ToGethel2
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง, การค้า, การลงทุน

15. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง

โครงข่ายการขนส่งและการคมนาคม มีการพัฒนาอย่างมาก ทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางเรือ เป็นส่วนในการพัฒนาประเทศ ในอีกไม่นานจะเห็นรถยนต์ รถไฟ เรือของจีนทำการค้า ไปทั่วประเทศไทยและประเทศอื่นๆ รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดพัฒนาทางรถไฟจากตะวันตก(คุณหมิง)ไปชายทะเลภาคตะวันออกของไทย ให้สามารถเดินทางได้ในเวลาเพียง ๒๔ ชั่วโมงเท่านั้น ปัจจุบันใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 วัน มณฑลต่าง ๆ ก็สนใจใช้ลำน้ำโขงออกไปสู่ไทย ลาว พม่า และกัมพูชา จึงนับเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับนักธุรกิจไทยประการหนึ่ง
จีนสนใจในโครงการคลองกระเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการพลังงานของจีน โครงการนี้เคยเป็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย กับสิงคโปร์และเป็นปัญหาความมั่นคง โครงการนี้มีผลต่อการอยู่รอดของจีน ที่ต้องพึ่งพาประเทศอื่น ๆในประชาคมโลกมากขึ้น นอกจากนั้นมีโครงการอื่นๆเชื่อมมหาสมุทรอินเดีย กับ แปซิฟิก
จีนส่งเสริมมิตรภาพกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น มีการขอเข้าร่วมจัดตั้ง FTA กับไทย โดยยกเว้นภาษีพืชผลการเกษตรที่ไปขายในจีนเปิดโอกาสให้ผลไม้ไทยไปขายในจีนมากขึ้น แต่กลับทำให้ผลไม้จีนมาขายในเมืองไทยมากกว่าที่ไทยส่งไปขายในจีน จีนยังคงให้ความสำคัญกับไทยเช่นเดิม

16. การค้า

จีนมีความสัมพันธ์กับไทยมากขึ้น พิจารณาว่าไทยกับจีนไม่ใช่อื่นไกลเป็นพี่น้องกัน ทำให้อำนาจการต่อรองของไทยในยุทธ์ศาสตร์เอเชียเพิ่มมากขึ้น เป็นโอกาสของไทยที่มีคู่ค้าที่สำคัญอยู่ใกล้ตัวที่จะพึ่งพาได้ เช่น ไทยส่งออกวัตถุดิบพวกยางพารา ปูนซีเมนต์ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล จนมีผู้กล่าวว่าไทยเป็นเพียงผู้ส่งออกวัตถุดิบไปป้อนจีน เพื่อเสริมฐานะการผลิตเท่านั้น จีนได้ประโยชน์ทางการค้าจากไทยเท่าใดยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังเพราะจะเก็บเพียงข้อมูลตัวเลขทางการค้าจากศุลกากรแบบแต่ก่อนไม่ได้แล้ว ปัจจุบันต้องมองภาพกว้างมากกว่าการค้าแค่สองฝ่ายเท่านั้น เช่น การผลิตสินค้าชิ้นหนึ่งอาจแยกส่วนประกอบไปผลิตในบริษัทอื่น ๆ ได้อีกหลายบริษัท ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่าง ไทย – จีนว่าจะร่วมมือกันผลิตไปขายในประเทศที่ 3 ได้หรือไม่เป็นอีกมิติหนึ่งที่ไทยควรพิจารณาในการทำ FTA กับจีนจะมีประโยชน์มากขึ้น ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจีนมีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้นมีผลกระทบกับไทยและประเทศอื่น ๆ ในแถบเอเชียสูงมากทั้งญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เป็นผลกระทบในทางบวก เพราะจีนเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่สุด การที่ประเทศต่าง ๆ หลั่งไหลไปลงทุนในจีน นำเทคโนโลยีไปให้จีน ประมาณ 65 % เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ผลิตเพื่อการบริโภคภายในเพียง 35 % เท่านั้น ดังนั้นปริมาณการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศไม่น่าจะเพียงพอกับการบริโภคของจีน ประเทศไทยควรพิจารณาตลาดภายในองจีน ทำให้จีนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และบางสิ่งที่ไทยนำไปเสนอกับจีนมีความก้าวหน้ามากกว่าจีนแต่จีนก็เรียนรู้เร็วมากและสามารถลอกเลียนแบบสินค้าจนกลาย เป็นคู่แข่งกับไทย แต่ในภาคตะวันตกของจีน เช่น ยูนาน เหอหนาน กังสู ฯลฯ ยังมีความล้าหลัง เจริญน้อยกว่าทางตะวันออก ตลาดจีนจึงมีความหลากหลายพอสมควร จีนเป็นทั้งวิกฤติและ โอกาสของไทย ต้องพิจารณาก่อนว่าถ้าจะลงทุนในจีน จะเริ่มต้นตรงจุดไหน
การทำการค้าของจีนแต่ก่อนนี้จะร่วมกันแบ่งปันผลประโยชน์เฉพาะพี่น้องในตระกูลเดียวกันเท่านั้นแต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปหมด เหลือแบบเดิมเพียงส่วนน้อย ส่วนคนจีนในไทยที่ตั้งเป็นสมาคมต่าง ๆ ตามเครือข่ายญาติมิตรในตระกูลของตน เมื่อผู้นำจีนมาเมืองไทยกลับมีการเกี่ยงกันว่าใครจะเป็นผู้ต้อนรับผู้นำจีนที่มาไทย คนจีนโพ้นทะเลที่เป็นพ่อค้าและนักธุรกิจจะให้ความสำคัญเฉพาะ “ สมาคมหอการค้าจีน ” เท่านั้น ปัจจุบันครอบครัวจีนมีขนาดเล็กลงมากเพราะนโยบายคุมกำเนิดของจีนอนุญาตให้มีลูกได้คนเดียว ดังนั้นในชั่ว 2 อายุของคนจีนจะไม่มีญาติพี่น้องมากเหมือนเก่าแล้ว

