Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
26 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
การชงชา แบบประณีต (กงฟูฉา)

การชงชา แบบประณีต หรือ "กงฟูฉา"


(แต้จิ๋ว - กังฮูเต้ , จีนตัวเต็ม - 功夫茶 , จีนตัวย่อ - 工夫茶)


[บทความข้างล่างนี้ ได้ยกมาจาก กระทู้ที่เคยตอบ ในห้องจีนศึกษา]



การชงชาจีนนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่น่าจะเป็นที่รู้จักมากที่สุด คงจะเป็นการชงแบบ "กงฟูฉา" (แต้จิ๋ว-"กังฮูเต้") ฝรั่งจะเรียกว่า Kung Fu Tea (กังฟูที) หรือถ้าแปลเป็นถ้อยคำแบบไทยๆ คงจะได้ความทำนองว่า "ชาประณีต" , สำหรับคนไทยแล้วก็คงจะคุ้นเคยชิดใกล้กับการชงชาแบบนี้ ยิ่งคนที่มีเชื้อสายจีน อาจจะมีชุดน้ำชาอยู่ที่บ้าน โดยเฉพาะในหมู่คนจีนเชื้อสายเฉาโจว (แต้จิ๋ว)

ซึ่งเชื่อกันว่า เฉาโจว (แต้จิ๋ว) เป็นแหล่งกำเนิดของชาประณีตนี้ , ส่วนที่จะเล่าให้มิตรสหายได้อ่านนั้น เป็นการชงแบบดื่มเพื่อละเลียดรสน้ำชา ไม่ใช่เป็นการชงทิ้งไว้ในกาใหญ่ ดื่มเพื่อดับกระหาย ซึ่งการชงดังว่านั้น ไม่ได้มีพิธีรีตรองอะไรมากนัก แต่กการชงชาแบบละเลียดรส ที่จะได้กล่าวต่อไปนี้นั้น ออกมีพิธีรีตรองบ้างสักเล็กน้อย เป็นการให้ความสำคัญกับ อุปกรณ์ , ใบชา , น้ำชงชา และ สหายที่นั่งสนทนากันในวงน้ำชา



อุปกรณ์สำหรับการชงชาแบบประณีต ก็มีหลายอย่างครับ ขอเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้


1. ป้านชา (ปั้นชา ก็เรียก) ส่วนใหญ่นิยมเป็นป้านดินเผา เพราะเชื่อว่าจะสามารถขับสี กลิ่น รส ออกมาได้อย่างเต็มที่ นิยมชงในป้านเล็กขนาดเท่ากำปั้น


2. จอกชา เป็นจอกขนาดเล็กครับ ด้านในควรเป็นสีขาว เพื่อที่จะสามารถมองเห็นสีน้ำชาได้อย่างชัดเจน และปา่กจอกควรบานออก เพื่อที่จะสามารถ จับยกขึ้นดื่มได้ เวลามีน้ำชาร้อนๆ อยู่ในถ้วย


3. เหยือกพักน้ำชา เนื่องจาก การแช่ชา ไว้ในป้านนานๆ จะทำให้สารชนิดหนึ่ง เรียกว่า "แทนนิน" (tannin) คือสารที่มีรสฝาด ซึ่งจะส่งผลต่อกระเพาะอาหาร ทำให้รู้สึกท้องอืด และท้องผูก การชงชา ถ้าแช่ชาในป้านนานๆ สารแทนนิน ก็จะออกมามาก จึงควรแช่ชาในป้านชา ประมาณ 1-2 นาที แล้วเทพัก ไว้ที่เหยือกพักน้ำชา และรินใส่จอก จากเหยือก จะดีกว่า (ชาที่ชงรอบที่ 3 ขึ้นไป อาจเพิ่มเวลาขึ้นอีก รอบละ "15 วินาที" แต่เวลาการแช่ชาทั้งหมด "ไม่ควรเกิน 5 นาที" ครับ)


4. ที่กรองชา เอาไว้กรองเศษใบชา ซึ่งผมเองแรกๆก็ใช้ แต่ตอนนี้ไม่ใช้แล้วครับ เพราะใบชา สามารถทานได้ เศษใบชาก็ทานได้ ไม่เป็นอันตราย แต่หากชอบ ให้น้ำชาใส ไม่มีตะกอน ก็ใช้ที่กรองชาได้


5. ถ้วยปากกรวย ใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเทใบชาลงป้าน


6. อุปกรณ์สำหรับ ตัก-คีบ (จะได้อธิบายรายละเอียดต่อไป...) [//teatime.bloggang.com]


