Group Blog
 
 
ธันวาคม 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
24 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 

การปลูกพริก

การปลูกพริก

พันธ์
ในประเทศไทยพันธุ์พริกที่มีปลูก และรู้จักกันทั่วไปอยู่ในพวกล้มลุก มีอยู่ประมาณ 6 ชนิด
1. พริกบางช้าง ขนาดของผลโตกว่าพริกมัน ผลตรงกลมโคนผลใหญ่ ปลายเรียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงจัด รสไม่สู่เผ็ด มีเนื้อมาก เมล็ดน้อย อบแห้งสีจะแดงดี 2. พริก ขี้หนู มีขนาดต่าง ๆ กัน ผลมีขนาดเล็ก ผลสีเขียว หรือเหลือง พันธุ์ทั่ว ๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ของท้องถิ่นต่าง ๆ ผลแก่จะมีสีแดง มีรสเผ็ดจัด
3. พริกหยวก ผลโตป้อม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ปลายทู่ไม่เกลี้ยงบุบเป็นร่อง มีเมล็ดในน้อย ใส้ใหญ่ สีเขียวแกมเหลือง ผลแก่สุกแดงเป็นมัน รสไม่สู้เผ็ด หรือเผ็ดน้อย ราคาแพง ปลูกกันน้อยกว่าพริกอย่างอื่น 4. พริกมัน ผลมันเรียบ ผลตรง กลม และเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร มีเมล็ดในมาก เมื่ออ่อนผลจะมีสีเขียวจัด เวลาแก่เป็นสีแดง รสเผ็ด
5. พริกยักษ์ ผลโตป้อม บริเวณรอบ ๆ ข้อผลเป็นรอยบุ๋ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร มีเมล็ดในน้อย เนื้อผลหนา สีผลเมื่ออ่อนเขียวจัดเป็นมันเวลาแก่สีแดง รสไม่เผ็ด ปลูกได้ดีในช่วงเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวประมาณเดือนธันวาคม จะได้ราคาดี
6. พริกสิงคโปร์ ขนาดผลโต เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ปลายงอหยิก ผิวไม่เรียบ มุมเป็นร่อง ๆ มีเมล็ดน้อย ผลเมื่ออ่อนมีสีเขียวจัด เวลาแก่เป็นสีแดง มีรสเผ็ด พริกปลูกได้ตลอดปี
ถ้าหากพื้นที่นั่น ๆ มีน้ำอย่างเพียงพอสำหรับพื้นที่ ๆ ไม่อยู่ในเขตชลประทาน จะปลูกพริกกันในช่วงฤดูฝนจะเริ่มเพาะกล้าประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน และจะย้ายปลูกในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน แต่ถ้าจะปลูกให้ได้ราคาดีที่สุดควรจะปลูกในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ เพราะพริกสดจะมีราคาสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม พบว่า พริกที่ปลูกในหน้าแล้ง คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน จะให้ผลเร็วกว่าพวกที่ปลูกในหน้าฝน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพริกได้แก่ดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ดี การระบายน้ำดี พริกถ้าปลูกในฤดูฝนจะมีปัญหาว่าเป็นโรคเหี่ยว เนื่องจากเชื้อรา และบัคเตรีเข้าทำลาย ควรปลูกพริกหมุนเวียนสลับกับข้าว ถั่ว และพืชอื่น ๆ

การเตรียมดิน
การเตรียมดิน ทำการย้ายปลูก เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว เตรียมดินแปลงปลูก โดยไถดะตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ไถพรวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ทั่วแปลงในอัตรา 3-4 ตัน/ไร่ ใส่ปุ๋ยตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 50 กก./ไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่ปลูก แล้วพรวนกลบเข้ากับดินแล้วจึงเตรียมแปลงปลูกการเตรียมแปลงปลูก สามารถทำได้หลายแบบ แล้วแต่สภาพของพื้นที่ปลูกดังนี้คือ 1. ปลูก แบบไม่ยกแปลง เหมาะสำหรับพื้นที่ ๆ มีการระบายน้ำดี ปรับระดับได้สม่ำเสมอ การปลูกแบบนี้อาจปลูกเป็นแถวเดียว ใช้ระยะห่างระหว่างแถว 60-70 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ ระยะระหว่างแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม. 2. ปลูกแบบยกแปลง เหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ระบายน้ำดอกได้ยาก ขนาดแปลงกว้าง 1.50 เมตร ร่องน้ำกว้าง 50 ซม. ลึก 50 ซม. ปลูก 2 แถว บนแปลง โดยมีระยะห่างแถว 0.75-1.00 เมตร ระหว่างต้น 50 ซม. หรือปลูกเป็นแถวคู่ 1 เมตร ระหว่างแถว 50 ซม. ระหว่างต้น 50 ซม.