17. การลงทุน

จีนเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนโดยเสรีในด้านตะวันออก นักลงทุนไทยที่จะไปลงทุนในแถบตะวันตกของจีนต้องพิจารณาดังนี้ (1) ต้องเข้าใจสภาพที่เป็นจริงของจีนว่า 5 ปีที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติหลั่งไหลเข้าไปลงทุนจำนวนมาก จีนสามารถเลือกนักลงทุนและนักลงทุนก็มีทางเลือกมากเช่นกัน (2) จีนพยายามปรับปรุงกลไกรองรับนักลงทุน แต่มีปัญหาช่องว่างระหว่างนโยบายในระดับชาติกับระดับท้องถิ่น (มณฑลต่าง ๆ ) ที่มีความขัดแย้งกัน จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายนักลงทุนไทยพร้อม ๆ กัน (3) ในเสฉวนจะยอมรับนักลงทุนไทยมาก เนื่องจากบริษัท ซีพี ได้เข้าไปลงทุนมานานแล้ว และมีส่วนใกล้ชิดกับการกำหนดนโยบายของจีน และมีโอกาสได้รับเลือกให้ทำโครงการจากจีนมาก (4) ธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนที่จีนก็คือธุรกิจอาหาร และการเกษตร เพราะสอดคล้องกับความต้องการของจีน เช่น ไข่ไก่ ของซีพี ครองตลาดในเสฉวน มีราคาแพง ถือว่ามีคุณภาพสูงสุด (5) การทำธุรกิจในจีนต้องสำรวจตลาดก่อนว่าต้องการทำธุรกิจประเภทใดแล้วจึงหาพันธมิตรทางธุรกิจในจีนซึ่งมีความเสี่ยงในการถูกโกงธุรกิจ เพราะไทยจะเสียเปรียบด้านภาษาและการเจรจาต่อรอง ด้านกฎหมายของจีนอยู่ในช่วงผลัดเปลี่ยนมีความไม่เรียบร้อย และไม่สอดคล้องกับนโยบายในระดับต่าง ๆ (6) ต้องให้ผู้มีประสบการณ์การทำธุรกิจในจีนให้มีความรู้ในด้านการทำการค้ากับจีนเป็นอย่างดี (7) รัฐบาลต้องส่งเสริมให้บริษัทใหญ่ให้ความช่วยเหลือบริษัทเล็ก ด้วยการให้ทำงานร่วมกันโดยมีบริษัทใหญ่เป็นผู้นำร่อง ซึ่งทำได้ยากแต่รัฐบาลต้องช่วยให้บริษัทขนาดใหญ่ / ขนาดกลาง / ขนาดเล็ก ได้ทำงานร่วมกันได้ช่วยเหลือกันและกันให้เข้มแข็งทำธุรกิจกับจีนได้ (8) ธุรกิจการท่องเที่ยว ของไทยควรพิจารณาจัดในลักษณะ Package ไปเชื่อมโยงกับธุรกิจการท่องเที่ยวของจีน และนำไปสู่ประเทศอื่นๆ เพราะในภาคตะวันตกของจีนมีธรรมชาติที่มีค่ามหาศาลในการเอื้อประโยชน์ด้านธุรกิจการท่องเที่ยว ไทยควรเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อขายให้ประเทศที่3 ต่อไป จะมีธุรกิจอื่นๆตามมา เช่น โรงแรม อาหาร สปา นวด อบสมุนไพร เป็นต้น
บริษัท ซีพี เป็นผู้ลงทุนรายแรกของไทยที่ไปดำเนินกิจการในจีน เมืองเสิ่นเจิ้น โดยเริ่มจากเลี้ยงไก่ ปัจจุบันซีพีมีกิจการหลากหลายเพิ่มจากเดิมมาก ทั้งในเซี่ยงไฮ้และฮ่องกง และยังทำกิจการ LOTUS ขยายสาขาไปหลายเมือง โดยลดกิจการด้านการเลี้ยงไก่ลง เปลี่ยนเป็นกิจการด้านค้าปลีก และมีกิจการ Logistic เพิ่มขึ้นเนื่องจาก CP มีเครือข่ายทางการค้าไปแทบทั่วประเทศจีน สามารถสนับสนุนด้าน Logistic ได้ดี แต่ก็ไม่ได้เป็นนักลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในจีน
นักลงทุนจากต่างประเทศจะเน้นการลงทุนในเซี่ยงไฮ้กันมาก ทำให้จีนทางใต้เริ่มคิดที่จะแข่งขันพัฒนามณฑลเล็ก ๆ ทางใต้มากขึ้น เช่น กวางสี กุ้ยโจว โดยเฉพาะกวางสีมีเขตแดนติดกับเวียตนามและมีเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อกับกุ้ยหลิน รัฐบาลจีนได้จัด Asean China Trade Fair ในเมืองกวางสีเป็นประจำอีกด้วย ส่วนเมืองไหหลำเป็นแหล่งที่จีนสนับสนุนให้เพาะปลูกพืชผักผลไม้เมืองร้อน เพื่อป้อนภาคเหนือของจีน เช่น มะละกอ มังคุด มะม่วง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาพันธ์พืชให้มีคุณภาพ
 








Create Date : 28 สิงหาคม 2551
Last Update : 20 กันยายน 2551 22:52:05 น. 1 comments
Counter : 291 Pageviews.

 
กระทรวงพาณิชย์จัดงาน The 6th Thailand International Logistics Fair 2009 อย่างยิ่งใหญ่
เน้นสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ครอบคลุมอาเซียน พร้อมจัดกิจกรรมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ
พัฒนาการบริหารจัดการและลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของไทย

กรุงเทพฯ –กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ร่วมกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย และหน่วยงานสนับสนุนอีก 14 องค์กร จัดงาน The 6th Thailand International Logistics Fair 2009 ระหว่างวันที่ 9-13 กันยายน 2552 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค พบกับสัมมนาและกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ต่างๆ มากมายภายในงาน เพื่อช่วยสร้างโอกาสทางการค้า และเสริมสร้างความรู้ด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้ประกอบการไทย
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าในภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ทั่วโลกกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ โลจิสติกส์มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจการค้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งต้องพึ่งพาการส่งออกถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของ GDP จึงมีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนาการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการการส่งออก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก เนื่องจากต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยในขณะนี้ยังสูงถึงร้อยละ 18.9 ของ GDP
“เรื่องโลจิสติกส์เป็นเรื่องที่ได้รับความสำคัญอย่างยิ่งจากรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เนื่องจากเป็นประตูสู่การค้าขายที่มีประสิทธิภาพของประเทศ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติ หรือ “กบส” ขึ้นโดยมีภารกิจดูแลด้านงานโลจิสติกส์โดยเฉพาะ และกระทรวงพาณิชย์เองก็ได้ขานรับนโยบายและจัดตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์การค้าขึ้นเพื่อดูแลเรื่องโลจิสติกส์การค้าอีกโดยเฉพาะโดยเน้นแนวคิดเชิง
กลยุทธ์ในการลดต้นทุนโลจิสติกส์การค้าของผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ ขณะที่เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์การค้า เพื่อกระตุ้นความพร้อม และส่งเสริมสนับสนุนภาคการค้าและเศรษฐกิจไทย รองรับการดำเนินการทั้งในระยะเร่งด่วนและในระยะกลางและยาว” นายอลงกรณ์กล่าว

