ToGethel2
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

SWOT

การค้าไทย-จีน

จีนนั้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ โดยได้เปรียบดุลการค้ากับทุกประเทศในโลก โดยไทยเสียเปรียบดุลการค้ากับจีนประมาณ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เฉพาะการค้าชายแดนผ่านจังหวัดเชียงรายในปี 2548 เป็นมูลค่า 5,208 ล้านบาท โดยไทยเกินดุลการค้า 3,153 ล้านบาท ขยายตัวกว่า 57.15% ส่วนใหญ่เป็นลำไยแห้ง , ยางพารา และน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างไรก็ดี ไทยต้องเข้าใจนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ Great Western Development Strategy เป็นนโยบายการพัฒนาภาคตะวันตก ซึ่งมณฑลยูนานและกวางสี ซึ่งไทยคิดว่าอยู่ในจีนตอนใต้ แต่ทางจีนถือว่าอยู่ในภาคตะวันตก จีนได้ให้ความสำคัญในการใช้เป็นฐานรุกเข้ามาในตลาดไทยและอาเซียน จีนนั้นมีนโยบายขนาดตั้งเป้าหมายว่าภายใน ค.ศ. 2020 จะทำให้ ASIAN เป็นตลาดเดียวกับจีน ซึ่งนายกรัฐมนตรีจูหลงจี ได้วางวิสัยทัศน์รองรับแผน ASIAN Economic Community โดยใช้ FTA – จีน อาเซียน ซึ่งภาษีจะเป็นอัตราศูนย์ โดยจะส่งผลให้อาเซียนกลายเป็น Domestic Market หรือเป็นตลาดภายในของจีน ดังนั้น ประเทศไทยต้องเข้าใจแนวคิดนี้ของจีน โดยยุทธศาสตร์สำคัญของจีนก็จะใช้เส้นทางโลจิสติกส์ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางแม่น้ำโขงหรือเส้นทางถนน ทั้งผ่านลาว , พม่า , เวียดนาม เข้าสู่ตลาดภายในของไทย

ปัจจัยความเสี่ยงในการค้ากับประเทศจีน


1. ความล่าช้าในการปฏิบัติตามเงื่อนไขของ WTO ประเทศจีนจำเป็นต้องหาหนทางที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ WTO ในขณะเดียวกันก็สร้างมาตรการ NTB : Non Tariff Barrier ซึ่งกีดกันการนำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่ขัดกฎของ WTO โดยการสร้างอุปสรรคที่เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ภาษี ได้แก่ ใบอนุญาต , สุขอนามัย , และมาตรฐานการบรรจุภัณฑ์ โดยมีระเบียบที่มีชื่อว่า “หนึ่งใบอนุญาต หนึ่งสินค้า” เป็นการกีดกันการนำเข้า ซึ่งต้องใช้เวลาในการเตรียมการด้านเอกสารและเพิ่มต้นทุนในการนำเข้า
2. ระเบียบกฎเกณฑ์ที่กระจัดกระจาย การกระจายสินค้าและโลจิสติกส์มีกฎระเบียบย่อยจำนวนมาก ซึ่งแต่ละมณฑลก็จะมีกฎระเบียบที่แตกต่างกันและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ ทั้งนี้ นักลงทุนชาวไทยหากต้องการดำเนินธุรกิจในประเทศจีนและมีการขายสินค้าหรือสาขา ให้ครอบคลุมหลายมณฑล ต้องขอใบอนุญาตแต่ละมณฑลเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้
3. อุปสงค์และอุปทาน จีนเป็นประเทศที่ตลาดมีพลังขับเคลื่อนที่เป็นแบบทวิลักษณ์ มีการเพิ่มอุปสงค์ส่วนเกินในตลาดอย่างรวดเร็ว ขณะที่บางพื้นที่ก็จะมีอุปสงค์ที่ไม่พอเพียง คือ Demand ในตลาด มีทั้งส่วนเกินและขาด การเปลี่ยนแปลงด้านอุปสงค์และอุปทานอย่างไม่เป็นระบบ เพราะประชาชนมีจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะยากจน คนจะมีการเคลื่อนย้ายไป-มา ตามแหล่งงาน พบว่าศูนย์กระจายสินค้าและโลจิสติกส์ ยังมีพื้นที่ว่างเหลือกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด การแข่งขันในจีนจะสูงมาก
4. ความเสี่ยงทางสังคมและการเมือง บริษัทต่างประเทศที่ไปลงทุนในจีนหรือไปร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทท้องถิ่น จะต้องมีความระมัดระวังเกี่ยวกับความโปร่งใส โดยปัญหาแรงงานจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งต้องมีวิธีการจัดการปัญหาด้านแรงงานเป็นอย่างดี คือ ถ้าฝ่ายจัดการไม่ได้เป็นคนพื้นเมืองจะควบคุมคนงานยาก ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องของคอรัปชั่นยังคงมี โดยเฉพาะในเมืองเล็กๆ ซึ่งต้องมีความเข้าใจกับปัญหาคอรัปชั่นและความสามารถในการจัดการจะเป็นหนทางของความสำเร็จใน
การดำเนินธุรกิจในประเทศจีน

หากต้องการเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศจีน ต้องทำอย่างไร