การปลูก
การปลูก การปลูกพริก อาจเลือกปฏิบัติได้ 3 วิธี ตามความเหมาะสม คือ
1. โดยวิธีการใช้เมล็ดพริกหยอดเมล็ดโดยตรงในหลุม หลุมละ 3-5 เมล็ด เมล็ดพริกหวานเปอร์เซ็นต์ความงอก 80% ใช้เมล็ด 60-90 กรัม/ไร่ นิยมปฎิบัติในแปลงปลูกขนาดใหญ่ และไม่มีแรงงานเพียงพอในการย้ายต้นกล้า จุดอ่อนของการปลูกโดยวิธีนี้คือ ต้นพริกอ่อนแอ อาจจะถูกมดและแมลงอื่น ๆ กัดกินใบ ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ และเสียเวลาในการปลูกซ่อม
2. เพาะเมล็ดพริกให้งอกแล้วนำไปปลูกในหลุม กลบด้วยดินบาง ๆ วิธีเพาะคือ นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำ แล้วเอาผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ห่อ ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน เมล็ดจะงอกแล้วนำไปปลูก
3. เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน แปลงเพาะกล้าควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ปริมาณ 100 กรัมต่อตารางเมตร คลุกดินลึกประมาณ 5-8 นิ้ว ควรใช้ฟูราดานในการเพาะด้วยเมื่อหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก ถ้ามีต้นหนาแน่น ให้ถอนแยกหลังจากที่ใบจริงคลี่เต็มที่แล้ว 2-3 วัน เมื่อกล้าอายุได้ 18 วัน รดด้วยปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตละลายน้ำ อัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำ 200 ซี ซี. แล้วรดน้ำตามทันที การเพาะโดยวิธีเพาะโดยเมล็ดธรรมดาที่ยังไม่งอกวิธีนี้ควรคลุกยาป้องกันกำจัด เชื้อราที่อาจติดมากับเมล็ดก่อนนำเมล็ดไปเพาะได้แก่ ออไธไซด์ และในแปลงเพาะควรจะรดด้วยไดโฟลาแทน 80 หรือไดเทน เอ็ม 45 เพื่อป้องกันโรคเน่า เมื่อกล้าสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงพร้อมจะย้ายปลูกได้ รวมอายุกล้าในแปลงเพาะสำหรับการเพาะโดยเมล็ดที่งอกแล้วประมาณ 30 วัน และเพาะโดยเมล็ดธรรมดาประมาณ 40 วัน ในบางแห่งปลูกโดยการย้ายกล้า 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น โดยทำการย้ายกล้าครั้งที่ 1 เมื่อกล้าโตมีใบจริง 2 ใบ ย้ายชำในถุงพลาสติกหรือในแปลงใหม่ให้มีระยะห่าง 10-15 ซม. ในการย้ายกล้านี้ต้องทำอย่างระมัดระวัง พยายามให้รากติดต้นมากที่สุดก่อนย้ายปลูกในแปลงใหม่ ควรจะรดน้ำแปลงเพาะให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1 ชม. แล้วใช้ไม้หรือปลายมีดพรวนดินให้ร่วน ค่อย ๆ ถอนต้นกล้า อายุในการชำในแปลงใหม่ 15-20 วัน หรือสูงประมาณ 6 นิ้ว จึงย้ายปลูกได้ เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำได้โดยการฉีดพ่นสารละลายของน้ำตาลเข้มขน 10% คือใช้น้ำตาลทราย 10 ส่วน เติมน้ำลงไปอีก 90 ส่วน ฉีดทุก ๆ 3 วัน เป็นเวลา 2 อาทิตย์ก่อนย้ายปลูก ก่อนทำการฉีดสารละลายน้ำตาลทรายนี้ต้องทำให้ใบพริกเปียกน้ำให้ทั่ว เพื่อให้ใบดูดซึมน้ำตาลได้เป็นปริมาณสูง

การบำรุงรักษา
การ ปฎิบัติบำรุงรักษา พริกเป็นพืชที่ทนแล้งดีกว่าทนน้ำ แต่ในระยะที่พริกเริ่มออกดอก พริกจะต้องการน้ำมากกว่าปกติ พบว่า การให้น้ำที่ไม่เพียงพอ และอากาศแห้งแล้งจะทำให้ดอกอ่อน ดอกบาน และผลอ่อนที่เพิ่งติดร่วงได้ ในสภาพที่อากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-15 ซํ. จะทำให้พริกเจริญเติบโตไม่ค่อยดี มีการติดดอกต่ำ และดอกร่วงในที่สุด การให้น้ำควรจะลดลง หรืองดในช่วงที่เริ่มทำการเก็บผลพริก ทั้งนี้เพราะถ้าให้น้ำพริกมากไป จะทำให้ผลมีสีไม่สวย