ด้านนายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกในฐานะผู้จัดงานฯ กล่าวว่าที่ผ่านมากรมฯ ได้ดำเนินการผลักดันให้ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการภาคการผลิตพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการลดต้นทุนด้านการผลิตและการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเข้าชมงานโลจิสติกส์ครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการภาคการผลิตจะได้มองเห็นทางเลือกในการบริหารจัดการโลจิสติกส์จากผู้ให้บริการมืออาชีพโดยตรง อีกทั้งขยายช่องทางเลือกสำหรับบริการโลจิสติกส์ที่เหมาะสม ที่สามารถช่วยประหยัดได้ทั้งต้นทุนและเวลาแทนการบริหารจัดการด้วยตนเองทั้งหมด



งาน The 6th Thailand International Logistics Fair 2009 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ธีม “ASEAN Logistics Networks” มีผู้เข้าร่วมงาน (exhibitor) ทั้งสิ้น 343 คูหา จาก 171 บริษัท รวมทั้งหน่วยงานและสมาคมจากกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion - GMS) ซึ่งประกอบด้วยจีน เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า และไทย

ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้า เทคโนโลยี และบริการด้านโลจิสติกส์ครบวงจร จากกลุ่มธุรกิจบริการโลจิสติกส์ กลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์โลจิสติกส์ เช่น เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับคลังสินค้า กลุ่มซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เทคโนโลยีบาร์โค้ด, RFID และโปรแกรม ERP ตลอดจนกลุ่มธุรกิจและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากการจัดแสดงสินค้าและบริการด้านโลจิสติกส์แล้ว ปีนี้ผู้จัดงานฯ ยังเน้นจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการโลจิสติส์ที่มีประสิทธิภาพ โดยจัดสัมมนา Logistics Symposium เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและวิธีปฏิบัติด้านโลจิสติกส์การค้าระดับภูมิภาคและระดับโลกโดยผู้เชี่ยวชาญของไทยและต่างประเทศ อาทิ การบรรยายในหัวข้อ “What Will Be the Situation of Logistics Industry in 2010 and How Logistics Service Providers Should Adapt to Survive” โดย
Mr. William M. Gottlieb ประธานสหพันธ์ตัวแทนขนส่งและโลจิสติกส์นานาชาติ หรือ FIATA เป็นต้น

นอกจากนี้ ภายในงาน The 6th Thailand International Logistics Fair 2009 ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ Business Presentation โดยนำเสนอเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการบริการจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพจากภาคเอกชน โครงการ Logistics Clinic โดยยกศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ (OSEC) มาไว้ภายในงานเพื่อให้คำปรึกษาด้านการออกเอกสารเพื่อการส่งออก การประกวด Logistics Model Awards สำหรับผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการด้านโลจิสติกส์ นิทรรศการด้านโลจิสติกส์ และโครงการตลาดแรงงาน หรือ Logistics Job Fair โดย บ. วัฏฏะ คลาสสิฟายด์ส จำกัด

นายปณต บุณยะโหตระ ผู้อำนวยการสำนักโลจิสติกส์การค้า กรมส่งเสริมการส่งออกกล่าวปิดท้ายว่า “ความแข็งแกร่งด้านโลจิสติกส์ของไทยนั้น คือการที่เราสามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และการที่เราจะสร้างเน็ตเวิร์คเช่นนี้ได้ เราก็ต้องทำให้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยไปเป็นคู่ค้ากับต่างประเทศให้มากที่สุด”

งานครั้งต่อไป (The 7th Thailand International Logistics Fair 2010) กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 ตุลาคม 2553 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค


ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
สื่อมวลชนสัมพันธ์ โทรศัพท์: 0-2690 56 81-4 โทรสาร: 0-2690 56 85
รัตติยา โตสูงเนิน, อุไรรัตน์ สุโชดายน
บูรณี จันทรปรรณิก, นุจรี ศรีวรรณยศ


โดย: pitoncomm วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:11:47:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

TogetherIB
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ToGetheR ♬ToGeThel2♪

♥ ToGether IBM ♥
Friends' blogs
[Add TogetherIB's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.