1. ศึกษาตลาดของประเทศจีนอย่างลึกซึ้ง โดยต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับตลาดและกฎระเบียบ,ประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก นักลงทุนที่คิดว่าเพียงแค่พูดภาษาจีนกลางได้ มีเพื่อนเพียง 2-3 คน ในประเทศจีน โดยคิดว่าจะทำธุรกิจในจีนได้นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างมาก
2. การลงทุนที่มุ่งเน้นไปที่ค่าแรงถูกในจีนแต่เพียงอย่างเดียว จะไม่ประสบความสำเร็จในทางธุรกิจ
3. สร้างระบบกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ให้เป็นระบบรวมศูนย์ การสร้างศูนย์กระจายสินค้าแบบกระจายอำนาจลงไป อาจไม่เหมาะกับประเทศจีน
4. ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างความแตกต่าง ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนเข้ามาจัดการเรื่องนี้
5. บริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องสามารถคำนวณความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ เพราะโอกาสที่จะประสบความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจในจีนมีค่อนข้างสูง
6. ต้องมีความสัมพันธ์กับคนท้องถิ่นในระยะยาว หากผู้ประกอบการไม่มีความสัมพันธ์กับคนท้องถิ่น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในประเทศจีนจะเป็นไปได้ยาก
ต้นทุนโลจิสติกส์ในประเทศจีนสูงกว่าประเทศในตะวันตกเป็นอย่างมาก (ประมาณ 20-30% ต่อ GDP) แต่ละอุตสาหกรรมก็มีต้นทุนที่ไม่เท่ากัน เมื่อเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ต้นทุน โลจิสติกส์ของประเทศจีนสูงกว่าสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัจจัยด้านค่าแรงต่ำและการพัฒนาของจีน ทำให้เศรษฐกิจของจีนมีการเติบโตสูงติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปี โดยสาเหตุของการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็นผลมาจากตลาดรวมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ความต้องการของลูกค้าที่มีจำนวนถึง 1,300 คน อีกทั้ง กฎเกณฑ์และนโยบายของรัฐบาลที่มีการปรับเปลี่ยน และการเข้าเป็นเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก ลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศจีนมีลักษณะการกระจัดกระจาย ดังนั้น ระบบโลจิสติกส์ในประเทศจีน จึงมีลักษณะเป็นเครือข่ายและต้องรวมตัวกันเพื่อให้สามารถครอบคลุมการให้บริการทั่วประเทศ ความต้องการการใช้บริการผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (Logistics Service Provider) จึงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บริษัทข้ามชาติต้องใช้บริการจากผู้ประกอบการโลจิสติกส์ท้องถิ่นเป็นเครือข่าย ธุรกิจในประเทศจีนมีการแข่งขันด้านต้นทุนมากที่สุด และการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนจะต้องเป็นธุรกิจหลักที่ตนเองมีความแข็งแกร่ง โดยต้องดำเนินธุรกิจด้วยปรัชญา “เล็กแต่สมบูรณ์แบบ” การทำธุรกิจ Logistics Service Provider จะเป็นแนวคิดใหม่ ซึ่งกำลังได้รับความสนใจ การลงทุนในจีนไม่จำเป็นต้องลงทุนสินทรัพย์เป็นจำนวนมาก แต่ต้องเน้นในการให้ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ของรัฐปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับประเทศจึงจะประสบความสำเร็จทางธุรกิจ โดยเฉพาะการกระจายสินค้าในประเทศจีนได้นั้น จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษาตลาดของประเทศจีน กฎระเบียบต่างๆผู้ลงทุนต่างชาติ ต้องให้ความสนใจในเรื่องอย่างนี้เป็นอย่างมาก แต่ละเมือง แต่ละมณฑล ของประเทศจีนมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก นักลงทุนที่คิดว่าประเทศจีน ทั้งประเทศจะมีความคล้ายคลึงกัน จึงเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างมาก ศูนย์กระจายสินค้าในประเทศจีน ต้องมีลักษณะรวมศูนย์ และใช้บุคลากรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันให้มากขึ้น เพราะการสร้างศูนย์กระจายสินค้าแบบกระจายอำนาจลงไป อาจไม่เหมาะกับธุรกิจในประเทศจีน ดังนั้น การเข้าไปร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่น จึงควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ใช้ความแข็งแกร่งของนักลงทุนต่างชาติในการให้บริการที่แตกต่างจากผู้ประกอบการท้องถิ่นทำอยู่ การจะประสบความสำเร็จ โดยต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ อุปสรรคในการประกอบธุรกิจในประเทศจีน และต้องสามารถคำนวณความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องสามารถมองเห็นความล้มเหลวที่เลวร้ายที่สุดไว้ล่วงหน้า เพราะโอกาสที่จะประสบความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจในจีนจะมีมาก การจะประสบความสำเร็จในประเทศจีน ต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องทำความคุ้นเคยกับคนในท้องถิ่น หากผู้ประกอบการไม่มีความสัมพันธ์กับคนท้องถิ่น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในประเทศจีนจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก
3. การลงทุน
ประเทศจีนเป็นแหล่งลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นที่มาของเงินตราต่างประเทศมากกว่าที่ได้จากการส่งออก ปัจจัยสำคัญเนื่องจากจีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีประชากรที่มากที่สุดในโลก อีกทั้งจีนมีแรงงานจำนวนมากและค่าแรงงาน โดยเฉพาะในภาคกลางและตะวันตกมีอัตราที่ต่ำมาก จึงไม่แปลกที่จีนเป็น “Factory of the world” ซึ่งปัจจุบันจีนส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันตก โดยสร้างเส้นทางทั้งทางรถไฟและทางถนน ซึ่งจีนให้ความสำคัญต่อระบบโครงสร้างคมนาคมขนส่งเป็นอันดับแรกของการพัฒนาพื้นที่และใช้แนวทางให้แต่ละมณฑลมีอิสระในการส่งเสริมการลงทุน โดยประเทศจีนนั้นแบ่งการปกครองเป็นแต่ละมณฑล โดยแต่ละมณฑลจะมีรัฐบาลและกฎหมายท้องถิ่น อีกทั้ง แต่ละมณฑลจะมีการแข่งขันกัน การลงทุนในประเทศจีนให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะลักษณะระเบียบ วิธี วัฒนธรรม และนิสัยของคนจีนแต่ละมณฑลจะต่างกัน การลงทุนในจีนนั้นต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะคนจีนบนแผ่นดินใหญ่ไม่รักษาทั้งวาจาและสัญญาใดๆทั้งนั้น

