พิธีคล้องช้าง
พิธีกรรมคล้องช้าง

ที่มา //www.changdee.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=242455


พิธีกรรมที่เนื่องในการจับช้าง



พ่อหมอเฒ่า (ปฏิยายะ) ทำด้วยสำริด ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น เข้าใจว่าเดิมเป็นรูปเคารพอยูในกรมพระคชบาล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น



แต่เดิมอาจจะจัดได้ว่าการจับช้างเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมีผู้อยากชมกันมาก แต่นักกีฬานั้นมีน้อยลง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการจับช้างเป็นกีฬาที่เสี่ยงมากเกินไป และล่อแหลมต่ออันตรายมากชนิดหนึ่งนักกีฬาหรือผู้ที่จะไปจับช้าง ต้องมีข้อปฏิบัติแล้ว ภรรยาและบุตรที่อยู่ทางบ้านก็ต้องปฏิบัติอยู่ในวินัยที่กำหนดอย่างเคร่งครัดเฉียบขาดเช่นกัน มิฉะนั้นแล้วเคราะห์กรรมจะเกิดขึ้นกับสามีที่เข้าป่าไปจับช้างได้ เพราะถือว่าสามีและภรรยาเป็นบุคคลคนเดียวกัน
ด้วยเหตุดังกล่าวผู้ที่จะไปจับช้างจะออกป่าไปต้องโขลงต้องถือกฎระเบียบปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเรียกว่า "เข้ากรรม" ถ้าหากทำผิดหรือที่เรียกว่า "กรรมแตก" ถือกันว่าเป็นอันตรายแก่ชีวิต แต่ถ้ารู้ตัวก่อนจำต้องป้องกันด้วยการเข้า "บรรพชา" อันเป็นการให้ผู้ที่จะไปด้วยกันจับตัวผู้ผิดโกนหัวให้นุ่งห่มแบบพระสงฆ์สักพักหนึ่งก่อนถือเป็นการต่อศีลแล้วจึงหมดเคราะห์
เนื่องจากการออกไปจับช้างป่าเป็นงานเสี่ยงและอันตรายต้องอาศัยความกล้าหาญและความชำนาญมากกับทั้งจะต้องการขวัญและกำลังใจอย่างยิ่งโดยเฉพาะกำลังใจจากผีประกำ๑ ที่ตนนับถือ ให้ช่วยปกป้องคุ้มครองให้แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง ๆ ทั้งปวง และช่วยให้ตนสามารถคล้องช้างป่าได้สำเร็จ และปลอดภัย ดังนั้นกลุ่มผู้ไปจับช้างจึงต้องประกอบพิธี "เข้ากรรม" ถือพรหมจรรย์ และปฏิบัติตามข้อบังคับต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด รวมทั้งช้างที่เจ้าของจะใช้เป็นช้างต่อ ไปจับช้างป่าก็ต้องงดใช้งานหนักอย่างน้อย ๑ เดือน และเลี้ยงดูให้อาหารอย่างดี เพื่อให้ต่อสู้กับช้างป่าได้
การประกอบพิธีเข้ากรรมอันเป็นพิธีไสยศาสตร์นั้น ต้องหาฤกษ์ยามที่จะประกอบพิธีที่ศาลปะกำก่อนเพื่อเป็นการแจ้ง ให้แก่ผีปะกำและครูประกำทราบและให้ช่วยดูแลพวกตนให้พ้นจากอันตราย ซึ่งในพิธีจะมีหมอเฒ่าเป็นประธาน มีควาญมาร่วมเป็นผู้ช่วยรวมทั้งญาติพี่น้องมานั่งล้อมรอบพิธี
เครื่องเซ่นที่นำมาประกอบพิธี ประกอบด้วย๒
๑. หัวหมู 1 หัว และเครื่องใน หรือเฉพาะหัวหมูก็ได้ ถ้าไม่มีใช้เป็ดต้ม 1 ตัวแทนได้
๒. ไก่ต้ม 1 ตัว
๓. เหล้าขาว 1 ขวด
๔. กรวยใบตองเสียบดอกไม้ ๕ กรวย ถ้าไม่มีดอกไม้ให้ใช้ยอดต้นปีกไก่ดำ หรือยอดม่อนแทน
๕. เทียน ๑ คู่
๖. หมาก ๒ คำ
๗. บุหรี่ ๒ มวน
๘. ข้าวสวย ๑ จาน
๙. แกง ๑ ถ้วย
๑๐. ขมิ้นผง
๑๑. น้ำเปล่า ๑ ขัน
๑๒. ด้ายดำ ด้ายแดง สำหรับผูกแขน

