ToGethel2
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

สิทธิพิเศษทางการค้า

lozocat
lozocat
 
สิทธิพิเศษทางการค้า(GSP)


จีนและอาเซียนจะเริ่มให้สิทธิพิเศษทางภาษีระหว่างกันในสินค้า 7,000 รายการตามอัตราภาษีที่กำหนดในข้อตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2005
เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เป็นความร่วมมือระหว่างจีนและประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนรวม 10 ประเทศ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในข้อตกลงทางการค้าสินค้าร่วมกันที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งในข้อตกลงดังกล่าวระบุให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มดำเนินการลดภาษีระหว่างกันในสินค้าประมาณ 7,000 รายการ ในเดือนกรกฎาคม 2548 ยกเว้นสินค้าในกลุ่มลดภาษีนำร่องที่ดำเนินการลดภาษีไปแล้วตั้งแต่ปี 2547 ทั้งนี้ ประเทศจีนและประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนรวม 6 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย จะยกเลิกการจัดเก็บภาษีระหว่างกันในสินค้าส่วนใหญ่ และจัดตั้งเขตการค้าเสรีให้แล้วเสร็จในปี 2553 ส่วนประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศใหม่อีก 4 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม จะดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีร่วมกับจีนให้แล้วเสร็จในปี 2558

ตามแหล่งข่าวระบุว่า ในส่วนของข้อตกลงทางการค้าสินค้านั้น ขณะนี้ ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนบางประเทศ ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย พม่า และสิงคโปร์ ได้ผ่านขั้นตอนการตอบสอบในระดับประเทศแล้ว ส่วนประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในไม่ช้านี้ ทำให้จีนและประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนทั้งหมดข้างต้นจะสามารถดำเนินการให้สิทธิพิเศษทางภาษีได้ในวันที่ 20 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ ในขณะที่ ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนอื่นๆ ได้แก่ กัมพูชา พม่า ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม จะสามารถดำเนินการให้สิทธิพิเศษทางภาษีร่วมกับจีนได้ต่อไป หลังจากที่ได้ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบในประเทศแล้ว

ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องของกระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า การดำเนินมาตรการลดภาษีร่วมกันระหว่างจีนและประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนในครั้งนี้ จะมีผลอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมการค้าระหว่างจีนและอาเซียน อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันในอนาคตอีกด้วย


ข้อตกลงด้านภาษีศุลกากรภายใต้การค้าเสรีอาเซียน-จีน

การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนและจีนเริ่มต้นมาจากการประสานความร่วมมือระหว่างอาเซียนและจีน โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันในการจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญอาเซียน–จีนด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ASEAN-China Expert Group on Economic Cooperation: ASEAN-China EGEC) ขึ้นในปี 2544 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ผู้แทนจากภาคเอกชนและนักวิชาการ โดยมีผู้แทนจากภาครัฐเป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวก็ได้จัดตั้งทีมงานวิจัย (Joint Research Team : JRT) อันประกอบด้วยนักวิจัยของทั้งฝ่ายอาเซียนและจีนเพื่อหาแนวทางการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองฝ่ายในหัวข้อ “Forging Closer ASEAN-China Economic Relations in the 21st Century”
ประเด็นสำคัญจากข้อสรุปของ JRT ก็คือ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน–จีน ภายในระยะเวลา 10 ปี แต่มีการให้สิทธิพิเศษและความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (Special and Differential Treatment and Flexibility) นอกจากนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ฝ่ายอาเซียนยังได้เสนอแนวทางความร่วมมือก่อน (Early Harvest) ซึ่งเป็นกระบวนการเปิดเสรีในบางสาขาให้เร็วขึ้นกว่าที่ได้ตกลงกันไว้หากทั้งสองฝ่ายเห็นชอบด้วย
จากข้อเสนอของ JRT ดังกล่าว ที่ประชุมผู้นำอาเซียน-จีน (ASEAN-China Summit) ได้เห็นชอบกับข้อเสนอแนะของคณะผู้เชี่ยวชาญฯ โดยให้คำนึงถึงระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในกลุ่มอาเซียนด้วย รวมทั้งยินยอมให้มีการเปิดเสรีในด้านที่มีความพร้อมก่อนได้ตามที่แต่ละประเทศมีการตกลงกัน โดยมติดังกล่าวลงนามเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไนฯในส่วนของอาเซียนเองนั้นได้มีการจัดตั้งคณะเจรจาอาเซียน (ASEAN Trade Negotiating Group: ASEAN TNG) โดยอาเซียนได้มอบหมายให้ไทยเป็นหัวหน้าคณะเจรจาอาเซียน (ASEAN Chief Negotiator) ขณะที่อาเซียนและจีนก็ได้จัดตั้งคณะเจรจาอาเซียน-จีน (ASEAN-China Trade Negotiating Committee: TNC) ขึ้นเพื่อการประสานงานระหว่างสองฝ่ายเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ผู้นำอาเซียนและจีนได้ร่วมลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (Framework Agreement on ASEAN –China Comprehensive Economic Cooperation) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยกรอบความตกลงฯ ดังกล่าว จะประกอบด้วยบทบัญญัติสำคัญๆ อาทิ บทบัญญัติว่าด้วยเรื่องการค้าสินค้า การบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการเปิดเสรี และความร่วมมือในด้านต่าง ๆต่อมา รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและรัฐมนตรีพาณิชย์จีนได้ร่วมลงนามความตกลงการค้าสินค้าในการเปิดเสรีอาเซียน–จีนระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียน–จีน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 และให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2548 โดยกำหนดให้มีการเปิดเสรีสินค้าส่วนแรกก่อนคือ สินค้าทุกรายการในพิกัดอัตราศุลกากร 01-08 ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรทั้งหมด โดยถ้าประเทศใดยังไม่พร้อมก็สามารถนำสินค้าบางรายการออกจากการเปิดเสรีสินค้าส่วนแรกได้ สำหรับสินค้าส่วนแรกนี้ได้เริ่มลดภาษีไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 และจะยกเลิกภาษีทั้งหมดภายในวันที่ 1 มกราคม 2549 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน และภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ในรายละเอียดของความตกลงการค้าสินค้าฯได้จำแนกรายการสินค้าที่จะลด/เลิกภาษีศุลกากรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ รายการสินค้าปกติ (Normal Track: NT) และรายการสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track: ST) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) สินค้าปกติ (Normal products)

