นอนดึก ตื่นสาย เดินซุเปอร์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




หัว เปลี่ยน Bullet เปลี่ยนอมยิ้ม เปลี่ยนสี font ของ link
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
30 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add นอนดึก ตื่นสาย เดินซุเปอร์'s blog to your web]
Links
 

 

เคล็ดไม่ลับสำหรับลูกเลือกกิน (9เดือนขึ้นไป)

เคล็ดไม่ลับ สำหรับคุณลูกที่ช่างเลือกกิน (วัย 9 เดือนขึ้นไป)

 หลายครั้งที่บรรดาแม่ๆ พยายามจะจัดและสรรหาอาหารที่มีคุณค่าให้กับเจ้าตัวน้อย
แต่อาหารที่มีคุณค่านั้นกลับถูกปฏิเสธแทบทุกมื้อ แม่คนไหนจะไม่เสียใจ แม่คนไหนจะไม่เป็นห่วง
ลองอ่านดูนะคะ ว่าทำไมลูกถึงช่างเลือกนัก

ทำไมถึงกินยากนักล่ะลูก
- พอเข้าใกล้วัยเตาะแตะ (เริ่มประมาณ 9 เดือน) เจ้าตัวเล็กก็จะช่างเลือกอาหารมากขึ้น
นี่คือหนึ่งในพัฒนาการของเด็กวัย 1-3 ขวบที่จะจิ้มๆ เขี่ยๆ อาหารเล่น (แล้วก็ไม่ยอมทานซักที)
เนื่องจากการเจริญเติบโตของวัยเตาะแตะจะช้าลงมากเมื่อเทียบกับขวบปีแรก
เด็กๆ วัยนี้ก็จะต้องการอาหารน้อยลง อย่างไรก็ตามพฤติกรรมจอมซนของเด็กๆ
ทำให้เค้าต้องการพลังงานตลอดทั้งวัน แม่ไม่ต้องเตรียมอาหารมื้อใหญ่ขึ้น
แต่น่าจะเตรียมอาหารว่างที่มีประโยชน์มากกว่า

เข้าใจและทำใจ
– การเข้าใจพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไปของลูกจะช่วยให้แม่ทำใจได้มากขึ้น
การสรรหาอาหารที่มีประโยชน์และการตกแต่งอาหารยังเป็นสิ่งที่แม่ยังต้องทำต่อไป (สู้ๆ)
แต่อย่าเครียดเมื่อลูกทานน้อยในมื้อนี้ เพราะการที่ลูกทานได้น้อย ไม่ใช่ความผิดของแม่นะคะ

วัยเตาะแตะชอบอาหารเป็นอย่างๆ
– บางวันจะทานผลไม้เพียงอย่างนี้อย่างเดียว แต่บางวันจะไม่ยอมทานเลย
พฤติกรรมการกินของเด็กวัยนี้จะเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก บางมื้อจะทานได้เยอะ
แต่อีกมื้ออาจจะไม่อยากทานอะไรเท่าไหร่นัก
แม่จึงต้องวางแผนให้ลูกทานอาหารให้ครบหมู่ใน 1 อาทิตย์
ไม่จำเป็นต้องได้ทุกสารอาหารภายในวันเดียวค่ะ

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมา มิได้สื่อว่าเด็กวัยเตาะแตะไม่จำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีประโยชน์นะคะ
จากประสบการณ์เลี้ยงเด็ก 8 คน ผู้เขียนบทความนี้ได้ให้เคล็ดลับเชิญชวนการทานอาหาร 17 ข้อ ดังนี้ค่ะ