ปัจจัยที่นักลงทุนไทยควรจะรู้เกี่ยวกับการลงทุนในจีน ควรมีดังนี้


1) พิจารณาด้านบรรยากาศการเมืองและเศรษฐกิจของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งจะแตกต่างกัน โดยเฉพาะความสามารถในการบริโภคของคนในมณฑลนั้นๆต้องเข้าใจว่าส่วนใหญ่คนจีนนั้นยังยากจน โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันตก
2) กฎหมายของท้องถิ่นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐในแต่ละท้องถิ่นเอื้ออำนวยต่อการลงทุนหรือไม่
3) การหาผู้ร่วมลงทุนที่เหมาะสม มีความซื่อสัตย์ และมีบทบาทหรือมีอิทธิพลที่จะต่อรองหรือคุ้มครองธุรกิจจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งจากหน่วยงานของรัฐและจากคู่ค้า
4) สังคม , ประชาชน และวัฒนธรรมในเมืองนั้นๆ มีการร่วมมือหรือส่งเสริมต่อคนต่างชาติหรือนักลงทุนต่างชาติอย่างไร
5) ต้องพิจารณาเกี่ยวกับต้นทุนทางอ้อมอื่นๆ ได้แก่ ค่าแรงงานแฝง เช่น ค่าสวัสดิการต่างๆ หรือผลผลิตที่ได้จากแรงงานต่ำกว่าที่ประมาณการ , ค่าเบี้ยใบ้รายทาง ทั้งบนโต๊ะและใต้โต๊ะ รวมถึง ระบบประเมินภาษี Vat 17% และภาษีท้องถิ่นอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งไม่เป็นระบบอย่างในไทย
6) ต้นทุนโลจิสติกส์จะเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะบางเมืองมีระบบผูกขาดผู้ให้บริการขนส่ง
7) เกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อย่าได้เชื่อตามเอกสารโบรชัวร์ประชาสัมพันธ์ของนิคมอุตสาหกรรมที่ไปขอเช่า ต้องไปตรวจสอบว่าระบบถนนเชื่อมกับเมืองใหญ่เป็นอย่างไร และระบบน้ำ-ไฟพอเพียงหรือไม่ จีนนั้นเป็นประเทศขาดแคลนพลังงาน ปัจจุบันบางเมืองเปิด-ปิดไฟวันเว้นวัน
8) ต้องตั้งปุจฉาให้ได้ว่ามีจุดแข็งอะไรที่จะไปลงทุนในจีนและต้องการอะไรจากจีน การลงทุนเน้นตลาดส่งออกหรือตลาดภายใน หากเป็นตลาดภายในคงต้องหาจุดแข็งของตนเอง เพิ่มอีกหลายสิบเท่า เพราะตลาดภายในของจีนแข่งขันกันหนักมาก และหนี้เสียนั้นมาก
9) อย่าลงทุนเพราะเพียงไปดูงาน 2-3 ครั้ง เพราะเปลือกนอกของจีนและเศรษฐกิจของจีน ต่างกับเนื้อในโดยสิ้นเชิง การที่ทุนสำรองของจีนสูงที่สุดในโลก ไม่ใช่หมายความว่าเม็ดเงินจะไปอยู่กับประชาชน คนจนในจีนนั้นมากมหาศาล ระบบการกระจายรายได้ของจีนนั้นล้มเหลวไม่เป็นท่า
10) อย่าเชื่ออะไรที่ได้ยิน อย่าเชื่อทุกตัวอักษรที่เขียนในกฎหมายของจีนหรือในสัญญากับผู้ร่วมลงทุนชาวจีนหรือกับคู่ค้าคนจีน ทั้งฝรั่งและญี่ปุ่นที่ว่าแน่นั้นเสร็จจีนไปมากแล้ว ลองตรวจสอบนักลงทุนไทยว่ามีเพียงกี่เปอร์เซ็นต์ที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนกับประเทศจีน และกิจการเหล่านั้นเป็นของใคร เพราะถ้าไม่ใช่ปูนตราเสือ ไม่ใช่ซีพี ไม่ใช่สหยูเนี่ยน ต้องชั่งใจให้ดีก่อนไปลงทุนในจีน ระบบศาลของจีนก็ไม่เหมือนกับไทย เพราะภาษาจีนนั้นเป็นอักษรสัญลักษณ์ไม่ใช่ตัวสะกดในวลีเดียวกันตีความไม่เหมือนกัน
นักลงทุนไทยที่จะไปลงทุนในจีน จะต้องเข้าใจว่า ปัจจุบันภาคตะวันออกของจีนนั้นเปิดเต็มที่แล้ว ส่วนการลงทุนในภาคตะวันตกหรือภาคใต้ ค่าแรงอาจจะต่ำแต่คนยากจนยังมาก อำนาจซื้อจะน้อย แรงงานยังบ้านนอกและไร้ทักษะ โดยประเทศจีนนั้นมีการแข่งขันสูง เล่นกันนอกระบบและเป็นระบบพรรคพวก สำหรับด้านทุนและเทคโนโลยีของจีนมีเหนือกว่าคนไทยและการพัฒนาด้านการจัดการก็พัฒนาไปไกลกว่าคนไทย ต้องถามว่าจะไปลงทุนอะไรในจีน โดยเฉพาะด้านอสังหาริมทรัพย์นั้นจีนให้ง่ายที่สุด ค่าเช่าต่ำๆระยะเวลา 50 ปี แมลงเม่าเสร็จไปมากแล้ว เพราะจีนเขาถือว่าแผ่นดินของเขาเอาไปไหนไม่ได้ หากทำได้ดีก็มักถูกรุมทึ้ง สัญญาก็เขียนแบบหนึ่ง ปฏิบัติก็อีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นการไปลงทุนในจีนต้องมีความเข้าใจนโยบายและลักษณะวิธีทำการค้าของเขา รวมถึงต้องมีจุดแข็งๆจริงที่เหนือคนท้องถิ่น อย่าไปเชื่อใครทั้งสิ้น หากสายป่านไม่ยาวจริงๆและไม่แน่จริง เก็บเงินไว้จะดีกว่า โดยทั้ง 10 ข้อที่กล่าวนี้ได้ฟังมาจากนักวิชาการชาวจีนในปักกิ่ง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในประเทศจีนเป็นคนเล่าให้ฟัง

