ป้าชื่อเห็ดโคน
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
22 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ป้าชื่อเห็ดโคน's blog to your web]
Links
 

 

อิทธิพลของแม่ช่างน่ากลัวจริงๆ

คุณมีลูกหรือยัง ? มีแล้ว ยังไม่มี ไม่เป็นไร ไม่ว่าคุณจะมีลูกแล้วหรือยังไม่มี บทความนี้ ก็จะเป็นวิทยาทานแก่คุณ เพราะคุณจะต้องมีเพื่อน มีน้อง หลาน หรือคนใกล้ชิดรอบตัวที่มีลูกเล็กๆ บ้างหรอกนะ อยากจะบอกคุณว่า เด็กเล็กๆน่ะ ไม่ใช่ว่าเราแค่ให้ข้าวให้น้ำเขาก็จะโตขึ้นมาเองได้นะ

จริงอยู่ เขาอาจจะโตได้ แต่เขาจะโตอย่างมีคุณภาพหรือไม่ มีการวิจัยว่าเด็กวัย 0-3ขวบ เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดเพราะเป็น ช่วงที่สมองของเด็กจะถูกโปรแกรมโดยสิ่งแวดล้อม อันมีพ่อแม่เป็นส่วนสำคัญ โปรแกรมนี้ จะกำหนดว่าเมื่อเติบโตขึ้น เขาจะเป็นคนมีความสุข ความทุกข์อย่างไร มีเหตุมีผลหรือไม่ โรคต่างๆที่เด็กเป็นเช่นโรคหวัด ที่คุณคิดว่าเกิดจากการติดเชื้อจากเด็กอื่น หรือโรคหอบหืดที่คุณคิดว่าเกิดจากกรรมพันธุ์ อาการปวดท้องเรื้อรังและเกร็งโดยหาสาเหตุไม่ได้ อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามอาการหรือใช้ยา เพราะมันอาจเกิดจากจิตใจ มิได้เกิดจากร่างกาย ซึ่งสามารถประมวลได้ว่าเกิดจากปฎิสัมพันธุ์ และการเลี้ยงดูลูกของแม่ เช่นแม่ที่มีลูกที่เป็นหืด มีแม่อยู่สองประเภท
ประเภทที่หนึ่งคือ แม่ที่ทะนุถนอมลูกจนเกินขอบเขต เช่น พออากาศเย็นนิดหน่อยก็รีบให้ลูกสวมเสื้อผ้าหนาๆ หรือพอเด็กมีน้ำ มูกไหลเพียงเล็กน้อยก็ห้ามอาบน้ำ
และอีกประเภทหนึ่งคือ แม่ที่ชอบดุด่าลูกอยู่ตลอดเวลา พอลูกซนนิดหน่อยก็มักจะดุด่าอย่างมาก ให้ลูกนั่งเฉยๆ เงียบๆ ทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออก การที่เด็กต้องสัมผัสกับแม่ประเภทดังกล่าวตั้งแต่แรกเกิดนั้น นอกจากจะทำให้นิสัยใจคอเด็กจะถูกกำหนดแล้ว แม้แต่ลักษณะเฉพาะทางสรีระวิทยาก็ถูกกำหนดตามไปด้วย

ดังที่เราจะมาเรียนรู้ไปด้วยกัน เพื่อก้าวข้ามผ่านวิกฤตนี้ด้วยความเข้าใจ ว่าการรักษาทางการแพทย์ จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย ตราบใดที่แม่ยังเป็นแม่ที่ทรงอิทธิพล ดังที่คุณจะต้องตกใจและคาดไม่ถึงจนถึงกับอุทานว่า “อิทธิพลของแม่นี่น่ากลัวจริงๆ”

จากหนังสือ “โรคแม่ทำ” ที่เขียนโดยนายแพทย์ ชิเงโมริ คิวโทกุ กุมารแพทย์ชาวญี่ปุ่นแสดงให้วงการแพทย์เห็นว่า กลไกการเกิดโรคของมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์ชั้นสูงนั้น สลับซับซ้อนมากไปกว่าการสัมผัสระหว่างเซลล์กับเชื้อโรคเท่านั้น เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมาก ที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเจ็บป่วยของมนุษย์ ปัจจัยสำคัญที่ค้นพบคือ ความสัมพันธ์ในวัยเด็กระหว่างแม่ กับ ลูกนั่นเอง


