทนน้อยกว่าบางกองทุนที่มีอันดับต่ำกว่า

3. เมื่อพิจารณา Sharpe Ratio ตำแหน่ง Top 10 มีแนวโน้มจะเอียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในโซนสีเขียวดังนั้นกองทุน Top 10 ที่เลือกมาจาก Sharpe Ratio มีแนวโน้มที่จะมีความเสี่ยงต่ำกว่ากองทุนที่พิจารณาเฉพาะผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว

ดังนั้นการเลือกกองทุนรวมอย่างมีประสิทธิภาพที่แท้จริง ไม่ควรดูเฉพาะแค่การพิจารณากองทุนรวมที่ผลตอบแทนสูงเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาสไตล์การลงทุนประกอบด้วย โดยมีหลักการง่ายๆ ว่า

          Benchmark คือ ตลาดหุ้น นักลงทุนควรเลือกพิจารณาค่า  “Information Ratio”

          Benchmark คือ พันธบัตรรัฐบาล นักลงทุนควรเลือกพิจารณาค่า “Sharpe Ratio”


สรุป

***กองทุนรวมที่ “แจ๋ว” ตัวจริง ควรมีค่าผลตอบแทนสูง และค่า Information Ratio สูง หรือ ค่า Sharpe Ratio สูง ด้วยครับ***


ถูกใจบทความ คลิ๊ก LIKE Fanpage ได้ที่นี่  

ขอบคุณมากๆ ครับ




Create Date : 17 มกราคม 2556
Last Update : 17 มกราคม 2556 12:10:11 น. 6 comments
Counter : 19198 Pageviews.

 
ประกาศ!! FAQ รวบรวมคำถามยอดฮิต เกี่ยวกับ Software BullWing

ดูได้ที่ Link

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=topstock&group=3

ขอบคุณครับ


โดย: Top Money วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:11:47:07 น.  

 
ขอขอบคุณ สำหรับทุกยอดการสั่งจองสิทธิ์ทดลองใช้โปรแกรม นะครับ



ขณะนี้ยอดทะลุ 200 คนแล้วครับ แต่ยังอยู่ในช่วงเดือนโปรโมชั่น จึงขอขยายจำนวนผู้ทดลองใช้ Software BullWing จาก 200 ท่าน เป็น 500 ท่าน นะครับ
**เพียง 1,000 บาท เท่านั้น ในการทดสอบศักยภาพของ BullWing และยังได้รับสิทธิพิเศษอีกมากมายครับ วันนี้-กุมภาพันธ์ 2556 ครับ**


โดย: Top Money วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:11:48:05 น.  

 
ประกาศ!! คู่มือการใช้งาน Software BullWing เสร็จสิ้นพร้อมจัดส่งถึงมือท่านแล้วนะครับ สามารถ Download ไปศึกษาวิธีการใช้งานก่อนได้เลยครับ

>


ที่ Link

//www.spywing.net/UserFiles/Image/BullWing%202013%20User%20Guide.pdf

ขอบคุณครับ


โดย: Top Money วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:11:49:01 น.  

 
โปรแกรมนี้ หาซื้อได้จากที่ไหนครับ


โดย: TAK IP: 110.49.226.179 วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:12:31:18 น.  

 
โปรแกรมที่ใช้จัดอันดับกองทุนรวม คือ RedHawk Software
ครับ จะ Launch สู่ตลาดช่วงประมาณไม่เกิน พ.ค. 56 นี้ครับ ช่วงนี้ กำลังอยู่ใน Process ของการพัฒนาศักยภาพของโปรแกรมอยู่นะครับ

ขอบคุณครับ


โดย: Top Money วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:13:09:14 น.  

 
ขออนุญาต Update News!! ครับ

ไร้ข้อจำกัดกับ Software BullWing สามารถใช้งานใน Notebook ทั่วไปได้แล้วครับ (12 นิ้ว ขึ้นไป)



โดย: Top Money วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:18:42:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Top Money
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




Google
New Comments
Friends' blogs
[Add Top Money's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.