เกี่ยวกับภาษีในประเทศจีน


จีนมีระบบภาษีที่ใช้กับคนท้องถิ่นกับคนต่างชาติไม่เหมือนกัน สำหรับภาษีและในแต่ละมณฑลก็จะมีการเก็บภาษีต่างหาก เช่น ภาษี VAT ระบบภาษีของจีนจะค่อนข้างมีความยุ่งยาก มีการเข้มงวดเปลี่ยนแปลงระเบียบบ่อยครั้ง และใช้หลักดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ที่สำคัญมีโทษที่รุนแรงมากภาษีเงินไดนิติบุคคล บริษัทตางชาติ ตองจายภาษี 30% ภาษี ทองถิ่น 3% แตถาอยูในเขตการลงทุน หรืออยูในนิคมอุตสาหกรรมระดับประเทศ จะไดรับสิทธิพิเศษตางๆ ตามที่เขตนั้นๆ ประกาศ นอกจากนี้ ยังจะต้องจ่ายภาษีอื่นๆอีก ดังนี้
1. ภาษีนําเขา (Import Tax) ประเทศจีนไดใชระบบสากล พิกัดรหัสสามารถเปดไดตรงกันทั้งหมด แตการจัดเก็บภาษีอาการมีความแตก ตางกันมาก ตั้งแตรอยละ 3-200% ปจจุบันเปนปญหามาก ในเรื่องพิกัด เพราะเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะใช้พิกัด โดยไม่ถือหลัก GATT
2. ภาษีมูลคาเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีระดับมณฑลเก็บในอัตรา 0% ,13% ,17% จากนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาแลวแตกิจการที่ไดรับการสง เสริม ถาเปนการสงออก เสียภาษี 0% แตมีขอยกเวนในบางกรณี
3. ภาษีบริโภค (Excise Tax) เก็บจากการผลิต การนําเขารับจางผลิตผสม ประกอบสินคาอุปโภคบางชนิด เครื่องสําอาง, เหลา, ยาสูบ ,เครื่องประดับ , น้ำมันเชื้อเพลิง,และรถยนต จัดเก็บอัตรา 60%-70%
4. ภาษีการคา (Commercial Tax) การขายอสังหาริมทรัพย การบริการ การสื่อสารโทรคมนาคม ขนสง กอสราง อัตรารอยละ 3-20% แตถา เปนกีฬาจะเปนอัตรา 3% ถาเปนมหรสพ คาราโอเกะ สนามกอลฟ โรงโบวลิ่ง จะเก็บ 5-20%
5. ภาษีสงเงินกําไรออกนอกประเทศจีน จะตองเสียภาษีใบอนุญาตการลงทุน ถาตั้งอยูในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่รัฐบาลอนุมัติจะตองเสีย 10% ถาตองอยูนอกเขตเสีย 20%
6. ภาษีคาที่ดิน เรียกเก็บจากผูประกอบการทั้งจีนและตางชาติที่มีรายไดจากการโอนสิทธิการใชที่ดิน อาคาร โดยเรียกเก็บจากจํานวนที่เพิ่มขึ้นของมูลคา นํามาคํานวนรายไดการขายมาหักลบกัน อัตราภาษีรอยละ 30-60% ตางชาติจะถูกเก็บภาษีอื่นๆ อีกมาก
7. ภาษีที่อยูอาศัย บริษัทตางชาติหากเปนเจาของ เสียภาษีรอยละ 1.2% ของราคาประเมิน กรณีเช่าอาคารเสีย ภาษีรอยละ 18% ของราคา คาเช่า
8. ภาษีพาหนะ บริษัทตางชาติเปนเจาของพาหนะรถยนต เรือที่ขับเคลื่อนดวยมอเตอร มีภาษีตั้งแต่ 1.2 - 3.2 หยวนตอป ขึ้นอยูกับประเภทการใชงาน แตถาเปนเรือสินคาจะตองเสียภาษีเปนเงินหยวน ตอตัน ตั้งแต 0.6-4.4 หยวน/ตัน/ป
9. ภาษีวันหยุด เชนลงทุน 10 ป ไดรับการยกเวนทางภาษี 2 ป นับจากที่ปแรกมีกําไร 3 ปตอมาไดรับการลดทางภาษีอีก 50% จากที่ตอง จาย รอยละ 30% การลดภาษี ขึ้นอยูกับการจัดตั้งกิจการในเขตตางๆ เชน ระดับมลฑล เขตปกครองตนเอง เขตมหานคร จะไดลดภาษี 15% หรือ 24% ตามเขตและอาจไดรับการยกเวนภาษีทองถิ่นที่เก็บรอยละ 3% ขึ้นอยูกับกิจการนั้นๆ
เครื่องจักรในการลงทุนจากตางประเทศ นักลงทุนที่เขาประกอบกิจการในประเทศจีน จะตองเสียภาษี เครื่องจักร รอยละ 24% แตในบางกรณีถาเปนเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ไดรับอนุมัติจากรัฐบาลจีนจะไดรับเปน กรณีพิเศษปญหาของภาษีในประเทศจีน ตองมีนักบัญชีที่ชํานาญการในการยื่นการวางรูปแบบบัญชี และการชําระภาษี ถาตรวจสอบพบจะมีโทษรุนแรง ดังนั้นการทํากิจการในประเทศจีน ตองมีความรอบคอบเปนอยางมาก