7. ถาดน้ำชา อันนี้มีหลายแบบครับ เป็นแบบอลูมิมัม ก็มี แบบกระเบื้องเคลือบ แบบดินเผา หรือแบบไม้ ถาดน้ำชาจะมีช่องระบายน้ำ และน้ำที่เราใช้ลวกถ้วยต่างๆ ก็จะลงไปอยู่ชั้นข้างล่าง บางแบบมีที่ต่อสายยาง เพื่อระบายน้ำออกเพิ่มความสะดวก



6.1 ช้อนตักใบชา ปกติ การใช้มือหยิบใบชา ออกจากภาชนะบรรจุ อาจทำให้ความชื้นในมือของเราไปทำปฏิกิริยา กับ ใบชา ยิ่งเป็นชาที่ ขี้สำออย แบบชาอู่หลง หรือชาเขียว ที่ไม่ค่อยถูกกับความชื้น จะทำให้ชานั้นมีรสชาเสียไปครับ จึงควรใช้ช้อน หรือ เทใส่ฝ่ามือ ไม่ควรใช้มือล้วงหยิบจากภาชนะโดยตรง

6.2 ที่เขี่ยใบชา ใช้สำหรับ เขี่ยใบชาในป้านชาออก เมื่อจะเปลี่ยนชาใหม่ (จะได้อธิบายวิธีใช้ด้านล่าง)

6.3 คีมคีบ ใช้คีบจอกชา ตอนลวกจอกครับ ป้องกันไม่ให้ถูกน้ำร้อนลวกมือ

6.4 ไม้ปลายแหลม สำหรับ เอาไว้แทงสวนเข้าไป ในพวยกา เวลามีเศษใบชาติดอยู่ ซึ่งทำให้เวลาริน น้ำชาจะไหลออกมาไม่สะดวก (จะได้อธิบายวิธีใช้ด้านล่าง)

6.5 กรวย อันนี้สำหรับ ใช้วางบนปากของป้านชา เวลาตักชาใส่ป้าน เพื่อไม่ให้ หล่นกระจัดกระจาย




A. การใช้ที่เขี่ยใบชา เขี่ยชาที่ชงแล้วออกจากป้าน (อุปกรณ์ 6.2)

B. การใช้ไม้แหลม แทงเข้าไปที่พวยของป้านชา เพื่อเขี่ยเศษชาที่อุดตัน (อุปกรณ์ 6.4)


ขั้นตอนการชงชาแบบประณีต มีดังนี้ครับ



1. ใช้ช้อนตักใบชาออกจากภาชนะบรรจุ

2. เทใบชาจากช้อนลงป้านชา [//teatime.bloggang.com]

3. เทน้ำร้อนใส่ในป้าน (ขณะเทน้ำร้อนลงไป ควรยกให้สูง ให้น้ำร้อนกระแทกใบชา เพื่อให้ใบชาคลี่ตัวออก ตามหลัก "ชงสูง รินต่ำ" )


4. ใส่น้ำร้อนแล้ว รีบเทออกเลยครับ น้ำแรกไม่นิยมดื่ม ถือว่าเป็นการล้างใบชา (เหมือนการซาวข้าว)




5. บางคนอาจจะถือโอกาสใช้น้ำนี้ล้างจอกไปด้วยเลย

6. ใช้คีมคีบ เพื่อลวกจอกแต่ละใบ


7. ใช้น้ำที่ลวกใบชาครั้งแรก เทลวกป้านด้านนอกเพื่อรักษาอุณหภูมิ


8. เมื่อลวกจอก ครบทุกใบแล้ว รินน้ำชง ขณะชงควรยกให้สูง เพื่อที่น้ำร้อนจะได้กระแทกใบชาให้คลี่ตัว (ชงสูง รินต่ำ)




9. ปิดฝา และควรใช้น้ำร้อน เทราด ป้านชาด้านนอกเพื่อรักษาอุณหภูมิ และทิ้งไว้ชั่วอึดใจ (ประมาณ 45 วินาที - 1 นาที) [การเทน้ำร้อนราดป้านชา นอกจากเพื่อรักษาอุณหภูมิแล้ว ยังเป็นการจับเวลาด้วย คือ ถ้าน้ำร้อนที่ราดบนป้าน แห้งสนิทเมื่อใด ก็หมายถึง น้ำชาที่ชงนั้นได้ที่พร้อมรินเสิร์ฟแล้ว]


10. เมื่อได้ที่แล้ว รินน้ำชาจากป้าน โดยริน วน ทุกจอก ไม่ควรรินทีละจอก เพื่อให้น้ำชาทุกจอก รสชาติเหมือนกัน หากรินทีละจอก น้ำชาที่ได้จากจอกใบแรกอาจจะมีรสจืดสุด ส่วนน้ำชาจากจอกใบสุดท้าย ก็จะมีรสเข้มที่สุด และควรรินให้ต่ำ เพราะกลิ่นใบชาจะได้ไม่เจือจาง ไปกับอากาศ (ตามหลัก ชงสูง รินต่ำ)