1. ใช้จามชามที่สีสันสะดุดตาน่าสนใจ วางอาหารว่างเพิ่มพลังงานให้หยิบทานเอง
การตั้งชื่ออาหารต่างๆ จะช่วยให้เด็กๆ สนใจมากขึ้นค่ะ ตย.เช่น
• พระจันทร์แอปเปิ้ล (แอปเปิ้ลฝานบาง)
• เรือมะละกอ (มะละกอฮาวายผ่า 1/4)
• ล้อกล้วย (กล้วยหั่นแว่น)
• ต้นไม้ (บร็อคคอลี่นึ่ง)
• ดาบแครอท (แครอทต้ม หั่นแนวยาว)
• บล็อคเต้าหู้ (เต้าหู้แข็งหั่นเต๋า)
• เรือไข่ (ไข่ต้ม ผ่า 1/6)
• ตัวโอ (ซีเรียลกลมๆ รสจืด)
การทานอาหารว่างที่ดี มีประโยชน์ นอกจากจะช่วยให้พลังงานและคุณค่าทางอาหารกับลูก
ยังช่วยให้รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ลูกจะอารมณ์ดี ไม่หงุดหงิดค่ะ

2. จิ้มสนุก เพิ่มความสนุก ความสนใจในการกินด้วยเครื่องจิ้มถ้วยเล็ก เช่น
• น้ำผลไม้
• เนยถั่ว (ดูว่าลูกไม่แพ้ถั่วนะคะ)
• ผักผลไม้ปั่น
• โยเกิร์ต (ควรอายุ 1 ขวบขึ้นไปนะคะ)
จะให้จิ้มด้วยผักนึ่ง ขนมปังปิ้ง ขนมปังกรอบ หรือว่าผลไม้สดก็ได้ค่ะ ได้ประโยชน์สุดๆ

3. ทาให้ดู ดึงความสนใจด้วยเนยถั่ว แยมนิดหน่อย บนขนมปังเพิ่มพลังงาน

4. เติมท๊อปปิ้งบนอาหาร ให้น่าสนใจ โรยผัก ถั่วลันเตา แครอทเต๋า เมล็ดข้าวโพด
ให้อาหารชวนน่าทานมากขึ้น

5. ถ้าเจ้าตัวเล็กชอบเครื่องดื่ม อาจจะทำน้ำผลไม้ปั่นกับโยเกิร์ต ใส่จมูกข้าว งาดำ น้ำผึ้ง เนยถั่ว
เพิ่มโปรตีนและพลังงาน เป็นอาหารว่างได้ค่ะ (โยเกิร์ต น้ำผึ้ง ถั่ว นม หลัง 1 ขวบไปแล้วค่ะ)

6. หั่นให้น่าสนใจ เป็นสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม รูปดาว กลมๆ เป็นการสอนวิชาเรขาคณิตไปในตัว

7. เปลี่ยนภาชนะ จากจานเป็นถ้วยหรือโคน หรือใช้จานของเล่นให้ทานร่วมกับตุ๊กตาและของเล่น (ล้างก่อนนะจ๊ะ)
เสิร์ฟเป็นขนาดย่อมๆ (เพราะถ้าตักมาเยอะล้นจาน ใครเห็นก็ถอดใจ กินไม่หมดจ้า)

8. สำหรับใครที่มีลูกไม่กินผัก อ่านตรงนี้ค่ะ
• ฝาน เต๋า หรือ ขูดผักลงในอาหาร
• ผสมผักลงไปในซอส/ โยเกิร์ตที่ชอบ
• ใช้ผักนึ่ง ลวกจิ้ม (อ่านต่อข้อ 2 ค่ะ)
• หั่นผักเป็นรูปทรงต่างๆ
• นึ่งผัก รสชาติจะหวานกว่าต้มค่ะ
• ตกแต่งอาหารด้วยผักที่มีสีสรรสวยงาม แต่งเป็นหน้าตา เติมหนวด
• ซ่อนผักในใข่เจียว ซุปข้นต่างๆ ค่ะ
• สอนลูกปลูกผัก เค้าจะสนุกกับผักผลไม้ และจะยอมรับการกินผักมากขึ้น

9. ทานอาหารร่วมกับผู้ใหญ่หรือเพื่อนวัยเดียวกัน
ให้การกินข้าวเป็นกิจกรรมหมู่ ช่วยให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น

10. อย่ายัดเยียดให้ทานมากๆ เพราะกระเพาะของลูกไม่ได้ใหญ่มาก
อาจต้องให้ทานมื้อเสริมหรืออาหารว่างเพื่อให้รักษาระดับน้ำตาลเลือด จะได้ไม่เพลีย ไม่หงุดหงิดค่ะ
แต่อย่าให้ทานอาหารว่าง 2 ชม.ก่อนมื้ออาหารหลัก มิฉะนั้นจะทานยากเหมือนเดิม