ปัญหาระบบโลจิสติกส์ของประเทศจีน มีดังนี้


• ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศจีนสูงมากอยู่ที่ 23-25% ต่อ GDP
• อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศจีนนั้น เพิ่มอยู่ระยะเริ่มต้น
• อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศจีนยังมีลักษณะแยกส่วนกันอยู่ แต่ละรายก็จะมีมาตรฐานการทำงานของตนเอง
• ระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่งของประเทศจีนยังพัฒนาไปได้ช้ากว่าการพัฒนาในด้านอื่นๆ
• ระบบการกระจายสินค้าที่ยังไม่สมบูรณ์ ยังมีข้อจำกัดในการใช้เทคโนโลยีในการกระจายสินค้า
• การขาดแคลนบุคลากรทางด้านโลจิสติกส์
• กฎระเบียบที่ยุ่งยาก การปกป้องธุรกิจของท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทยควรมีดังนี้
1. หน่วยงานของรัฐบาลและหน่วยงานของจังหวัด รวมไปถึง องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับ โลจิสติกส์ จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีความบูรณาการทั้งเป้าหมายแผนงานและงบประมาณ
2. การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมจะต้องมีการเชื่อมโยงทุกโหมดการขนส่ง ซึ่งจะต้องมีการเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะการขนส่งทางรถไฟ จะต้องมีการปฏิรูปทั้งเรื่องการจัดการ , ปัญหา แคร่ไม่พอ และปัญหารางคู่ (Dual Track) ปล่อยให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่ไม่ได้
3. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร และระบบเชื่อมโยงเครือข่าย จะต้องมีการพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ โดยเฉพาะที่เป็นคนไทย โดยสามารถนำกรณีศึกษาของจีน มาเลเซีย ที่มีการพัฒนาอย่างไรที่เขายังสามารถปกป้องธุรกิจ โลจิสติกส์ให้กับคนในประเทศของเขาได้
4. จัดตั้งศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการโลจิสติกส์ โดยควรมีการศึกษาศูนย์เพาะชำโลจิสติกส์ของจีน (Logistics Incubator Center) โดยการให้ความรู้ , การส่งเสริมและพัฒนา , การสนับสนุนทางด้านเทคนิคและแหล่งทุน โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ “ธุรกิจไทยช่วยไทย เงินจะได้ไม่รั่วไหล”

