เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เราจึงมาเพื่อ เติมเต็มฝันให้เขาเหล่านั้น "พัฒนาชุมชน"

ชายที่26
Location :
น่าน Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพราะเราคือผู้นำสารจากผู้สร้าง มาถึงชนบทที่ห่างไกล
จงเรียกเราว่า "นักพัฒนาชุมชน"

หากชาวบ้านอยากกินปลา จง อย่านำปลาให้ชาวบ้าน
แต่ จงสอนวิธีการจับปลาให้เขาเหล่านั้นแทน



Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2550
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ชายที่26's blog to your web]
Links
 

 
ศาสตรนิพนธ์ของ "ซุนวู" พิชัยสงคราม บทที่3

ศาสตรนิพนธ์ของ "ซุนวู" พิชัยสงคราม (บทที่3)


การวางแผนโจมตี





บทที่3



ซุนวูกล่าวว่า: โดยทั้วไปในการสงครามนั้น การรักษาชาติให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์เป็นเลิศ
การทำลายชาตินั้นเป็นรอง

การรักษากองทัพให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์นั้นเป็นเลิศ
การทำลายกองทัพนั้นเป็นรอง

การรักษากองพันให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์นั้นเป็นเลิศ
การทำลายกองพันนั้นเป็นรอง

การรักษากองร้อยให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์นั้นเป็นเลิศ
การทำลายกองทัพนั้นเป็นรอง

การรักษาหมวดหมู่ให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์นั้นเป็นเลิศ
การทำลายหมวดหมู่นั้นเป็นรอง

เช่นนั้น การรบร้อยครั้งชนะร้อยครา มินับว่าเป็นความสุดยอด

การสยบปรปักษ์โดยมิพักต้องรบต่างหาก จึ่งนับว่าเป็นความสุดยอด

เช่นนั้น ยุทธศาสตร์การสงครามชั้นเลิศ ก็คือ การโจมตีแผนของศัตรู
รองลงมาคือ การโจมตีพันธมิตรของศัตรู
รองลงมาคือ การโจมตีกองทัพของศัตรู
และเลวที่สุดคือ การโจมตีเมืองของศัตรู

การโจมตีเมือง จักทำต่อเมื่อไม่มีทางเลือกเท่านั้น

การสร้างโล่ป้องกันขนาดใหญ่ ยานเกราะ การเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์กินเวลาอย่างน้อยสามเดือนจึงแล้วเสร็จ การสร้างเนินดินชนกำแพง ก็กินเวลาอีกสามเดือน หากแม่ทัพมิอาจควบคุมโทโส และส่งไพร่พลบุกตีเมือง ย่อมสูญเสียไพร่พลไปหนึ่งในสาม แต่เมืองหาแตกไม่นี่คือความหายนะอันใหญ่หลวงจากการตียึดเมือง

เช่นนั้น ผู้เชี่ยวชำนาญในหลักการสงครามจึ่งสยบปรปักษ์โดยมิพักต้องรบ
ยึดเมืองโดยมิพักต้องโจมตี
โค่นล้มชาติของศัตรูอย่างเร็ว โดยมิพักต้องดำเนินสงครามยืดเยื้อ

ด้วยเข็มมุ่งยึดครองสรรพสิ่งบนพิภพในสภาพที่สมบูรณ์ เช่นนั้น กองทัพมิบอบช้ำ และผลลัพธ์ก็สมบูรณ์
นี่คือหลักของการวางแผนโจมตี