11. เชิญเพื่อนร่วมก๊วนดื่ม


12. หยิบดื่มกันตามอัธยาศัย




13. การชงชารอบที่ 2 เป็นต้นไป ไม่จำเป็นต้องทำแบบขึ้นตอนเบื้องต้น เพราะว่าเพื่อนร่วมก๊วน บางท่านอาจจะยังดื่มชาไม่หมด ดังนั้นเมื่อชงชาได้ที่แล้วก็รินไว้ในเหยือกพักน้ำชา


14. เมื่อเพื่อนร่วมก๊วนคนไหนดื่มชาหมดแล้ว ก็รินเสิร์ฟ ให้เป็นรายคนไป (การรินชาพักไว้ในเหยือกพักชา น้ำชาที่ได้ จะมีรสชาติเท่ากัน จึงสามารถรินเสิร์ฟเป็นจอกๆ ได้)


*ถึงตรงนี้ มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอีกอย่างหนึ่งคือ การรินชาเสิร์ฟรอบที่ 3 นั้น ควรให้เพื่อนร่วมก๊วนหรือแขก เป็นฝ่ายรินเอง เพราะมีภาษิตชาบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า "จอกแรกคือต้อนรับ , จอกสองคือสนทนาพาที , จอกสามคือส่งผู้มาเยือน" นั่นก็คือ ถ้าเราเสิร์ฟชาจอกที่สามให้แขก ก็แสดงว่าเรากำลังจะไล่เขากลับบ้าน ส่วนรอบต่อจากนี้ เราสามารถรินเสิร์ฟแขกได้ตามปกติ* //teatime.bloggang.com



"น้ำค้างหยกเก้าบุปผา"


--END--







ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก -
รวยริน กลิ่นชา ,
wikipedia ,
วิทยสถานแห่งวัฒนธรรมตะวันออก ,
chineseteas 101, และ
มิตรสหายในห้อง จีนศึกษา //www.pantip.com






Create Date : 26 กรกฎาคม 2552
Last Update : 9 พฤษภาคม 2553 0:21:54 น. 20 comments
Counter : 8500 Pageviews.

 
เข้ามารับความรู้ดีดีค่ะ


โดย: KANYONG1 IP: 124.122.121.189 วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:7:27:04 น.  

 
แวะมาดื่มชาคนแรกค่ะ โอ้โห กว่าจะเป็นชาอร่อยสักถ้วย ขั้นตอนและอุปกรณ์ประกอบอลังการจริงๆ ได้ความรู้ดีมากเลยค่ะ โดยส่วนตัวชอบดื่มชามากกว่ากาแฟเพราะมีให้เลือกหลายกลิ่น ขอบคุณที่นำมาฝากกันนะคะ


โดย: แม่ปุ้มปุ้ย วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:7:27:17 น.  

 
ว้า เข้าใจผิดคิดว่ามาซดคนแรก


โดย: แม่ปุ้มปุ้ย วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:7:27:58 น.  

 
แวะมาดื่มชายามเช้ากับคุณน้ำค้างฯ

บล็อคสวยมาก ๆ เลยค่ะ


โดย: Noshka วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:8:52:39 น.  

 
เห็นแล้วขนลุก ของจริงเค้่าชงกันแบบนี้เองเหรอคะ
ได้ความรู้ดีมากเลยค่า
ขอบคุณนะคะ


โดย: บ้านหวานเย็น วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:45:11 น.  

 
ว้าว ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ พอดีเลย
ได้เทคนิคชงชาแล้ว ทีนี้แหล่ะ
จะได้มีน้ำชาหอมกรุ่น ทานกับขนม
อร่อย ๆ แล้วค่ะ


โดย: CoffeeBake วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:03:29 น.  

 
เข้ามารับความรู้ค่ะ

ขอบคุณนะคะ ที่แวะเข้าไปเยี่ยมที่บล๊อก


โดย: บังเอิญสวย(ช่วยไม่ได้) วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:59:19 น.  

 
มารับความรู้เช่นกันค่ะ...เรื่องการชงชาเนี่ยจัดว่าเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์ชาติเลยนะคะ เพราะต่างวัฒนธรรมก็ชงต่างกันไป
น่าสนใจจริงๆ


โดย: มนุษย์ไฟฟ้า@สีชมพู วันที่: 27 กรกฎาคม 2552 เวลา:2:59:43 น.  