ผู้ที่เข้าร่วมพิธีต้องนุ่งผ้าถุงหรือผ้าโจงกระเบน เป็นผ้าไทยหางกระรอกสีเขียวไพล มีผ้าขาวม้าคาดเอว ๑ ผืน และมีผ้าสะไบ (คล้ายผ้าขาวม้า) คล้องเฉวียงไหล่ ห้ามสวมเสื้อ เมื่อเริ่มพิธีหมอเฒ่าและควาญจะยกเครื่องเซ่นถวายผีปะกำ จุดเทียนบูชาอธิษฐานและเสี่ยงทายการเดินทางด้วยไก่ต้มที่นำมา ซึ่งเรียกว่าพิธีถอดกระดูกคางไก่๑ ด้วยการพูดว่า "พวกข้าพเจ้าจะไปคลองช้างคราวนี้จะได้หรือไม่ ถ้าไปได้ขอให้หัวไก่เป็นสีขาวตลอด และให้คางไก่ปกติเรียบร้อย ถ้าไปไม่ได้ขอให้หัวไก่นั้นฟกช้ำดำเขียวและคางไก่งองุ้มเข้าหาคอ" เมื่ออธิษฐานแล้วรินเหล้าใส่แก้วถวายผีปะกำ และหยิบหัวไก่มาดู ถ้าเป็นปกติก็ออกเดินทางได้และจะประสบโชคดี แต่ถ้าหัวไก่ฟกช้ำดำเขียวก็ออกเดินทางไม่ได้จะมีอันตราย และเมื่อการเซ่นสรวงผีปะกำเสร็จแล้ว หมอเฒ่าจะยกหนังปะกำจากศาลออกมาวางบนกลางหลังช้างต่อ ที่ปูหนังรองไว้ก่อนแล้ว หลาย ๆ ผืน ซึ่งช้างต่อทุกเชือกจะต้องมีหมอช้างขี่คออยู่ และมีควาญขี่ท้าย หนังปะกำที่วางนั้นจะม้วนเป็น ๒ วง วางทับลงไปบนหนังรองหลังช้างและผูกไม้งกติดกับหนังปะกำนอกจากนั้นก็เตรียมเสบียงอาหาร และเครื่องใช้ที่จำเป็นต่าง ๆ พร้อมที่จะออกเดินทางตามฤกษ์ที่หมอเฒ่ากำหนดไว้ โดยจัด "ขบวนเรียงตามลำดับอาวุโส ซึ่งมีหมอเฒ่านำหน้าตามด้วยครูบา และหมอช้าง อื่น ๆ กับทั้งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการ"เข้ากรรม" อย่างเคร่งครัด ทั้งหมดช้างและภรรยากับบุตรซึ่งอยู่ทางบ้าน ตลอดเวลาที่หมอช้างเดินทางหมอช้างจะลงจากหลังช้างได้เฉพาะตอนหุงหาอาหารเวลาเช้า เย็น และหยุดพักผ่อนตอนพลงค่ำเท่านั้น เวลานอนต้องผลัดเปลี่ยนกันเฝ้ายาม การงานต้องช่วยกัน
ข้อปฏิบัติของหมอช้าง๒ที่สำคัญมี ๑๔ ข้อ อาทิ
1. ห้ามแต่งกายสวยงาม ให้นุ่งผ้าเก่า และห้ามสวมเสื้อ
2. ห้ามลูบไล้ตัวและผมด้วยของหอม แป้งหอม และน้ำมันหอม
3. ห้ามมีเงินติดตัวเกิน ๔ ไพ
4. หลังจากพิธีเซ่นหนังปะกำแล้ว ห้ามขึ้นเรือนของตนอีกจนกว่าจะกลับมาจากการคล้องช้าง และนำหนังปะกำไปเก็บไว้ที่ศาลปะกำแล้ว
5. ห้ามยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงในขณะออกเดินทางไปคล้องช้าง

