นโปเลียน โบนาปาร์ต

 จักรพรรดิ์ นโปเลียน โบนาปาร์ต 


เมื่อ ปี ค.ศ. 1795 ฝรั่งเศส อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล ดีแร็คตัวร์ ได้เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นทั้งภายนอกและภายในไม่ว่าจะเป็น การแบ่งเหล่าแบ่งก๊กของพรรคการเมือง และยังอยู่ในภาวะสงครามกับอิตาลี นายพลคนหนึ่งที่เพิ่งได้รับชัยชนะจากการทำสงครามกับอิตาลี คือความหวังของคนฝรั่งเศส


เขาคือ นายพล นโปเลียน โบนาปาร์ต (  Napoleon Bonaparte ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แก้ไขสถานะการณ์ความวุ่นวายในประเทศครั้งนี้ 


นโปเลียนได้ใช้อำนาจและความเด็ดขาดเข้าจัดการกับ กลุ่ม แก๊งค์ทางการเมืองจนราบคาบ ได้รับการยอมรับจากชาวฝรั่งเศสโดยทั่วกัน


เมื่อสถานะการณ์เป็นใจ นโปเลียน ก็ได้ฉวยโอกาสนี้ ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจขึ้น ในปี ค.ศ. 1799

และเขาได้ประกาศยกเลิกหรือฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ค.ศ. 1795 และจัดการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่

ประกาศใช้เมื่อ ค.ศ. 1799 ปีเดียวกัน และเขาได้สถาปนาระบบ กงสุล  ขึ้นมา



คนของนโปเลียนได้ขี่ม้าและนำทหารเข้ายึดสภาขณะเขาทำการยึดอำนาจ



ระบบ กงสุล (  Consulate )


ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1799 นี้  กำหนดให้ฝ่ายบริหารมีลักษณะเป็น องค์กร

 เรียกว่า กงสุล ( Consuls ) ประกอบด้วยบุคคล  3 คน เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ประกอบไปด้วย


1. นโปเลียน โบนาปาร์ต   (Napoleon Bonaparte )


2. กัมบาเซเร็ส ( Cambaceres )


3. เลอบรังค์     (  Lebrun )


ในทางปฏิบัติแล้วผู้ที่มีอำนาจสั่งการที่แท้จริงคือ นโปเลียน  เพียงผู้เดียว


ฝ่ายนิติบัญญัติ มี สองสภา คือสภาผู้แทนราษฎร และสภาสูง มีสมาชิก  300 คนได้รับการเลือกตั้งโดยอ้อม


หน้าที่ของสภาชุดนี้คือ รับรองร่างกฎหมาย  แต่ ห้ามมิให้มีการอภิปราย ร่างกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายบริหาร






ในปี ค.ศ.1804 นโปเลียนได้ สถาปนาตนเองขึ้นเป็น จักรพรรดิ์


และได้เปลี่ยนรูแบบการปกครองของฝรั่งเศสจากสาธารณะรัฐ เป็น แบบ จักรวรรดิ์  เรียกยุคนี้ว่า จักรวรรดิ์ที่ 1 ถึงแม้รัฐธรรมนูญ ที่เขาร่างจะใช้คำว่า สาธารณะรัฐอยู่ก็ตาม นโปเลียน มีความรังเกียจ ระบบเก่า ที่เป็น ราชาธิปไตย และศรัทธาใน ระบบ สาธารณะรัฐ แต่ตัวเขาเองก็มิได้ปกครองในรูปแบบที่เขาศรัทธา แต่กลับปกครองแบบจักรวรรดิ์แทน


เขาปกครองแบบเผด็จการ เรียกว่า ปมโบนาปาร์ต หรือ Bonapartisme 


แต่หลังจาก กองทัพจักรวรรดิ์ของเขา พ่ายแพ้สงครามที่รัสเซีย เมื่อกลับถึง ปารีส ก็ถูกฝ่ายตรงข้ามบีบบังคับให้ สละอำนาจและบัลลังภ์ และถูก เนรเทศ ให้ไปอยู่เกาะ เอลบา ELBA  


หลังจากเนรเทศนโปเลียนแล้ว สภาสูง ก็ได้อัญเชิญ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งราชวงค์ บูรบ็องขึ้นครองราชอีกครั้ง  ประเทศฝรั่งเศสได้กลับมาเป็นระบบกษัตริย์อีกครั้ง


พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1814

แต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ก็ครองราชได้เพียง 100 วัน ก็ต้องเสด็จลี้ภัยไปอยู่อังกฤษ



 Marechal Net


เนื่องจาก นโปเลียนได้ลักลอบเข้าสู่ฝรั่งเศส อีกครั้ง เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1915 พร้อมด้วยการสนับสนุนจากกองทัพฝรั่งเศสที่นำโดย จอมพลเนต์ ( Marechal Net ) 





Waterloo


คราวนี้ นโปเลียนได้ให้ความร่วมมือกับฝ่ายเสรีนิยมมากขึ้น 

โดยมอบให้ แบงจาแม็ง กอง สต็อง (  Benjamin Constant ) เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิ์ให้เสร็จสิ้น และให้เสรีภาพกับพลเมืองให้มากที่สุด แต่รัฐธรรมนูญ ฉบับบนี้ก็มิได้นำไปใช้  เนื่องจาก นโปเลียนแพ้สงครามแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ที่วอเตอร์ลู  ( Waterloo )


สี่เดือนหลังกลับมามีอำนาจ และคราวนี้ นโปเลียนถูกเนรเทศให้ไปอยู่ เกาะ เซนต์เฮนเลนา 

(  Saint Helena) และสิ้นพระชนม์ที่นี่




Benjamin Constsnt



นโปเลียน เกิด เมื่อวันที่   15 สิงหาคม  ค.ศ. 1769 ที่เกาะคอร์ซิกา มีพี่น้องเป็นชาย 4 คน


ซึ่ง 3 คนดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ


1. Jerome Bonaparte  เป็นกษัตริย์แห่ง  Westphalia  ค.ศ. 1807 -1813


2. Joseph  Bonaparte  เป็นกษัตริย์แห่ง เนเปิลส์ ระหว่าง ค.ศ. 1806 - 1808

และยังเป็นกษัตริย์แห่งสเปน ระหว่าง ค.ศ. 1808 - 1813


3. Luis Napoleon Bonaparte  เป็นกษัตริย์ แห่ง ฮอลแลนด์ ระหว่าง ค.ศ. 1806 -1810


การปกครองของนโปเลียน Bonapartism  เน้น


1. เผด็จการ

2. ใช้กำลังทางทหาร






 Napoleon Bonaparte


กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์เอกการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง




Create Date : 23 เมษายน 2555
Last Update : 7 พฤษภาคม 2555 15:21:47 น.
Counter : 2252 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thongnetra
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



New Comments
เมษายน 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog