Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
17 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
3G ใช้ให้เป็น!...ตัวช่วยขยายตลาดสินค้าโอทอป

ปัจจุบันคงปฏิเสธว่าไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจที่หันมาอินเทอร์เน็ตในการโปรโมทสินค้า หรือเป็นหน้าร้านเพื่อช่วยลดต้นทุน แต่หากเป็นสินค้าของชุมชน ฝีมือชาวบ้าน การทำให้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มยอดขายคงเป็นไปได้ยาก ดังนั้น “ทรู มูฟ เอช” จึงจัดกิจกรรม 'ชีวิตดี ชุมชนดี กับ ทรูมูฟ เอช 3G+' เปิดประสบการณ์บริการ 3G+ สู่ธุรกิจชุมชน
       
       QR Code สำหรับคนรุ่นใหม่ หรือผู้ที่สนใจในเรื่องเทคโนโลยีคงคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะแพร่หลายได้สักพักหนึ่งแล้ว กับสัญลักษณ์ในกรอบสี่เหลี่ยม เป็นตัวอักษรยึกยืออ่านไม่รู้เรื่อง ต้องใช้โทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน (Smart Phone) เท่านั้นจึงจะแปลสัญลักษณ์เหล่านั้นเป็นข้อมูลที่ได้
       
       ทำให้ที่ผ่านมาหลายองค์กรมักนำ QR CODE มาติดลงบนป้ายโฆษณา หรือเอกสารประชาสัมพันธ์องค์กร เพื่อให้ลูกค้าที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมนำสมาร์ทโฟน มาสแกนเพื่อเข้าสู่คลังข้อมูลที่ครบถ้วน จากประโยชน์ดังกล่าวจากทรูมูฟ เอช ได้เล็งเห็น และนำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน อาศัยความได้เปรียบในเรื่องเครือข่าย 3G+ ที่ครอบคลุมทั่วไทยมากที่สุด ณ เวลานี้
       
       โครงการ “ชีวิตดี ชุมชนดี กับ ทรูมูฟ เอช 3G+" จึงเกิดขึ้น เปิดเปิดโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่ห่างไกลได้สัมผัสประสบการณ์บริการ 3G+ ที่จะสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบอาชีพ เพื่อหารายได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนาน นำร่องติด QR CODE ลงบนผลิตภัณฑ์ชุมชนทุกชิ้นเพื่อผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลสินค้าได้อย่างรวดเร็ว และช่วยเพิ่มการตัดสินใจซื้อหลังได้รับรายละเอียดสินค้าอย่างครบถ้วน
       
       ล่าสุดลงพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา แหล่งที่มีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม และความเป็นเมืองอุตสาหกรรม ผสานกันอย่างแยกไม่ออก นำเทคโนโลยี QR CODE บุก “กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้โสน คลองสวนพลู” ที่มีประวัติยาวนานร่วม 90 ปี ใน ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ต้นโสนหางไก่” ที่มักขึ้นตามนาข้าว พื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำท่วมขังในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม ทำให้นางซิ่น วงศ์สุวรรณ ริเริ่มนำต้นโสนหางไก่มาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ เพื่อใช้ในงานพิธีทางศาสนาและงานประเพณีต่างๆ รวมถึงได้ถ่ายทอดเทคนิคการประดิษฐ์ดอกไม้ให้แก่ชาวบ้านในตำบล ต่อมาก็พัฒนารูปแบบและทำขายกันภายในอำเภอและจังหวัดตามลำดับ
       
       ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จึงให้ราษฎรรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม สมาชิกในช่วงแรกเพียง 10 คนเท่านั้น โดยมี “นางสมหมาย มีศรีเรือง” เป็นประธานกลุ่ม (จนถึงปัจจุบัน) โดยใช้ชื่อว่ากลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จากต้นโสน ขณะนี้มีสมาชิกจำนวน 27 คน และได้มีการพัฒนารูปแบบการบรรจุภัณฑ์จนได้รับความนิยมแพร่หลาย ถึงขั้นส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้เป็นดอกไม้น้ำหอมกว่า 90% และขายในไทยเพียง 10% เท่านั้น
       
