เพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เราจึงมาเพื่อ เติมเต็มฝันให้เขาเหล่านั้น "พัฒนาชุมชน"

ชายที่26
Location :
น่าน Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพราะเราคือผู้นำสารจากผู้สร้าง มาถึงชนบทที่ห่างไกล
จงเรียกเราว่า "นักพัฒนาชุมชน"

หากชาวบ้านอยากกินปลา จง อย่านำปลาให้ชาวบ้าน
แต่ จงสอนวิธีการจับปลาให้เขาเหล่านั้นแทน



Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
8 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ชายที่26's blog to your web]
Links
 

 

แนวทางการพัฒนาชุมชนมลาบลี (ตอนที่3 บทจบ)

..แนวทางการพัฒนาชุมชนมลาบลี..


.....จากทั้ง 2 บท ที่ผ่านมา เราพอจะทราบความเป็นมาของชุมชนมลาบลีหรือตองเหลืองมาบ้างแล้ว สรุปคือ ในบทที่ 1 นั้น เป็นการศึกษาชุมชน เพื่อการหาข้อมูลพื้นฐานชุมชน และเป็นการทำความรู้จักกับชุมชนที่เราจะเข้าไปพัฒนาให้รู้ถึงรายละเอียดต่างๆอย่างถ่องแท้ยิ่งขึ้น
บทที่ 2 ชี้ให้เห็นถึงวิธีการพัฒนาที่ไม่ใช่การพัฒนา คือ เน้นการประชาสงเคราะห์เป็นหลัก บางคนคิดว่า เป็นการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต แต่จริงๆแล้ว ไม่ใด้อยู่ในหลักการพัฒนาแต่ประการใดๆเลย หากนำวิธีการเช่นนี้มาทำการแทนการพัฒนาจะส่งผลเสียให้อย่างมหาศาล การประชาสงเคราะห์ เป็นวิธีการที่เหมาะกับการช่วยเหลือ ผู้ที่ประสบภัยพิบัติมากกว่า ที่จะนำมายกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนต่างๆ


จากนี้ไปเราจะมาดูว่า เราจะเข้าไปพัฒนาชุมชนมลาบลีตองเหลือง ได้อย่างไร ทิศทางใด มากน้อยเพียงใด.






.....ก่อนอื่น ก่อนที่เราจะเข้าไปพัฒนา ไม่ว่าที่ใดๆก็ตาม อันดับแรกที่เราจะต้องทำคือ "การศึกษาชุมชน" เสมือนหนึ่งว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"

.....การศึกษาชุมชนนั้น ในการพัฒนาชุมชน จะต้องใช้เวลามากพอในการศึกษาเพื่อที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลทุกๆอย่างของชุมชนไว้ อาทิเช่น ชุมชนแห่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร ประชากรในชุมชนมีเชื้อชาติใด ใช้ภาษาใด การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชุมชนเป็นแบบไหน ใครคือผู้นำในการก่อตั้ง อายุชุมชน เป็นต้น


ในการพัฒนาชุมชนนั้นนักพัฒนาจะต้องทำตัวไหลตามน้ำ อย่างขวางลำน้ำไม่ว่าด้วยประการใดๆ อย่าคิดที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชน จะต้องรักษาวิถีชีวิตเดิมของชุมชนไว้ และ นักพัฒนาชุมชนที่ดี มีบทบาทคือ เป็นตัวประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆให้กับชุมชน เพื่อสนองความต้องการของชุมชน แนะนำ ส่งเสริมสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับชุมชน อย่าชี้นำชุมชนเป็นอันขาด


.....ในชุมชนมลาบลีตองเหลือง นั้นจากการศึกษาชุมชน (ในบทที่ 1) เราพอจะสรุปความรวมได้ดังนี้

1. ชาวมลาบลี เป็นกลุ่มเผ่าชนสุดท้ายที่มีวิถีชีวิตดึกดำบรรพ์ กลุ่มสุดท้ายที่พบในประเทศไทย วิถีชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงผ่านกาลเวลามากว่า หมื่นปี

