อย่าปล่อยให้การเรียนรู้ของคุณ จบอยู่แค่ในโรงเรียน
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2550
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
12 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
Leptin-ฝันที่เป็นจริงของคนอ้วนที่อยากผอม

ขอบอกก่อนนะครับ ไม่ได้มาขายยาลดความอ้วน แต่จะมาบอกว่า ความอ้วนเนี่ยองค์การอนามัยโลก ประกาศว่ามันเป็น 'โรคอ้วน' แล้วหล่ะครับ 'โรคอ้วน' อาจจะมีสาเหตุ (ส่วนหนึ่ง) มาจากที่เราชอบพูดกันเล่นๆ (แต่ทำกันจริงจังมาก) จนติดปากว่า ต่อมกระตุ้นความอยากมันทำงาน (ร่วมกับเหตุผลสำคัญ เกิดมาชาติหนึ่ง มีปัญญากินก็กินไปเหอะ ยังไงก็ตายเหมือนกัน) แต่ยังไงทัศนคติที่มีต่อคนอ้วนจะเปลี่ยนไปครับ เพราะงานวิจัยที่จะเล่าให้ฟังวันนี้ครับ

หลังจากที่พบว่ามีฮอร์โมนหลายตัว (ชื่อไม่ค่อยคุ้นเท่าไหร่ วิทยาศาสตร์มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ อะไรที่พบใหม่ๆ ก็จะมาเรื่อยๆ สักพักก็จะคุ้นไปเองครับ) เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน เช่น Leptin, alpha-MSH (alpha-melanocyte-stimulating hormone (alpha-MSH), Cannaboids, Neuropeptide Y, ghrelin and anandamid

แต่...ตอนนี้ตัวที่นักวิทย์และบริษัทยา (ที่ขายยาลดความอ้วน และเกี่ยวกับความต้องการทางเพศ) ให้ความสนใจมากๆ ก็คือ Leptin เพราะเจ้านี่ เป็นตัวที่ทำให้คุณอยากอาหารน้อยลง หรือลดอาการอยากกินอาหาร (อย่างออกนอกหน้า) และยังช่วยทำให้เกิดการสลายไขมันในร่างกายออกมาเป็นพลังงานอีกด้วย (ทำให้รู้สึกแอคทีฟ)

Leptin สร้างจากยีนที่อยู่ในเซลล์ไขมัน ชื่อยีนก็คือ obese(ob) gene นอกจากนี้ยังพบสร้างและหลั่งออกสู่กระแสเลือด โดยเซลล์เยื่อบุผิวในลำไส้และรก ในปริมาณเล็กน้อย ดังนั้น ปริมาณของฮอร์โมนเลปตินจะเพิ่มขึ้น เมื่อคุณมีไขมันสะสมในตัวมากขึ้น

เลปตินเนี่ย พอหลั่งเข้าสุ๋กระแสเลือดก็จะมีตัวจับ หรือ receptor อยู่ที่ hypothalamus เพื่อสั่งให้มีการหลั่งฮอร์โมนและสารอื่นๆ ทีเกี่ยวข้องกับการสลายไขมันเป็นพลังงาน (อ่านชีวะ ม ปลาย เพิ่มน๊ะ อิอิ) แต่ปัญหาก็คือ พอยิ่งอ้วนผลของเลปตินที่มีต่อร่างกายยิ่งลดลง ก็จะทำให้ยิ่งอ้วนไปเรื่อยๆ เหมือนที่บอกว่า 'พออ้วนแล้ว ทำไมน้ำหนักลงยากจังฟะ'

เกี่ยวกับการทำงานของฮอร์โมน Leptin ที่น่าสนใจอีกอย่าง ที่พอจะอธิบายให้เห็นภาพได้ว่า ทำไมพอเริ่มอ้วนใหม่ๆ ถึงอ้วนลงพุง ลงก้น ก่อน เพราะเจ้า Leptin มีผลโดยตรงต่อเซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อ โดยจะไปกระตุ้นให้เกิดการสลายไขมันในไมโตคอนเดรียในเซลล์ แต่ไม่มีผลกับเซลล์ไขมัน (ที่พบแหงๆ ที่หน้าท้อง ก้น และนม)

Sadaf Farooqi และทีมวิจัยจาก the University of Cambridge, UK กล่าวว่า เธอรู้จักคนเพียงแค่ 12 คนในโลกนี้ที่ไม่สามารถสร้าง Leptin ได้เลยตั้งแต่กำเนิด (แต่ไม่ได้หมายความว่า ทั้งโลกมีแค่ 12 คนนะครับ ที่เป็นแบบนี้) เธอเลยพาคนเด็กวัยรุ่น 2 คน มาทดลอง scan ดูการทำงานของสมองด้วยเครื่อง MRI (magnetic resonance imaging) ดูว่าสมองตอบสนองอย่างไรกับรูปภาพอาหาร