โดยทั่วไปในหลักแห่งการสงคราม
หากมีกำลังเหนือศัตรูสิบเท่า พึงปิดล้อม

หากมีกำลังเหนือศัตรูห้าเท่า พึงโจมตี

หากมีกำลังเหนือศัตรูสองเท่า พึงแบ่งแยกกำลังศัตรู

หากมีกำลังเท่ากัน รบได้ก็รบ

หากมีกำลังน้อยกว่า หลีกได้ก็หลีก

หากมีกำลังอ่อนแอกว่า เลี่ยงได้ก็เลี่ยง

เช่นนั้น กองทัพเล็กหากมิยืดหยุ่นย่อมตกเป็นเชลยศึกของกองทัพใหญ่

อันแม่ทัพนั้นคือ ผู้ค้ำจุนชาติ ครั้นให้การสนับสนุนที่เหมาะสม ชาติเข้มแข็ง ครั้นให้การสนับสนุนไม่เหมาะสม ชาติอ่อนแอ

ประมุขนำความยุ่งยากมาสู่กองทัพได้ 3 ทาง
การสั่งให้รุก โดยมิรู้ว่ากองทัพไม่อยู่ในสภาวะที่จะรุกได้
การสั่งให้ถอย โดยมิรู้ว่ากองทัพไม่อยู่ในสภาวะที่จะถอยได้
นี่เรียกว่าการสร้างความยุ่งยากให้แก่กองทัพ
มิรู้เรื่องกองทัพ กลับก้าวก่ายเข้าบริหารจัดการกองทัพ ขุนพลย่อมสับสน
มิรู้เรื่องการหยั่งคาดการณ์ของกองทัพ กลับเข้าแทรกแซงการบัญชากองทัพแล้ว ขุนพลย่อมลังเล
ครั้งกองทัพสับสนและลังเลแล้ว ประมุขแคว้นอื่นย่อมนำภัยมาสู่
นี่เรียกว่า กองทัพที่สับสนและลังเลย่อมนำชัยให้ศัตรู

เช่นนั้น มีปัจจัยห้าประการที่รู้ถึงว่าฝ่ายใดจะชนะ
ฝ่ายใดรู้ว่า เมื่อใดรบได้ และเมื่อใดรบไม่ได้ ฝ่ายนั้นจักชนะ
ฝ่ายใดรู้ว่า จะใช้กองทัพทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กในสภาวะอย่างไร ฝ่ายนั้นจักชนะ
ฝ่ายใดรู้ว่า จะสามัคคีชั้นบนและชั้นล่างเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันได้อย่างไร ฝ่ายนั้นจักชนะ
ฝ่ายที่เตรียมพร้อมและรอคอยโอกาสบุกฝ่ายที่ไม่เตรียมพร้อม ฝ่ายนั้นจักชนะ
ฝ่ายที่แม่ทัพมีความสามารถและมิถูกประมุขแทรกแซง ฝ่ายนั้นจักชนะ
ปัจจัยห้าประการนี้คือคุณธรรมที่ทำให้รู้ว่าใครคือผู้ชนะ

เช่นนั้น จึงกล่าวได้ว่า

รู้เขารู้เรา ร้อยศึกมิพ่าย

รู้เรามิรู้เขา ชนะหนึ่งพ่ายหนึ่ง

มิรู้เขามิรู้เรา ทุกศึกพ่ายสิ้น.


จบบทที่3







Create Date : 15 พฤษภาคม 2550
Last Update : 15 พฤษภาคม 2550 21:47:09 น. 4 comments
Counter : 503 Pageviews.

 
ปรัญญาจีน ล้ำลึกจริงๆ


โดย: หัวหยิกหน้ากร้อคอสั้นฟันเหยิน วันที่: 15 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:25:16 น.  

 
มาศึกษาหาองค์ความรู้ใหม่ๆครับ


โดย: ธาราภิรมย์ วันที่: 15 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:14:54 น.  

 
ถ้าไม่รู้เขารู้เรา ก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปสู้
แต่คนเราไม่ค่อยจะรู้จักประมาณตน
ทำให้พ่ายแพ้ได้บ่อยๆ


โดย: cratrina (poockey ) วันที่: 15 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:20:16 น.  

 
blog งามแต้ๆ
สบายดีนะคะ
ไม่ค่อยได้คุยกันเลย^^





...


โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) วันที่: 16 พฤษภาคม 2550 เวลา:8:25:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.