รายการสินค้าปกติจะครอบคลุมสินค้าเกือบทุกรายการ โดยประเทศสมาชิกทุกประเทศจะเริ่มลดภาษีสินค้าปกติ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 และจะลดภาษีลงเป็นลำดับ จนเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและจีน และภายในวันที่ 1 มกราคม 2558 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่

การลดภาษีสินค้าปกติจะแบ่งสินค้าตามอัตราภาษีที่เก็บจริงกับประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (MFN applied rate) ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีขั้นตอนการลด/เลิกภาษีต่างกัน สินค้าที่มีอัตราภาษีสูงจะลดภาษีเป็นร้อยละ 0 ช้ากว่าสินค้าที่มีอัตราภาษีต่ำ โดยประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและจีนแต่ละประเทศจะสามารถมีรายการสินค้าที่ได้ความยืดหยุ่นให้ยกเลิกภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 ไม่เกิน 150 รายการ ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่จะได้รับความยืดหยุ่นให้มีรายการสินค้ามากกว่าและระยะเวลาลดภาษีที่นานกว่า

ตารางที่ 3-1 รูปแบบการลด/เลิกภาษีของสินค้าปกติ
ของประเทศสมาชิกของอาเซียนเดิม และจีน
X = Applied MFN tariff rate** อัตราภาษีภายใต้การเปิดเสรีการค้าสินค้าอาเซียน – จีน
(ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม)
2548* 2550 2552 2553
X ≥ 20% 20 12 5 0
15% ≤ X < 20% 15 8 5 0
10% ≤ X < 15% 10 8 5 0
5% < X < 10% 5 5 0 0
X ≤ 5% คงอัตราภาษี 0 0
หมายเหตุ : * เริ่มลดภาษีวันที่ 1 กรกฎาคม 2548
** ภาษีฐานคือวันที่ 1 กรกฎาคม 2546
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม การลดภาษีตามตารางด้านบนที่ได้มีการตกลงกันไว้นั้น ยังต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงในส่วนของจำนวนสินค้าด้วย โดยข้อผูกพันเพิ่มเติมดังกล่าว ได้แก่ 1) ต้องมีการลดภาษีสินค้าปกติ อย่างน้อยร้อยละ 40 ของรายการสินค้าปกติทั้งหมด ให้มีอัตราภาษีที่ร้อยละ 0-5 ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ซึ่งได้ดำเนินการกันไปแล้ว 2) ต้องลดภาษีสินค้าปกติ อย่างน้อยร้อยละ 60ของรายการสินค้าปกติทั้งหมด ให้มีอัตราภาษีที่ร้อยละ 0-5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2550