การให้น้ำ
การให้น้ำ หลังจากปลูกสร้าง ควรให้น้ำดังนี้ - ช่วง 3 วันแรก ให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น - ช่วง 4 วันต่อมา ให้น้ำวันละครั้ง - ช่วงสัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ 4 ให้น้ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง - ช่วงสัปดาห์ที่ 5 ถึงสัปดาห์ที่ 7 ให้น้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง - ช่วงสัปดาห์ที่ 7 ไปแล้วให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ การให้น้ำแก่พริกควรให้ตาม สภาพพื้นที่ และดูความชุ่มชื้นของดินประกอบด้วย

การให้ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ย การให้ปุ๋ยพริกขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของดินปลูกโดยทั่วไป แนะนำใช้ปุ๋ยบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่
· รองพื้นก่อนย้ายปลูกและหลังย้ายปลูกแล้ว 1 เดือน ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่
· อีก ครั้งหนึ่ง วิธีใส่โดยโรยกึ่งกลางระหว่างแถวปลูกแล้วพรวนกลบ ในระยะนี้เป็นระยะที่พริกเริ่มจะมีตาดอก (แต่ยังไม่ออกดอก) มีความต้องการธาตุอาหารเสริมบ้าง

ดังนั้นหลังจากใส่ปุ๋ยแล้ว 1-2 อาทิตย์ ควรฉีดปุ๋ยน้ำ เช่น ไบโฟลาน ให้ทางใบ ซึ่งพริกจะนำไปใช้ได้เร็วขึ้น ปุ๋ยน้ำที่ฉีดให้ทางใบนี้ควรให้ทุกครั้งหลังจากเก็บเกี่ยว โดยฉีดผสมไปกับยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช

การการพรวนดิน
การ พรวนดิน เนื่องจากพริกจะแพร่รากกระจายอยู่ใกล้ผิวดิน จึงต้องระวังอย่าให้รากกระทบกระเทือน เพราะจะชงักการเจริญเติบโต จะทำให้ต้นพริกโค่นล้มง่าย การให้ปุ๋ยควรขุดหลุมตามบริเวณกว้างของใบพริกที่แผ่ไปถึง อย่าใส่ชิดโคนต้น

การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว พริกจะเริ่มให้ผลผลิตหลังจากย้ายปลูกแล้ว 2 เดือนครึ่ง ถึง 3 เดือน ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยและจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เก็บเกี่ยวอาทิตย์ละ 1 ครั้งผลผลิตจะเริ่มลดลงเมื่อพริกเริ่มแก่ เมื่อพริกอายุได้ 6-7 เดือน หลังย้ายปลูกต้นจะเริ่มโทรมและหยุดให้ผลผลิต แต่ถ้ามีการดูแลบำรุงรักษาดีพริกจะมีอายุถึง 1 ปี