ปัจจัยจากจีนเป็นการส่งเสริมหรือภัยคุกคามต่อการเป็น Logistics Hub


ประเทศจีนนั้นมีศักยภาพทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เหนือกว่าไทยมากและจีนจะเข้ามาแข่งขันในการเป็น Logistics Hub กับไทย ควรจะวางยุทธศาสตร์ของประเทศอย่างชัดเจนในการรับมือ จีนนั้นเป็นภัยคุกคาม ที่เรียกว่า China Factor ไม่ใช่ปล่อยไปตามลมๆแล้งๆ เอาลักษณะความสัมพันธ์ทางการทูตไปรวมกับการค้า ทำให้ไทยเป็นสุภาพบุรุษบนโต๊ะเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งกติกาคือให้ได้ผลประโยชน์แก่ประเทศตนเองมากที่สุด โดยมารยาทจะเป็นปัจจัยรอง ขณะที่ไทยอาจเน้นความเป็นพิธีการมากไปหน่อย ทำให้ไทยมีหลายโครงการฝันเฟื่องว่าจะไปรุกเข้าไปแข่งในประเทศจีนเอาว่าแค่ปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศไทยให้ได้ก็ดีแล้ว อย่างไรก็ดี ในทางทฤษฎีต้องยอมรับว่า จุดแข็งของจีนเป็นตลาดขนาดใหญ่ประชากรมีกำลังซื้อมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นเหล็กและวัตถุดิบ โดยจีนมีการลงทุนด้านการคมนาคมขนส่งที่ใช้งบประมาณสูงที่สุดในโลก ทำให้การผลิตของจีนมีขนาดใหญ่ โดยภาคการผลิตมีลักษณะการพึ่งพาตนเองไม่ต้องนำเข้ามาก อีกทั้ง มีแรงงานจำนวนมากกว่า 500-600 ล้านคน ทำให้มีต้นทุนรวมที่ต่ำมาก กอร์ปกับทั้งลักษณะเป็นการผลิตขนาดใหญ่ ทำให้มีการประหยัดต่อขนาด ที่เรียกว่า Economies of Scale ซึ่งตรงนี้เองที่ไทยต้องตระหนักภัยทางเศรษฐกิจที่จะมาจากประเทศจีน โดยเฉพาะ FTA จีน-อาเซียน ซึ่งจีนจะใช้เป็นประโยชน์ในการกระจายสินค้า เข้าไปในอาเซียน รวมทั้ง แข่งขันกับไทย โดยประเทศไทยจะประสบปัญหาในอนาคตอีก 2-3 ปี ข้างหน้า จากการถูกรุกตลาด ทั้งตลาดภายในและตลาดภายนอก อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของจีนก็มีเช่น พลเมืองจำนวนมากที่ยังยากจน โดยเป็นแรงงานไร้ฝีมือและขาดช่างเทคนิควิศวกร ทั้งนี้ จีนยังเป็นประเทศสังคมนิยม โดยรัฐบาลกลางควบคุมเศรษฐกิจระดับมหภาคในบางส่วนทำให้เกิดความไม่คล่องตัว อีกทั้ง จีนมีลักษณะการกีดกันชาติตะวันตก มีการละเมิดลิขสิทธิ์และขาดผู้ประกอบการมืออาชีพระดับโลก และขาดองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ ธุรกิจ SMEs ของจีน เมื่อเทียบกับไต้หวันและไทยจีนจะยังขาดประสบการณ์ในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ เพราะแต่เดิมจีนมีการควบคุมธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ค่อนข้างมากต้องมีการจดทะเบียนยุ่งยากพอควร โดยปัญหาพลังงานน้ำมันดิบจะเป็นปัญหาของชาติในอนาคต เพราะมีแหล่งน้ำมันไม่พอเพียงและไม่มีเส้นทางเชื่อมโยงสู่ตะวันออกกลางโดยตรง ในด้านโอกาสของจีน สามารถพัฒนาเพื่อเป็นที่รองรับการขยายฐานการผลิตของประเทศ และสามารถพัฒนาและนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น พลังงาน และการท่องเที่ยว และยังจะเป็นแหล่งการลงทุนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากของโลก จนเรียกจีนว่า “China Factory of the world” ทั้งหมดนี้ ไทยคงต้องเตรียมพร้อมในการแข่งขันกับจีน ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และมีต้นทุนต่ำ บอกได้เลยว่าลำบากและเหนื่อยมาก ดังนั้น ไทยควรจะใช้ Win-Win ในการเป็นพันธมิตรกับจีนและใช้ประโยชน์ร่วมกันจีนในฐานะเป็น Logistics Hub ของภูมิภาค ดังนั้น ประเทศไทยหากจะค้าขายกับจีนจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านการขนส่งที่สะดวกและต้นทุนต่ำ และการพัฒนาการศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาค (Region Center) ที่สามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ต่างๆ ในประเทศจีน ซึ่งมีปัญหา เพราะจีนไม่ใช่รัฐรวมศูนย์เหมือนไทย โดยประเด็นซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาในการขนส่งทางถนนกับประเทศจีน ต้องให้ความสำคัญกับจังหวัดเชียงราย โดยวางยุทธศาสตร์และบทบาทที่ชัดเจนของอำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ ซึ่งจะเป็น Gateway ด้านขนส่งทางถนนและทางแม่น้ำสู่มณฑลยูนานของจีนตอนใต้ เป็นจุดศูนย์กลาง (Hub) ขนส่งทั้งทางอากาศ , ทางถนน และทางแม่น้ำโขง เพื่อการกระจายไปยังนครคุนหมิง และเมืองจิ่งหงหรือสิบสองปันนาของจีน