2. แต่เดิมมา ชาวมลาบลี เป็นสังคมเร่ร่อน สังคมเก็บกิน ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีองค์ความรู้ด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ไม่ใช่ชนเผ่าที่มีความสามารถในการล่าสัตว์ใหญ่ ไม่รู้จักการใช้อาวุธ อาวุธที่ใช้คือ ไม้ไผ่เสี้ยมปลายให้แหลม

3. มลาบลีมีอุปนิสัยที่รักอิสระ เร่ร่อน สิ่งเหล่านี้ทำให้มลาบลีมีนิสัยที่ไม่ชอบการทำงาน ไม่ชอบการถูกบังคับ

4. มลาบลีไม่มีศาสนา ไม่เข้าใจปรัชญาต่างๆ มีสมาธิค่อนข้างสั้น

5. มลาบลี ไม่สะสมของใช้ ไม่รู้จักการสะสมแม้กระทั้งอาหาร คือหามากินไปจนหมดแล้วหาใหม่

6. ภาษาของมลาบลีถือว่า โบราณ 1 ใน 5 ของภาษาโบราณในโลกนี้ เป็นภาษาแยกแขนงจากภาษาขอม-เขมร

7. มีเอกลักษณ์ในการแต่งกาย

8. ไม่ชอบให้ใครเรียกพวกตนว่า "ผีตองเหลือง" สรรพนามเรียกแทนตนว่า "มลาบลี" แปลว่า "คนป่า"

9. สังคมมลาบลีไม่มีความรุนแรง นับถือผี

10. มีหลักกฏเกณฑ์ในการครองเรือน การแต่งงาน คือ ห้ามแต่งงานในเครือญาติ



.....เพียง 10 ข้อ ของการศึกษาชุมชน แต่การพัฒนานั้น ไม่ได้พัฒนาไปได้ตามเป้าหมายทั้งหมด เพราะ ประการแรก ชนเผ่ามลาบลีเป็นชนเผ่าโบราณ ซึ่งจะต้องดำรงค์ไว้ซึ้งวิถีชีวิตของตนเองให้มากที่สุด เพราะหากพัฒนาไปในลักษณะก้าวกระโดด จะทำให้มลาบลีปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบันไม่ได้ (เกิดขึ้นมาแล้วเหตุการณ์นี้) ประการที่สอง ในบทที่ 2 ผมได้กล่าวถึง "การพัฒนาที่ไม่ใช่การพัฒนา" นั้นคือ ได้มีผู้ที่ยัดเยียดความสมัยใหม่ให้มลาบลี จนเกิดการก้าวกระโดดของลักษณะชุมชน ทำให้ชุมชนมลาบลีเกิดการผิดแผลกไปจากเดิม วิถีชีวิต ผิดรูปเดิมของมันไป และขาดความยั่งยืน ฉะนั้น การพัฒนาจะกระทำเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น โดยเฉพาะเรื่องวิถีสุขอนามัยต่างๆ


.....เนื่องจากมลาบลีเป็นกลุ่มชนเผ่าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากจากยุคหินเลยจวบเวลากว่าหมื่นปี จึงมีวิถีชีวิตที่น่าสนใจ และเป็นวิถีชีวิตที่ส่อถึงลักษณะของมนุษย์ยุคหิน เป็นวิถีชีวิตที่น่าศึกษาเพื่อย้อนกลับไปดูชาติพันธุ์ของมนุษย์ในอดีตว่าเป็นมาอย่างไร ดำรงค์ชีพอย่างไร

.....จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิมของชนเผ่ามลาบลีไว้ ไม่ให้สูญหายไปกับกระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่ นั่นไม่ได้หมายความว่า จะต้องปิดหูปิดตาไม่ให้มลาบลีเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมภายนอกที่เจริญกว่า แต่...จะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้มลาบลี ลืมความเป็นมลาบลีของตนเอง ลืมความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง (ซึ่งในสังคมไทยเราก็เกิดขึ้นแล้ว ภาวะลืมชาติพันธุ์ของตนเอง ว่าตนเองเป็นคนไทย ดันคิดว่าตนเองเป็น เกาหลีเป็นญี่ปุ่น ไปโน้น)


