Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
2 พฤษภาคม 2551
 
All Blogs
 

อช. เขาใหญ่ ตอนที่ 3

เจ็ดโมงเช้าของวันใหม่....

พระอาทิตย์ยังไม่สามารถแหวกเมฆหมอกออกมาปรากฏโฉมได้...

ยอดเขาเขียวมีหมอกขาวลอยเอื่อยๆ ปกคลุม...

เสียงนกเงือกร้อง "แกร๊ก...แกร๊ก...แกร๊กๆ" ดังก้องป่า

เสียงร้อง "ผัว...ผัว..ผัว...ผัว" ของชะนีมือขาว ดังมาจากราวไพร

อากาศเย็นสบายกำลังดี บรรยากาศยามนี้ทำให้ผมรู้สึกสดชื่นเข้าไปจนถึงหัวใจ

************************************************
ชะนีที่เขาใหญ่จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชะนีมงกุฏ และ ชะนีมือขาว

ชะนีที่ร้อง "ผัว..ผัว..ผัว..ผัว" ให้พวกเราได้ยินกันประจำส่วนใหญ่จะเป็น "ชะนีมือขาว" ครับ

พี่ไพบูลย์ บอกว่า ชะนีมงกุฏ กับ ชะนีมือขาว มันร้องต่างกัน

ผมไม่เคยได้ยินชะนีมงกุฏ มันร้องสักทีเลยบอกไม่ได้ครับว่ามันร้องแตกต่างกันยังงัย หรือร้อง "เมีย..เมีย" หว่า

ชะนีมงกุฏ ตัวผู้จะมีสีดำ มีสีขาวเป็นวงรอบหัว ส่วนตัวเมียสีเทาเหลือง หรือน้ำตาลเหลืองแล้วมีสีดำบนกระหม่อม

ปล. ขออภัยครับ จำที่มาของภาพไม่ได้แล้ว

************************************************

ส่วนเสียงชะนีมือขาว ที่ร้อง "ผัว..ผัว...ผัว" ให้ได้ยินอยู่เป็นประจำนั้น

เราสามารถแยกว่าเป็น "ตัวผู้" หรือ "ตัวเมีย" ได้จากเสียงร้องของมันครับ

คือตัวผู้จะร้อง "ผัว..ผัว..ผัว..ผัว" คือ ร้อง ผัว สั้นๆ..

ตัวเมียจะร้อง "ผัววววววว...ผัววววววว..ผัววววววววว" ร้อง ผัวววว เสียงยาวและโหยหวญคร่ำครวญ (ชะนี นะอย่าคิดว่าเป็นแม่นาค)

ส่วนชะนี กระเทย.. ไม่มี "ผัว" / ล้อเล่นนะคับ อิอิอิ

ชะนีมือขาวตัวผู้จะมีสีดำและไม่มีสีขาวคาดหัวเหมือนชะนีมงกุฏ ส่วนตัวเมียจะมีสีเหมือนชะนีมงกุฏ แต่ไม่มีสีดำบนกระหม่อม

ปล.ที่มาของภาพจากในภาพนะคับ

************************************************

กลับมาชมบรรยากาศยามเช้ากันต่อ....

กับเมฆหมอกบดบังยอดเขาเขียว

************************************************

ตอนเช้าอย่างนี้นกมักจะออกมาหากินเยอะครับ...

ผมเลยออกตามล่าหาส่องน้องนก.. ส่วนใหญ่ในที่โล่งๆอย่างนี้

มักจะพบนกกินแมลงเยอะครับ..

************************************************
นี่งัย.."น้อง Bee" ผึ้งงาน แสนขยันออกมาหาน้ำค้างกิน

ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ หรือ แมลง ต้องกินน้ำด้วยกันทั้งนั้นครับ..

และมันก็จะถูกพวกนกจาบคา (Bee-eater) กินเป็นอาหารมื้อเช้าประจำ


************************************************

เดินหาส่องน้องนกจนหิวแล้วค้าบบบ..

กินข้าวดีกว่า..

มัวแต่เดินส่องนกจนทำให้คนอื่นเรารอ

************************************************

ข้าวต้มกุ๊ย...

มีอะไรบ่างดูเอาเองล่ะกันคับ สาธยายมากเด๋วผมหิวอ่ะ

*************************************************

อิ่มกันแล้วช่ายม้าย...

เตรียมตัวให้พร้อม....แล้วไปเดินลุยป่ากันเล้ยยยย..