-----------------------------

ความสัมพันธ์ในวัยเด็กที่ถูกต้องระหว่างแม่กับลูก จะเป็นทั้งพลังงานที่จะเสริมสร้างให้เด็กเติบโตขึ้น อย่างแข็งแรงทั้งกายและใจ และจะเป็นทั้งภูมิคุ้มกัน ที่จะทำให้เด็กสามารถจะยืนหยัดได้อย่างเข้มแข็ง ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของธรรมชาติ และในสังคมมนุษย์ ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ในวัยเด็กที่ไม่ถูกต้อง จะเปรียบเหมือน

“เชื้อร้าย” ที่กัดกินทั้งร่างกายและจิตใจของเด็ก จนทำให้เด็กที่สมบูรณ์ กลายสภาพเป็นผู้ป่วยที่สร้างปัญหาให้กับวงการแพทย์เป็นที่สุด

และด้วยเนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมของบ้านเมืองเราได้มีการพัฒนา มีความเจริญทั้งในด้านเทคโนโลยี และเศรษฐกิจ บังคับ ให้พ่อ แม่ต้องทำงานเพื่อเลี้ยงดูครอบครัวมากขึ้น จนไม่มีเวลามาเอาใจใส่ลูกเท่าที่ควร “โรคอารยธรรม” จึงเข้ามาครอบครองจิตใจเด็กได้โดยง่าย ดังที่เราเห็นได้จากความรุนแรงต่างๆในเด็ก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกที รวมทั้งบางรายที่ถึงกับทุบตีพ่อ แม่ ดังนี้ ทั้งโรคแม่ทำ และ โรคอารยธรรม จึงเป็น เชื้ออันตราย ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าโรคติดเชื้อทั่วๆไป หรืออาจจะน่ากลัวกว่าซะด้วยซ้ำ ถ้าเราต่างมองข้ามไปหรือไม่ทำความเข้าใจกับมัน

ดังนั้น ใครที่พบเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคประหลาดที่แพทย์เองก็ไม่ทราบสาเหตุ และไม่ทราบวิธีรักษา ขอให้อ่านเรื่องราวต่อไปนี้ดู ท่านอาจจะเป็นคนแรกที่รักษาโรคของเด็กคนนั้นสำเร็จได้
ขอขอบคุณผู้เขียน และผู้จัดทำหนังสือ “โรคแม่ทำ” ที่ได้ให้ความรู้ และเป็นวิทยาทานแก่พ่อ แม่ ผู้ไร้สติอย่างเราๆมา ณ โอกาสนี้ หากมีการผิดพลาดอันใด ผู้เขียน (บทความนี้) ขอรับไว้แต่เพียงผู้เดียว อนึ่ง บางบทตอน ได้มีการคัดลอกจากหนังสือ โรคแม่ทำ ของคุณหมอ น.พ. สมอาจ วงษ์ขมทอง ซึ่งเป็นผู้แปลและ เรียบเรียงมาจากหนังสือ: Bogembyo ซึ่งเขียนโดยน.พ ชิเงโมริ คิวโทกุ ด้วยไม่อาจเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ทำให้เสียอรรถรส และคุณค่าในการอรรถาธิบายของต้นฉบับผิดเพี้ยนไปได้

ขอความดีความชอบใดๆก็ตาม ที่เกิดจาก การอ่านบทความนี้ แล้วผู้อ่านได้นำไปใช้จนเกิดประโยชน์ จงมีแด่ท่านผู้เขียนหนังสือ โรคแม่ทำ และท่านผู้ร่วมคิดค้นการแก้ปัญหาต่าง ๆจากโรคที่แปลกประหลาดเหล่านี้ทุกท่านเทอญ.


@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@





 

Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2553
0 comments
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2553 13:59:54 น.
Counter : 770 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.