.....ดังนั้นแนวทางการพัฒนาในปัจจุบัน จึงพยายามเน้นการสืบทอดภูมิปัญญาของมลาบลี เช่น งานฝีมือการจักรสาน การแต่งกาย ภาษาพูด/พัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษาให้กับเด็กรุ่นใหม่ให้มีการพัฒนาทางด้านสติปัญญาให้มากขึ้น ส่งเสริมการศึกษาให้กับผู้ที่ต้องการอ่านออกเขียนได้/ส่งเสริมให้รู้จักการรักษาสุขอนามัยกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมระบบสุขาภิบาลในชุมชนให้ถูกต้อง นี่คือแนวทางพัฒนาในปัจจุบันเท่าที่ทำได้ เพราะหากจะดำเนินการพัฒนามากกว่านี้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมลาบลีมากเกินไป เพราะในอดีตที่ผ่านมาเกิดความผิดพลาดมามากแล้วในการใช้ระบบประชาสงเคราะห์กับมลาบลี



การดำเนินงาน


.....การดำเนินงานจะต้องอาศัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดูแลอยู่ในพื้นที่เพื่อใช้เป็นตัวหลักในการประสานงานดำเนินงานต่างๆ นั้นคือ "ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา" ขึ้นตรงกับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พร้อมด้วยหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ภาคีจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวตองเหลือง


1. ภาคีจิตอาสาจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่เข้าไปดูแลในเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยทำงานประสานงานกับ ศูนย์การเรียนชุมชน

2. ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนและเจ้าหน้าที่อาสาเข้าชุมชนปลูกจิตสำนึกและเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆที่จำเป็นต่อชุมชน เช่น การสาธารณสุข การสุขาภิบาล

3. ครูประจำศูนย์ฯปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิด วิถีชีวิตให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ พร้อมกับถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆให้กับเยาวชน ไม่ว่าเรื่องการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

4. จะต้องมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะทุกๆเดือน

5. รวบรวมองค์ความรู้จากผู้ที่มีภูมิปัญญาในชุมชน เช่น การจักสาน งานฝีมือ รวมกลุ่มเพื่อเก็บภูมิปัญญา ถ่ายทอดสู่เยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาชุมชนไม่ให้สูญหาย โดยจัดตั้งกลุ่มสนใจขึ้นมาในชุมชน อาศัยความร่วมมือจาก ครูประจำศุนย์ ภาคีจิตอาสา หน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาต่างๆ

6. จัดตั้งร้านค้าชุมชนขึ้นในชุมชน เพื่อมีจุดประสงค์ในการฝึกทักษะในการคำนวน ไหวพริบให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ตลอดจนลดการเอาเปรียบจากชาวเขาเผ่าอื่นๆ โดยสนับสนุนจากเจ้าคณะจังหวัด เงินทุนที่ได้ จะนำมาเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ผู้ควบคุมดูแลคือ กศน.จังหวัดน่าน ภาคีจิตอาสา



ในระดับสุขอนามัย



1. หน่วยงานพัฒนาร่วมกับสาธารณสุข เข้าทำการสำรวจสุขอนามัยชุมชนมลาบลี พบว่า อนามัยไม่ดี เพราะไม่ดูแลรักษาความสะอาด ประชากรมีปัญหา เป็นเหา มีเชื้อวัณโรคแฝง

2. รณรงค์ให้รู้จักการอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน กำจัดเหาให้ชาวมลาบลี ปัญหาวัณโรคแฝง โรคปอด เกิดจาก ชาวมลาบลีมักนิยมสุมไฟในบ้าน (ชีวิตดั้งเดิมไม่มีบ้าน) ไม่ว่าจะประกอบอาหาร หรือไล่ความหนาวเย็น ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน ทำให้ร่างกายได้รับก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซค์มาก จนเกิดภาวะของโรคปอดขึ้น การแก้ไข รักษาตามอาการ ชี้ให้เห็นถึงโทษของการก่อไฟในที่อับในบ้าน โดยจัดทำสื่อที่มองเห็นภาพ ดูแล้วเข้าใจ