6.ห้ามยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงในขณะออกเดินทางไปคล้องช้าง
7. ห้ามใช้ผ้าขาวม้าโพกศีรษะขณะเดินทาง
8. ถ้าไปถึงหมู่บ้านใดเวลาค่ำ จะอาศัยหลับนอนบ้านผู้ใดไม่ได้ ต้องก่อไปนอนกลางดิน
9. ถ้ามีคนใจให้ของใช้ของกินขณะที่อยู่ในหมู่บ้าน ถ้าผู้ให้เป็นผู้หญิง จะรับของจากมือผู้หญิงโดยตรงไม่ได้ ต้องให้ทอดผ้าแบบเดียวกับทอดผ้าถวายของแด่พระสงฆ์ เพราะถือว่ายัง "บรรพชา" อยู่
10. ต้องเคารพและเชื่อฟังหมอเฒ่า
11. ต้องพูดจาด้วยภาษาป่า ห้ามพูดด้วยภาษาธรรมดา
12. ห้ามพูดเท็จหรือมีความลับต่อกัน
13. หมอช้างอื่น ๆ ต้องเข้านอนหลังหมอเฒ่า และก่อนนอนต้องไว้หนังปะกำ และครูบาอาจารย์
14. เมื่อสูบบุหรี่ต้องบังแสงไฟไว้ จะปล่อยให้แสงไฟรอดออกมาไม่ได้
15. ห้ามคล้องลูกช้างต่อติดแม่ที่วิ่งตามไปในขณะคล้องช้างป่า
16. เมื่อจับช้างได้ และบังเอิญช้างเชือกนั้นตาย หรือช้างเชือกที่ขี่ไปตายลง ห้ามหมอช้างเจ้าของช้างนั้นแตะต้องช้าง ไม่ว่าแล่เนื้อหรือเลื่อยเอางาเด็ดขาด
สำหรับข้อปฏิบัติของผู้เป็นภรรยาและบุตรของบรรดาหมอช้างที่ออกไปจับช้างป่า ก็จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อเป็นสิริมงคลแก่สามี๑
1. ห้ามแต่งกายสวยงาม หรือนุ่งผ้าใหม่
2. ห้ามลูบไล้ตัวและผม ด้วยขมิ้นของหอม แป้งหอม และน้ำมันหอม
3. ห้ามหักไม้ทำฟืนด้วยการใช้เท้าเหยียบ แต่ให้หักด้วยหัวเข่า หรือใช้มีดพร้าฟันให้ขาด
4. ห้ามรับรองคนแปลกหน้าหรือผู้ที่มิได้เกี่ยวข้องเป็นญาติสนิทขึ้นมาบนเรือนหรืออาศัยในบ้านโดยเด็ดขาด
5. ห้ามคนในบ้านนั่งขวางบันได หรือค่อมธรณีประตูโดยเด็ดขาด
6. ทำความสะอาดบ้านเรือน กวาดถู โดยห้ามใช้ผ้าปัด หรือ สบัดฝุ่น
7. เวลานอนให้นอนกับกระดานห้ามนอนบนเสื่อหรือที่นอน
8. เครื่องใช้เครื่องมือต่าง ๆ ให้เก็บขึ้นบนเรือน ห้ามกองไว้ใต้ถุน
9. ห้ามตัดผม ตัดเล็บ
10. ห้ามหวีผม และสระผม
11. ห้ามคนในบ้านไปนอนหรือพักค้างคืนบ้านอื่น หรือที่อื่น
12. ถ้ามีคนมาเรียกไม่ว่าเวลาใด ห้ามขานรับขณะอยู่บนบ้าน ให้ลงมาจากบ้านก่อนจึงจะขานรับได้
13. ห้ามพูดโกหก หรือดุด่า หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย
14. ห้ามร้องรำทำเพลง หรือแสดงอาการร่าเริงเบิกบาน
15. เวลาทำครัว ห้ามชัดฟืนในเตาออก แต่ให้ดันฟืนเข้าไปในเตา
16. ให้ไว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสางเทวดา ก่อนเข้านอนทุกครั้ง


เมื่อกลุ่มหมอช้างที่จะคล้องช้างป่าเดินทางถึงบริเวณที่จะทำการคล้องแล้ว ก่อนจะเริ่มดำเนินการหมอเฒ่าจะต้องทำพิธี "ปะสะ" ให้หมอช้างในกลุ่มเสียก่อน แล้วจึงทำพิธีเบิกไพร หรือเปิดป่า เพื่อขออนุญาตเจ้าป่าคล้องช้างต่อไป


