วางแผนปรับพอร์ท และศึกษาผลของวิธีการ
ก่อนหน้านี้เคยลองศึกษาข้อดีข้อเสียของการ probing พบว่า การ probe จะทำให้ expectancy ลดลง แต่กลับมี paradoxical effect ช่วยลด volatility ซึ่งคิดว่าเป็นผลจากการใช้เวลาละลายความเสี่ยง โดยการ probe ใน period น้อยๆ จะช่วยเพิ่ม sharpe ในขณะที่ลด expectancy เล็กน้อย แต่เมื่อเพิ่ม period ถึงระดับหนึ่ง จะทำให้ทั้ง sharpe และ expectancy ลดลง ซึ่งเมื่อคำนวณตามทฤษฎีพบว่า ที่ระยะครึ่งหนึ่งของ period ที่ใช้ generate สัญญาณจะให้ประโยชน์ในแง่ของ sharpe ได้สูงสุดถ้า period ที่ใช้ generate สัญญาณนั้น สอดคล้องกับขนาด cycle ของพฤติกรรมหลักทรัพย์ตัวที่เราสนใจพอดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก cycle และส่วนหนึ่งเป็นผลจาก predictability ที่ลดลงเมื่อเพิ่มระยะการถือ ซึ่งเมื่อทำ backtesting พบว่าผลลัพธ์ที่ได้สอดคล้องกัน

วันนี้จึงมาลองศึกษา transition map ของการ probing method ดู 



พบว่า effective number ในแง่ของ correlation-free เพิ่มขึ้นชัดเจน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ ในสมมติฐานที่ว่า estimation error ของระบบที่มี lookback window สั้น มักมีขนาดสูง

ในแง่ของ turnover rate ลดลงค่อนข้างชัดเจน ความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับการแปรผกผันกับขนาดของ probing period ยกกำลัง 0.5 ในระยะสั้น และแปรผกผันเข้าใกล้ขนาดของ probing period ในระยะยาว (ข้อมูลเบื้องต้น ยังไม่ได้ศึกษาละเอียด)

ในแง่ของ size ได้ประโยชน์ชัดเจนเช่นกัน เพราะเมื่อซอยออกเป็นไม้เล็ก ความคล่องตัวก็สูง ทำให้ trade cost ต่ำลง

plan : สำหรับคนที่เล่น tangency แบบผม แม้ว่าหลักการนี้จะได้ประโยชน์ในทางทฤษฎีและสอดคล้องกับผล backtesting แต่ในทางปฏิบัติ ณ ขนาดพอร์ทในปัจจุบัน ทำได้ลำบาก เพราะหากซอยไม้ย่อยมากจนเกินไป อาจทำให้ขนาดของแต่ละไม้ ได้ไม่ใกล้เคียงกับขนาดของสัดส่วนพอร์ทที่ควรจะเป็น คิดว่า เป็น plan ที่ดีในอนาคตเมื่อพอร์ทมีความพร้อมมากกว่านี้ 





Create Date : 05 ธันวาคม 2557
Last Update : 5 ธันวาคม 2557 14:25:04 น.
Counter : 939 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1781714
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดอกไม้งามยามตะวันเริ่มผันสี

ดุจมณีเปล่งประกายให้วาบหวาน
Group Blog
ธันวาคม 2557

 
6
7
10
13
20
21
27
28
31
 
 
All Blog