3. จัดสร้างห้องน้ำห้องส้วม โดยใช้แรงงานในพื้นที่แรงงานมลาบลีเป็นหลักในการก่อสร้าง เพื่อต้องการให้ชาวมลาบลีมีส่วนร่วมในการสร้างสาธารณะสมบัติของตนเอง ให้มีใจรักในสิ่งที่ตนเองสร้าง เรียกว่า การพัฒนาแบบบูรณาการณ์หรือการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม



ระบบการปศุสัตว์



.....ดั่งที่กล่าวมาแล้วว่า มลาบลีไม่มีความชำนาญด้านการเลี้ยงสัตว์เลย เพราะสังคมดั้งเดิมนั้น เป็นสังคมเร่ร่อน เก็บกินไปวันๆ จึงไม่จำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์ จึงขาดทักษะในด้านนี้

.....แต่ที่มลาบลีเลี้ยงนั้น ก็เพราะระบบประชาสงเคราะห์ในบทที่ 2 นั่นแหละ เอามาให้เลี้ยง แต่ไม่สอนวิธีการเลี้ยง ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามันจึงเกิดขึ้น ในเรื่องกลิ่นเหม็นจากมูลสุกร การทำความสะอาดต่างๆ

การดำเนินการแก้ไข



.....การดำเนินการแก้ไขจะต้องอาศัยแรงงานจากมลาบลีเป็นหลัก เพื่อผลในการฝึกให้เกิดความชำนาญ และมีความเข้าใจในการปฏิบัติด้วยตนเอง ที่สำคัญต้องการการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้มากที่สุด เพื่อให้คนในชุมชนรู้สึกถึงความผูกพันธ์ในสิ่งที่ตนเองมีส่วนทำร่วมทำ จะทำให้เกิดการรักหวงแหนและรักษาตามมา

1. ในเรื่องกลิ่นเหม็นจากมูลสุกร เน้นการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นเป็นตัวบำบัดหลัก โดยทำการฝึกสอนให้ครูประจำศุนย์ก่อนเพื่อให้ครูประจำศูนย์ เป็นผู้เผยแพร่และแนะนำวิธีการใช้แก่ชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง

2. ทำการขุดบ่อเกราะ(แบบส้วมซึม) เพื่อกำหนดแนวทางการไหลของมูลสุกร จำกัดพื้นที่มูลสุกร ใช้จุลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลาย โดยใช้แรงงานหลักเป็นชาวมลาบลีในการขุด

3. สอนให้ชาวมลาบลีรู้จักการนำมูลสุกรขึ้นมาทำปุ๋ย

4. สอนให้รู้จักการล้างคอกสุกรโดยใช้จุลินทรีย์

5. ติดตั้งระบบจ่ายน้ำสุกรเพื่อลดปัญหาผู้ดูแลสุกร เพราะมลาบลีต้องออกไปรับจ้างชาวม้งทำไร่(ปัญหาเรื้อรัง การเอารัดเอาเปรียบซึ่งไม่ขอพูดถึง)



.....ที่กล่าวมาคือกระบวนการคร้าวๆเท่านั้นที่นำมาใช้ในการพัฒนาชุมชนมลาบลีแห่งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตขอตนเองให้ดีขึ้น แต่กระนั้น การพัฒนาจะเป็นจะต้องมีการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่ว่า ใช้เวลาเพียงเดือนหรือสองเดือนก็สำริดผล ต้องเข้าใจว่า มลาบลี ไม่เหมือนกับเผ่าอื่นหรือเราๆท่านๆ พวกนี้มีสมาธิที่สั้น ไม่สนใจอนาคต จึงจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาอันยาวนานในการพัฒนา และงบประมาณอันมหาศาลในการพัฒนากว่าจะให้มลาบลีรู้จักกับชีวิตที่ดีกว่าเดิม