************************************************

วันนี้เราเลือกเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่ไม่ไกลมากนัก..

ด้วยเรามีนักเดินป่าสมัครเล่นมากันหลายคน

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ กม.33-หนองผักชี จึงเป็นตัวเลือกที่ดูดเหมาะสมที่สุด

คือไม่ใกล้และไม่ไกลมากนัก

************************************************

ขอแนะนำให้พบกับ จนท.ที่จะเป็นผู้นำทางให้เราในครั้งนี้ครับ

“คุณลุงภักตร์” แกอยู่กับเขาใหญ่มาตั้งแต่ยังไม่ได้ถูกจัดตั้งเป็น อุทยานฯ เลยนะครับ

ถึงตอนนี้อายุของลุงแกจะเลยวัยเกษียณไปแล้วแต่ทางอุทยานฯ ยังจ้างลุงเป็น จนท. อยู่

นั่นเป็นการันตีได้เลยว่าลุงแกแจ๋วจริง ค้าบบบบ...

แจ๋วไม่แจ๋ว ลุงแกก็วิ่งวันละสิบกิโลทุกเช้าล่ะครับ... (ไม่รู้วิ่งหนีตัวอะไรหรือป่าว)


************************************************

แนะนำกันหน่อย..

ฝรั่งลูกนี้.. เอ๊ย! ท่านนี้เป็นผู้จัดการองค์กรส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชนของออสเตรเลีย...

แกมีโมเดลในการคำนวณว่า ต้นไม้ที่มีเส้นรอบวงขนาดนี้จะมีปริมาณไม้ที่สามารถแปรรูปได้กี่ ลบ.ม.

แต่เป็นต้น ยูคาลิปตัส เท่านั้น....ตอนนี้แกกำลังสนใจทำโมเดลนี้กับไม้สักอยู่อ่ะคับ

*************************************************

สำหรับร่องรอยของสัตว์ป่าที่พบในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ กม.33-หนองผักชี

ที่ผมและทีมงานได้สำรวจไว้เป็นข้อมูลประกอบในการทำ "แผนแม่บทในการจัดการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่"

ซึ่งได้สำรวจเอาไว้ในช่วงหน้าแล้งปี 2549 ก็มี......
1. กวางป่า
2. หมูป่า
3. ลิงแสม
4. กระรอกหลากสี
5. นกขุนทอง
6. นกกางเขนดง
7. นกโพระดกหูเขียว
8. นกระวังไพรปากเหลือง
9. ไก่ป่า
10. นกกก
11. นกกระรางหัวหงอก
12. นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่

สำหรับพืชที่เป็นไม้ต้น ที่เราทำการสำรวจเฉพาะตามริมทางเดินศึกษาธรรมชาติและลึกเข้าไปจากทางเดิน 10 เมตร

มีทั้งหมดประมาณ 50 ชนิดครับ..

ที่พบมากที่สุด 4 อันดับแรกก็เป็น สุรามะริด อีแรด ตองผ้า และหว้าส้ม ตามลำดับเลย

************************************************

ยังไม่ทันจะได้เดินไปไหนเลย เขาก็มาเผยโฉมให้ชมแล้วคับ...

ชะนีมงกุฏ 2 ตัว น่าจะเป็นคู่กัน ห้อยโหนหากินบนกิ่งไม้ใหญ่เห็นได้ชัดเจน

พวกเราชี้ให้กันดูจนรถที่ขับผ่านมาหยุดรถแล้วชะเง้อคอยาวเหมือนยีราฟอยู่ในรถดูเป็นแถว...

เราก็เลยได้ดูยีราฟ ขับรถเพิ่มขึ้นอีกตัว

************************************************

เดินเข้ามาได้หน่อยเดียวก็เจอเข้ากับ "จำปาป่า"

ต้นไม้ขนาดใหญ่ ที่พบได้เฉพาะในป่าดิบ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตร ขึ้นไป

ผมได้เจอกับเขาครั้งแรกตอนเก็บข้อมูลป่าที่ดอยอินทนนท์..คราวนั้นเขากำลังออกดอก

ผมก็มัวแต่ยืนแหงนหน้ามองดูดอกจำปาป่า จนเพลิน...

พอก้มมองดูตัวเองอีกที อ้าว!.. โดนตัว "คุ่น" กัดเสียแล้วเรา

เลยจำชื่อเขาได้มาจนทุกวันนี้เลย...