2) สินค้าอ่อนไหว (Sensitive products)
ในกรณีสินค้าอ่อนไหวนั้น เป็นการให้ประเทศสมาชิกที่ยังไม่พร้อมในการเปิดเสรีบางสินค้าพร้อมกับสินค้าปกติ ให้สามารถกำหนดเป็นสินค้าอ่อนไหวได้ โดยกำหนดข้อจำกัดของการเลือกรายการสินค้าอ่อนไหว ดังต่อไปนี้ (1) ประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน มีรายการสินค้าอ่อนไหวได้ไม่เกิน 400 รายการ (พิกัดฯ 6 หลัก) และ (2) มูลค่าการนำเข้าของรายการสินค้าอ่อนไหวทั้งหมดต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าการนำเข้ารวม
อย่างไรก็ตาม สินค้าอ่อนไหวจะเริ่มลดอัตราภาษีช้ากว่าสินค้าปกติ โดยจะต้องลดภาษีมาอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 20 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 และจะลดเป็นร้อยละ 0-5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2561
ภายในรายการสินค้าอ่อนไหวยังได้มีการกำหนดรายการเพิ่มเติมขึ้นคือ รายการสินค้าอ่อนไหวสูง โดยประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีนสามารถกำหนดรายการสินค้าอ่อนไหวสูงได้ แต่ต้องจำกัดรายการให้มีได้ไม่เกิน 100 รายการ หรือร้อยละ 40 ของจำนวนรายการสินค้าอ่อนไหว แล้วแต่ว่าเงื่อนไขใดส่งผลให้มีรายการสินค้าอ่อนไหวสูงน้อยกว่า โดยการลดภาษีของสินค้าอ่อนไหวสูงมีการกำหนดให้มาอยู่ที่อัตราไม่เกินร้อยละ 50 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2558
ตารางที่ 3-2 รูปแบบการลด/เลิกภาษีของสินค้าอ่อนไหว

ของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน

เพดานอัตราภาษีภายใต้การเปิดเสรีการค้าสินค้าอาเซียน - จีน
สินค้าอ่อนไหว
ปี 2555 ร้อยละ 20
ปี 2561 ร้อยละ 0-5
สินค้าอ่อนไหวสูง
ปี 2558 ร้อยละ 50

นอกจากรูปแบบการลด/เลิกภาษีตามข้อตกลงทางด้านภาษีแล้ว ความตกลงการค้าสินค้ายังมีบทบัญญัติอื่นที่สมาชิกทุกประเทศต้องปฏิบัติตามด้วย เช่น กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) การยกเลิกการจำกัดปริมาณการนำเข้า และการลด/เลิกการกีดกันที่มิใช่ภาษี มาตรการปกป้อง (Safeguard Measures) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการเปิดเสรีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทั้งนี้ โดยสรุปแล้วพบว่า นอกจากรายการสินค้าปกติแล้วประเทศจีนได้จัดรายการสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มสินค้าอ่อนไหวรวม 77 รายการ รองลงมาคือกลุ่มสินค้ายืดหยุ่นรวม 50 รายการ และกลุ่มสินค้าอ่อนไหวสูง
รวม 35 รายการ โดยพบว่าอุตสาหกรรมที่จีนจัดอยู่ในกลุ่มอ่อนไหวสูงมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมกระดาษ (41 รายการ) ยานยนต์ (26 รายการ) และเครื่องใช้ไฟฟ้า (9 รายการ) ในขณะที่อุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มสินค้าปกติทั้งหมดได้แก่ ไหมดิบ มันสำปะหลังและรองเท้า (ดูตารางที่ 3-3)

ตารางที่ 3-3 สรุปจำนวนสินค้าในรายการต่างๆ ของประเทศจีน


ยาง 3 1 4
พลาสติกและ
ปิโตรเคมี 5 2 2
ยานยนต์ 16 16 0
ชา 2 5 0
เฟอร์นิเจอร์ 0 2 0
เครื่องใช้ไฟฟ้า 7 1 0
เครื่องนุ่งห่ม 8 0 0
อัญมณีและเครื่องประดับ 8 0 0
เหล็ก 1 0 0
ไหมดิบ 0 0 0
มันสำปะหลัง 0 0 0
รองเท้า 0 0 0
รวมทุกรายการ 50 77 35











ที่มา : สรุปจากตารางการปรับลดภาษีของประเทศจีน
หมายเหตุ : เรียงลำดับตามจำนวนพิกัดในกลุ่มสินค้าอ่อนไหวสูง สินค้าอ่อนไหวและสินค้ายืดหยุ่น ตามลำดับ