.....นี่คือเรื่องราวเล็กๆน้อยๆในการเข้าไปพัฒนากลุ่มชนดึกดำบรรพ์ที่พบมา ถือว่าผมเล่าให้ฟังนะครับ การพัฒนาจริงๆไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ไม่มีสูตรสำเร็จ การพัฒนาอาจสำเร็จได้ในพื้นที่หนึ่งจังหวัดหนึ่ง แต่ไม่สามารถนำมาใช้กับอีกพื้นที่หนึ่งจังหวัดหนึ่งได้ เพราะความแตกต่าง ในแต่ละพื้นที่ที่ไม่เหมือนกันครับ อย่าเหมาว่า ที่นั่นสำเร็จ นำมาใช้ที่นี่จะสำเร็จด้วยไม่มีทางครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่มีใจเป็นนักพัฒนาและติดตามอ่านมาตลอดขอบคุณครับ




 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2550
9 comments
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2550 3:33:12 น.
Counter : 2441 Pageviews.

 

แล้ววันหนึ่งเราคงมีโอกาสคุยกัน.......

 

โดย: เขมิศราสุดสวย IP: 125.25.205.89 8 กุมภาพันธ์ 2550 10:13:59 น.  

 

อืม น่าสนใจครับ
แต่ไม่รู้ว่า เข้าไปจัดการ ดำเนินการให้เค้าแบบนี้จะเวิร์คและได้ผลตามหลักการที่วางไว้หรือเปล่า

ป.ล.
ตกลงใช้คำว่า "มลาบลี" หรือ "มลาบรี" ครับ

 

โดย: กุมภีน 8 กุมภาพันธ์ 2550 10:52:13 น.  

 

แล้วเค้ามีคนคนแหกกฎ รึเปล่าคะ

 

โดย: ปลายปัญญา 8 กุมภาพันธ์ 2550 13:15:31 น.  

 

มราบรี เราคุ้นเคยเสียแล้ว แต่ภาษาราชการที่ลงรายการให้เขา คือ มลาบรี ในรายการทะเบียนราษฏร์ครับ

การทำกับชีวิตคนไม่ง่ายเลย มีเงื่อนไข ปัจจัย ตัวแปรมากมาย เมื่อวานใช่ วันนี้อาจไม่ แล้วพรุ่งนี้ยังใงอยู่

เขาก็เหมือนกันเรานี่แหละครับ เรียนว่า ได้สัมผัสมือ สัมผัสใจ พี่น้องตองเหลืองมีจิตใจสูง มีอารยธรรมสูง

 

โดย: chownan04 IP: 125.25.13.24 15 กุมภาพันธ์ 2550 22:26:02 น.  

 

ซิน เจีย ยู้ อี่ ซิน นี ฮั้ว ไช้


ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ

 

โดย: gripenator 19 กุมภาพันธ์ 2550 10:28:48 น.  

 

น่าสนใจมากค่ะ..สักวันคงได้มีโอกาสเจอกัน....ค่ะ

 

โดย: นกขมิ้น_mommam (นกขมิ้น_mommam ) 19 กุมภาพันธ์ 2550 20:57:31 น.  

 

อ่านมาเรื่อยๆ ตามๆกระทู้ไหนก็ไม่รู้ค่ะ

พออ่านจบ ก็เลยลงชื่อไว้ (ยิ้มหวาน)

 

โดย: หม๋องแหม๋ง 27 กุมภาพันธ์ 2550 12:20:08 น.  

