365วันของฉันมีแต่เรื่องการเดินทาง
<<
กันยายน 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
12 กันยายน 2559

จากหาดใหญ่แล้วไปปะลิสชมมัสยิดในทะเล



 

มีโอกาสดีได้ร่วมทริปกับฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ไปท่องเที่ยวยังจังหวัดสงขลาแล้วต่อไปยังรัฐปะลิสในมาเลเซีย เดินทางจากหาดใหญ่ไปชายแดนราว 1 ขั่วโมง และจากปาดัง เบซาร์อีก 1 ชั่วโมงก็ถึงตัวเมืองปะลิส สะดวกมากๆ

"รัฐเปอร์ลิส" หรือ "รัฐปะลิส" (Perlis) มีชื่อเต็มคือ "เปอร์ลิสอินดะรากายางัน" (Perlis Indera Kayangan) เป็นรัฐที่เล็กที่สุดของมาเลเซีย ซึ่งมีพื้นที่เพียง 795 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือมีเขตติดต่อกับประเทศไทยและทิศใต้ติดต่อกับรัฐเคดาห์ มี เมืองคังการ์ (Kangar) เป็นเมืองหลวง ส่วนเมืองเอเรา (Arau) ที่อยู่ห่างออกไป 10 กิโลเมตร เป็นเมืองราชวงศ์

เมืองสำคัญของรัฐได้แก่ คังการ์ อาเรา กัวลาเปอร์ลิส (Kuala Perlis) และ ปาดัง เบซาร์ (Padang Besar) เมืองกัวลา เปอร์ลิส เป็นที่ตั้งของท่าข้ามฟากที่สำคัญสำหรับการเดินทางสู่เกาะลังกาวี (Langkawi) อันโด่งดัง ส่วนเมืองปาดัง เบซาร์ เป็นจุดผ่านแดนหลักสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากเมืองไทยด้วยรถยนต์ ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินทางของเรา แต่ต้องมาเปลี่ยนรถตู้ที่ฝั่งมาเล (มาเลเซียอนุญาตให้รถส่วนบุคคลข้ามฝั่งไปได้ แต่ถ้าเป็นรถตู้จากไทยต้องไปเปลี่ยนเป็นรถตู้ของมาเลเซีย)

ประชากรของรัฐมีจำนวน 198,335 คน ในปี 2543 ในจำนวนนี้เป็นชาวมาเลย์ประมาณ 166,200 คนหรือร้อยละ 78, ชาวจีน 24,000 คนหรือร้อยละ 17, ชาวอินเดีย 3,700 คน และอื่น ๆ 5,400 คน) เมืองหลวงของรัฐปะลิสคือ กังการ์ เมืองที่เป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครคืออาเรา

 

วันนี้เราจะเข้าไปชม 5 สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาปะลิส

1 ชมพระราชวัง Istana Arau (อีสตานา อาเรา) ชมสถานที่เก็บสิ่งของเครื่

องใช้ส่วนพระองค์ ซึ่งมีมากมาย ทั้งฉลองพระองค์ ของที่ระลึกจากประเทศต่างๆ พาหนะ เก้าอี้นั่ง อาวุธ ของสะสม มากมาย ล้วนมีคุณค่าและสวยงาม

2 มัสยิด Al-Hussein ซึ่งเป็นมัสยิดที่สร้างขึ้นในทะเล ความแปลกคือการสร้างในทะเล ทำให้มีความสวยงามแปลกตาไม่เหมือนใคร ชมวิวพร้อมลมเย็นๆ ที่นี่ยังเป็นท่าเทียบเรือ เพื่อเดินทางสู่เกาะลังกาวี

3 พิพิธภัณฑ์ Kota Kayang ชมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งปะลิสเดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองไทรบุรี แม้ว่าจะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสยามก็ตาม หลังจากสยามปราบไทรบุรีได้ในปี พ.ศ. 2364 (ค.ศ. 1821) อังกฤษก็รู้สึกว่าผลประโยชน์ของตนในเมืองเประถูกคุกคาม จนในที่สุดสนธิสัญญาอังกฤษ-สยาม ค.ศ. 1909 บังคับให้สยามต้องสละเมืองปะลิสให้กับอังกฤษ พร้อม ๆ กับเมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู

4 ชิมโรตี ชาชัก มีร้านอาหารแบบนี้หลายแห่งในปะลิส เราต้องเข้าไปนั่งกับผู้คนชาวมาเลเซีย เพื่อชิมโรตี ชาชัก ซึ่งจะมีน้ำจิ้มโรตีเป็นน้ำแกงแบบมัสมั่น แต่หากใครไม่ถูกปาก สามารถขอนมข้นได้ นั่งมองชาวมาเลเที่นี่ทานกันแบบใช้มือเปิดข้าวและกับข้าวแนวอาหารเครื่องเทศ

5 ลองพักและเยี่ยมชมโฮมสเตย์ พญากูริง เป็นโฮมสเตย์ที่รัฐช่วยในการดูแล เป็นโฮมสเตย์ระบบกลุ่มที่มีหัวหน้าหมู่บ้านหรือลักษณะคล้ายสหกรณ์ บริหารจัดการให้ ค่าที่พักคืนละ 100 ริงกิตหรือประมาณ 800 บาทไทย พักได้ 3 คน มีทีวี แอร์ พร้อม

เส้นทางท่องเที่ยวเมืองชายแดนประเทศไทย- มาเลเซีย เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของผู้คนประชาคมอาเซียน ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม’ รู้เขารู้เรา เพื่อก้าวย่างอย่างมั่นใจ

เราเข้าไปเที่ยวในทริปนี้ตามแผนงานวิจัย: การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้  (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และ 4 รัฐ (กลันตัน เปรัค เคดาห์ เปอร์ลิส) ประเทศมาเลเซีย ภายใต้มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่อาเซียน ซึ่งดร.นราวดี บัวขวัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และคณะทำการศึกษาไว้เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่การท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และ 4 รัฐ (กลันตัน เปรัคเคดาห์ และเปอร์ลิส) ของประเทศมาเลเซีย

            ทั้งนี้สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างกันได้ ในขอบเขตการศึกษาคือ ชุมชนบ้านบากันใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ชุมชนวิถีพุทธคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ชุมชนบ้านตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ชุมชนจุฬาภรณ์พัฒนา 10 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และชุมชนหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 12 อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และชุมชนในพื้นที่ 4 รัฐของประเทศมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) ชุมชน Kampung Paiya Guring รัฐเคดาห์ (Kedah) ชุมชน Kampung Jeruju รัฐเปรัค (Perak) ชุมชน Kampung Beng และรัฐกลันตัน (Kelanta) ชุมชน Kampung Kubang Telaga

 

 

เส้นทางท่องเที่ยวนี้สามารถเสนอโปรแกรมท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวอย่างหลากหลายโดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน และใช้กิจกรรมท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรท้องถิ่น  ใช้การท่องเที่ยวในการอนุรักษ์ภาษาถิ่น สร้างการเชื่อมโยงกลุ่มต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกชุมชนเข้าด้วยกัน

ติดตามข่าวสารการท่องเที่ยวได้ที่ Facebook Travelista นักเดินทาง




Create Date : 12 กันยายน 2559
Last Update : 12 กันยายน 2559 8:25:16 น. 0 comments
Counter : 3755 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

travelistaนักเดินทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




Travelista นักเดินทาง หรือสาธิตา โสรัสสะ อดีตหัวหน้าข่าวเศรษฐกิจเครือเนชั่น เป็นนักข่าวสายท่องเที่ยวยาวนานเกือบ 40 ปี เดินทางมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก มีผลงานเขียนพ็อคเก็ตบุ๊คท่องเที่ยว 34 เล่ม ปัจจุบันเป็นอุปนายกสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย และประธานมีเดียแอนด์บล็อกเกอร์ คลับ (คลับของบล็อกเกอร์) เคยได้รับรางวัลบล็อกเกอร์ยอดเยี่ยมปี 59 ,ช่างภาพหญิงยอดเยี่ยมจากจีนปี 60 , สื่อมวลชนยอดเยี่ยมปี 64 และผู้บริหารสื่อออนไลน์ยอดเยี่ยมปี 65 ไอดีไลน์ tatravel โทร 081-817-2805
[Add travelistaนักเดินทาง's blog to your web]