       โดยทรูมูฟ เอช ได้เล็งเห็นศักยภาพในผลิตภัณฑ์และโอกาสทางการตลาดที่สามารถไปไกลได้มากกว่านี้ จึงจัดทำ QR CODE ติดลงบนทุกผลิตภัณฑ์ของกลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้โสน คลองสวนพลู เพื่อให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าได้รับทราบข้อมูล พร้อมทั้งประวัติการทำงานของกลุ่มฯ เช่น พานพุ่มดอกมะลิ แจกันดอกโสนทรงสูง และดอกไม้จากโสนรูปแบบต่างๆ สำหรับนำไปทำเป็นดอกไม้น้ำหอม
       
       ส่วนอีกหนึ่งธุรกิจชุมชนที่ ทรูมูฟ เอช นำเทคโนโลยี QR CODE ไปช่วยเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ คือ “กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ไทรน้อย (บ้านทรงสเปน)” อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โดยนำ QR CODE ไปผลิตลงผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นของกลุ่มแม่บ้าน เช่น กล้วยอบแผ่น กล้วยตาก ถั่วลิสงทอดสมุนไพร 12 ชนิด มะเฟืองแช่อิ่ม มะดันแช่อิ่ม และผลไม้ในท้องถิ่นอื่นๆ ขึ้นอยู่กับฤดูกาล นำมาผ่านกรรมวิธีถนอมอาหาร โดย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรไทรน้อย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2525 โดยสำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล โดยช่วงแรกได้นำกล้วยที่มีเป็นจำนวนมากในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นหลากหลายชนิดผลิตภัณฑ์ เช่น กล้วยอบแผ่น กล้วยตาก ต่อมาประธานกลุ่มมีแนวคิดจะเพิ่มความหลากหลายของสินค้า ประกอบการได้เห็นถั่วลิสงทอดที่ได้รับเป็นของฝากจากต่างจังหวัดที่มีส่วนผสมของ ใบมะกรูด และเนื้อปลาบด จึงมีแนวคิดในการนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
       
       นอกจากนี้ประธานกลุ่มฯ ได้เห็นพืชสมุนไพรที่มีในชุมชน แต่ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการปรุงอาหารเท่านั้น เช่น ใบมะกรูด ใบโหระพา กระเทียม หอมแดง ข่า ตะไคร้ พริกขี้หนูแห้ง พริกไทยดำ ถั่วลิสง งาดำ ซึ่งน่าจะนำมาต่อยอดได้มากกว่านี้ จึงได้นำสมุนไพรเหล่านั้นมาทอด แล้วผสมเครื่องปรุงจนได้รสชาติดี แล้วนำไปอบแห้งจนเป็นที่ถูกปากลูกค้า
       
       ต่อมากลายเป็นสินค้าดีเด่นของกลุ่มฯ และในปี พ.ศ.2544 กรมการพัฒนาชุมชนโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบาลได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์โอทอป 5 ดาว ในปี 2547 ที่ผ่านมา ปัจจุบันนอกจากผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายแล้ว ยังจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปและถนอมอาหาร โดยในแต่ละปีมีคณะดูงานทั่วภูมิภาคเข้ามาศึกษาดูงานไม่ต่ำกว่าปีละ 10-15 คณะ รวมถึงมีนักศึกษาจากต่างประเทศด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น
       
       เรียกได้ว่าเทคโนโลยีสามารถเข้าถึงทุกกลุ่มคนได้ หากนำมามาใช้ให้เป็น และนี่คงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ 3G เข้าถึงกลุ่มชาวบ้านช่วยในแง่การตลาดได้อย่างลงตัว




Create Date : 17 สิงหาคม 2555
Last Update : 17 สิงหาคม 2555 17:15:09 น. 0 comments
Counter : 770 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ยี่สิบห้าเดือนเจ็ด
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






Friends' blogs
[Add ยี่สิบห้าเดือนเจ็ด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.