 

ผมเข้าใจว่า เรายังคงมีความปราถนาดีเสมอเมื่อกล่าวถึงการพัฒนาชาวมลาบรีครับ แต่มีบางประเด็นที่จำเป็นต้องขออธิบายเพื่อแสดงให้เห็นว่า งานพัฒนาก็เป็นสิ่งที่สมควรทำ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ฐานคิดหรือมุมมองที่ก่อให้เกิดการให้เกียรติชาวมลาบรีด้วยไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม นั่นคือ ต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับชาวมลาบรีอันมีผลต่อการสร้างภาพที่คนทั่วไปจะจดจำและเข้าใจชาวมลาบรีครับ โดยมีประเด็นที่ผมขอแย้งและมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

1. ตามที่มีการเห็นเป็นกลุ่มชนดึกดำบรรพ์ --- เนื่องจากมลาบลีเป็นกลุ่มชนเผ่าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากจากยุคหินเลยจวบเวลากว่าหมื่นปี จึงมีวิถีชีวิตที่น่าสนใจ และเป็นวิถีชีวิตที่ส่อถึงลักษณะของมนุษย์ยุคหิน เป็นวิถีชีวิตที่น่าศึกษาเพื่อย้อนกลับไปดูชาติพันธุ์ของมนุษย์ในอดีตว่าเป็นมาอย่างไร ดำรงค์ชีพอย่างไร---

ในประเด็นนี้ ผมว่ายังคงมีข้อถกเถียงทางวิชาการอยู่พอสมควรครับว่า ตกลงชาวมลาบรีเป็นมนุษย์ยุคหินที่ยังเหลืออยู่จริงหรือ ตามหลักฐานที่ศึกษาจากเลือดเพื่อบอกอายุของกลุ่มประชากร นักวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีอาจมีที่มาจากประชากรในสังคมเกษตรก่อนที่จะแยกตัวออกมาและสูญเสียทักษะการเกษตรในภายหลัง ดังนั้น ขอแนะนำให้ลองไปดูในเว็บวิชาการต่างประเทศที่ยังคงสนใจเรื่องนี้เช่นกันที่ //biology.plosjournals.org/perlserv/?request=get-document&doi=10.1371%2Fjournal.pbio.0030116&ct=1
แต่ที่แน่ๆ แม้ว่า วงวิชาการจะยังคงไม่มีข้อยุติเกี่ยวกับเรื่องนี้ วงธุรกิจก็นำเรื่องคนจากยุคหินไปใช้เรียบร้อยแล้ว ตามการท่องเที่ยวเรามักพบข้อความคล้ายกันนี้ เช่น ถ้ำผีตองแหลือง มลาบรี : เผ่าพันธุ์มนุษย์ยุคหินที่ยังใช้ชีวิตอยู่ในโลกบัจุบัน เขาเรียกเผ่าตัวเองว่า” มลาบรี”หมายความว่า “คนป่า” “ผีตองเหลือง”เป็นคำที่คนเมืองเหนือเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ เนื่องจากผู้คนเผ่าพันธุ์นี้ไม่ชอบคบหาผู้คน ตัดตนเองออกจากเผ่าพันธุอื่น อาศัยอยู่ในป่า ย้ายถิ่นทำกินไปเรื่อยๆ และจะพักแรมโดยทำเพิงไม้มุงด้วยใบไม้สีเขียวและเมื่อใบไม้เปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองก็จะย้ายถิ่นหากินไป เพราะเชื่อว่าจะเป็นอันตรายต่อตน บรรพบุรุษของมนุษย์ทุกชาติพันธุ์ เคยใช้ชีวิตแบบผีตองเหลือง เผ่าพันธุ์มนุษย์ยุคหินยุคสุดท้าย ไปดูได้ที่เว็บ //www.thai-tour.com/thai-tour/North/Chiangmai/hotel/fondcome-village/index.html
สรุป เราอาจกำลังตกกับดักทางวิชาการหรือไม่ ผมว่าไม่สำคัญเท่ากับ การปรากฏของมนุษย์ยุคหินที่พยายามเอามาสวมทับให้กับชาวมลาบรีนั้น ไม่ได้ทำให้ชาวมลาบรีมีสถานภาพที่ได้รับการให้เกียรติแต่อย่างใด ตรงกันข้าม กลับยิ่งทำให้ชาวมลาบรีกลายเป็นสินค้าสำหรับการท่องเที่ยว บริษัททัวร์นำนักท่องเที่ยวเข้ามาเพราะอยากเห็นความเป็นยุคหินที่คนนุ่งน้อย ห่มหนัง หรือว่าภาพของมนุษย์ยุคหินที่ไม่เปลี่ยนแปลงมาหมื่นๆ ปี (ซึ่งก็มีข้อมูลที่เป็นที่ถกเถียง) คุณคิดว่า เด็กชาวมลาบรีจะมองภาพที่นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายภาพพ่อ แม่ พี่น้อง ตา ยาย ของพวกเขา แล้วภูมิใจที่ฉันเป็นคนยุคหิน??? ที่สำคัญคือ การแช่แข็งวัฒนธรรมของชาวมลาบรีไว้ในยุคหิน ทั้งๆ ที่ เราพบว่า ชาวมลาบรีแม้จะอยู่ในป่าก็ไม่ได้ มีการตัดขาดจากโลกภายนอก แต่มีการติดต่อแลกเปลี่ยนสิ่งของและวัฒนธรรมบางอย่างระหว่างกลุ่มชนอื่นๆ เรื่อยมา