พิธีปะสะ

พิธีปะสะเป็นพิธีที่หมอเฒ่า จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเดินทางหรือผู้เข้ากรรมที่จะไปคล้องช้างเป็นผู้บริสุทธิ์ก่อนเดินทาง เพราะผู้เข้ากรรมที่บริสุทธิ์มีศีลธรรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ดังนั้นหมอเฒ่าจะให้ผู้ที่ร่วมเดินทางนั้นสารภาพความผิดที่ตนได้กระทำไว้ก่อนเดินทางมา และผู้ที่เคยกระทำผิดศีลห้าจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมขบวนการคล้องช้าง จนกว่าจะสารภาพบาปกับหมอเฒ่า หรือครูบาใหญ่ก่อน การทำพิธีนี้ต้องมีของใช้ในการประกอบการด้วยคือ ข้าสาร ๑ ถ้วย ดอกไม้ ๕ ดอก เทียน ๑ คู่ และเงิน ซึ่งแล้วแต่โทษว่าเป็นโทษหนักหรือโทษเบาซึ่งเมื่อหมอเฒ่าหรือครูบาใหญ่ถามถึงความผิดที่ทำ และหมอช้างสารภาพแล้วครูบาใหญ่จึงจะบอกว่าต้องเสียค่าปรับเป็นเงินเท่าใด๑ อาทิ

1. ความผิดฐานขโมยทรัพย์สิ่งของผู้อื่น เสียค่าชำระโทษ 12 บาท
2. ความผิดฐานปล้นทรัพย์ ค่าชำระโทษ ๔๐ บาท
3. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ค่าชำระโทษ ๖๐ บาท
4. ความผิดฐานล่วงเกินภรรยาผู้อื่น หรือเป็นชู้ ค่าชำระโทษ ๖๐ บาท
5. ความผิดฐานกินเนื้องูเหลือม๒ ไม่สามารถชำระโทษให้หมดมลทินได้ หรือทำให้เป็นคนบริสุทธิ์ได้

จากนั้นครูบาใหญ่จะนำผู้กระทำผิดประเภทความผิดต่อเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผีสางทั้งหลายที่มาประชุมเพื่อช่วยชำระบาปให้ และกราบขออภัยต่อแม่พระธรณี ๓ ครั้ง แล้วจากนั้นครูบาใหญ่ขอให้พระอาทิตย์ผู้เป็นเจ้าแห่งจักรวาล ช่วยฉายแสงอาบชำระความไม่บริสุทธิ์ของหมดช้างอีกครั้ง อันเป็นเสร็จพิธีปะสะ


พิธีเบิกไพร


พิธีเบิกไพร หรือพิธีเปิดป่า เป็นพิธีกรรมที่ประกอบขึ้นเพื่อขอนุญาตเจ้าป่าเจ้าเขาก่อนจะข้าไปจับช้างทั้งนี้ด้วยความเชื่อที่ว่าของทุกอย่างในป่านั้นมีเจ้าของทั้งสิ้น ซึ่งคือเจ้าป่าเจ้าเขา จึงต้องขอเสียก่อน และมีเรื่องกล่าวว่า ผู้ที่เริ่มคล้องช้างคนแรกคือ "อากง" ซึ่งขี่ควายไปต่อช้าง และเมื่อกระโดดขึ้นขี่หลังช้างป่าแล้ว ช้างป่าก็พาวิ่งหายไปในป่าลึกผู้ไปด้วยตามหาไม่พบ จึงถือว่าอากงเป็นเจ้าของป่า ดังนั้นหมอช้างจึงต้องขอช้างจากอากงก่อน
หมอเฒ่าจะเป็นผู้ประกอบพิธีเบิกไพร อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำพิธีนี้มีเนื้อสัตว์ ๑ ตัว ข้าวสาร หมากพลู บุหรี่และสุรา โดยหมอเฒ่าจะตั้งศาลเล็ก ๆ ขึ้นหลังหนึ่ง เอาเครื่องเซ่นที่กล่าวมาตั้งถวาย และกล่าวข้อความทำพิธีเบิกไพรทำนองว่า "วันนี้พวกข้าพเจ้า หมอช้าง ควาญช้าง และช้างต่อ มาเที่ยวหาลูกช้างลูกม้าจากเจ้าป่า โดยมีของมาถวายขอให้ท่านไล่โขลงช้างป่าออกมาให้พวกข้าพเจ้าโดยด่วน ส่วนสัตว์ร้ายต่าง ๆ นั้น ขออย่าได้ปล่อยมาราบกวนพวกข้าพเจ้าเลย"
เมื่อทำพิธีเบิกไพรเสร็จแล้ว ครูบาใหญ่จะพาหมอช้างไปหาที่เหมาะสม เพื่อไปตั้งค่ายพักแรม หรือ "ชมรม" ระหว่างนี้หากพบเห็นอะไรแปลกหรือผิดปกติห้ามทักท้วงหยอกล้อ แต่ให้บอกหมอเฒ่าทราบ
หลังจากที่หาที่ตั้งชมรมได้แล้ว หมอเฒ่าจะเริ่มบริกรรมทำให้บริเวณชมรมเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการก่อกองไฟศักดิ์สิทธิ์ ๓ กอง๑ สำหรับคุ้มครองทุกคนมิให้เป็นอันตราย และทุกคนต้องแสดงความคารวะ จะออกไปไหนจะต้องไหว้ลากองไฟก่อน และกองไฟทั้ง ๓ กองนี้จะต้องจุดให้ลุกตลอดเวลา จนกว่าการคล้องช้างจะสิ้นสุดลง
เมื่อถึงเวลาจะออกคล้องช้าง หมอเฒ่าก็จะให้หมอช้างทุกคนนำคันจามไปที่ศาลปู่ตา หมอเฒ่าหรือครูบาใหญ่จะทำพิธีขอความคุ้มครองจากผีปู่ตา โดยให้หมอช้างทุกคนหันหน้าไปทางที่พักพร้อมกับกล่าวว่า "อิเฒ่าอังฮะ" หมายความว่าการคล้องช้างครั้งนี้ต้องสำเร็จแน่นอน
สำหรับพิธีเบิกไพรนี้ มีหลักฐานปรากฏในสมุทรโฆษคำฉันท์ ซึ่งบรรยายถึงการไปวังช้างของพระสมุทรโฆษ ที่หมอเฒ่าจะทำพิธีเบิกไพรวังช้างก่อน ดังความว่า