*************************************************

"ต้นเลือดกวาง" ... ถ้าเราสังเกตดีๆ เราจะเห็นรอยมีดฟันที่ต้นไม้หลายแห่ง

เนื่องจาก ไม้พวก เลือดกวาง เลือดควาย หรือ เลือดแรด จะมียางสีแดงคล้ายเลือด

รอยที่เห็นจึงเกิดจาก "เซียนพรรณไม้สมัครเล่น" หรือพวกชอบโชว์ "ว่าข้าแน่เรื่องพรรณไม้"

จากนั้นก็เอามีดฟันเปลือกไม้ให้มีน้ำยางสีแดงไหลออกมา...

เพื่อโชว์ให้เห็นว่า เป็น "ต้นเลือดกวาง" จริงๆ...

************************************************

กระเพราต้น"

ต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบอีกชนิดหนึ่ง.. ใหญ่ขนาดไหนเปรียบเทียบกับสองสาวมรดกของโลกเอาเองครับ

น่าจะสัก 5 คนโอบได้...

แต่ถ้าใครคิดจะทดลองวัดขนาดของต้นไม้ด้วยการโอบบ้าง...

ขอแนะนำว่า อย่าปฏิบัติอย่างน้องเสื้อสีน้ำตาลนะครับ..

เราไม่ควรเอาด้านหน้าโอบ เพราะบางทีอาจจะมีแมลงมีพิษ

เห็บ หรือ ทาก เกาะอยู่...

************************************************

เนื้อไม้ของ "กระเพราต้น" จะมีกลิ่นฉุน

เวลาเดินป่าเหนื่อยๆ ถากเอาเปลือกหรือเนื้อไม้ มาดมแทนยาดมได้เลยแหละครับ...

แก้วิงเวียน หน้ามืด ดมแล้วชื่นใจ๊ ชื่นใจ...

รอยคนถากเปลือกรากของกระเพราต้น เพื่อพิสูจน์กลิ่น..

************************************************

รอยหมูป่าขุดหารากไม้ หรือ สัตว์เล็กๆ และแมลง ในดินกิน

************************************************

หมูป่าส่วนใหญ่จะอยู่และหากินกันเป็นฝูง หรือครอบครัว

ยกเว้นตัวผู้ที่โตเต็มไว จะแยกออกไปท่องเที่ยวหากินตัวเดียว

ที่เรียกว่า "หมูป่าโทน" นั่นแหละครับ และมันจะกลับเข้าฝูงอีกครั้งเมื่อฤดูผสมพันธุ์

************************************************

ลูกที่เห็นนี่..ลุงภักตร์ แกเรียก "นมช้าง"

แต่พวกผมเรียกว่า "HUMช้าง" ครับ

เรียกอย่างที่ผมว่าจริงๆ นะครับ ไม่ได้ล้อเล่น

ในรายงานประเมินผลกระทบกิจกรรมการเดินป่าที่มีผลต่อสัตว์ป่าและพรรณพืช

ผมก็รายงานว่าชื่อต้น "HUMช้าง"

************************************************

เมื่อเราลองบริ "ผลHUMช้าง" ดู ก็จะพบเมล็ดของ HUMช้าง อยู่ข้างใน

ซึ่งจะมีเนื้อหุ้มเมล็ดลื่นๆ นุ่มๆ สีขาว คล้าย เมล็ดของกระท้อน
************************************************


************************************************

ผมเองรู้ก็แต่ว่าผล HUMช้าง กินได้ แต่ไม่เคยลอง....

*************************************************

ลุงภักตร์ เลยกินให้ดูเป็นตัวอย่าง...

*************************************************

เพื่อความสมบูรณ์ของเรื่อง ถ้าไม่ลองเดี๋ยวจะอธิบายให้พวกเราฟังไม่ถูก...

จำต้องยอกพลีชีพคร้าบบ...

เสือดูด HUMช้าง แล้ว... "จุ๊บๆๆๆๆๆ"

อืม... นิ่มๆ ลื่นๆ เหมือนเมล็ดกระท้อน แต่รสชาติหวานออกเลี่ยนๆ คือไม่มีรสเปรี้ยวเจืออยู่เลย หวานแบบจืดๆ


************************************************

งัยล่ะ หน้าตาของต้นHUMช้าง... สังเกตดีๆ มีผลHUMช้าง คาต้นอยู่ด้วย เพียบเลย

โอ้ว!.. มากมายหลายHUM....


************************************************

รอยเล็บหมีปีนต้นไม้ครับ..