2. เป็นสังคมเร่ร่อน เก็บกินไปวันๆ ชาวมลาบลี เป็นสังคมเร่ร่อน สังคมเก็บกิน ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีองค์ความรู้ด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ไม่ใช่ชนเผ่าที่มีความสามารถในการล่าสัตว์ใหญ่ ไม่รู้จักการใช้อาวุธ อาวุธที่ใช้คือ ไม้ไผ่เสี้ยมปลายให้แหลม

หากเราศึกษาวัฒนธรรมมลาบรี เราก็จะพบว่า ผู้ชายบางคนสามารถตีเหล็กเป็นมีดเป็นเสียมได้ ความรู้เรื่องนี้ บอกอะไรเราบ้าง ผมว่า สัตว์ใหญ่นั้นสามารถล่าได้ แต่ต้องมีอาวุธที่ดี และแน่นอน ชาวมลาบรีหลายคนเล่าให้ฟังว่า กลุ่มของพวกเขาเคยล่าสัตว์ใหญ่ๆ อย่างหมีมาแล้ว


3. ต้องอนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิมของชนเผ่ามลาบลีไว้ ไม่ให้สูญหายไปกับกระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่ นั่นไม่ได้หมายความว่า จะต้องปิดหูปิดตาไม่ให้มลาบลีเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมภายนอกที่เจริญกว่า แต่...จะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้มลาบลี ลืมความเป็นมลาบลีของตนเอง ลืมความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง

ผมเห็นด้วยว่า แน่นอน มันไม่ง่าย แต่ก็ต้องไม่ใช้ความเข้าใจที่มีต่อชาวมลาบรีที่ยังคงมีปัญหาเรื่อง จะเป็นยุคหินหรือไม่เป็น แต่สำคัญตรงที่ 1. มันช่วยให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อชาวมลาบรีหรือไม่ 2. วัฒนธรรมที่สร้างใหม่หรืออนุรักษ์ไว้ทำให้ เกิดความภาคภูมิใจสำหรับชาวมลาบรีหรือไม่ 3. การศึกษาสังคมมลาบรีและการจัดการศึกษาให้กับเยาวชน-คนภายนอกได้เรียนรู้บนฐานคิดที่ไม่ผลิตอคติทางชาติพันธุ์ และ 4. ความเป็นมลาบรี ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่แต่เดิม แต่เป็นไปตามไตรลักษณ์ มีเกิด มีเปลี่ยนแปลงและมีดับ (ทางวัฒนธรรม) พลวัตของการเปลี่ยนแปลงจะยังคงมีอยู่ต่อไป การมองเห็นชาวมลาบรีในฐานะมนุษย์ยุคหินในโลกปัจจุบันจึงเป็นภาพที่มีปัญหาครับ

 

โดย: ศักรินทร์ ณ น่าน IP: 124.157.161.197 17 กันยายน 2550 18:21:24 น.  

 

Please, change your background! I can't read

 

โดย: pooh IP: 10.106.105.213, 202.28.182.12 2 มิถุนายน 2552 21:18:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.