เด็กชายอายุ 14 ปี น้ำหนัก 103 กิโลกรัม เด็กหญิงอายุ 19 ปี น้ำหนัก 128 กิโลกรัม (แหล่งข่าวไม่ได้บอกส่วนสูงมานะครับ) เข้าสู่กระบวนการทดลองโดยนอนอยู่ในเครื่อง MRI แล้วก็ดูรูปภาพอาหารนานาชนิด ทั้งเค๊กแสนอร่อย ปลาร้า ปูเค็ม ส้มตำ น้ำพริกอ่อง บล็อคเคอรี่ ผลก็คือ เด็กทั้งสองคน (ร่างกายสร้าง Leptin ไม่ได้) ให้คะแนนความอร่อยของบลอคเคอรีสดๆ น้อยกว่าเค๊ก ส้มตำ ปลาร้า และน้ำพริกอ่องไปนิดเดียว

นักวิทย์ก็งงนะสิครับ เด็กๆ ได้แต่ตอบว่า ก็ดูแล้วมันก็น่ากินนิ จะให้ทำยังไง นอกจากนี้นักวิทย์ ยังพบว่า สมองของเด็กทั้งสองคน ยังตอบสนองอย่างรุนแรงต่อภาพอาหารที่ไม่เคยกิน เช่น ส้มตำ ปลาร้า และอื่นๆ อีกด้วย เมื่อเทียบกับคนปกติ (ที่สร้าง Leptin ได้) คนเหล่านี้จะตอบสนองต่อภาพอาหารก็เฉพาะคนที่ท้องว่าง และหิวตอนเข้าเครื่อง MRI แต่เป็นการตอบสนองเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรงเท่าเด็ก 2 คน (ความอยากกินต่างกันนั่นเอง )

ทีมวิจัยนี้ก็เลย ทดลองโดยให้ฮอร์โมน Leptin กับน้อง 2 คน แล้วทดสอบแบบเดิมอีกในอาทิตย์ต่อมา หลังจากรักษาโดยได้รับ Leptin แล้ว สมองจะตอบสนองต่อภาพอาหารเมื่อเด็กทั้งสองคนไม่ได้กินอาหารมาแล้วหลายชั่วโมงเท่านั้น (ก็คือ หิวเจงๆ ถึงตอบสนองต่อภาพส้มตำ และปลาร้า) แล้วพอให้ดูบลอคเคอรี่ ใหม่อีกครั้ง คราวนี้เด็ก 2 คน ให้คะแนนน้อยลงแล้ว ประมาณว่าไม่อยากกินเท่าเค๊ก ผักจะอร่อยไปได้ยังไง แต่เค๊กยังได้คะแนนสูงเท่าเดิม ส่วนส้มตำ กับปลาร้า แหล่งข่าวไมได้กล่าวถึง (ไม่อยากบอกว่าตกรอบ อิอิ)

หนึ่งปีผ่านไป หลังจากได้รับฮอร์โมน Leptin อย่างต่อเนื่อง เด็กผู้ชาย น้ำหนักลดเหลือ 50 กิโลกรัม เด็กผู้หญิง แหล่งข่าวก็ไม่ได้บอกลดเหลือเท่าไหร่ แต่บอกว่า เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

ที่เล่ามาทั้งหมด นักวิทย์กลุ่มนี้ยังฝากมาอีกว่า 'เราแค่อยากให้ทุกคนเข้าใจ และเห็นใจคนอ้วน ว่าจริงๆ แล้วเขาป่วย อยากให้เห็นใจเขาบ้าง ไม่ใช่มองแบบสมน้ำหน้า ว่าทำไมเขาถึงกินมากมายขนาดนั้น และเราก็หวังว่าเราจะหาวิธีที่จะรักษาโรคอ้วนนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เรายังต้องศึกษา Leptin และ cannabinoids เพื่อทำความเข้าใจกลไกของการทำงานในร่างกาย เพิ่มอีกมาก'

เฮ้อ จบซะที อาจจะยาวไปหน่อย แต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ครับ...ขอบคุณครับ ที่อ่านจนจบ

อ่านเพิ่มเติมนะครับ
1. เกี่ยวกับ Cannabinoids
2. โครงสร้างของ Leptin แล้วการทำงานอื่นๆ ที่ลึกกว่านี้นะครับ
3. ภาพประกอบ Leptin จากกระแสเลือดมีผลต่อ Nucleus accumbens และ hypothalamus
4. Some of us really are addicted to food - newscientists 10 Aug 2007

ปล- ภาพรายการอาหาร เช่น ส้มตำ ปลาร้า ผมจินตนาการไปเองนะคร๊าบบบ


Create Date : 12 สิงหาคม 2550
Last Update : 25 สิงหาคม 2550 15:21:14 น. 2 comments
Counter : 4933 Pageviews.

 
ดีๆ ชอบอ่ะ อิอิ ไม่ได้อยากผอมนะแต่อยากอ้วน เพราะว่าตอนนี้ผอมมากแล้วอ่ะ


โดย: kikapoo IP: 124.121.137.48 วันที่: 31 กรกฎาคม 2551 เวลา:23:04:04 น.  

 
thx for providing this knowledge, very useful information :)


โดย: :) IP: 61.7.180.216 วันที่: 12 กันยายน 2554 เวลา:20:54:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Tahno
Location :
ดาวโลก Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




'Nobody will lose because of more science education' (Osborne,1998)

Friends' blogs
[Add Tahno's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.