ปางนั้นธใช้หมอ สิทธิกรรมแกว่นกล
ให้เข้ายังไพรสณ- ฑประสงค์จะเบิกไพร
หมอเฒ่าเอารพล ศิษยคนทั้งหลายไป


เข้าในพนาไลย และเลียบหาคูพฤกษา
พบไม้หนึ่งงามสม สุขรมยสมญา
สามารถหนักหนา ศุภลักษณสาผล
หมอจึ่งเอาพัสตรา มานุ่งไม้อันนฤมล
สวดมนต์ละลายคน- ธวิเลปนสรรถสม
ธงฉัตรภูษา ประดับสรรพโดยอาคม
พนักโครอันพาดสดมภ์ สำหรับรอบรเวียนกรรม์
บูชายถาศัก- ดิและการยทุกอัน
ล้วนแล้ลงองบรร- พประสงคเบิกไพรฯ

อย่างไรก็ดี คาถาหรือมนต์ที่หมอช้างสวดในที่ต่าง ๆ เมื่อลงมือจับช้างป่ามีดังนี้

1. เก็บสิ่งของและหนังปะกำขึ้นหลังช้าง หมอขึ้นขี่คอช้างเวลาช้างออกเดิน "เชิญพระครูเดินหน้า ผู้ข้าเดินหลังสังขาตังวินาศสันติ" (พระครูคือพระศวร) จากนั้นผู้เป็นศิษย์กล่าวคาถา "โอมเพนิกเบิกแผนก พกำกวมงามพระธรณีทายเส้นนี้ก็เคยกล่าว ปล่องนี้ถูกเคยเที่ยว อมสวาหะโต นะโมตัสสะ"
2. ก่อนเข้าเขตป่า "โอมเพนิก เบิกแผนก แยกประกาม งามพระธรณีเส้นทางนี้ กูจุล่วง ปล่องทางนี้กูจะเที่ยว โอมสวาหิโต โนโมตัสสะ"
3. พบต้นไม้ใหญ่ "เจ้าต้นไม้ เชิญเจ้าออกไป สังกัดจังวินาศสันติ"
4. ถึงที่พัก "พระนางธรณีอยู่แล้วหรือยัง สังขาตัง วินาศสันติ โอมเพนิกเบิกแผนก แยกพะกำกวม งามพระธรณี สิทธิสวาหะ"
5. ยกหนังปะกำลงจากหลังช้าง "โอมเพนิก เบิกแผนก แยกพะกำกวม งามพระธณี สิทธิสังวะหะ"
6. เวลากินข้าวเซ่นหนังปะกำ "เทียกกวดชะแอนบังญัติ เทียกแล้วเอาโซก ขอหมานจุการ และขอให้อยู่ดีมีแรง"
7. เมื่อออกเดินทางต่อ "โอมเพนิก เลิกเชียวลม สิทธิสวาหะ"
8. เมื่อเดินทางถึงแม่น้ำลำคลอง "นางพระคงคาเจ้าเอน อยู่แล้วหรือยัง สังขาตัง วิสาศสันติ"
9. เมื่อถึงดงหรือภูเขา "เจ้าภูเจ้าเขา อยู่แล้วหรือยัง สังขาตัง วิสศสันติ"