ผลประโยชน์จาการบรรลุข้อตกลง FTA อาเซียน-จีน

จากที่ประเทศไทยและจีนได้ตกลงยกเลิกอัตราภาษีนำเข้าผักและผลไม้ทั้ง 188 รายการ ภายใต้กรอบ “รายการสินค้าเร่งลดภาษี” (Early Harvest) โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นมานั้น กวางตุ้งถือเป็นมณฑลที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดของจีนจากการเปิดเสรีในครั้งนี้ โดยในปี 2548 มูลค่าการค้าระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับอาเซียนมีมูลค่ารวม 1,140 ล้านเหรียญสรอ.เพิ่มสูงขึ้นกว่าปี 2546 ร้อยละ 48.4 ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2549 มูลค่าการค้าระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับอาเซียนมีมูลค่าสูงกว่า 840 ล้านเหรียญสรอ. สูงขึ้นกว่าระยะเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ร้อยละ 32 โดยผลของการเปิดเสรีการค้าอาเซียน-จีนนั้น ทำให้เกษตรกรและประชาชนของทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยมีรายละเอียดสาระสำคัญดังนี้
1. จากที่มูลค่าการค้าสินค้าเกษตรของทั้งสองฝ่ายขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวนาและเกษตรกรของทั้งสองฝ่ายมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยสังเกตจากตัวเลขการนำเข้าของมณฑลกวางตุ้งจากประเทศอาเซียนในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ มีมูลค่ารวม 700 ล้านเหรีญสรอ. ขยายตัวร้อยละ 34.4 สินค้านำเข้าหลักได้แก่
- น้ำมันปาล์มปริมาณการนำเข้า 645,000 ตัน มูลค่ารวม 270 ล้านเหรียญสรอ.
- ข้าวสาร ปริมาณการนำเข้า 350,000 ตัน มูลค่ารวม 130 ล้านเหรียญสรอ. (นำเข้าจากไทยมากกว่าร้อยละ 90)
- แป้งมันสำปะหลัง ปริมาณการนำเข้า 110,000 ตัน มูลค่ารวม 29.52 ล้านเหรียญสรอ.
- มันสำปะหลังอัดเม็ด ปริมาณการนำเข้า 61,000 ตัน มูลค่ารวม 7.28 ล้านเหรียญสรอ.
2. ประเทศไทยเป็นประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการนำเข้าสินค้าของมณฑลกวางตุ้ง โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2549 มณฑลกวางตุ้งมีการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทย มูลค่ารวม 270 ล้านเหรียญสรอ. ขยายตัวร้อยละ 13.3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.5 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของมณฑลกวางตุ้งจากประเทศอาเซียน
3. จากปริมาณความต้องการสินค้าของประเทศอาเซียนและจีนที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งมาตรการการลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศสมาชิกเพิ่มสูงขึ้นตามเป็นลำดับ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ชาวนาและเกษตรกรของประเทศสมาชิกมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งก่อให้เกิดโอกาสแก่นักธุรกิจของแต่ละประเทศสมาชิก ยกตัวอย่างเช่น ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2549 มีบริษัทการค้าระหว่างประเทศของมณฑลกวางตุ้งที่ดำเนินธุรกิจกับกลุ่มประเทศอาเซียนรวมทั้งสิ้น 1,406 ราย เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา 277 ราย
ซึ่งจากข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศอาเซียน-จีน ประเทศจีนจะลดภาษีสินค้าที่ได้ลงนามไว้เหลือร้อยละ 6.6 ในปี 2550 และจะลดลงเหลือ 2.4 ในปี 2552 จนถึงปี 2553 สินค้าที่จีนนำเข้าจากประเทศอาเซียนประมาณร้อยละ 93 จะลดภาษีเหลือศูนย์
lozocat
lozocat








 

Create Date : 28 สิงหาคม 2551
1 comments
Last Update : 20 กันยายน 2551 22:29:54 น.
Counter : 1099 Pageviews.

 

ส่ด่พะนนนึ่ถุ่ถ่ถ่ถ่ถนถททถททถาพทืถทถทืททถาถทืถทททถมถใถใถยะทถททมมพทมาพำสาทืทืสมใวสวมทนรพามาพพพพพพพพพพพพพพพพใพใวพาพ้พอิอพิรุนะน

 

โดย: เพะพพดัพหฟะพหุด IP: 118.172.202.168 8 มิถุนายน 2552 16:27:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


TogetherIB
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ToGetheR ♬ToGeThel2♪

♥ ToGether IBM ♥
Friends' blogs
[Add TogetherIB's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.