ยุทธศาสตร์ที่ประเทศไทยควรใช้กับจีน


ประเด็นสำคัญที่ไทยต้องนำมาพิจารณาจาก China Factor ก็คือ บทบาทของจีนที่มีต่อไทยและอาเซียน สินค้าจากจีนมีราคาถูกจากปัจจัยด้านค่าแรงที่ได้เปรียบไทย ซึ่งไทยก็ไม่ควรแข่งกับจีนด้านราคา และไทยก็ไม่สามารถแข่งกับจีนด้านบุกเบิกเส้นทางในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะจีนมีปัจจัยเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคที่เหนือกว่าไทยมาก สิ่งที่ควรทำก็คือการเป็นพันธมิตรทางโลจิสติกส์ โดยการเกี่ยวก้อยไปด้วยกัน และการใด้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าประเทศจีนมีความประสงค์ที่ชัดเจนในการต้องการมีบทบาทในฐานผู้นำของการขนส่งทางบกและแม่น้ำโขงของภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ดี ในการติดต่อกับจีนต้องเข้าใจเกี่ยวกับระบบการปกครองท้องถิ่น ซึ่งรัฐบาลมีอำนาจสามารถออกกฎหมาย ,ระเบียบ โดยเฉพาะภาษี VAT 13% ของจีน ทำให้ไทยเสียเปรียบจากการเปิด FTA ผักผลไม้ แต่ VAT 17% สำหรับสินค้าประเภทอื่น จะเป็นปัญหามากกว่าเมื่อเปิด FTA จีน-อาเซียนเต็มรูปแบบมณฑลต่างๆของจีนจะค่อนข้างมีอิสระ ขนาดแข่งขันกันเอง เช่น มณฑลกวางสีกับมณฑลยูนาน ซึ่งมีลักษณะเป็นเกษตรกรรมคล้ายกัน โดยยูนานนั้นพัฒนาก่อนทำให้คนไทยรู้จักมากกว่ากวางสี ซึ่งเริ่มพัฒนาจริงจัง เมื่อ พ.ศ. 2547 โดยจีนมีนโยบายพัฒนามณฑลกวางสีทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นประตูสู่อาเซียน เพราะอยู่ในทำเลที่เข้าถึงอาเซียนผ่านเวียดนามและใช้เส้นทางหมายเลข 9 เข้าสู่ไทย จะสะดวกกว่าใช้ยูนานเป็น Hub ซึ่งต้องใช้การขนส่งผ่านแม่น้ำโขง ซึ่งมีปัญหาระดับน้ำและค่าขนส่งแพง ขณะที่เส้นทาง R3E ในลาว มีอุปสรรคทั้งจากการที่รัฐบาลลาวไม่ค่อยสนใจและยังต้องพัฒนาอีกมาก
ทั้งนี้ นครหนานหนิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลกวางสีจะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในการเชื่อมจีนกับอาเซียน โดยจากหนานหนิงมีถนน Motor Way สี่เลนไปเมืองกุ้ยหลินและไปสู่เมืองเจ๋อเจียงทางภาคตะวันออกและเชื่อมกับเมืองเวิ่นโจ ซึ่งห่างจากกวางโจวไปประมาณ 1 ชั่วโมง โดยเมืองนี้จะเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกที่จะมาตีตลาดไทย โดยคนเวิ่นโจ ถือว่าเป็น “ยิวแห่งไชน่า” ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขายส่งออกสินค้าดำดินเข้ามาขายไทย โดยไทยสามารถใช้ปัจจัยเชิงลบจากจีนมาเป็นปัจจัยเชิงบวก โดยใช้ประโยชน์ร่วมจากจีน ทั้งด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและด้านแรงงาน คือ สินค้าใดไม่สามารถแข่งขันกับจีนได้ ก็ควรไปลงทุนในประเทศจีน ซึ่งทางโลจิสติกส์เรียกว่า การเคลื่อนย้ายทุน (Fund Flow) ดังนั้น การที่ไทยจะสมอยากในการเป็นศูนย์กลางโลจิติกส์ของภูมิภาค ปัจจัยสำคัญอยู่ที่จีน ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ในอาณาบริเวณนี้ก็อยากจะเป็นด้วย โดยพัฒนาให้นคร คุนหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนานและนครเชียงรุ่งหรือเมืองจิ่งหง ซึ่งคนไทยรู้จักในชื่อ สิบสองปันนาเป็นศูนย์กลาง (HUB) เชื่อมโยงไทยผ่านไปประเทศในกลุ่มอาเซียนและส่งเสริมให้มณฑลกวางสีเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับเวียดนามผ่านไป อาเซียนอีกเส้นทางหนึ่ง ทั้งนี้ จีนใช้นโยบายรุกอาเซียนจากการใช้นครคุนหมิงเป็น Hub สินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมรุกเข้าไทยผ่านภาคเหนือ ทั้งเส้นทางแม่น้ำโขงและเส้นทางถนนสาย R3E โดยมีจังหวัดเชียงรายเป็น Land Bridge และจะใช้นครหนานหนิงเป็น Hub เชื่อมโยงกับอาเซียนผ่านทางเวียดนาม โดยจะรุกเข้าตลาดไทยผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้ทางหมายเลข 9 ข้ามสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 โดยมีจังหวัดมุกดาหารเป็น Land Bridge ดังนั้น การเป็น Logistics Hub ซึ่งผู้เขียนไม่ได้เว่อร์คิดไปในเชิงทางลบ แต่จากการได้พูดคุยกับนักธุรกิจจีนและนักการเมืองท้องถิ่นของจีนเขาเตรียมการอย่างนั้นจริงๆ เพราะจีนเขาไม่ภูมิใจกับการที่เขาจะเป็น Hub หรือไม่ แต่จีนนั้นแนวคิดข้ามขั้นไทยไปถึงขั้นว่าจะใช้ประโยชน์อะไรจากการเป็น Hub ซึ่งแนวคิดนี้จะต่างจากของท้องถิ่นไทยที่เน้นว่าจังหวัดตนเป็น Hub ก็พอใจแล้ว
สภาวะการค้าชายแดนไทย-จีน (ตอนใต้)
จีน (ตอนใต้)
ปี 2003 ปี 2004 ปี 2005
มูลค่าการค้า
ส่งออก
นำเข้า
ดุลการค้า 4,216.54
3,129.12
1,087.42
2,041.70 3,352.63
2,110.26
1,242.37
867.89 5,240.63
4,171.96
1,068.67
3,103.29

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ของประเทศจีนตอนใต้


จุดแข็ง
- ตลาดขนาดใหญ่ประชากรมีกำลังซื้อ
- ทรัพยากรธรรม –ชาติอุดมสมบูรณ์
- การคมนาคมขนส่งสะดวก
- มูลค่าการค้าตามแนวชายแดน และการค้าผ่านแดนมีแนวโน้มสูงขึ้น
- เป็นจุดกระจายสินค้า และพลังงานจากกลุ่มประเทศเอเชียใต้ แ ละตะวันออกกลาง สู่จีนตอนกลาง และตอนเหนือได้
- มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
- อยู่ในพื้นที่พัฒนาเขตตะวันตกของจีน