รอยหมีที่เห็นเป็น..รอยหมีคนครับ ไม่ใช่คนชื่อหมีนะ.. แต่เป็นหมีชื่อคน อ่ะ!..ไม่ใช่.. งงวุ๊ย.

*************************************************

ต้นเดิมนั่นแหละ.. แต่เป็นด้านข้าง

สัณนิษฐานว่ามันพยายามฉีกต้นไม้เพื่อแหวกช่องของพูพอนต้นไม้

จากนั้นก็จะเอาปากยื่นๆ ของมันทิ่มเข้าไปตามรอยแยกเพื่อกินน้ำหวานจากรังของผึ้งโพรง

*************************************************

หมีหมา หรือ หมีคน ลำตัวจะยาวประมาณ 150 ซม.

ขนสีดำทั้งตัว มีสีเหลืองแกมขาวเป็นรูปตัววีที่หน้าอก ที่ปากและจมูกสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง

ชอบออกหากินเวลากลางคืน อาหารของมันคือพวกสัตว์เล็กๆ แมลง และชอบปีนต้นไม้หากินน้ำผึ้ง ไปถึงผลไม้สุกตามป่าทั่วไป

กลางวันจะนอนบนต้นไม้...

เสียงร้องของหมีชนิดนี้ ฟังดูคล้ายหมา จึงเป็นที่มาของชื่อ "หมีหมา"

พอเวลามันได้กลิ่นแปลกๆ หรือ ต้องการดมเพื่อกลิ่นของอาหารมันจะยืนสองขาคล้ายคน จึงเป็นที่มาของชื่อ "หมีคน"

ปล. ขอบคุณภาพจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียวครับ

***************************************************

ต้นไทร เป็น “นักบุญแห่งป่า”
เพราะ ต้นไทรในป่าจะมีลำต้นขนาดใหญ่และแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปก้างขวางมาก
ทำให้เกิดร่มเงาขนาดใหญ่เป็นที่พักพิงอาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด (รวมทั้งผีสาง เทวดา นางไม้ด้วย)
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารของสัตว์เล็กๆ พวก กระรอก กระแต เก้ง กวาง และนก ต่างๆ



************************************************************

และต้นไทร ยังเป็น “นักฆ่าแห่งพงไพร” อีกด้วย
เพราะ ต้นไทรส่วนใหญ่จะเติบโตในลักษณะของกาฝาก เกาะและดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชที่มันยึดเกาะ
จากนั้นก็จะค่อยๆ เจริญเติบโตคลอบคลุมต้นไม้ที่มันยึดเกาะอาศัยอยู่ แล้วต้นไม้ที่มันอาศัยก็จะตายลง

ฉายา “นักบุญแห่งป่า นักฆ่าแห่งพงไพร” จึงเหมาะแก่ต้นไทรในป่าเป็นที่สุด


*************************************************************

ฉายา “นักบุญแห่งป่า นักฆ่าแห่งพงไพร” เป็นฉายาที่รุ่นพี่วนศาสตร์ ม.เกษตร คนหนึ่งคิดขึ้น

จากนั้นพวกน้องรุ่นหลังๆ ที่เรียนจบแล้วไปทำงานในอุทยานฯ ต่างๆทั่วประเทศ ก็เอามาไปใช้จนแพร่หลาย

...ภาพที่เห็นนี่เป็นตัวอย่าง ต้นไทรเจริญเติบโตจนหุ้มต้นไม้ที่มันอาศัยอยู่จนมิด ถ้าไม่สังเกตเราจะคิดว่าต้นไทรมีขนาดใหญ่มาก..



***************************************************************

ด้วยความซุกซนตามประสา เสือแสนซน
“ฉันคือรูปเสือหลุมหลิมในกรอบไม้”



****************************************************************

ต้นทองหลางป่า เปลือกต้นมีร่องรอยถูกฉีกทึ้งจากสัตว์

และมีรอยถูกเจาะด้วยอะไรบางอย่าง..

ลุงภักตร์ บอกว่าถูกช้างเอางาฉีกและแทงเล่น

*************************************************************

ผมเลยเข้าไปตรวจสอบและพิจารณาเผื่อโชคดีเจองาช้างหักติดกับต้นไม้..