โรคพริก และการป้องกันกำจัด
โรคพริก และการป้องกันกำจัด ชื่อโรค โรคกล้าเน่าตาย อาการ อาการทั่วไปที่เห็นคือต้นกล้าเหี่ยวแห้งตาย การป้องกัน 1. คลุก เมล็ดพันธุ์ด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หลังจากล้างเมล็ดพันธุ์แล้วควรจะคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทน เอ็ม 45 ชนิดสีแดง เพื่อป้องกันเชื้อราในดินเข้าทำอันตรายเมล็ดในขณะที่มีการงอก 2. เมื่อต้นกล้างอกขึ้นมาเหนือพื้นดินแล้ว ต้องรีบฉีดยาป้องกันทันทีและจะต้องฉีดพ่นยาทุก 5-7 วันต่อครั้ง ยาที่ใช้ฉีดพ่นก็เป็นจำพวกยาป้องกันกำจัดเชื้อราทั่ว ๆ ไป ที่ใช้ฉีดพ่นบนใบ เช่น ชิงโคโฟล, ไดเทนเอ็ม 45 ฯลฯ นอกจากนี้ควรฉีดพ่นยาลงไปบนผิวดินด้วยยาที่ใช้ฉีดพ่นไม่ควรใช้ยาที่เป็น สารประกอบพวกทองแดง ชื่อโรค โรครากและโคนเน่า อาการ ต้นพริกที่เป็นโรคนี้เริ่มมีอาการใบเหลืองแล้วใบร่วงต้นพริกเหี่ยวยืนต้นตาย ได้ทุกระยะ กสิกรเรียกพริกที่มีอาการใบเหลืองแล้วร่วงจนต้นพริกมีพุ่มโปร่งตานี้ว่า พริกหัวโกร๋น โคนต้นและรากพริกเน่าเนื้อเยื่อเป็นสีน้ำตาล การป้องกันกำจัด ถ้าพบโรคนี้ระบาดควรจะทำการป้องกันกำจัดดังต่อไปนี้ 1. ให้ถอนทำลายต้นที่เป็นโรคโดยการนำไปเผาไฟเสีย 2. โรคนี้ช่วยได้โดยการเพิ่มปูนขาวในดินประมาณ 100-200 กก./ไร่ และใช้เศษใบไม้ร่วมไปด้วย 3. การ ใช้ยาป้องกันกำจัดราทั่วทั้งไร่ย่อมไม่ได้ผลคุ้มค่าอย่างยิ่ง แต่ถ้าจะทำในเนื้อที่แต่น้อย เช่น ทำต่อหลุมก็อาจจะใช้ยาเทอราคลอหรือเทอราโซลผสมน้ำรดดินในหลุม หรือใช้หว่านเม็ดยาลงไปในดินแล้วรดน้ำตาม ชื่อโรค โรคกุ้งแห้ง อาการ อาการของโรคเห็นได้ชัดเจนบนผลพริกที่แก่จัด หรือผลพริกสุก ผลพริกอ่อนไม่ใคร่เกิดโรคนี้ ระยะที่ผลพริกติดโรคได้ง่าย คือ ระยะที่ผลพริกจวนเติบโตเต็มที่หรือระยะก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี อาการเริ่มแรกจะปรากฏเป็นจุดวงกลมช้ำสีน้ำตาล เนื้อเยื่อบุ๋มลึกลงไปจากระดับเดิมเล็กน้อย จุดช้ำสีน้ำตาลจะค่อย ๆ ขยายวงกว้างออกไปเป็นแผลวงกลม หรือวงรีรูปไข่ ซึ่งมองเห็นลักษณะของเชื้อราที่เจริญภายใต้เนื้อเยื่อของพืชขยายออกไปใน ลักษณะที่เป็นวงกลมสีดำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งภายในบรรจุสปอร์ของเชื้อราอยู่ ขนาดของแผลแตกต่างกัน บางผลอาจมีแผลใหญ่ยาวถึงเศษสองส่วนสามของผลพริก ซึ่งทำให้ผลพริกเน่าทั้งผล ผลพริกที่มีแผลดังกล่าวนี้จะร่วงเสียก่อนที่ผลจะสุก หรือแก่เต็มที่ และเมื่อนำไปตากแดดก็มักจะเกิดการเน่ามากขึ้นอีกในระหว่างการเก็บรักษาอาจจะ ทำให้พริกที่เก็บไว้ทั้งหมดเน่าติดต่อกันไปเสียหายทั้งหมด ทั้งนี้ เป็นเพราะเชื้อรายังมีชีวิตอยู่ในแผลเหล่านั้น เมล็ดพริกจากผลที่เป็นโรคนี้เชื้อโรคติดไปด้วยจึงไม่ควรนำไปเก็บไว้ทำพันธุ์ นอกจากนี้เชื้อรานี้ทำให้ใบเป็นจุดสีน้ำตาล ขอบเหลืองแต่ไม่เสียหายและเป็นปัญหามากเช่น ระยะที่เกิดบนผลพริก การป้องกันกำจัด 1. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดีปลูก คือเลือกจากผลพริกที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ 2. ควรใช้ยาคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย ยาฆ่าเชื้อราแคปแทนเพื่อทำลายเชื้อโรค ซึ่งอาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ 3. ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโฟลาแทน, ไดเทน เอ็ม 45 ฉีดพ่นทุก ๆ 3-15 วันต่อครั้ง ยาทุกชนิด ยกเว้นพวกกำมะถันให้ผลเหมือนกันในการป้องกันโรคนี้ 4. พริกบางพันธุ์มีความต้านทานสูง เช่น พริกเหลืองและพริกหยวก เป็นต้น 5. อย่าใช้เมล็ดจากผลที่เป็นโรคนี้ทำเมล็ดพันธุ์

แมลง – ศัตรูพริกและการป้องกันกำจัด
แมลง – ศัตรูพริกและการป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟ การทำลายและความเสียหาย เพลี้ยไฟมีปากที่ใช้ดูดน้ำเลี้ยงใบพืชได้ เพลี้ยไฟชอบทำลาย ยอด – ใบ อ่อน ตาดอก เมื่อพืชถูกทำลายจะเป็นรอยด้านสีน้ำตาล ชงักการเจริญเติบโตหรือแห้งตายในที่สุด ถ้าเป็นใบอ่อนจะทำให้ใบหงิก บิด ขอบใบอาจห่อขึ้นด้านบน ถ้าดูด้านล่างใบให้ดีจะพบตัวเพลี้ย เมื่อใบแก่ขึ้นจะเป็นรอยด้านสีน้ำตาลหากเป็นช่วงอากาศแห้งแล้งฝนมีตก พืชขาดน้ำ จะทำความเสียหายให้ถึง 50% การป้องกัน กำจัด เมื่อเริ่มพบเพลี้ยไฟ ก็ให้หาทางกำจัดตั้งแต่ในระยะแรก ขั้นต้นอย่าปล่อยให้พืชขาดน้ำต่อไป การพิจารณาใช้ยาฆ่าแมลงควรเลือกใช้ยาด้วยความรอบคอบในแหล่งปลูกใหม่ ๆ ยาเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งควรใช้ได้ผล เช่น เซฟวิน 85, บา ซูดิน หากเป็นแหล่งปลูกพริกเก่าซึ่งเคยใช้ยาที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ผลให้เลือกใช้ยา ที่ออกฤทธิ์เฉพาะหรือฤทธิ์แรงต่อเพลี้ยไฟ เช่น โตกุไธออน, แลนเนท อย่างใดอย่างหนึ่งพ่นทุก 5 วัน สักสองครั้งติดต่อกัน เมื่อหายแล้วก็หยุด หรือจะพ่นป้องกันทุก ๆ 7-10 วัน หากอยู่ในช่วงระบาด เวลาพ่นยาควรพิถีพิถันพ่นให้ทั่วถึงโดยเฉพาะตามยอดและใต้ใบ เพลี้ยอ่อน การทำลายและความเสียหาย เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงดูดน้ำเลี้ยงความเสียหายที่เห็นได้ชัดหากเกิดมาก ใบจะเป็นคลื่นใหญ่ บิด แตกต่างจากเพลี้ยไฟและไรขาว เมื่อพลิกดูจะเห็นตัวได้ง่าย การระบาดมักเกิดเป็นหย่อม ๆ ถ้ามีปริมาณเพลี้ยอ่อนมาก จะสังเกตว่ามีน้ำเหนียว ๆ ตามใบพริก บางครั้งก็มีราดำขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากน้ำหวานที่เพลี้ยถ่ายออกมา เพลี้ยอ่อนยังสามารถแพร่เชื้อโรคไวรัสหรือวิสาของพริกทำให้เป็นโรคใบด่าง ใบลาย ต่าง ๆ อันเป็นโรคสำคัญประเภทหนึ่งของพริกอันเป็นผลจากการที่เพลี้ยอ่อนถ่ายเชื้อ ใช้เวลาดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรคมาก่อน การป้องกันกำจัด เพลี้ยอ่อนอาจแพร่ระบาดมาจากพืชอื่น ที่ปลูกในบริเวณใกล้เคียง เช่น ฝ้าย, มะเขือ และผัก การปล่อยให้แปลงมีหญ้าและวัชพืชรกมักจะพบเพลี้ยอ่อนระบาดเสมอ ๆ หมั่นตรวจดูตามใต้ใบ ยอดพริก ตั้งแต่พริกเริ่มตั้งตัว ถ้าพบตัวอ่อนหรือตัวแก่ควรพ่นยากำจัด หรือพ่นยาป้องกันทุก 10 วัน จนกว่าพริกจะโตเต็มที่ ทั้งนี้จะช่วยทำให้พริกทนต่อโรคได้ดีกว่าในภายหลัง ยาจำพวก ไดเมทโธเอท, บาซูดิน หรือไดอาซีโนน, เมทาซิสท๊อก หรือยาดูดซึมอื่น ๆ ใช้ได้ดีกับเพลี้ยอ่อน.




 

Create Date : 24 ธันวาคม 2553
1 comments
Last Update : 24 ธันวาคม 2553 9:22:37 น.
Counter : 993 Pageviews.

 

ปลูกพริกต้องดูแลมากมายขนาดนี้นี่เอง

บ้านเราถึงปลูกพริกไ่ม่รอดสักต้น

เดี๋ยวต้องลองใหม่แล้วค่ะ จะทำตามคำแนะนำนะคะ

 

โดย: Shallow Grave 24 ธันวาคม 2553 9:10:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


memorystick
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add memorystick's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.