จุดอ่อน
- แรงงานไร้ฝีมือขาดช่างเทคนิควิศวกร
- รัฐบาลกลางควบคุมเศรษฐกิจระดับมหภาคในบางส่วนทำให้เกิดความไม่คล่องตัว
- ผู้ประกอบการขาดความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจขนาดใหญ่ และขาดประสบการณ์ในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ
- ขาดทรัพยากรด้านพลังงาน (น้ำมัน)
- ไม่มีเส้นทางเชื่อมโยงสู่ตะวันออกกลางโดยตรง
โอกาส
- สามารถพัฒนาเพื่อเป็นที่รองรับการขยายฐานการผลิตของประเทศ
- สามารถพัฒนาและนำทรัพยากรธรรม-ชาติมาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น พลังงาน และการท่องเที่ยว
- สามารถส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก
- สามารถพัฒนาเชื่อมโยงเส้นทางสายพลังงาน (น้ำมัน) จากประเทศตะวันออกกลางได้
- สามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางบรรจุและขนถ่ายสินค้าของกลุ่มประเทศเอเชียใต้

อุปสรรค
- ขาดการลงทุนจากต่างประเทศ
- ขาดการร่วมมือจากประเทศกลุ่มตะวันตก
- การเชื่อมโยงเส้นทางต้องผ่านประเทศอื่น
- กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีน้อย
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม (SWOT) ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของจีน ก่อนที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม
วัตถุดิบ/ชิ้นส่วน - มีแรงงานมาก, ค่าจ้างต่ำ - จำเป็นต้องนำเข้าชิ้นส่วน/อุปกรณ์เทคโนโลยีสูงจากต่างประเทศ
กระบวนการผลิต - ต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดล่างและกลาง
- จีนกำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย จึงให้การสนับสนุนและมีโครงการขนาดใหญ่มาก - ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นองค์กรของรัฐ
- เทคโนโลยีของบริษัทของจีนยังไม่ทันสมัย ไม่สามารถผลิตสินค้าคุณภาพสูงหรือใช้เทคโนโลยีสูงได้
- ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีต่างชาติมาก
- มีการร่วมทุนกับต่างชาติมาก (อิเล็กทรอนิกส์) ทำให้ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ
- ต้องพึ่งเทคโนโลยีและเงินทุนจากต่างชาติในเทคโนโลยีสำคัญ (อิเล็กทรอนิกส์)

การจัดจำหน่าย
และการตลาด - ตลาดภายในจีนมีขนาดใหญ่และอุปสงค์เติบโตอย่างรวดเร็ว - ควบคุมการส่งออก/นำเข้าโดย CEIEC แทนระบบตลาด
- จำเป็นต้องพึ่งตลาดโลกในการระบายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเกินความต้องการในประเทศ - มีการร่วมทุนระหว่างบริษัทของจีนกับบริษัทต่างชาติมากขึ้น ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและขยายตลาดได้เร็ว (เน้นขายในจีนเป็นสำคัญ)
- การกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมีมากขึ้น
ต้องใช้เวลาในการสร้างความคุ้นเคยกับยี่ห้อสินค้าของจีนในต่างประเทศ

วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม (SWOT) ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของจีน
ภายหลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก




จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม
วัตถุดิบ/ชิ้นส่วน - มีแรงงานมาก, ค่าจ้างต่ำ
- จำเป็นต้องนำเข้าชิ้นส่วน/อุปกรณ์เทคโนโลยีสูงจากต่างประเทศ - การแข่งขันในประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้น - ผู้ประกอบการของจีนที่ไม่เข้มแข็งจะถูกดันออกจากตลาดเป็นลำดับ ทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา

กระบวนการผลิต - ต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดล่างและกลาง
- จีนกำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย จึงให้การสนับสนุนและมีโครงการขนาดใหญ่มาก - ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นองค์กรของรัฐ
- เทคโนโลยีของบริษัทของจีนยังไม่ทันสมัย ไม่สามารถผลิตสินค้าคุณภาพสูงหรือใช้เทคโนโลยีสูงได้
- ต้องพึ่งพาเทคโนโ,ยีต่างชาติมาก
- มีการลงทุนจากต่างชาติและการร่วมทุนกับต่างชาติมากขึ้น ซึ่งทำให้ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ
การจัดจำหน่ายและการตลาด - ตลาดภายในจีนมีขนาดใหญ่และอุปสงค์เติบโตอย่างรวดเร็ว - ควบคุมการส่งออก/นำเข้าโดย CEIEC แทนระบบตลาด
- จำเป็นต้องพึ่งตลาดโลกในการระบายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเกินความต้องการในประเทศ
- อุปสงค์ค่อนข้างกระจุกตัวตามการพัฒนาของแต่ละพื้นที่
- อุปสงค์มีมากกว่าอุปทาน การแข่งขันสูงมาก (ไฟฟ้า) - เกิดการร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการจีนกับผู้ผลิตต่างชาติที่มียี่ห้อเป็นที่ยอมรับและมีเครือข่ายการกระจายสินค้าที่กว้างขวาง (ระดับโลก) อยู่แล้วมากขึ้น - การแข่งขันจากบริษัทต่างประเทศจะมีมากขึ้น









 

Create Date : 28 สิงหาคม 2551
1 comments
Last Update : 29 สิงหาคม 2551 12:28:39 น.
Counter : 16623 Pageviews.

 

เนื้อหาดี

 

โดย: เหมย IP: 118.174.42.158 23 สิงหาคม 2554 10:18:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


TogetherIB
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ToGetheR ♬ToGeThel2♪

♥ ToGether IBM ♥
Friends' blogs
[Add TogetherIB's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.