ซึ่งตามตำราเครื่องรางของขลัง เขาว่า เป็นของดี เรียกว่า "งาช้างกำหนัด" หรือ "งาช้างกำจัด" ไม่แน่ใจ

แต่คิดว่าน่าจะเป็น "งาช้างกำหนัด" เพราะเป็นงาที่ได้จากช้างตกมันกำลังเกิดความกำหนัดมันในอารมณ์

เอางามาแท้งกับต้นไม้ระบายอารมณ์เปลี่ยว

แต่ลองหาอยู่นานก็ไม่เจอ เจอแต่ "ขี้ช้างกำหนัด" ไม่รู้ใช้แทนกันได้รึป่าว



*****************************************************************

เถาวัลย์น้ำ เวลาอยู่ในป่าหาน้ำกินไม่ได้

เราก็หากินกับเถาวัลย์น้ำ นี่แหละคับ

ตัดมันแล้วน้ำก็จะไหลออกมา "ปิ๊ดๆๆๆๆๆ"

แล้วเราก็เอาปากดูด "จ๊วบๆๆๆๆ" 5555..

ล้อเล่นครับ... ไม่ต้องดูดก็ได้แค่เอาปากรองหรือหาอะไรมารองน้ำก็ใช้ได้แล้ว



*******************************************************************

"ปอหูช้าง" ใบจะมีลักษณะกลม ปลายใบ 5 แฉก เป็นไม้เบิกนำชนิดหนึ่ง

เป็นสัญลักษณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าครั้งหนึ่งสภาพตรงนี้เคยถูกเปิดโล่งจากการบุกรุกแผ้วถางของมนุษย์



******************************************************************

ทายซิอะไรเอ่ย...



******************************************************************

เฉลย....

กระสุนพระอินทร์/กิ้งกือป้อม/กิ้งกือเม็ด

ลักษณะเด่นของมันคือเวลามันมีอันตรายมันจะขดตัวได้กลมเลยแหละ (เหมือนภาพข้างบน)



****************************************************************

เคยมีน้องคนหนึ่งถามผมว่า "พี่..กิ้งกือมีกี่ขาอ่ะ"

มึนเลยคับ..ไม่รู้มันกวนหรืออยากรู้จริงๆ

ถ้าจะจับมันมานั่งนับขา ผมว่าลูกกะตาผมคงต้องหลุดออกมานอกเบ้าก่อนแน่

วิธีที่จะรู้ว่ากิ้งกือตัวนี้มีกี่ขาก็คือต้องนั่งนับจำนวนปล้องของมันครับ.

“กิ้งกือจะมี 4 ขาต่อปล้อง” ครับ แต่ก็อีกนั่นแหละเพราะกิ้งกือแต่ละตัวจะมีจำนวนขาไม่เท่ากัน

ตอนมันเป็น “กิ้งกือทารก(เพิ่งออกจากไข่)” อยู่นั้น มันมีจำนวนเพียง 5 ถึง 6 ปล้อง

ต่อจากนั้น พอมันโตขึ้น มันก็จะเพิ่มจำนวนปล้อง โดยปล้องใหม่จะแทรกตรงบริเวณปล้องรองสุดท้ายกับปล้องสุดท้าย




 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2551
4 comments
Last Update : 17 มิถุนายน 2551 17:45:39 น.
Counter : 3795 Pageviews.

 

เคยพิสูจน์กลิ่นสุรามะริดเหมือนกัน ชอบมากๆ เลยค่ะ แต่เข้าป่าเองไม่เคยหาเจอง่ะ


เห็นกับข้าวบนโต๊ะแล้วรีบเรียกแม่มาดู บอกว่าพรุ่งนี้ขอแบบนี้นะคะ แม่ก็เห็นดีด้วย 555

 

โดย: โป่งวิด 11 พฤษภาคม 2551 23:51:34 น.  

 

พี่หลิมสบายดีป่าว ตอนนี้อยู่ที่ไหนเหรอพี่

 

โดย: เปาโล IP: 113.53.47.209 24 พฤษภาคม 2553 10:16:50 น.  

 

ทำงานเป็นนักวิจัย ที่สถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด ของ ม.เกษตร อ่ะ

ว่างๆ ก็แวะมาเที่ยวมั่งก็ได้.. วันที่ 10 ก.ค. พี่ยังเจอบักคำไส กับ รูฟี่อยู่เลยฟ่ะ มันมาสอบที่กรมฯ

 

โดย: เสือหลุมหลิม 19 กรกฎาคม 2553 17:55:12 น.  

 

หวัดดีครับ เท่มากเลยครับ "เสือหลุมหลุม"

 

โดย: เสือน้อง(วี) IP: 110.164.154.85 22 พฤศจิกายน 2553 22:33:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เสือหลุมหลิม
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เสือหลุมหลิม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.