 
ขอบคุณครับ



โดย: รถขนของ วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:17:05 น.  

 


แวะมาเยี่ยมและทักทาย


โดย: ต่างภพ วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:20:04:05 น.  

 
มาตามหาขงจื๊อแล้วนะจ๊ะ

เรื่องชาช่างเป็นศาสตร์ที่ล้ำลึกยิ่งนัก
เมื่อกี้ข้าน้อยเพิ่งจะซดชาไป 1 ขวด มิใช่ 1 จอก
แต่เป็นชาลิปตันไอซ์ทีนะท่าน
ขอบคุณที่ท่านน้ำค้างหยกเก้าบุปผาเข้าไปเม้นให้
ข้าน้อยชื่อหยกเหมือนชื่อบล็อกท่านเลย
ช่างบังเอิญเสียนี่กระไร
เพิ่งจะเปิดบล็อคใหม่ ท่านสหายใหม่โปรดชี้แนะ






โดย: MoonlessNight วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:20:33:44 น.  

 
ขอบคุณนะคะ ที่แวะเข้าไปเยี่ยมที่บล๊อก

ชอบสุภาษิต จังเลยค่ะ "จอกแรกคือต้อนรับ , จอกสองคือสนทนาพาที , จอกสามคือส่งผู้มาเยือน"


โดย: latenight_lovesong วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:20:38:52 น.  

 
การชงชาก็เป็นศิลปะใช่มั๊ยค่ะ
ตาลเคยกินแต่ชานม ชงใส่แก้วธรรมดา
ไม่เคยได้กินแบบเป็นศิลปะซักกะที


โดย: ตาล (tarn_g ) วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:23:38:51 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะคะ


โดย: numfah วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:3:23:20 น.  

 
แวะมาดูค่ะว่า ป่านนี้หลับหรือยัง แวะมาเจอนำชาร้อนๆ หอมๆอย่างนี้ก็ตาสว่างกันอีกพอดี...เฮ้อ...ต้องขอบคุณที่แวะทักทายกันและได้นำศิลปวัฒนธรรมมาเล่าสู่กันฟัง ได้รับความรู้มากขึ้นค่ะ


โดย: poohkpp29 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:3:27:59 น.  

 
Thank you for visiting my blog.I love jasmine & green tea too.


โดย: พริกน้ำส้ม วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:3:38:02 น.  

 
แวะมาคารวะน้ำชาหนึ่งจอกด้วยค่ะ หลังจากเจี๊ยะแกงไตปลาแซ่บ ๆ เสร็จ หายเผ็ดไปนิดส์ส์นึง อิอิ


โดย: yingkorat วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:0:46:32 น.  

 
เห็นแต่การชงชาเขียวของญี่ปุ่นที่ว่ามีหลายขั้นตอนกว่าจะได้จิบ ของจีนนี่ดูเยอะกว่ามาก....

ชอบภาษิตจีนจัง...ฮ่าๆๆๆ รินจอกที่สามให้แขก แปลว่าอย่างนี้นี่เอง รู้ไว้เผื่อมีใครรินให้ จะได้รีบคว้ามารินเองก่อน


โดย: uter วันที่: 5 สิงหาคม 2552 เวลา:15:42:16 น.  

 
thanks ka.

หมายความว่าไม่แช่ชาใช่ไหมคะ ถึงจะสบายท้อง จะลองใหม่อีกซักตั้ง ชอบชุดชงชามากมาย แต่ที่เล็งไว้เป็นของญี่ปุ่น รูปร่าง หน้าตามันก็คล้ายๆกะของจีนเลยใช่ไหมคะ แต่เหมือนว่าอุปกรณ์จะไม่เยอะเท่าของจีนนะ (อันนี้เข้าใจเอาเองค่ะ ถ้าผิดพลาดก็แนะนำด้วยนะคะ)


โดย: aom_mY67 วันที่: 7 สิงหาคม 2552 เวลา:1:09:02 น.  

 
แวะมาเยี่ยมเยียนครับ เป็นแฟนคลับมาตั้งแต่Pantip.comแล้วครับ
ข้อมูลลึก บรรยายเห็นภาพ กลิ่นชาลอยออกมาจากนอกจอ
ชามากับวัฒนธรรม ขอบคุณท่านจอมยุทธที่เอา ตำรากระบี่ชา
มาแนะนำ เยี่ยมยุทธครับ


โดย: LeeLongCaiTea IP: 171.99.85.108 วันที่: 10 มกราคม 2559 เวลา:13:56:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้ำค้างหยกเก้าบุปผา
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Location : หออายุยืน
free counters
Friends' blogs
[Add น้ำค้างหยกเก้าบุปผา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.