วังช้างอยุธยา แล เพนียด

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ถ.ป่าโทน

อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000

โทร 0-3532-1982 แฟกซ์ 0-3521-1001



Create Date : 04 พฤษภาคม 2550
Last Update : 6 ธันวาคม 2551 7:07:06 น.
Counter : 713 Pageviews.

1 comments
  
สนธิสัญญา เบอร์ นี

สนธิสัญญาเบอร์นี คือ สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรก ที่ไทยได้ทำกับประเทศตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ลอร์ด แอมเฮิสต์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินประจำอินเดีย ได้ส่งเฮนรี่ เบอร์นี่ เป็นทูตอังกฤษคนที่สองที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย พ.ศ. 2368 เพื่อเจรจาปัญหาทางการเมืองและการค้ากับไทยในด้านการค้า รัฐบาลอังกฤษมีความประสงค์ที่จะขอเปิดสัมพันธไมตรีทางการค้ากับไทย และขอความสะดวกในการในการค้าได้โดยเสรี เบอร์นีใช้เวลาถึง 5 เดือนจึงสามารถทำการตกลงทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์กับไทยได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนพ.ศ. 2369 นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่ทำกับประเทศตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


สนธิสัญญาเบอร์นี ประกอบไปด้วยสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีรวม 14 ข้อ และมีสนธิสัญญาทางการพาณิชย์แยกออกมาอีกฉบับหนึ่งรวม 6 ข้อ ในด้านการค้าได้มีข้อตกลงไว้ดังนี้ คือ

อนุญาตให้พ่อค้าไทยทำการค้ากับพ่อค้าชาวอังกฤษได้อย่างเสรี ตามความสะดวก รัฐบาลห้ามมิให้พ่อค้าซื้อข้าวเพื่อส่งออกนอกประเทศ ส่วนกระสุนปืน และดินปืนนั้น ถ้านำมาขายจะต้องขายให้แก่รัฐบาลไทยได้เพียงผู้เดียว ถ้าหากรัฐบาลไทยไม่ต้องการให้นำออกไป
รัฐบาลจะเก็บภาษีจากพ่อค้าอังกฤษรวมเป็นอย่างเดียว ตามความกว้างของปากเรือ หากเรือใดได้บรรทุกสินค้ามาให้คิดราคาตามความกว้างของปากเรือเป็นราคาวาละ 1,700 บาท ส่วนเรือที่ไม่ได้บรรทุกสินค้ามานั้นให้คิดตามความกว้างของปากเรือราคาวาละ 1,500 บาท
เรือสินค้าของพ่อค้าชาวอังกฤษที่เข้ามาค้าขายกับไทย จะต้องมาทอดสมอคอยอยู่นอกสันดอนปากแม่น้ำก่อน ผู้บังคับการเรือจะต้องให้คนนำบัญชีรายชื่อสินค้าที่บรรทุกมาตลอดจนอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ แจ้งแก่เจ้าเมืองปากน้ำ
เจ้าพนักงานไทยยังคงมีสิทธิลงไปตรวจสอบสินค้าของพ่อค้า และให้นำสินค้าประเภทอาวุธยุทธภัณฑ์ไว้ ณ เมืองปากน้ำ แล้วเจ้าเมืองจึงอนุญาตให้เรือมาถึงกรุงเทพ
พ่อค้าอังกฤษ ตลอดจนผู้บังคับการเรือและลูกเรือทั้งหลายซึ่งเข้ามาค้าขายยังเมืองไทย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยทุกประการ
โดย: โตมิฯ IP: 58.9.184.196 วันที่: 15 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:37:02 น.

โตมิโต กูโชว์ดะ
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ร่างทรงของ "วรรณวรรธน์" โปรดอย่าถามว่าเป็นใครในอดีต รู้แต่ว่าตอนนี้ยังมีลมหายใจอยู่ เท่านั้นก็มากเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งได้รู้จักกันแล้ว
New Comments
พฤษภาคม 2550

 
 
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31