11. ให้หยิบเองบ้าง แม่อาจเลือกของว่างและอาหารไว้บนชั้นตู้เย็น ให้ระดับเดียวกับส่วนสูงของลูก
เมื่อไหร่ที่ลูกต้องการทานอาหาร ก็เปิดตู้เย็นให้ลูกหยิบเอง (แต่แม่ต้องคัดสรรอาหารที่มีคุณค่านะคะ)

12. ใช้เก้าอี้เด็กที่ขนาดพอเหมาะ เด็กๆ มักไม่ชอบเก้าอี้ที่นั่งแล้วห้อยขา เท้าแตะไม่ถึงพื้น

13. ให้ทานอาหารที่หลากหลาย มื้อเช้าอาจจะเป็นข้าว ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่
ขนมปัง ไม่จะเป็นต้องเป็น ข้าวต้มอย่างเดียวค่ะ

14. ให้เค้าช่วยทำกับข้าวบ้าง เช่นบีบซอส ฉีกผัก ล้างผัก ใ
ห้เค้าได้มีส่วนร่วมในการทำอาหาร เวลาบีบซอสก็อาจจะบีบเป็นรูปหัวใจ ตัวเลข ตัวอักษร เป็นต้น

15. เลือกอาหารที่มีประโยชน์สูง ในเมื่อลูกทานน้อย
ควรเลือกอาหารที่ให้สารอาหารสำคัญๆ เพื่อให้ ”คุ้มค่า” กับทุกคำที่กินไป
• พาสต้า
• บร็อคคอลี่
• เนยถั่ว
• ข้าวไม่ขัดสี และธัญพืชอื่นๆ
• มันฝรั่ง มันเทศ
• เนื้อไก่
• ไข่
• ปลา
• ถั่วแดง ถั่วเขียว
• เต้าหู้
• โยเกิร์ตจืด

16. เมื่อลูกมีความเป็นตัวของตัวเองสูงขึ้น เค้าก็จะเริ่มปฏิเสธเป็น
ดังนั้นเป็นธรรมดาสำหรับเด็กวัยนี้ที่คิดอยากจะทานก็ทาน คิดไม่อยากก็จะปฏิเสธ
ขึ้นอยู่กับอารมณ์น่ะ

17. ทำบรรยากาศบนโต๊ะอาหารให้สบายๆ อย่าบังคับค่ะ
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกกำลังเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ดื้อรั้น
ถ้าลูกกินน้อยในมื้อนี้ อาจให้อาหารว่างที่มีคุณค่าทางอาหารคล้ายมื้อหลัก
เพื่อทดแทนสารอาหารที่ได้รับน้อยในมื้อที่ผ่านมา
วัยนี้ลูกเริ่มจะมีความคิดเป็นของตัวเอง บางวันคิดจะกินอาหารอย่างนี้อย่างเดียว
บางวันอาจจะกรี๊ดไม่กินเลยก็ได้ค่ะ ถ้าเราไปบังคับมากๆ ลูกจะยิ่งต่อต้านทุกครั้งที่ทานข้าวเลยค่ะ

แปลจาก HTTP://ASKDRSEARS.COM/HTML/3/T030800.ASP#T031200


credit ::facebook นมแม่






 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2554
2 comments
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2554 21:54:04 น.
Counter : 8797 Pageviews.

 

ทำอย่างไรลูกไม่ยอทานข้าวอายุ7เดือนแล้วแต่ทานนมแม่อย่างเดียว

 

โดย: แม่ทิพย์ IP: 118.173.48.58 10 มิถุนายน 2556 21:41:44 น.  

 

ลูกสาวเริ่มเบื่ออาหารตอน 8 เดือนครึ่ง ลองข้าวบด ข้าวเม็ด สารพัดเมนู กินคำสองคำก็เลิก กลุ้มใจจัง

 

โดย: แม่ปู IP: 171.96.184.122 21 ธันวาคม 2558 15:30:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.